สุขภาวะคืออะไร สำคัญไฉนกับตัวเรา


การพัตนาตนเองให้มีสุขภาวะสมบูรณ์

          เมื่อกล่าวถึงสุขภาพ หลายๆ คนคงทราบเป็นอย่างดีว่าคืออะไร ความหมายเป็นอย่างไรบ้าง แต่หากกล่าวถึงสุขภาวะ หลายๆ คนรวมถึงตัวผู้เขียนเองก็ไม่เข้าใจว่าคืออะไร หมายความว่าอย่างไรบ้าง ผู้เขียนจึงทำการค้นคว้าเพิ่มเติม ได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้

          สุขภาวะ หมายถึง การดำรงชีพของบุคคลอย่างมีสุข ทั้งกายและจิต อาจกล่าวได้ว่า ไม่ใช่เพียงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ แต่รวมถึงการมีชีวิตที่มีร่างกายแข็งแรง จิตใจแข็งแรง มีความสุขอยู่ในสังคมโลกปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

          สุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆ ทางเชื่อมโยงกันและจะสะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและเชื่อมโยงกันทั้ง 4 มิติ ได้แก่ กาย จิต สังคม และปัญญา 

          1. สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย  

          2. สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ มีสมาธิ  

          3. สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ในโลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทาง           สังคมที่ดี และมีสันติภาพ  

          4. สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากมีจิตใจสูง เข้าถึงความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว มุ่งเข้าถึงสิ่งสูงสุด ซึ่งหมายถึงพระนิพพาน หรือพระผู้เป็นเจ้าหรือความดีสูงสุด สุดแล้วแต่ความเชื่อมที่แตกต่างกันของแต่ละคน 

          แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเราเป็นคนที่มีสุขภาวะสมบูรณ์ เราจะมั่นใจได้อย่างไร ถ้าเรายังไม่มีสุขภาวะสมบูรณ์ก็ไม่เป็นไร แต่เราจะมีวิธีการพัฒนาตนเองได้อย่างไร และเพราะอะไรจึงทำให้เราอยากพัฒนาตนเอง ท่านผู้อ่านจงใช้ความคิด จิตใจ และสมาธิ ในการพิจารณาคำถามข้างต้นชั่วครู่หนึ่ง ตอบตัวเองในใจแล้วท่านอาจจะพบคำตอบและรู้จักตนเองมากขึ้น

          ผู้เขียนในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัด ขอนำเสนอ MOHO หรือ Model of Human Occupation ซึ่งเป็นแบบจำลองกิจกรรมการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพื่อการสร้างความสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิด การกระทำร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัด โดยการประเมินแยกแยะปัญหาเพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ MOHO หรือ Model of Human Occupation เป็นแบบจำลองหรือกรอบแนวคิดที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ในการประเมิน แยกแยะปัญหา เพื่อตั้งเป้าหมายรายบุคคลจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 
          1. Assets : ความรู้ ความเข้าใจ นามธรรมในตัวบุคคล ความคิดบวก

          2. Liabilities : สิ่งที่บุคคลหามาได้เป็นรูปธรรม เช่น รางวัล ที่ดิน บ้าน รถ หนี้สิน

          3. Performance : ความสามารถบุคคลที่แสดงออกมา      

          4. Influence : สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวบุคคลและมีผลต่อตัวบุคคล หรือ มีผลต่อพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ (Occupational Behavior) 

          ผู้เขียนมีความเห็นว่ากรอบแนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้อ่านทุกคนในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้ตัวเรามีสุขภาวะสมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตัวเราได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บรรลุเป้าหมายในการทำกิจกรรม โดย MOHO มีหลักการในการถามตัวเราเองอยู่ด้วยกัน 7 ข้อ ดังที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้ 

          1. Occupational Identity คือ การรับรู้ว่าตนเองชอบทำอะไร อยากจะทำอะไร

              Question : เราสนใจอยากจะทำอะไร และเพราะอะไรถึงสนใจสิ่งนี้ ?

              Answer : อยากทำอาหารอร่อย เพราะตัวเราเองชอบกินอาหารอร่อยๆ

          2. Occupational Component คือ ศักยภาพของตนเอง

              Question : การทำอาหารจำเป็นต้องใช้ทักษะความสามารถอะไรบ้าง ?

              Answer : ทักษะต้ม ผัด ทอด ,ทักษะการปรุงรส ,ทักษะการเตรียมวัตถุดิบ

          3. Participation คือ การมีส่วนร่วมในการทำงาน การเล่น การทำกิจกรรม

              Question : ตัวเราได้เข้าไปมีส่วนร่วมอะไรบ้างในการทำอาหาร ?

              Answer : ตัวเราได้เข้าครัวไปช่วยคุณแม่ทำอาหารบ่อยครั้ง ,ตัวเราได้เข้าไปดูคลิปในยูทูปเกี่ยวกับการทำอาหาร

          4. Performance คือ ความสามารถที่ตนเองแสดงออกมา

              Question : ในการทำอาหาร เราสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้สามารถทำอะไรได้บ้าง?

              Answer : ตัวเราสามารถ ผัด ต้ม ได้ แต่ไม่สามารถทอดได้ ,ตัวเราสามารถตำกระเทียมได้ แต่ไม่สามารถปลอกกระเทียมได้ , ตัวเราสามารถปรุงรสได้ แต่ยังไม่กลมกล่อม ต้องชิมรสหลายรอบ ,ตัวเราไม่สามารถปรุงรสโดยไม่ชิมรสก่อนได้ 

          5. Skill คือ ทักษะ ถูกเเบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ Communication (การสื่อสาร) ,Motor (การเคลื่อนไหว) ,Process skill (กระบวนการคิด)          

              Question : ตัวเราสามารถใช้ทักษะที่จำเป็น (skills) ได้แก่ ทักษะการสื่อสาร (communication skill) ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skill) และทักษะการคิดวิเคราะห์ (process skill) ได้ดีหรือไม่ ดีหรือไม่ดีอย่างไร ?

              Answer : ตัวเรามีทักษะการสื่อสารที่ดี เพราะสามารถสื่อสารกับคุณแม่ได้เข้าใจ ,ตัวเรามีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดี เพราะสามารถยืน ขยับแขน เดิน เพื่อผัด ต้ม หรือตำวัตถุดิบได้ ,ตัวเรามีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ไม่ดี เพราะตัวเราไม่สามารถวิเคราะห์เครื่องปรุงได้ดีว่าต้องใช้อัตราส่วนเท่าไร จึงจะกลมกล่อม

          6. การถามตนเอง 3 ขั้น โดยใช้ประโยคคำถามชนิด ‘อย่างไร’ 

              Volition (เจตจำนง) คือ ความตั้งใจที่จะทำ อยากทำสิ่งนั้นจริงๆ  

              Question : เจตจำนง/ความตั้งใจในการทำอาหารของตัวเรานั้นเป็นอย่างไร

              Answer : ตัวเรามีความตั้งใจจะทำอาหารให้อร่อย เพื่อให้ตัวเราเองและคนรอบข้างกินอาหารอร่อยๆ ในทุกวัน

              Habituation (พฤตินิสัย) คือ ทำจนเป็นนิสัยหรือเป็นบทบาท เช่น ชอบทำอาหารจึงทำอาหารทุกๆวัน 

              Question : ตัวเรามีพฤตินิสัย (habituation) อย่างไรบ้าง ? 

              Answer : ตัวเราชอบไปตลาดสดกับคุณแม่ในตอนเช้า ,ตัวเราชอบแผนกเครื่องปรุงในซูเปอร์มาร์เก็ต

              Performance capacity (เเสดงความสามารถอย่างเต็มที่)

              Question : ตัวเราจะแสดงความสามารถแบบเต็มศักยภาพ (performance capacity) ได้อย่างไร ?

              Answer : ตัวเราจะฝึกเตรียมวัตถุดิบกับคุณแม่ทุกเช้า ,ตัวเราจะฝึกปรุงอาหารกับคุณแม่ทุกเช้า และฝึกเองสัปดาห์ละ 3 วัน

          7. Environment คือ สิ่งเเวดล้อมรอบตนเองที่มีผลต่อการทำกิจกรรม        

              Question : สภาพแวดล้อมรอบตัวเราอะไรบ้าง ที่ส่งผลต่อการทำอาหารของตัวเรา ?

              Answer : อุปกรณ์ครัวที่ครบถ้วน ,มีดที่คม ทำให้ตัวเราสามารถเตรียมวัตถุดิบได้ดี ,คุณแม่ทำอาหารทุกเช้า ทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ทุกวันและสม่ำเสมอ ,ความสดของวัตถุดิบทำให้อาหารของเรากลมกล่อมมากขึ้น


           ขอให้ผู้อ่านมีอารมณ์ผ่อนคลาย มีสติ สมาธิ พูดคุยกับตัวเราเองว่าคำตอบข้างต้นคืออะไร ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะรู้แนวทางในการพัฒนาตนเอง บรรลุกิจกรรมอย่างมีสุขภาวะสมบูรณ์ และเมื่อรู้แนวทางเรียบร้อยแล้วได้ลงมือทำอย่างสม่ำเสมอด้วยความอดทน เพียรพยายาม ความสำเร็จไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังพัฒนาตนเองค่ะ


ศุภาพิชญ์ ชูทรัพย์...



หมายเลขบันทึก: 685205เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 15:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท