การเชื่อมโยงความคิดที่แตกยอด กระจัดกระจายไปตามสายลมความคิด : ข้อสังเกตจาก นายรักษ์สุข (คุณปภังกร) และส่วนที่น่าปรับปรุงของ gotoknow


ในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร ล้นหลาม ผู้คนจะใช้ประโยชน์จากบันทึกต่างๆได้อย่างไร

ยิ่งรู้มาก ประสบการณ์ยิ่งมาก  
..ยิ่งมีสิ่งที่อยากจะบันทึก ถ่ายทอดความรู้ออกมามาก

มีประเด็นบันทึกได้มาก  ทำให้มีบล็อกได้มาก …และหลายๆที่
จากคนๆหนึ่ง

การมีประเด็นที่หลากหลาย นำมาจัดกลุ่มความคิด เขียนบันทึกแยกประเด็น สื่อสารถึงกลุ่มผู้อ่านเฉพาะได้ชัดเจน



เช่น นายรักษ์สุข (คุณปภังกร) มี 5 blog ใน gotoknow
<ul>

  • ความรู้คือพลัง
  • ไดอารี่ชีวิต
  • Baby R2R
  • Integral UBU
  • เกร็ดการจัดการ
  • </ul>
    และ บล็อก ครูชีวิต ใน

    รูปแบบการอ่านบล็อก
    - หลายคนเปิดดูหัวข้อไปเรื่อยๆ   อยากอ่านเรื่องไหนก็คลิก
    - ก้าวไปอีกขั้น หลายคนสมัครสมาชิก สร้างแพลนเนต เพื่อตามอ่านบล็อกที่อยากติดตามอ่าน
    -ก้าวไปอีกขั้น ใช้ Rss Reader เช่น google reader, My yahoo, Blogline, Blog express เก็บ Rss feed ตามอ่านทุกบันทึกในหลาย web อย่างไม่พลาด

    คนที่ติดตามอ่านบันทึกของนายรักษ์สุขสอบถามมา ทำไมนายรักษ์สุขเขียนหลายบล็อกจัง เช่น

    ครูชีวิต และ ความรู้คือพลัง

    เนื้อหาหลัก ต่างกันตรงไหน เพราะเนื้อหาในบันทึกก็แนวเดียวกัน ต่างกันเพียงอยู่กันคนละที่เท่านั้น

    ในมุมมองของคนติดตามอ่าน ไม่ว่าจะมีกี่บล็อก ทุกบันทึกที่ต้องการอ่าน search ได้จาก google

    จะมีกี่บล็อก กี่ที จาก 1 blogger แต่ความจริง ก็เป็นความรู้จาก blogger ท่านนั้น ที่ขยายสาขาเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้น

    อือม แต่นายบอนมองดูแล้ว นายรักษ์สุข คงอยากเปลี่ยนกลุ่มผู้อ่านใหม่
    …กลุ่มที่เป็นอนาคตของชาติ…..

    ในยุคที่ข้อมูลข่าวสาร ล้นหลาม ผู้คนจะใช้ประโยชน์จากบันทึกต่างๆได้อย่างไร

    ในหลายบล็อก เช่น blogspot, wordpress มีระบบ search ของบล็อกนั้นๆ ค้นหาข้อมูลที่อยู่เฉพาะบล็อกแห่งนั้นได้ทันที

    คนเขียนบันทึกที่มีเพียง 1 blog ใช้ tag, keyword, คำหลัก เป็นตัวแบ่งเนื้อหา เขียนบล็อกเดียวให้เจ๋งไปเลย
    เช่น
    http://www.keng.com

    คนอ่าน ค้นพบบล็อกนั้น ถ้าชื่นชอบ ก็ Favorite / Bookmark ไว้เลย ไปที่เดียวแล้วพบข้อมูลที่อยากอ่าน
    แต่การออกแบบของ gotoknow จะแตกยอด สร้าง blog กี่ blog ก็ได้ ตามใจปรารถนา

    เพิ่ม blog ได้ไม่จำกัด ทำให้เกิด blog ร้างได้มากมายเช่นกัน

    กรณีเขียน บล็อกเดียว คนอ่านสามารถติดตามอ่านจากที่เดียว  blogger สามารถทุ่มเทในการเขียนบันทึกที่เดียว ความรู้ ความคิดถูกรวบรวมไว้ที่เดียว แต่แบ่งเป็นหมวดหมู่ด้วย tag ซึ่ง gotoknow ก็ใช้เช่นกัน

    เทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าของ gotoknow คนเขียนบันทึก คิดได้ไกล
    ….แต่ คนอ่านหลายคน ยังตามไม่ทัน…..


    การเชื่อมโยงความคิดที่แตกยอด ด้วย search การค้นหาข้อมูล น่าจะเป็นส่วนที่สำคัญ
     gotoknow มีเครื่องมือต่างๆ เพียบพร้อม
    แต่ ระบบค้นหาข้อมูล ที่สามารถค้นหาข้อมูล เฉพาะ blog นั้นๆ ยังไม่ดีพอ
    .... ในการพัฒนา version ต่อไป gotoknow อาจจะแก้ไขระบบการค้นหาข้อมูลให้ดีขึ้น

    เพราะหลายบล็อก มีเนื้อหาที่ชัดเจน เมื่อต้องการค้นหาข้อมูลเฉพาะบล็อกแห่งนั้น โดยเฉพาะ เมื่อเพิ่มบันทึกไปแล้วไม่กี่นาที สามารถค้นพบบันทึกนั้นได้ทันที ส่วนนี้ จะเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในการเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้มากขึ้น


    ใน google ได้พัฒนา http://blogsearch.google.com   ในการค้นหาข้อมูลในบล็อกต่างๆ

    ใน gotoknow, http://learners.in.th/ , http://researchers.in.th/ หากสามารถเชื่อมโยงและสืบค้นข้อมูลจากทั้ง 3 แห่ง ด้วยการสืบค้นจากที่เดียว จะทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ได้มากมายเพียงใด

    ข้อสังเกตจากการแยกเขียนบล็อกของนายรักษ์สุข เพื่อนนายบอนตั้งข้อสังเกตว่า

    ”การศึกษาไทยมีคนวิพากษ์ว่า มักจะสอนแบบแยกส่วน ควรจะมองภาพรวมให้ได้  ระบบการเขียนบันทึกของ gotoknow มีแนวโน้มให้แยกส่วน แยกประเด็น แล้วจะมองในภาพรวมด้วยวิธีใด เพราะผู้พัฒนาระบบเปิดกว้างอย่างสุดๆ ทั้งๆที่ความจริง ส่วนต่างๆที่แยกกันนั้น ก็อยู่ในเครือข่าย  internet เหมือนกัน แต่การพัฒนาระบบที่เปิดกว้าง ให้เกิดความหลากหลาย จนข้อมูลมากล้น เข้าไม่ถึง แล้วจะให้มององค์ความรู้ในแบบภาพรวมได้อย่างไร ในเมื่อท่านพยายามที่จะแยกส่วนอย่างชัดเจนเช่นนี้”

    เรื่องของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ คงต้องเติมความรู้ ความเข้าใจกันต่อไป

     แต่การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจาย ให้สามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการได้ในเวลานี้

    ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้น

    ต้องเข้าไปดูใน gotoknow ตามด้วย learner และ research

    ความจริงแล้ว การออกแบบระบบ เป็นมิตรกับผู้ใช้  สามารถใช้ได้ง่าย
    แต่ข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมากมาย ผู้ใช้ทั่วไปก็สับสนเช่นกัน….


    ”ชอบบันทึกในแนวทางของคุณปภังกรมากๆ จะมีกี่บล็อก ก็เปิดอ่านจาก google reader ได้ตลอด ถ้าไปเปิดบล็อกที่ใหม่ๆ เวบใหม่ ก็ต้องตามไปบันทึก Rss Feed เพื่อดึงบันทึกมาอ่านอย่างไม่ขาดตอน”

    ในชีวิตจริง ถ้าพบกับคุณปภังกรตัวจริง เราสามารถนั่งสนทนา แลกเปลี่ยนกับท่านได้จากตัวท่านคนเดียว ที่เดียว แต่ทำไมใน internet ถึงดูซับซ้อนมากนัก ทั้งๆที่ตัวคุณปภังกร มีความตรงไปตรงมา อยู่บนวิถีความพอเพียง……

    …. แล้ว ทำไมจำนวนบล็อกถึงตรงกันข้ามกับ ความเป็นจริงของตัวท่านไปเลยล่ะ…”

    นายบอนคงจะต้องไปอธิบายให้พรรคพวกเข้าใจอีกพอสมควร ในเรื่องของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้




    หมายเลขบันทึก: 68803เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (2)

    Learners.in.th เป็น E-learning tools ค่ะ เรากำลังเก็บข้อมูลการนำเอาบล็อกไปใช้เพื่อการเรียนการสอนแล้วจะผนวกเข้าไปใน Leaners.in.th ในอนาคตค่ะ

    แนะนำอ่าน:

    การประยุกต์ใช้บล็อกการเรียนการสอน (E-learning) ที่ Learners.in.th

    Student-centered E-learning อย่างแท้จริงต้องที่ Learners.in.th

    ส่วนทั้งสามเว็บไซต์ ได้แก่ GotoKnow.org, Learners.in.th และ Researchers.in.th แยกจากกันค่ะเป็นคนละฐานข้อมูลค่ะ

    Sponsor หลักก็เป็นคนละหน่วยงานค่ะ โดยที่ทาง UsableLabs ดูแลให้สองไซต์ค่ะ คือ GotoKnow.org (ของ สคส.) และ Learners.in.th (ของ สสส.) ค่ะ ส่วน Researchers.in.th (ของ สกว.) เราดูให้ในเบื้องต้นค่ะ แต่ตอนนี้ทั้งสามไซต์ยังพึ่งใบบุญของ สคส. ในเรื่องเครื่องแม่ข่าย กำลังจัดซื้อเพิ่มเติมค่ะ

    และอันที่จริงองค์กรอื่นๆ ก็สามารถจัดตั้งเว็บไซต์ อย่าง GotoKnow ขึ้นมาต่างหากก็ได้ค่ะ เพราะระบบ KnowledgeVolution ที่เราพัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ได้ค่ะเพราะเป็น open-source

    ดังนั้น การทำให้ทุกไซต์ที่ติดตั้ง KnowledgeVolution เข้าถึงกันได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำค่ะ แต่ถ้าหากทำต้องระวังเรื่องของ security อย่างมากค่ะ แต่เราเข้าถึงกันได้ด้วย RSS Feeds อย่างที่คุณบอนกล่าวถึง

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท