✎MoHo...To Heal มุ่งสู่สุขภาวะที่ดีของสังคม



MoHo…ตัวช่วยสำคัญในการพัฒนากลุ่มเปราะบาง

               ในสังคมไทยปัญหาของคนกลุ่มเปราะบางนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างสมบูรณ์อาจเพราะข้อจำกัดในหลายๆเรื่องทำให้คนในกลุ่มนี้ถูกมองข้ามไป ซึ่งจะเป็นการดีถ้าเรานำตัวช่วยสำคัญอย่างสิ่งที่เรียกว่า " MoHo " มาใช้แก้ไขปัญหาบุคคลในกลุ่มเหล่านี้โดยกลุ่มเปราะบางที่เราจะเข้าไปช่วยเหลือ แก้ไข ฟื้นฟู และพัฒนา เช่น ผู้สูงอายุ, คนพิการ, บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านจิตใจ(เป็นผู้ป่วยซึมเศร้า), บุคคลยากจน , คนไร้บ้าน เป็นต้น หากคนกลุ่มเหล่านี้ได้รับการช่วยเหลือก็คงจะดีไม่น้อย ซึ่ง MoHo จะเป็นเครื่องมือที่เข้ามาสร้างรอยยิ้มให้แก่พวกเขาแน่นอน


MoHo...มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไรบ้างนะ?

  1. MoHo ทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาที่เกิด ทำให้เราเห็นสิ่งที่สร้างผลกระทบหรือปัญหาในวงกว้าง

การที่เรามองสิ่งที่อยู่รอบๆปัญหานั้นทำให้เราคิดแก้ปัญหาออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นดีกว่าการมองไปที่จุดที่เกิดปัญหานั้นเพียงอย่างเดียว ฉะนั้นปัญหาที่เรากำลังจะเข้าไปช่วยเหลือพัฒนาคือ “คนกลุ่มเปราะบาง ” เราก็จะไม่ได้มองเพียงแค่ตัวของบุคคลเหล่านี้ แต่เรามองไปที่สภาพแวดล้อมหรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ด้วยนั่นเอง

2. ช่วยให้การจัดวางระบบระเบียบเป็นไปอย่างมีขั้นตอนทำให้เราได้รู้ที่มาที่ไปของปัญหา รู้เหตุผลของสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น เพราะอะไรคนๆนี้ถึงเศร้าหรือมีความเครียด เขาเศร้าเพราะเขาตกงานหางานทำไม่ได้จนเกิดความเครียด เป็นต้น

3. MoHo เปรียบเสมือนเครื่องมือที่นักกิจกรรมบำบัดนำมาใช้กับผู้รับบริการเสมือน Stethoscope ของแพทย์ ซึ่งเราจะนำMoHo ไปช่วยเหลือคนไข้ที่เราต้องการจะรักษา

4. สิ่งสำคัญที่สุดคือ MoHo ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้รักษาคนผู้รับบริการแค่เพียงภายนอก แต่ MoHo รักษาทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆกัน


    " MoHo แคร์ความรู้สึกของผู้รับบริการ

        MoHo จะฟื้นฟูคุณจากภายใน ♥️ "

    ยกตัวอย่างคนในกลุ่มเปราะบางที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว

    ไม่สามารถเดินหรือทรงตัวได้ต้องนั่ง วีลแชร์ เป็นประจำ

    " ในฐานะนักกิจกรรมบำบัดเราจะนำ MoHo มาช่วยเหลือคนๆนี้ได้อย่างไรบ้างนะ ? "

    1. ถึงแม้ว่าผู้รับบริการจะพิการไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนด้วยขาทั้ง 2 ข้างได้แต่ก็สามารถบอกได้ว่าสิ่งที่ตนต้องการนั้นคือสิ่งใด มีแรงใจ ที่จะทำอะไร
    • ผู้รับบริการมี occupation คือตนเองสนใจ ชอบและอยากจะทำคือการปลูกต้นไม้เล็กๆ ผู้รับบริการรู้สึกว่าตนเองจะมีความสุขถ้าได้ทำ

    [ ซึ่งเมื่อเรารู้ว่าผู้รับบริการของเราต้องการสิ่งนี้ เราในฐานะนักกิจกรรมบำบัดก็จะมีหน้าที่ทำให้ความต้องการของผู้รับบริการบรรลุผลสำเร็จตามที่ใจเขาต้องการ ]

    2. กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้บริการแสดงศักยภาพออกมามากน้อยแค่ไหน การปลูกต้นไม้เป็นกิจกรรมผ่อนคลาย ไม่ได้ใช้ทักษะหรืออะไรที่ยากมากเท่าไหร่นักนั่งวีลแชร์ก็สามารถทำกิจกรรมนี้ได้ ฉะนั้นผู้รับบริการสามารถแสดงศักยภาพกับ occupation นี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไม่มีปัญหาอะไร รวมทั้งกิจกรรมยังทำให้เกิดการผ่อนคลาย ทำแล้วเกิดผลดีต่อผู้รับบริการ

    3. ในส่วนนี้เราจะดูการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของผู้รับบริการ อย่างเช่น ADL อาจมีความลำบากไม่สามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอาจต้องมีคนคอยช่วยเหลือ ซึ่งถ้าหากผู้รับบริการอาศัยอยู่คนเดียวก็ควรจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมให้อำนวยต่อการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น เช่น การทำราวจับในห้องน้ำ การนอนก็ควรย้ายสถานที่มานอนบริเวณชั้นล่างของบ้านเพราะผู้รับบริการไม่สามารถขึ้นลงบันไดได้ ซึ่งในส่วนนี้นักกิจกรรมบำบัดต้องเข้าไปแก้ไขและปรับปรุงเป็นจุดๆไปเท่าที่เราจะสามารถช่วยเหลือได้มากที่สุด ในเรื่องของ Work เราก็ต้องดูว่าผู้รับบริการมีปัญหาหรือไม่? เพราะกรณีที่ไม่สามารถเดินได้อย่างกะทันหัน อาจส่งผลต่องานที่ทำอยู่เป็นประจำ อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนงานใหม่เพื่อให้สามารถหารายได้โดยไม่ต้องว่างงาน หางานที่ผู้รับบริการสามารถทำได้ไปด้วย อาจจะเป็นถักโครเชต์ขาย การสานกระเป๋าหรือแม้แต่การปลูกต้นไม้ที่ผู้รับบริการอยากทำ ก็สามารถสร้างให้เกิดอาชีพได้เช่นกัน ในส่วนนี้นักกิจกรรมบำบัดอาจจะพูดคุยแนะนำกับผู้รับบริการเพิ่มเติมต่อไป

      4. ในส่วนนี้นักกิจกรรมบำบัดก็จะถาม performance ที่ผู้รับบริการสามารถทำได้และทำไม่ได้เพื่อแสวงหาแนวทางการแก้ไข โดยส่วนใหญ่ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้ขาทั้ง 2 ข้างได้ตามปกติ เช่น การรับประทานอาหาร การอ่านหนังสือ แต่การเคลื่อนย้ายตัวจากรถเข็นไปที่เก้าอี้หรือเตียงอาจมีความลำบาก ต้องมีที่พยุงหรือมีคนคอยช่วยเหลือ แต่ในส่วนของกิจกรรมที่ผู้รับบริการอยากทำนั้นไม่มีปัญหา การปลูกต้นไม้เล็กๆไม่จำเป็นต้องลุกเดินก็สามารถทำได้ ถ้าไม่อยากก้มตัวก็อาจแนะนำให้วางกระถางอยู่ในระดับเดียวกับสายตาตอนที่กำลังนั่งอยู่บนวีลแชร์

      5. ทักษะอะไรบ้างที่ผู้รับบริการมีการฝึกฝนหรือควรฝึกฝนเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถทำ occupation ที่ต้องการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

        • ในผู้รับบริการที่ต้องนั่งวิวแชร์ไม่สามารถใช้ขาทั้ง 2 ข้างได้นั้นทำให้ผู้ป่วยอาจต้องใช้มือทั้ง 2 ข้างมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเวลาที่ต้องเคลื่อนย้ายตัว จำเป็นต้องใช้มือช่วยในการพยุงตัว ฉะนั้นการออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อแขนก็มีความสำคัญ ในเวลาว่างๆก็ควรเหยียดแขน ขยับแขนขึ้นลงเพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรงโดยการยกดัมเบลขนาดเล็ก
        • ทักษะในด้านของการสื่อสารปฏิสัมพันธ์ก็อาจมีความจำเป็นเพราะผู้ป่วยอาจไม่สามารถออกไปพบปะผู้คนได้อย่างที่ใจต้องการเพราะข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ในผู้รับบริการที่ชอบเข้าสังคมอาจมีความรู้เหงาและเคว้งคว้าง ผู้ป่วยอาจจะหัดลองใช้ application เพื่อติดต่อพูดคุยกับเพื่อนๆหรือคนรู้จัก ถ้าผู้รับบริการชอบในเรื่องของต้นไม้ ก็อาจจะคุยเรื่องต้นไม้กับเพื่อนๆ ดูคลิปเกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ก็เป็นหนทางที่ช่วยลดความเครียด เสริมสร้างความสุขและการผ่อนคลาย
        • หากผู้ป่วยยังสามารถใช้ขาได้แต่อาจจะมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงต้องได้รับการรักษาและกายภาพก็ควรไปเข้ารับการรักษาตามที่แพทย์สม่ำเสมอ เพื่อให้อาการทุเลาลงหรือดีขึ้นโดยดีที่สุดก็อาจกลับมาเดินได้อย่างเป็นปกติ

        6. เป็นการถามเพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 3 ข้อโดยถามต่อเนื่องกัน

          6.1) ผู้รับบริการมีเจตจำนงค์ในการทำ occupation นี้อย่างไร มีความตั้งใจจริงๆอย่างไร ?

          • ผู้รับบริการไม่เคยปลูกต้นไม้มาก่อนแต่เนื่องจากตนเองเดินไม่ได้ เลยไม่สามารถออกไปข้างนอกได้บ่อยๆจึงอยากหากิจกรรมที่ตนเองอยากจะทำ ซึ่งการอยู่บ้านเฉยๆอาจทำให้ตนเองรู้สึกเหงา เกิดความเบื่อหน่าย รวมทั้งตนเองสนใจในต้นไม้ ชอบธรรมชาติ เลยคิดว่าการปลูกต้นไม้เล็กๆก็จะสร้างความสุขในตนเองได้อย่างแน่นอน จึงเกิดความมุ่งมั่นที่อยากจะทำ 

          6.2) มีประพฤตินิสัยในกิจกรรมนั้นๆอย่างไร ?

          • ผู้รับบริการชอบธรรมชาติ ชอบต้นไม้ มีความชอบจริงๆจึงเกิดความตั้งใจในการทำกิจกรรมนี้ขึ้นมาและผู้รับการเห็นว่าตนสามารถทำได้ ผู้รับบริการมีความสุขที่จะได้ทำ (อยากทำเพราะเป็นความชอบ ทำแล้วมีความสุข รักที่จะได้ทำ ) ผู้รับบริการเป็นคนใจเย็นโดยพื้นฐาน ฉะนั้นการปลูกต้นไม้ถือเป็นตัวเลือกที่ดี

          6.3) กิจกรรมนี้ทำให้ผู้รับบริการแสดงเต็มความสามารถหรือไม่ อย่างไร? 

          • แสดงเต็มความสามารถเพราะการปลูกต้นไม้ไม่ได้สร้างปัญหาอะไรมากมาย ผู้รับบริการต้องการปลูกต้นไม้ ขนาดเล็ก เช่น พวกต้นกระบองเพชรจิ๋ว ซึ่งปลูกง่าย ใครๆก็สามารถปลูกได้ ซึ่งหากในอนาคตผู้รับบริการรู้สึกว่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ๆก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง ก็อาจจะปลูกต้นไม้ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมา แต่ก็ต้องดูร่างกายและความพร้อมของผู้รับบริการ ณ ตอนนั้นด้วย    

          7. เป็นสิ่งที่เรามองถึง environment รอบๆตัวของผู้รับบริการว่ามีอะไรที่ส่งผลหรือไม่จะช่วยปรับหรือแก้ไขอย่างไร

            • ผู้รับบริการอาศัยอยู่คนเดียวหรือไม่ หรืออาศัยอยู่กับครอบครัว มีคนคอยช่วยเหลือดูแลรึเปล่า ถ้าอาศัยอยู่คนเดียวอาจจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมและกิจกรรมบางอย่างให้ผู้รับบริการรู้สึกสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมากยิ่งขึ้น
            • สภาพแวดล้อมภายในบ้านเป็นอย่างไร ข้าวของเยอะหรือไม่ซึ่งต้องจัดสภาพแวดล้อมบริเวณบ้านให้รถเข็นวีลแชร์สามารถเคลื่อนที่ได้หรือทำที่จับหรือที่พยุงในบางจุดที่ผู้รับบริการจำเป็นจะต้องเคลื่อนย้ายตัว เช่น ในห้องน้ำหรือบริเวณเตียงนอน
            • ในส่วนของการนอนถ้าปกติผู้รับบริการนอนชั้น 2 ของบ้านก็อาจจะปรับให้มานอนชั้น 1 ของบ้านแทน
            • การดูแลทำความสะอาดอาจดูแลเป็นส่วนๆไปมีกิจกรรมไหนทำได้ก็ไม่ต้องแก้ กิจกรรมไหนมีความลำบาก อาจจะต้องมีการปรับแก้ไขอุปกรณ์
            • ในส่วนของกิจกรรมที่ผู้รับบริการอยากทำก็คือการปลูกต้นไม้ อาจจะแนะนำให้วางกระถางอยู่ในระดับเดียวกับสายตาตอนที่ผู้รับบริการยังนั่งอยู่บนวีลแชร์จะดีและสะดวกต่อผู้รับบริการที่สุด เลือกต้นไม้ที่ดูแลง่าย ไม่ต้องการรดน้ำบ่อยๆอย่างต้นกระบองเพชรจิ๋ว เป็นต้น

            " จิตใจของผู้รับบริการนั้นสำคัญที่สุด เพราะถ้าหาก คุณเกิดความรู้สึก well-being 

            แม้ร่างกายจะพิการคุณก็จะมีความสุขได้ MoHo ให้ความสำคัญในจุดนี้

            เป็นเหมือนการรักษาจากภายในจนเกิดความรู้สึกออกมาสู่ภายนอก 

            เกิดเป็นรอยยิ้มที่ปรากฎขึ้น คุณจะรู้สึกว่าชีวิตของคุณมีคุณค่า 

            แม้คุณจะเป็นกลุ่มคนในกลุ่มเปราะบางก็ตาม "

            หมายเลขบันทึก: 685143เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 03:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ตุลาคม 2020 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


            ความเห็น (0)

            ไม่มีความเห็น

            พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
            ClassStart
            ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
            ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
            ClassStart Books
            โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท