การเผาถ่านแบบถังครึ่ง_๑๔ ทดสอบเตาแบบถังครึ่ง ครั้งที่ ๑๑ ผลของการอบไม้ปิดปล่อง ๖ ชั่วโมง


สวัสดีครับ การทดลองเผาถ่านด้วยเตาแบบถังครึ่ง ชนิดที่ อ.กิตติเรียกว่า เตา "อิตาติ" (ITATI) (มาจากเตาชนิดอิวาซากิ (IWASAKI) อ.กิตติ มาออกแบบด้านหน้าเตาใหม่ให้กระบวนการเผาไหม้ จุดติดเตาได้ง่ายขึ้น) ดำเนินมาถึงเตาที่ ๑๑ อุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่ ๙๙๗ องศาเซลเซียส แต่ต้องแลกมากับขี้เถ้าจำนวนไม่น้อย 

ความรู้พื้นฐาน การเผาถ่าน ๒ วิธี

ในทางปฏิบัติแบบชาวบ้าน มีวิธีการทำถ่าน ๒ วิธี วิธีแรก คือ ไม่ให้ฟืนติดไฟ อีกวิธีคือ ปล่อยให้ฟืนติดไฟได้ (แต่น้อย) ภาพที่ อ.กิตติ สอนในกลุ่มผู้ใช้เตาแบบถังครึ่ง แสดงถึงขั้นตอนและความแตกต่างได้อย่างดี 

 

การทดลองเผาครั้งที่ ๑๑

การทดลองเผาครั้งที่ ๑๑ มีขั้นตอนที่สำคัญเพิ่มเติมจากเดิมคือ การอบไม้ด้วยการปิดปล่องนานถึง ๖ ชั่วโมง และยังตั้งใจจะไปให้ถึง ๑,๐๐๐ องศา (ก่อนที่ต่อมาจะสำนึกแล้วว่า การทำตามลำดับขั้น เผาถ่านให้ได้ดีก่อน) ด้วยการต่อปล่องสูง ๑.๒ เมตร (จากหลังเตา) กราฟการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แสดงดังภาพด้านล่างครับ 

ข้อสังเกตและคำอธิบายประกอบภาพ

  • กราฟนี้แสดงข้อมูลหลังจากจุดเตาระยะหนึ่ง รวมเวลาอบไม้แบบปิดปล่องนาน ๖ ชั่วโมง สังเกตว่า ทันทีที่เปิดปากปล่องเวลาประมาณ ๒๒.๓๐ น. อุณหภูมิของเตาจะพุ่งขึ้นและเตาด้านในโดยใช้เวลาเพียงประมาณ ๑๐ นาทีเท่านั้น 
  • อุณหภูมิค่อย ๆ เพิ่มขึ้น แล้วคงที่อยู่เพียงประมาณ ๕๐๐ องศาเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการเผาครั้งที่ ๑๐ ที่ใช้ปล่องควันตั้งแต่เริ่มกระบวนการ เมื่อต่อปล่องประมาร ๐๓.๒๐ น. อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดเพียง ๘๗๐ องศา (เท่านั้น) เมื่อกราฟเริ่าวกกลับผมจึงปิดเตา ... ผมสันนิษฐานว่า ที่อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำเมื่อเปรียบเทียบที่เงื่อนไขเดียวกันก่อนจะเปลี่ยนขนาดของปล่องควัน (ดูบันทึกการทดลองเผาครั้งที่ ๖ ที่นี่) เป็นเพราะความเอียงของเตาที่มากเกินไป ทำให้ระยะห่างระหว่างช่องหน้าเตากับปากปล่องต่างกันน้อยมาก แรงดูดอากาศที่ลดลงคือเหตุผลที่ส่งผลถึงอุณหภูมิ ... (ขอสันนิษฐานนี้ ทำให้ปรับการวางเตาใหม่ แต่เมื่อได้รู้ว่าดำเนินไปเร็วเกินไป ไม่เป็นไปตามลำดับขั้น จึงยังไม่ได้พิสูจน์สมมติฐานนี้)
  • สังเกตอุณหภูมิจุดที่ ๓ ใต้เตา อุณหภูมิต่ำกว่า ๑๐๐ องศาเซลเซียส ก่อนจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ... การทดลองเผาครั้งนี้วางฟืนแบบผสม ตั้งตรงกลางของถังและวางแนวนอนข้าง ๆ ถัง เนื่องจากการวางฟืนแนวตั้งเป็นเรื่องยากสำหรับเศษไม้ที่ไม่ได้ตัดเตรียมไว้อย่างดี ... ปัญหานี้ทำให้ผมออกแบบเตาแบบถังครึ่งขั้นบันได (ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบันทึกหน้า) 

คุณภาพของถ่าน


หมายเลขบันทึก: 683715เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2020 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2020 23:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท