ประโยชน์ของ Model of Human Occupation (MoHo) ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบาง


นิยามของกลุ่มเปราะบาง

กลุ่มเปราะบาง คือ บุคคลที่ต้องการพัฒนาความสามารถ เป็นผู้ที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพิงผู้อื่น โดยไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเป็นอิสระ เป็นกลุ่มที่ถูกเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย และเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ต้องการการสนับสนุน การปกป้องเพราะปัจจัยทางด้านอายุ ความพิการ ความเสี่ยงต่อการถูกกระทำหรือถูกเพิกเฉย 

ตัวอย่างของกลุ่มเปราะบางหลักๆ เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชน (เด็กพิเศษ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง เยาวชนที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร) , กลุ่มผู้สูงอายุ , กลุ่มผู้พิการ , กลุ่มแรงงานต่างด้าว และกลุ่มคนยากจน

ประโยชน์ของ MoHo ต่อการพัฒนา “กลุ่มเปราะบาง”

MoHo ทำให้นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้ในหลายๆด้าน เช่น ทักษะการเข้าสังคม การหาบทบาทที่เหมาะสมกับความสามารถที่แต่ละคนมี โดยที่คำถามใน MoHo ทำให้นักกิจกรรมบำบัดได้นำมาใช้ถามและสามารถทำให้รับรู้ถึงปัญหาของกลุ่มเปราะบาง จนนำไปสู่การแก้ปัญหาเหล่านั้นได้ รวมถึงการสร้างเป้าหมายและสร้างคุณค่าให้กับกลุ่มคนเปราะบางในการดำเนินชีวิต

ยกตัวอย่างเช่น :

- ผู้พิการที่อยากหางานทำเพื่อหารายได้แต่ไม่รู้ว่าตัวเองสามารถทำงานอะไรได้บ้างและงานไหนที่เหมาะสมกับตนเอง นักกิจกรรมก็จะถามคำถามตามหลักของ MoHo เพื่อที่จะได้รู้เจตจำนงและสร้างเป้าหมายให้กับผู้รับบริการ เช่น ถามผู้รับบริการว่ามีงานไหนที่สนใจเป็นพิเศษไหมและเพราะอะไรถึงสนใจ, มีปัญหาเรื่องอะไรถึงทำให้ไม่สามารถทำงานนั้นได้ แล้วอยากจะฝึกทักษะไหนเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นก็จะวิเคราะห์จากคำตอบที่ได้และนำไปสู่การแนะนำงานที่เหมาะสมกับความสามารถที่ผู้รับบริการมี

- เด็กที่มีปัญหาทางด้านครอบครัว ขาดความมั่นใจและไม่รู้ว่าตนเองอยากเรียนคณะอะไรเพราะไม่มีใครให้คำปรึกษาทางด้านการเรียน นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ MoHo ในการค้นหาคณะที่เหมาะสมกับเด็กได้ โดยถามถึงกิจกรรมที่เด็กคนนี้ชอบทำ และทำไมถึงให้ความสนใจกับมัน ทำให้ได้รู้ว่ากิจกรรมที่สนใจนี้ได้พัฒนาศักยภาพอะไรบ้างที่จะสามารถนำไปสู่อาชีพในอนาคตได้ อีกทั้ง MoHo จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและสร้างเป้าหมายในชีวิตต่อไปได้อีกด้วย

- ผู้สูงอายุที่เริ่มมีปัญหาเรื่องความจำ ลูกหลานแยกย้ายไปมีครอบครัวกันหมด ทำให้ไม่มีคนคอยดูแล นักกิจกรรมบำบัดก็สามารถใช้หลักการ MoHo ในการถามคำถามผู้สูงอายุเพื่อที่จะได้รวบรวมข้อมูลจากคำตอบของผู้สูงอายุ ดำเนินไปสู่การแก้ไขปัญหาเรื่องความจำหรือทำให้ผู้สูงอายุคนนี้สามารถพึ่งพาตนเองได้ เช่น การตั้งคำถามว่ากิจกรรมที่ชอบทำเป็นประจำ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้รู้ว่าปัญหาด้านความจำนี้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุยังไง และนักกิจกรรมบำบัดสามารถให้คำแนะนำได้อาจจะเป็นการแนะนำให้ผู้สูงอายุคนนี้มีสมุดจดบันทึกติดตัวไว้ เวลาลืมก็จะสามารถดูสิ่งที่จดไปก่อนหน้านี้ได้

หมายเลขบันทึก: 685045เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท