นักเรียนท้าทายการขู่โดยไปโรงเรียนเป็นชุดลำลอง


วันแรกของการเปิดเทอมในประเทศไทยครั้งนี้คงแตกต่างกว่าที่เคยเป็นมา เพราะว่านักเรียนอย่างน้อย 23 โรงทั่วประเทศจะไปโรงเรียนแบบไม่มีชุดนักเรียน ท้าทายกับประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงมากที่สุดคือ เครื่องแบบนักเรียนยังสำคัญอีกหรือไม่?

การประกาศเชิญชวนที่ไม่ให้แต่งเครื่องแบบไปเกิดมาจากกลุ่มนักเรียนเลว และนักเรียน KKC Pakee, กลุ่มนักกิจกรรมทางสังคม ที่เรียกร้องให้นักเรียนเลือกสวมใส่ตามจุดมุ่งหมายของตนเองไปโรงเรียนในวันที่ 1 เดือนธันวาคม พวกเขาประกาศว่าจะทำการเรียกร้องอิสรภาพของปัจเจกบุคคลเหนือร่างกายของพวกเขาเอง

 กลุ่มนักเรียนเลวรายงานว่ามีนักเรียนอย่างน้อย 23 โรงในกรุงเทพฯ ชลบุรี จันทบุรี ปทุมธานี อุดรธานี และขอนแก่นจะเข้าร่วมกิจกรรมนี้

ในขอนแก่น มีนักเรียนจาก 4 โรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม พวกเขาสวม T-shirt สีส้มมาที่โรงเรียน และคนอื่นๆอีกหลายคนได้แบ่งปันแนวคิดแบบนี้

ตามที่ Isaan Record มีข้อมูลว่า Kwankhao บอกกับครูฝ่ายกิจการนักเรียนว่า การไม่สวมใส่เครื่องแบบแสดงให้เห็นถึงอิสรภาพในการเลือกใส่ชุด นักเรียนยังได้ทำการชูสามนิ้วเพื่อการสรรเสริญการต่อต้านการเผด็จการในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย ครูยังได้นำนักเรียนที่ไม่แต่งเครื่องแบบไปที่ห้องประชุม โดยแยกขาดจากนักเรียนที่แต่งเครื่องแบบในตอนเคารพธงชาติ

ตอนเวลา 11.46 Kwankhao กล่าวว่าโรงเรียนที่ไม่ยอมให้นักเรียนที่แต่งชุดที่ไม่ใช่เครื่องแบบได้เข้าชั้นเรียนได้อย่างปกติ เขากล่าวเพิ่มเติมว่า Sakdadach Tasai ผ.อ. ของ Kaen Nakhon Wittayalai พูดว่าจะไม่มีการหักคะแนนกับคนไม่แต่งเครื่องแบบมา และการแต่งตามทางเลือกของแต่ละคนเป็นเพียงการแสดงออกทางตัวตนเท่านั้น

Kwankhao พูดว่า กิจกรรมที่ทำทุกวันนี้เป็นเพียงกาตทดลอง และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์เพื่อดูว่าอะไรจะเกิดขึ้น หากนักเรียนไม่สวมเครื่องแบบมาโรงเรียน KKC จะนำเสนอคำขอร้องไปให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อนำเสนอการทดลอง 1 ภาคเรียน สำหรับนักเรียนว่าจะแต่งชุดเครื่องแบบ หรือชุดอื่นๆที่โรงเรียน

ตามโรงเรียนอื่นๆในขอนแก่น ตัวแทน KKC กล่าวว่า โรงเรียน Kanlayanaest ได้รวบรวมชื่อเพื่อทำจุดประสงค์ทางสถิติ ในขณะที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น และโรงเรียนพระมหาไถ่จังหวัดขอนแก่น ไม่ได้นำนักเรียนที่ไม่แต่งเครื่องแบบมาที่กิจการนักเรียน

KKC ประกาศว่าพวกเขาจะทดลองไม่แต่งเครื่องแบบในวันที่ 2 ธันวาคม

ในกรุงเทพฯ มติชนได้สัมภาษณ์ Boonyaphong Phothiwatthanat ผ.อ. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ที่กล่าวว่านักเรียนที่ไม่แต่งเครื่องแบบมาสามารถเข้าชั้นเรียนได้ตามปกติ และจะไม่ถูกหักคะแนน

นักเรียนคนหนึ่งที่สามเสนวิทยาลัยพูดกับมติชนว่าการสวมใส่ชุดอะไรก็ได้เป็นสิทธิที่พวกเขาสมควรได้รับ

สถานีไทยพีบีเอส รายงานว่ามีนักเรียนประมาณ 20 คนที่ไม่แต่งเครื่องแบบมาที่โรงเรียนบดินทร์เดชา จะถูกห้ามไม่ให้เคารพธงชาติ พวกเขาถูกกักตัวในโรงยิมเพื่อคุยกับผ.อ. และตัวแทนผู้ปกครอง

โรงเรียนได้ประกาศเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ว่า นักเรียนต้องแต่งเครื่องแบบมาที่โรงเรียนตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบปี 2008 และกฎระเบียบของโรงเรียน

พวกนักเรียนกล่าวว่าพวกตนก็รู้ว่ากระทำผิดกฎระเบียบ และการแต่งชุดไปรเวทเป็นการแสดงออกเพื่ออารยะขัดขืน พวกเขาถามถึงความจำเป็นและภาระทางการเงินของเครื่องแบบ

การถกเถียงเรื่องความจำเป็น

เครื่องแบบเป็นสิ่งที่อยู่คู่สกับนักเรียนไทยมาตั้งแต่ปี 1885  (พ.ศ. 2428) ตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 5 เครื่องแบบที่ใช้ทุกวันนี้เริ่มมีมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

นักเรียนจะมีชุดเครื่องแบบอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ชุดนักเรียน ชุดพละที่แต่งหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ และชุดลูกเสือและชุดเนตรนารีหรือชุดยุวกาชาดซึ่งใส่หนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ โรงเรียนสามารถออกแบบชุดอื่นๆได้อีกตามแต่จะเป็นโรงเรียนต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ

การถกเถียงขุดให้เห็นรากลึกในสังคมไทย นอกเหนือจากกฎของโรงเรียนในเรื่องเครื่องแบบแล้ว ยังมีทรงผม, สีของกระเป๋าเป้, และอื่นๆอีก หลายผู้คนเห็นว่านี่เป็นการสอนนักเรียนถึงเรื่องการเคารพกฎระเบียบ, การลดทอนความเหลื่อมล้ำที่สามารถสังเกตได้จากโรงเรียน และการให้ค่าแก่ความเป็นนักเรียนนอกเหนือจากโรงเรียน

แต่หลายๆคนเชื่อว่าเครื่องแบบจะทำให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยรู้สึกคิดหนักเพราะมีราคาแพง, ไม่เกี่ยวกับสัมฤทธิผลทางการศึกษา, และนำเสนอความเป็นเผด็จการภายใต้กฎระเบียบที่คอยบีบบังคับให้นักเรียนเอาแต่เชื่อฟัง และบิดกั้นเสรีภาพ

ในฐานข้อมูลของ OBEC ปี 2019 พบว่ามีนักเรียนประมาณ 3,481,632 จาก 6,600, 745 หรือ 52.75% ไม่มีเครื่องแบบ และ OBEC ต้องรับผิดชอบต่อโรงเรียนทั้งหมดในประเทศ

การลงโทษที่น้อยลงแล้ว  

ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) ได้จัดพิมพ์ข้อสังเกตทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องพระราชบัญญัติเครื่องแบบปี 2008 และระเบียบของรัฐมนตรีศึกษาตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบปี 2008 ที่บังคับเรื่องเครื่องแบบเอาไว้

ศูนย์ทนายฯได้ตั้งข้อสังเกตว่า การลงโทษตามกฎหมายของนักเรียนที่ไม่แต่งเครื่องแบบมาคือการตัดเตือน, การทำทัณฑ์บน, การตัดคะแนน, และการจัดกิจกรรมปรับพฤติกรรม การลงโทษแบบอื่นๆ เช่น การยึดของ, การลงโทษทางร่างกาย, หรือการไม่ให้นักเรียนเข้าชั้น จะไม่สามารถทำตามกฎหมายได้

บทบัญญัติที่ 14 ของกฎกระทรวงระบุว่า โรงเรียนสามารถนำเสนอต่อระเบียบของโรงเรียนให้แต่งชุดที่แตกต่างจากกฎระเบียบเดิมได้ บทบัญญัติที่ 16 ของกฎกระทรวงกล่าวว่า อนุญาตให้โรงเรียนไม่ต้องให้นักเรียนใส่เครื่องแบบเมื่อมีความจำเป็น

แปลและเรียบเรียงจาก

Prachatai. Students stir up controversy by going to school out of uniform.

https://prachatai.com/english/node/8941

หมายเลขบันทึก: 687602เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2020 18:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2020 18:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท