เฮฮาภาษาม็อบ


ในการชุมนุมของมวลชนแต่ละครั้งสิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือสัญลักษณ์หรือภาษาที่ใช้สื่อสาร หรือเรียกสั้นๆ ว่า ภาษาม็อบ ซึ่งมีหลากหลายและส่วนใหญ่เป็นถ้อยคำภาษาที่ใช้สื่อสารในโลกโซเชียล เช่น ทวิตเตอร์ มาก่อนและมีบางคำที่ถูกตั้งขึ้นมาใหม่ในระหว่างที่มีการชุมนุมเคลื่อนไหว

มาดูภาษาม็อบที่ใช้ในการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 กันค่ะ

"แกงเทโพ" มาจาก 3 คำ คือ แกง หมายถึง แกล้ง / เท หมายถึง ทิ้ง และ โพ หมายถึง โพลิซ หรือ ตำรวจ

ใช้ในความหมายว่าหลอกตำรวจว่าจะไปชุมนุมที่หนึ่ง แต่ไปอีกที่หนึ่ง คำนี้ถูกใช้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 จากเดิมที่มีการนัดชุมนุมที่บริเวณแยกราชประสงค์ แต่ในความจริงมวลชนได้เปลี่ยนสถานที่ชุมนุมเป็นแยกปทุมวัน ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไปเตรียมการตั้งแท่นแบริเออร์ จัดกำลังไปเตรียมตั้งรับอย่างหนาแน่น แต่กลับไม่มีผู้ชุมนุมที่บริเวณดังกล่าวเลย

"ปฏิบัติการจุ๊ก" หมายถึง สับขาหลอก คำว่าจุ๊ก มาจากกลยุทธ์การเอาชนะคู่ต่อสู้แบบ จุ๊กๆ วางหมาก วางเกมดี รู้จักทางหนีทีไล่ และมีสิทธิชนะมากกว่า

โอเค นัมเบอร์วัน หมายถึง ประโยคที่ใช้เพื่อแสดงการตอบตกลง หรือเห็นด้วยอย่างยิ่ง

ภาษาลู หมายถึง ภาษาสากลสำหรับชาวม็อบ ใช้สื่อสารกันเฉพาะกลุ่ม

แครอท หมายถึง พระ

เบบี้แครอท หมายถึง เณร

หัวไชเท้า หมายถึง แม่ชี

เบบี้คริสตัล หมายถึง กลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎร

บรอกโคลี หมายถึง ทหาร

มอคค่า หมายถึง ตำรวจสีกากี

แก๊งบลูเบอรี่ หมายถึง ตชด.

โอเลี้ยง หมายถึง ชุดควบคุมฝูงชน

โอยั๊วะ หมายถึง รถฉีดน้ำผสมสีฟ้า

บังเกอร์ หมายถึง รอเก้อ

ลูกชุบ หมายถึง ดาราที่อยากชุบตัวตามกระแส

หน่วยข่าวกรอง หรือ CIA หมายถึง รถเข็นขายลูกชิ้นทอด ไก่ย่าง ขนมโตเกียว ปลาหมึกย่าง ขนมจีบซาลาเปา น้ำดื่ม ผู้ชุมนุมไปชุมนุมที่ไหนจะตามไปขายที่นั่น

โดนัล dumb หมายถึง ลุงแถวบ้านที่มีลักษณะก้าวร้าว

ฟูฟู หมายถึง พวกตำรวจยศพลเอกที่ทำตามคำสั่งเจ้านายอย่างเดียว

มินเนียน หมายถึง เสื้อเหลืองหัวเกรียน

ข้าวโพดดิบ หมายถึง เสื้อเหลือง

อะโวคาโด หมายถึง รด.

มะเขือเทศ หมายถึง ยมบาล

เกียม หมายถึง เตรียม

กลิ่นกะทิแรงมาก หมายถึง สลิ่ม (เขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรม คือ ซ่าหริ่ม)

นาตาชา โรมานอฟ หมายถึง สายลับ

แกง หมายถึง แกล้ง หลอก

โดราเอมอน หมายถึง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เวลาแอบไปม็อบจะชอบใส่เสื้อคลุมสีน้ำเงิน เวลาคลุมหัวและมัดเชือกจะกลมๆเหมือนหัวของโดราเอมอน

ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต และ มติชน ออนไลน์ 

หมายเลขบันทึก: 684367เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2020 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2020 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท