สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


     เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดโรคระบาดขึ้น (COVID-19) ทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถไปรับบริการทางสุขภาพข้างนอกได้ จึงมีการนำ telehealth เข้ามาเป็นสื่อกลางในการบำบัดรักษาอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่ง telehealth คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้บริการที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพจากระยะไกล โดยจากการเรียนกับอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน ทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมายที่เกี่ยวข้องกับ telehealth อันได้แก่ วิธีการเตรียมตัวก่อนเริ่มทำ telehealth ในบริบทคลินิก เช่น การทำเอกสารยินยอมในการรับบริการ , การสร้างความไว้วางใจ และรักษาความเป็นส่วนตัว , การเขียนอีเมลส่งให้ทางคลินิกรวบรวมไว้เป็นข้อมูลของผู้รับบริการ และการคงไว้ซึ่งขอบเขตของผู้บำบัด โดยอาศัยการปรึกษา พูดคุยกันระหว่างผู้บำบัดกับผู้รับบริการ หรือผู้ปกครองของผู้รับบริการ เพื่อตัดสินใจว่าจะบำบัดรักษาตาม goal เดิมต่อ หรือตั้ง goal ขึ้นใหม่เพื่อช่วยให้ชีวิตของผู้รับบริการ และผู้ปกครองง่ายขึ้น ซึ่ง platform ในการทำ telehealth ประกอบด้วย

     1. Parent coaching คือ การที่นักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้สอน ให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองนำไปสอนเด็กเอง

     2. Teletherapy คือ การที่นักกิจกรรมบำบัดทำกิจกรรมกับเด็กผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีผู้ปกครองคอยกำกับดูแลเด็กด้วย

     3. Counselling คือ การที่นักกิจกรรมบำบัดให้คำแนะนำผู้ปกครองสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ปกครองนำวิธีการต่าง ๆ ไปปฏิบัติกับเด็กให้ดียิ่งขึ้น

     ควรมีการส่งอีเมล์ก่อนวันนัดหมาย เพื่อให้ผู้ปกครองได้เตรียมความพร้อมก่อน เมื่อทำ telehealth ควรมีการทำความคุ้นเคยกับเด็กก่อน ประเมินความสามารถของเด็ก แล้วพาเด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ และให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ปกครอง เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป มีการนำกรณีศึกษาที่แตกต่างกันมาให้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อหาวิธีการบำบัดรักษาที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพกับเด็กแต่ละคน รวมทั้งทราบข้อดี และข้อจำกัดของการใช้ telehealth

     ทราบประวัติความเป็นมาของ telehealth ซึ่งมีมานานแล้ว และงานวิจัยที่นำ telehealth ไปปรับใช้ ทราบวิธีการสร้างสัมพันธภาพผ่านการทำ telehealth การจัดการพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็ก เช่น การใช้การสื่อสารเชิงบวก การออกแบบกิจกรรมให้น่าสนใจและเหมาะกับความสามารถของเด็ก การให้รางวัล การมีตารางให้เห็นชัดเจนว่าครั้งนี้จะทำอะไรบ้าง มีการแนะแนวถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ และเทคนิคการให้คำปรึกษาต่าง ๆ ทั้งการพูด การฟัง การตั้งคำถาม การทบทวน การสะท้อนความรู้สึก และการสรุป

     ทราบวิธีการทำงานร่วมกันกับทีมสหสาขาวิชาชีพในชุมชน ซึ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ทราบแนวทางในการทำ teleconsultation มีการแนะนำแอปพลิเคชันที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน เช่น care4caregiver รวมทั้งทราบข้อดี และข้อจำกัดของการทำ teleconsultation และ telerehabilitation

     ซึ่งดิฉันคิดว่าการทำ telehealth ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์ และเหมาะสมในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเมื่อสถานการณ์ของโรคระบาดดีขึ้นแล้ว เราก็อาจจะนำ telehealth มาประยุกต์ใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดรักษาที่คลินิกด้วยก็ได้ ซึ่งก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรทางการแพทย์ และผู้รับบริการ

     สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณอาจารย์ปวีณา อาจารย์กีรติ และอาจารย์ศุภธิดาที่มาให้ความรู้ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 ในครั้งนี้ด้วยค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #telehealth#ot#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 688430เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2021 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2021 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เมื่ออ่านการสะท้อนการเรียนรู้ในครั้งนี้จบ ดิฉันรู้สึกชื่นชอบในรายละเอียดของPlatformการทำTelehealth ที่ภาลิณีได้อธิบายคำนิยามให้เข้าใจได้อย่างชัดเจนพร้อมบอกวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดค่ะ

สามารถสะท้อนความรู้ได้อย่างครบถ้วน เข้าใจง่ายในกระบวนการ เทคนิคต่างๆในการทำ telehealth และทำให้มองเห็นข้อดีข้อเสียในการทำ telehealth ได้อย่างชัดเจน

จากบทความสะท้อนการเรียนรู้ข้างต้น ทำให้เข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนในการทำ Telehealth มากขึ้น ซึ่งสามารถนำความรู้นั้นมาปรับใช้ในการเรียนรู้ในวิชา กิจกรรมบำบัดในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

จากที่ได้อ่านบทความสะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Telehealth ของนางสาวภาลิณีแล้ว ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับขั้นตอนการทำ Telelhealth ตามที่ไได้กล่าวมา และเห็นด้วยที่เมื่อสถานการณ์โรคระบาดเบาบางลงเรายังสามารถนำ Telehealth มาใช้ควบคู่กันได้ต่อไป

จากที่ได้อ่านบทความสะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Telehealth ของนางสาวภาลิณีแล้ว ดิฉันรู้สึกเห็นด้วยกับขั้นตอนการทำ Telelhealth ตามที่ไได้กล่าวมา และเห็นด้วยที่เมื่อสถานการณ์โรคระบาดเบาบางลงเรายังสามารถนำ Telehealth มาใช้ควบคู่กันได้ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท