MOHO กับกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม



จากบทความก่อนหน้า เราได้พูดถึงประโยชน์ของ Model of Human Occupation (MOHO) ต่อการพัฒนาตนเองในมุมมองของนักศึกษากิจกรรมบำบัด ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงประโยชน์ของโมเดลนี้ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบางกันค่ะ

"กลุ่มเปราะบาง หมายถึง คนที่ขาดหลักประกันพื้นฐานทางสังคมในการดำรงชีวิต เข้าไม่ถึงบริการทางสังคม ไม่สามารถตัดสินใจในการดำรงชีวิตได้อย่างอิสระ ไม่สามารถปกป้องตนเองได้ ไม่สามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างถ่องแท้ เช่น ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางสติปัญญา ผู้บกพร่องทางจิต ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาสถานะบุคคล แรงงานข้ามชาติ คนไร้บ้าน ประชาชนชายขอบ"

ประโยชน์ของโมเดล MOHO ต่อการพัฒนากลุ่มเปราะบาง

       โมเดล MOHO จะช่วยให้นักกิจกรรมบำบัดได้สอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้รับบริการกลุ่มเปราะบาง เน้นที่จะให้ผู้รับบริการได้ตัดสินใจที่จะเลือกทำกิจกรรมตามที่ตนสนใจ นำกิจกรรมที่เขาสนใจมาใช้เพิ่มความสามารถ ทักษะต่าง ๆ ทำให้เขาได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่ตนสนใจจริง ๆ และเกิดเป็นนิสัย บทบาทใหม่ (New Normal Habits-Roles) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสวัสดิการที่เขาควรจะได้รับ ใช้การถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ได้วิเคราะห์ตนเองว่าเขาอยากจะทำอะไร ต้องใช้ความสามารถอะไรในการทำกิจกรรมบ้าง เพื่อที่จะให้เกิดการปรับตัว และทำกิจกรรมนั้นได้ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาส่งผลต่อพฤติกรรมของเขาอย่างไร โมเดลนี้จะช่วยให้กลุ่มเปราะบางเห็นคุณค่า และความหมายของตนเอง มีทางเลือกที่จะทำกิจกรรมที่สนใจ ทำแล้วเกิดประโยชน์ สร้างเสริมประสบการณ์ที่มีคุณค่า ทำให้รู้ว่าชีวิตจะดำเนินต่อไปในทิศทางไหน เกิดพฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์ที่จะช่วยให้เขาสามารถทำกิจกรรมที่สนใจได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

โมเดลนี้จะมีการแยกแยะประเด็นปัญหาเพื่อใช้ประกอบการตั้งเป้าหมายของผู้รับบริการ ออกเป็น 5 ประเด็นด้วยกัน ได้แก่

  • Assets คือ สิ่งที่เป็นข้อดีของบุคคลนั้น ในเชิงนามธรรม เช่น ผู้รับบริการเป็นผู้สูงอายุ มีความรู้ในด้านการปรุงอาหารรสเลิศซึ่งเป็นสูตรของครอบครัวที่ส่งต่อมารุ่นสู่รุ่น
  • Liabilities คือ สิ่งที่บุคคลนั้นหามาได้ ในเชิงรูปธรรม ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมถึงหนี้สิน เช่น ผู้รับบริการมีรถยนต์ส่วนตัว มีหนี้ค้างชำระค่าห้องพักเนื่องจากไม่มีงานทำเพราะโรงงานปิดตัวจากพิษเศรษฐกิจ
  • Performance เป็นความสามารถที่แสดงออกมาให้เห็น เช่น ผู้รับบริการมีความบกพร่องทางด้านการฟังแต่สามารถทำงานใช้แรงได้ เช่น ส่งพัสดุ ทำสวน เสิร์ฟอาหาร
  • Influence สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวของผู้รับบริการซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต (Occupational Behavior) เช่น ผู้รับบริการเป็นแรงงานข้ามชาติ ทำงานร้านอาหารกลางคืน ซึ่งเปิดให้บริการถึงช่วงเช้า ทำให้พฤติกรรมการนอนเปลี่ยนไป

       ซึ่งทั้ง 5 ประเด็นที่ได้กล่าวมานี้ก็จะมีประโยชน์ต่อนักกิจกรรมบำบัดในการที่จะให้คำแนะนำ ให้การช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการกลุ่มเปราะบางเพื่อตั้งเป้าหมายในการทำกิจกรรมตามที่เขาสนใจ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ มีคุณค่า และความหมายต่อตัวบุคคล เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะทำให้การทำกิจกรรมนั้นประสบความสำเร็จ ทำได้อย่างต่อเนื่อง และเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 

ภาพโดย StockSnap จาก Pixabay.

ขอขอบคุณผู้อ่านทุกท่านค่ะ (❤ ω ❤)

หมายเลขบันทึก: 684947เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2020 04:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2021 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท