Model ที่จะทำให้การพัฒนาตนเองนั้นเป็นเรื่องง่ายๆ


สวัสดีค่ะ ช่วงนี้ก็จะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวกันแล้วนะคะ แต่ก็ยังอยู่ในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้เราไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมข้างนอกได้อย่างสะดวกเหมือนแต่ก่อน หลายๆคนก็กำลังมองหางานอดิเรกทำหรือ ทักษะต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อที่เรานั้นจะสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบโจทย์ชีวิตของเราได้ง่ายที่สุด ผู้เขียนจึงจะมานำเสนอ Model ที่มีชื่อว่า MoHo ซึ่งผู้เขียนนั้นก็ได้นำ Model นี้มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองและ การจัดการต่างๆในชีวิตได้ก่อนอื่นผู้เขียนต้องอธิบายก่อนว่า MoHo นะ้นคืออะไร

MoHo หรือ Model of Human Occupation เพื่อประเมิณแยกแยะปัญหา เพื่อตั้งเป้าหมาย โดยพิจารณาจากสิ่งที่เป็นอยู่ของตัวบุคคลนั้น เช่น Asssets (ความคิดบวกหรือความในใจเกี่ยวกับตัวบุคคล) Liabilities (สินทรัพย์หรือสิ่งที่หามาได้) Performance (ความสามารถที่บุคคลนั้นแสดงออกมา) และ Influence (สิ่งที่มีผลทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมในการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิต) และ MoHo นั้นยังช่วยเพิ่มความสามารถในการแสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิต จากการใช้สิ่งรอบตัวเป็นสื่อในการพัฒนา ปรับตัวตามช่วงวัย และสร้างทักษะชีวิต จนเกิดเป็นนิสัยและบทบาทใหม่ขึ้น

หลักการของ MoHo นั้นคือ การตั้งคำถามที่มีประโยชน์และ นำไปสู่การประเมิณตนเองเพื่อหาแนวทางในการจัดการและ การวางแผนในการทำกิจกรรมที่เหมาะสมและ ตรงตามความ ต้องการของตัวเองได้ โดยมีแนวคำถาม 7 แนวที่เราต้องประเมิณเพื่อทราบข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวตนของตนเองอย่างแท้จริงมั้ย

สิ่งแรกที่ต้องถามตนเองนั้นคือ เรามีความสนใจหรือมีความต้องการที่จะทำสิ่งใดและ เราต้องการสิ่งนั้นเพราะอะไร ซึ่งคำถามแรกนี้จะทำให้เรานึกย้อนไปถึงตัวเองในระหว่างการทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจหรือ มีความหมายและ เราจะให้คุณค่ากับสิ่งนั้นอีกทั้งยังทำให้เราได้ทราบถึง Occupational Identity หรือ คุณลักษณะส่วนบุคคลต่อการทำกิจกรรมที่มีความหมาย

ต่อมาเป็นการถามคำถามในข้อถัดไป คือ กิจกรรมนั้นช่วยให้คุณแสดงศักยภาพได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้เรานั้นทราบว่าเรามีศักยภาพในการทำกิจกรรมนั้นได้มากแค่ไหน และใช้ความสามารถอะไรได้บ้างในการทำกิจกรรมนี้ หรือที่เรียกว่า Occupational Competenece ซึ่งคำถามข้อที่ 2 นั้นจะทำให้รู้แนวทางอย่างชัดเจน

ซึ่งหากเราสามารถตอบคำถาม 2 ข้อนี้ได้อย่างชัดเจน นั่นแปลว่า เรามีความสามารถในการปรับตัวในการทำกิจกรรม หรือ Occupational Adaptation สามารถดำเนินการทำกิจกรรมนั้นได้ แต่หากเรายังคิดว่าคำตอบของเรานั้นยังไม่ชัดเจนพอก็ยังมีคำถามอีกหลายแนว ที่จะทำให้เรานั้นได้ข้อมูลมากขึ้น

คำถามแนวที่ 3 นั้นคือ เราได้เข้าไปมีส่วนร่วมอะไรบ้างในการทำกิจกรรมนั้นเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับการมี Participate กับกิจกรรมนั้นๆ อาจทำให้ทราบถึงปัญหาที่ส่งผลต่อการทำกิจกรรม

คำถามแนวที่ 4 เป็นการถามเกี่ยวกับ Performance คือ ในการทำกิจกรรมนั้นมีสิ่งใดที่สามารถทำได้หรือ มีสิ่งใดที่ไม่สามารถทำได้บ้าง จะทำให้เรารู้สึกถึงความสามารถที่เรามีมากขึ้น

ต่อไปคือคำถามแนวที่ 5 เป็นแนวการถามเกี่ยวกับทักษะ คือ เราต้องการเสริมทักษะอะไรเพิ่มเติมไหมเพื่อที่เราจะได้มีทักษะ ที่ช่วยให้เราสามารถทำกิจกรรมที่ง่ายหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มาจนถึงคำถามที่ 5 แล้วมีความเข้าใจในความต้องการของเรามากขึ้นกันมั้ยคะ 5555 ถ้ายังเราก็มาต่อกันเลยดีกว่าค่ะ

คำถามแนวที่ 6 นั้นจะเน้นถามโดยใช้คำว่า “อย่างไร” เป็นหลัก คือ

-เรามีเจตจำนงค์อย่างไรในการทำกิจกรรมนั้น หมายความว่า เรามีความตั้งใจจริงของการทำกิจกรรมนั้นเป็นอย่างไรบ้าง (Volition)

-เรามีพฤตินิสัย (habituation) เป็นอย่างไรบ้าง คือเรามีพฤติกรรมที่ปฏิบัติจนเป็นนิสัยอย่างไรบ้าง เพื่อดูภาพรวมลักษณะการใช้ชีวิตหรือ บุคลิกของเราเอื้อต่อการทำกิจกรรมนั้นได้มากน้อยเพียงใด

-เราจะแสดงความสามารถแบบเต็มศักยภาพ (Performance Capacity) ได้ย่างไร เพื่อสื่อถึงความสามารถ สูงสุดที่เราทำได้

มาถึงคำถามแนวสุดท้ายเป็นคำภามที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมรอบตัวของเรา คือ สภาพแวดล้อมหรือ สิ่งรอบตัวอะไรบ้างที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหรือ การกระทำของเราในการทำกิจกรรมนั้น สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหรือความประพฤติของเราได้

จบไปแล้วกับแนวคำถามทั้ง 7 แนวของ MoHo ซึ่งดิฉันหวังว่าข้อมูลที่ดิฉันได้ถ่ายทอดนั้นจะเป็นประโยชน์และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเสริมสร้างทักษะและ การพัฒนาตนเองได้เป็นอย่างดี ขอบคุณค่ะ

หมายเลขบันทึก: 685322เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท