ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้นึกถึง MoHo ของเราสิ


สวัสดีค่ะ ก่อนเข้าเรื่อง ผู้เขียนขอบอกที่มาของคำว่า Model of Human Occupation หรือ MoHo เป็นแบบจำลองและหลักการทางกิจกรรมบำบัดเพื่อใช้ในการตั้งเป้าหมายการรักษาของผู้รับบริการจากการประเมิน แยกแยะปัญหาจากอะไรในที่เกิดขึ้นในสิ่งดีๆรอบตัว ทรัพย์สินและหนี้ ความสามารถที่แสดงออกมา สิ่งที่มีผลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นเพื่อต้องการเพิ่มความสามารถของผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพในการประกอบกิจกรรมชีวิตประจำวันได้ เป็นสื่อในการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมตามช่วงวัยและปรับหรือเสริมสร้างทักษะชีวิตให้เป็นนิสัยและเป็นบทบาทใหม่ๆเพื่อให้ผู้รับบริการได้แสดงบทบาทที่มีความหมายในชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยผ่านแบบจำลองของ MoHo ในการฝึกพัฒนาตนเอง

เรารู้แต่ไม่รู้ว่าทำอะไรอยู่ เอ๊ะมันยังไง!!

วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำการใช้ 7 คำถาม ให้คำตอบกับตัวเองในใจ และได้ประเมินตัวเอง เพื่อสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและการวางแผนหรือประเมินคุณภาพชีวิตของผู้อ่านให้เป็นไปอย่างเหมาะสม

ลองคิดตามด้วยน้า

เริ่มกับคำถามแรก - คิดว่าเรามีกิจกรรมอะไรที่เราอยากทำ ทำแล้วได้อะไรกับตัวเรา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มันทำให้เรามีคุณค่า เราอยากทำสิ่งๆนั้น ทำแล้วมันมีความสุขกับเรามาก เราเรียกมันว่า “ Occupational Identity ” คำถามที่สอง – จากกิจกรรมที่ผู้อ่านเลือกมา กิจกรรมนั้นจะแสดงศักยภาพหรือความสามารถสูงสุดให้ผู้อ่านได้มาบ้าง “ Occupational Competence “คำถามที่สาม – จาก 2 ข้อที่ผ่านว่า ผู้อ่านคิดว่ากิจกรรมนั้นผู้อ่านจะไปมีส่วนร่วมอะไรบ้างในการทำกิจกรรม เรียกว่า “ Participation “คำถามที่สี่ – ผู้อ่านสามารถบอกได้ว่ากิจกรรมที่ผู้อ่านเลือกมามีอะไรบ้างที่ผู้อ่านทำได้และทำไม่ได้ เรียกว่า “ Performance “คำถามที่ห้า – ผู้อ่านต้องใช้ทักษะในด้านต่างๆอย่างไรหรืออยากฝึกทักษะอะไรเพิ่มเพื่อให้การทำกิจกรรมนั้นลุล่วง เรียกว่า “ Skill ” คำถามที่หก – ผู้อ่านสามารถตอบได้ว่าทุกอย่างเป็นไปได้อย่างไร คือผู้อ่านมีเจตจำนง ตั้งใจในการทำสิ่งนั้นจริงๆอย่างไร ต่อด้วย มีพฤติกรรมหรือนิสัยในการทำกิจกรรมนั้นอย่างไร เช่น ชอบแล้วจึงทำจนเป็นนิสัย และการทำกิจกรรมนั้นสามารถทำเต็มที่ได้อย่างไร เรียกว่า “Volition/Habituation/Performance Capacity ” และคำถามสุดท้าย สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรามีผลกระทบในการนึกคิดและการทำกิจกรรมนั้นอย่างไรบ้าง เรียกว่า“ Environment

จากคำถามทั้งหมดในข้างต้นนี้ผู้เขียนหวังว่าผู้อ่านสามารถเห็นภาพโมเดลนี้ได้อย่างชัดเจนขึ้น การเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง เพราะเป็นแนวความรู้ใหม่ของใครหลายคนรวมถึงตัวผู้เขียนเอง ซึ่งมันเป็นผลดีกับตัวเราเองมากในนำโมเดลไปพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตของตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายหวังว่าบันทึกนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งให้กับผู้อ่านในนำโมเดลนี้มาประกอบการใช้ร่วมกับการดำเนินชีวิตในทุกๆวันได้อย่างมีความสุข และดิฉัน นางสาววิชญาดา ศรัณยสกุล นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 1 เป็นปลื้มมากหากผู้อ่านนึกถึงคำถาม MoHo ของเราในการประกอบการทำกิจกรรมของท่านอยู่เสมอ ซารังเฮ ~

หมายเลขบันทึก: 685024เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท