เตาเผาถ่านแบบถังครึ่งขั้นบันได ทดลองเผาครั้งที่ ๓


เตาเผาถ่านแบบถังครึ่งขั้นบันได ทดลองเผาครั้งที่ ๓ เพื่อมุ่งค้นหาวิธีการที่จะทำให้ได้ถ่านที่มีรูปพรรณดีขึ้นให้ได้ การทดลองเผาครั้งที่ ๒ ได้ถ่านที่คงรูปพรรณไว้ได้ดีพอสมควร แต่ที่ผิวของถ่านไม่สวย มีรอยเหมือนหยดน้ำมันตกลงมาก่อนจะระเหยไปกับความร้อน จึงตั้งสมมติฐานว่า ถ้าเรียงฟืนแบบตั้ง ปัญหานี้ควรจะหมดไป ... แต่หลังการทดลองพบวา สมมติฐานไม่เป็นจริง ถ่านที่ได้ยังคงมีผิวขุขระไม่สวยเหมือนเดิม ดังรูป 

ผมบันทึกคลิปความคิดความอ่านและการกระทำ ลองผิดลองถูกครั้งนี้ไว้ ท่านใดสนใจก็เชิญเถิด แต่โปรดอย่าเชื่อไวจะดีที่สุด 

อย่างไรก็ดี กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับระยะเวลา ทำให้ได้รู้อะไรที่น่าสนใจอีกหลายอย่างดังนี้ 

ข้อสังเกตและคำอธิบายกราฟ

  • การอบไม้แบบ "ปิดปล่อง" นาน ๕ ชั่วโมง ทำให้ทันทีที่เปิดปล่อง อุณหภูมิเพิ่มขึ้นทันที อุณหภูมิควันเพิ่มขึ้นเป็น ๘๕ องศาเซลเซียส ภายในเวลาเพียง ๒ นาที ปรากฏการณ์ควันบ้ามาอย่างไว ในขณะที่อุณหภูมิทุกจุดต่ำกว่า ๒๐๐ องศาเซลเซียส (สังเกตชั่วโมงที่ ๕.๐๑)
  • กราฟจุดที่ ๒ (เหนือพื้นเตา ๑๕ เซนติเมตร) ซึ่งเป็นจุดเอาถ่าน อุณหภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนเกือบชั่วโมงที่ ๑๑ ควันเปลี่ยนเป็นสีฟ้าใส ... ผมจึงเปลี่ยนเป็นปล่องสูง ๑.๒ เมตรเหนือหลังเตา  อุณหภูมิจุดนี้จึงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึง ๘๕๐ องศา ก่อนที่จะเริ่มคงที่  จึงปิดเตา

คุณภาพถ่านุ

ก้าวสำคัญของการทดลองเผาครั้งนี้คือ รูปพรรณของถ่านไม้ไผ่ ที่คงรูปไว้ได้มากที่สุดที่เคยทำมา หลังจากผมแชร์ภาพนี้ในกลุ่มเพื่อน อ.กิตติ ให้คำแนะนำ ให้ทดลองเผาถ่านแต่ละชนิด (สายพันธุ์) การทดลองเผาครั้งที่ ๔ เราจึงทดลองเปรียบเทียบไผ่สามสายพันธุ์  

เจอกันใหม่บันทึกหน้าครับ 

หมายเลขบันทึก: 684332เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2020 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2020 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท