มาเขียน Field Note เเบบ Up Skill กันดีกว่า


เวลาลงชุมชน เก็บข้อมูล จัดประชุมกลุ่ม ทำประชาคมต่างๆ ลืมไม่ได้ต้องมีการจดบันทึก แต่ถามจริงๆว่าเราเคยวิเคราะห์วิธีการจดบันทึกของเราหรือไม่ และจะพัฒนาการจดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

Field Note นั้นสำคัญไฉน?

เวลาลงชุมชน เก็บข้อมูล จัดประชุมกลุ่ม ทำประชาคมต่างๆ ลืมไม่ได้ต้องมีการจดบันทึก แต่ถามจริงๆว่าเราเคยวิเคราะห์วิธีการจดบันทึกของเราหรือไม่ และจะพัฒนาการจดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างไร

ที่เขียนเรื่องนี้ก็เพราะตอนบ่าย มีสายเรียกเข้าจากอาจารย์แก๊บ (รศ.ดร.สุเนตร สุวรรณละออง) Sunate Suwanlaong จากคณะสังคมศาสตร์ ม.บูรพา ชวนนัดเวลาไปเลคเชอร์ให้นักศึกษาต้นปีหน้า มีหัวข้อหนึ่งที่ผมรับมาคือ เทคนิคการศึกษาชุมชนแบบมานุษยวิทยา ไอ้เราก็มานั่งนึก เอิ่ม ปี 2559 กับปี 2561 ที่เคยไปสอนที่นั่น มีเรื่องอะไรบ้าง และมีเรื่องอะไรที่น่าจะสอนแต่ยังไม่ได้สอน ก็เลยคิดถึงประเด็นนี้เลย

เรื่องการเขียน หรือการจดบันทึกภาคสนาม (Field Note)

จุดเด่นมากๆของนักมานุษยวิทยา (Anthropolgist) คือทักษะการลงพื้นที่เก็บข้อมูลในสนามหรือเรียกติดปากกันว่า Fieldwork

Fieldwork จะดีไม่ดีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย แต่ปัจจัยพื้นฐานมาก มากซะจนหลายคนมองข้ามคือการจดบันทึกภาคสนาม หรือ ฟิลด์โน๊ต (Field Note)


กว่าจะได้งานวิจัยแต่ละชิ้น หรือกว่าโครงการแต่ละอย่างจะสำเร็จ เบื้องหลังการสื่อสารที่จำเป็นมากคือการมีการจดบันทึกที่ดีพอ

บันทึกภาคสนามไม่ใช่บันทึกการประชุมแบบทั่วไป ชื่อก็บอกอยู่แล้ว

นักมานุษยวิทยาก็ดี คนทำงานขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ ฯลฯ ก็ดี จดบันทึกในสมุดกันยังไงบ้าง ผมก็ไม่รู้ขัดนะครับ เพราะได้แค่ชำเลืองดูเขาจด ถ้าเอาสมุดจดเค้ามาดูก็เกรงจะหาว่าละลาบละล้วง แต่หลายครั้งทีเดียว ที่มีคนบอกกับผมว่าประชุมแต่ละครั้งนี่ ผมจดอะไรได้เยอะมาก

คือเยอะในเชิงปริมาณนะ เขาคงเห็นเราเขียนเป็นสิบหน้า แต่ก็นั่นแหละ เขาก็ไม่ได้มาดูว่าใน fieldnote ผมนั้นเขียนอะไรลงไป

เคล็ดลับการจดบันทึกของผมคือผมจะจดทั้งหมดสี่ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้องกันนะครับ ถ้าแบ่งหน้ากระดาษหนึ่งหน้า ก็จะแบ่งสัดส่วนการเขียนได้เป็นสี่ช่องตามภาพ คือ 1. ข้อมูลที่ได้ 2. อารมณ์ความรู้สึกของผู้เข้าร่วม (รวมถึงตัวเราเองด้วย) 3.บรรยากาศ สถานที่ สภาพแวดล้อมในขณะนั้น 4. คือหมายเหตุ เผื่อตัวเราจะเพิ่มเติม หรือคิดอะไรได้ เป็นความคิดส่วนตัวที่อยากนำเสนอในเวทีนี้

4 ช่องนี้จะแบ่งในหนึ่งหน้ากระดาษ หรือจะเขียนรวมๆไว้ในหนึ่งเล่มก็ได้ แต่ Field Note ของผมจะมีสี่ประเด็นนี้เสมอๆซึ่งมันมีผลช่วยให้เราวิเคราะห์ปรากฏการณ์เรื่องราวได้ลึกซึ้งกว่าการจดแต่ข้อมูลล้วนๆ


แล้วยังทำให้ Field Note ของเรามีชีวิตชีวา มีความใส่ใจในความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ตลอดจนเชื่อมพลังกับธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติที่เป็นบริบทในขณะนั้นได้อีกด้วย

เตรียมการสอนปีหน้าก็จริง แต่วันนี้นึกขึ้นได้ว่า ตั้งแต่ทำงานวิจัยภาคสนามมา สิบกว่าปียังไม่เคยโพสต์เรื่องนี้ โพสต์ลงไปบ้างก็น่าจะดี เป็นแนวทางให้น้องๆลูกหลานทั้งที่เรียนสาขามานุษยวิทยาโดยตรง สาขาพัฒนาชุมชน หรือสาขาอะไรก็แล้วแต่ที่ต้องทำงานภาคสนาม ลงพื้นที่ชุมชนได้อย่างมีเครื่องมือที่เป็นระบบขึ้น

ถึงเทคโนโลยีสื่อสารจะไปไกลเท่าใด แต่พื้นฐานการจดบันทึกภาคสนามอย่างนี้ จะละเลยไปไม่ได้เลย

หมายเลขบันทึก: 687487เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2020 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ธันวาคม 2020 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท