โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 ช่วงที่ 2 The Case Studies & Next Step of Leadership Coaching 29-9-63


เรียน    ผู้เข้าร่วมโครงการ

มาถึงช่วงสุดท้ายของโครงการ พัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0"   The Case Studies  and Next Step of Leadership Coaching : Goal Setting Action Plan and Execution ผมขอขอบคุณผู้บริหารทุกท่าน

ในฐานะผู้อำนวยการโครงการและเป็นตัวแทนในนามของ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศใคร่ขอขอบคุณอย่างสูงที่ท่านให้เกียรติและความไว้วางใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในครั้งนี้

ผมและคณะผู้จัดฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับสาระ ความรู้ แรงบันดาลใจและช่วงเวลาของการเรียนรู้อย่างมีความสุขในกิจกรรมครั้งนี้ และขอเปิด Blog เพื่อให้ทีมงานวิขาการสรุปประเด็นเนื้อหาที่น่าสนใจ และขอเชิญช่วนทุกท่านได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย

วันที่ 29 กันยายน 2563

กิจกรรมปิดท้าย

The Case Studies & Next Step of Leadership Coaching :

Goal Settion Action Plan & Execution

โดย คุณพจนารถ ซีบังเกิด หรือ “โค้ชจิมมี่”

(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)


การตั้งเป้าหมายสำคัญอย่างไร

  เป้าหมายมีทั้งที่ตั้งสำเร็จ ไม่สำเร็จ ตั้งแล้วเหนื่อย ไม่Fulfill แล้วเราจะตั้งเป้าหมายแบบไหนที่เราจะตั้งแล้วรู้สึก Fulfill

1. เป้าหมายแบบไหนที่เราตั้งแล้วมีความรู้สึกเป็นเจ้าของด้วย

- ถ้าไม่ได้จะรู้สึกผิดหวัง

- ถ้าเป้าหมายได้องค์กรโชคดี เราก็โชคดีด้วย

2. การตั้งเป้าต้องสอดคล้องกับ Higher Purpose 

การประกอบอาชีพ Life Coach

เพื่อนร่วมเดินทางที่จะทำให้คน ๆ หนึ่งเติบโตอย่างสร้างสรรค์ เติบโตอย่างภายใน

- ทักษะในการฟัง ถาม และสร้างความไว้วางใจ

- เป็นเสมือนกระจกที่สะท้อนให้เห็นตัวเราเอง เป็นมุมมองที่มีต่อโลก

คำถาม  Life Coach เหมือนจิตแพทย์ หรือไม่ ต้องแนะนำหรือไม่

คำตอบ Coach ควรมี Mindset คือ

1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพมากกว่าที่เราเห็น สิ่งที่เราเห็นไม่ได้แค่นี้ เป็นได้มากกว่านี้

2. มนุษย์ที่เราทำขณะนี้เขาทำดีที่สุด เพราะเขามีทรัพยากรแค่ขณะนี้

3. มนุษย์ทุกคนเปลี่ยนแปลงได้

4. ไม่ว่าทำอะไรไปแล้วไม่สำเร็จ อย่าเรียกว่าล้มเหลว เรียกว่าการเรียนรู้และปรับปรุง There is no failure , just only feedback.

ตัวอย่างคำถามการโค้ช เช่นถ้าไม่มีข้อจำกัดอะไรเลย จะทำอย่างไรถึงจะหลุดจากปัญหานี้ไปได้

ตัวอย่างโค้ช

- ต้องทำ Energy ของโค้ชจะทำให้โค้ชชีปลอดภัย แล้วสมองจะปลอดโปร่งทำให้คิดได้  

- เวลาโค้ชชีคุยกับโค้ชแล้วจะรู้สึกดูอบอุ่น ดูปลอดภัย และรู้สึกว่าเขาฉลาด

- เวลาดูโค้ชให้ดูว่าเขามาเอา หรือมาให้

      ยกตัวอย่าง  Selling the boots experience ทำอย่างไรให้คนรู้สึกประทับใจ

การพัฒนาศักยภาพโค้ช

          เรียนที่สถาบันสอนโค้ชชิ่งที่ออสเตรเลีย เริ่มต้น  3 วัน และโค้ชออนไลน์ 6 เดือน -  1 ปี และลงเรียนทั้งหมดที่มี และซื้อ Product ทั้งหมดและเริ่มคิดว่า ฉันต้องนำกลับประเทศไทยให้ได้

          ทุกสิ่งในโลกนี้เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งเสมอ ครั้งแรกในหัวก่อน ครั้งที่สองในโลกแห่งความเป็นจริง โดยมีการวางแผน เขียนกลยุทธ์

          เริ่มต้นจากการโค้ชฟรี มีคนจ่ายเงิน และต่อมามีคนให้ไปโค้ชในบริษัทและต่อเนื่องมาโดยตลอด จนทำให้รายได้สูงขึ้นตอนหลังต้องจ่ายสรรพากร ทำให้ต้องจดทะเบียนบริษัทชื่อ Jimi the Coach

          เริ่มต้นการโค้ชจากผู้บริหารในองค์กร ก็เริ่มโค้ชคนในคุก ทหารตำรวจชายแดนภาคใต้ พระสงฆ์ ครูทั้งโรงเรียน เด็กบ้านเมตตา ต่อมาเปิดโรงเรียน Thailand Coaching Academy

เปิดสถาบันการสอนโค้ช ออนไลน์ และสู่การทำ Social Enterprise

การส่งพลังงาน

จะทำอย่างไรถึงส่งถึงคนสุดท้าย ต้องแบบ Expand Awareness ทำอย่างไรถึงสามารถ Connect กับคนข้างหลังได้

          ขยาย Energy ออกไปได้จริง ๆ

          คนที่เป็นโค้ชจริง ๆ เวลาโค้ชชีนั่งคุยแล้วจะรู้สึกปลอดภัยมาก

          มนุษย์ยิ่งห่างกันเท่าไหร่ ยิ่งต้องการความเมตตาด้วยเท่านั้น

การโค้ชที่ดี

          ต้องโค้ชให้หลุด ไม่ได้ติดอะไรที่เรา เปิดพื้นที่เป็นตัวตนของเขาได้อย่างชัดเจน และสง่างาม

ชีวิตที่ไม่ได้เลือก

          ทำให้เราเหนื่อย เซ็ง ซึมเศร้า หมดกำลังใจ สับสน ท้อ

การตั้งเป้าหมาย

1. ความเชื่อของเราเป็นความจริงของเราเสมอ แต่ในโลกนี้ไม่มีความจริงหรือไม่จริงที่แท้ ถ้าเราเชื่ออย่างไรเราจะเป็นอย่างนั้น

2. เป้าหมาย ไม่ได้จำเป็นว่าต้องถึง แต่เป้าหมายเป็นเหมือน Motivation ให้เดินไปสู่สิ่งที่ต้องการ

3. ถ้ามีเป้าหมายแต่ไม่เลือกทำสิ่งที่สอดคล้องกับเป้าหมาย จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรมคนอื่น สถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง ถ้าอิทธิพลรอบตัวมีอยู่จะทำให้เราไม่ถึงเป้าหมาย

          จะดีแค่ไหนถ้าตั้งเป้าหมายแล้วมีบันไดตรงเลย

ดร.จีระ เสริมว่า ถ้ามีเหตุการณ์ที่มากระทบเช่นโควิด ให้เราเรียนรู้ที่ปล่อยวาง ถ้าสะสมมากเราจะสามารถเบลอไปได้ ไม่เอาสิ่งลบมาใส่เรามากเกินไป

ถ้าเราปล่อยวางและคิดว่าเป็นธรรมดาของโลกจะเข้าใจ และทำให้จิตใจเราผ่องใส

ท่านผู้ว่า กรศิษฎ์ เสริมว่า ตอนที่อยู่ Harvard มีโค้ชมาให้เราพิจารณาตัวเอง  ว่าเราเริ่มต้นรู้สึกตัวเองเปลี่ยนแปลงเมื่อไร และมีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่าง ดาราท่านหนึ่ง Ego สูงมาก ต่อมาลูกเสียชีวิต แล้วตั้งสติได้อยากทำอะไรเพื่อลูก จึงคิดอยากทำกิจกรรมสังคม

ถ้าดูตัวเองตอนเด็ก พบว่าเคยเป็นเด็กเกเรตั้งแต่แรก แต่สอบได้เข้าเตรียมอุดมฯ เป็นคนสุดท้ายของการสอบได้สมัย มศ. 5 มีเพื่อนสบประมาทว่าตกแน่ แต่พอสอบเอนทรานส์ได้ที่ 1 ของห้อง และหลังจากนั้นปี 1 ก็ป่วย เกรดจบมาได้ 2.1 แต่ก็ได้เป็นผู้ว่าฯ สิ่งที่อยากจะบอกคือ เกรดไม่ได้บอกอะไรเท่าไหร่ และก็ไม่ได้รู้จักคนในรุ่นเท่าไหร่  แต่ก่อนไม่เคยมีความหวัง และตั้งเป้าว่าจะเป็นผู้ว่าฯ แต่ทำงานด้วยความรับผิดชอบ และทำอย่างเต็มที่  แต่ก็ทำงานไปก็ป่วยไปด้วย รู้ตัวว่าสุขภาพไม่ดี เลยไม่คิดว่าจะเป็นผู้ว่าฯ และไม่ได้สมัครผู้ว่าฯ จนมีที่เป็นผู้ช่วยผู้ว่าฯ  องค์กรต้องมีการเตรียม จะเป็นหรือไม่อยู่กรรมการพิจารณา  ในที่สุดก็ตัดสินใจสมัครผู้ว่าฯ ในมุมมองที่ต้องรับผิดชอบที่ต้องทำให้กฟผ.

ชีวิตเราจะมีความฝันหรือไม่ แต่ทำด้วยความรับผิดชอบจริง เคยทำงานที่ไม่ชอบถึง 70% แต่เป็นงานที่สร้างศักยภาพอย่างต่อเนื่อง  เพิ่งมาตั้งความฝันและเป้าหมายหลังจาก

โค้ชจิมมี่ เสริมว่า ให้ฟังให้ได้เห็นสิ่งที่เขาไม่ได้พูด ให้เห็นถึง Value และคุณค่า ซึ่งสิ่งที่โค้ชจิมมี่ฟังจากท่านผู้ว่าฯ คือความรับผิดชอบ และไม่ทำเพื่อตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ที่เราทำเพื่อตัวเอง จะไม่ยั่งยืน

“อยู่เพื่อตัวเองอยู่แค่สิ้นใจ อยู่เพื่อผู้อื่น อยู่ชั่วฟ้าดิน”

พี่จิมมี่ เสริมว่า อยู่ให้เห็นเป็นให้ดู

ให้ทุกคนคิดในหัวว่ามีเป้าเบื้องต้นอย่างไรเน้นการตั้งเป้าแบบ SMART Goal

SMART Goal

S-Specific ต้องชัดเจนว่าอะไร

M – Measurable วัดได้อย่างไร

A- Aspiration (ปณิธาน) คือ Inspiration เราหรือไม่ อย่างไร

R -Relevant (อยากได้จริงในชีวิตหรือไม่)

T – Time Bound (ภายในเมื่อไหร่ ให้ระบุวันที่ พ.ศ.ด้วย)

Workshop

เขียนเป้าหมายที่ต้องการอยากได้อะไร เขียนสิ่งนั้น อยากให้เสร็จเมื่อไหร่ เป้าหมายต้องเป็นในทางบวก และเป็นปัจจัยที่กำหนดได้

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การตั้งเป้าหมายต้องควบคุมได้หรือไม่

ตอบการตั้งเป้าหมายต้องตั้งในปัจจัยที่ควบคุมได้ ต้องสามารถควบคุมได้

2. วัตถุประสงค์ต่างกับเป้าหมายอย่างไร

ตอบวัตถุประสงค์เป็นสิ่งที่กว้าง ภาพรวม ส่วนเป้าหมายจะต้องระบุเป็น SMART Goal ในวัตถุประสงค์จะมีหลายเป้าหมาย เช่น วัตถุประสงค์คือจะเก็บ Talent อย่างไรให้ได้มากที่สุด เป้าหมายต้องสามารถสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และภายในระยะเวลาเมื่อไหร่

3. เป้าหมายจะ Challenge ตัวเองได้มากแค่ไหน

ตอบ ต้อง Challenge อยากได้อะไรให้ตั้งเลย เป้าหมายที่ดีต้องท้าทาย

4. ถ้าตั้งเป้าหมายแล้วไม่รู้วิธีไปสู่เป้าหมายนั้นจะเป็นอย่างไร

ตอบเดี๋ยวโค้ชจิมมี่จะพาไปเอง

การตั้งเป้าหมายสู่ความสำเร็จ

1. ต้องสร้างจินตนาการในหัวก่อน

- ถ้าสำเร็จจะหน้าตาเป็นอย่างไร ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ที่ไหน

          ยกตัวอย่างเขียนเพื่ออธิบายภาพถึงที่สำเร็จแล้วว่าจะเป็นอย่างไร เริ่มต้นจากวันนี้เป็นวันที่เท่าไหร่ แล้วบรรยายภาพ ความรู้สึก การแต่งกาย ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในภาพนั้น ๆ

จะมีอะไรเกิดขึ้น และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จริง

          กิจกรรมวาดภาพเป้าหมายในจินตนาการ  และเขียนภาพที่เห็นในแผ่นกระดาษเลยค่ะ

          ให้ทุกคน ขึ้นต้นว่าวันนี้เป็นวันที่เท่าไหร่ แล้วบรรยายภาพที่เห็นเมื่อสักครู่.......มีผู้คนที่อยากให้เขาอยู่ในวันที่เราประสบความสำเร็จ ได้ยินเสียงว่าเขาพูดอะไรกัน เขียนบรรยายไปเรื่อย ๆ

          จับคู่กับเพื่อนข้าง ๆ เป็นพยานในการตั้งใจฟัง อย่างเชื่อสนิทใจ

The Leaders’ Special Talk 

หัวข้อ “Sustaining Business Leadership with Superior 

Corporate Strategies” 

โดย คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

กรรมการบริหารกลุ่มซีคอน 

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 

และบริษัทในเครือ

บริษัทอยู่นานประสบความสำเร็จเหมือนมี license และคล้ายผูกขาดคือมีเอกลักษณ์ที่ลอกไม่ได้

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าไฟฟ้าเปิดเสรีเหมือนตลาดหลักทรัพย์ 

ผู้นำต้องมี Integrity คือ คุณธรรม

รัฐวิสาหกิจหุ้นขึ้นได้ ต้องลดสินค้าและบริการที่ขาดทุน ต้องมีการพัฒนาบริการ เช่น ระยะเวลาที่ลูกค้ารอสายโทรศัพท์เพื่อรับบริการ ให้การบริการที่สอดคล้องกับความต้องการลูกค้า

รัฐวิสาหกิจเคยได้เปรียบเพราะได้รับกฎหมายคุ้มครอง เมื่อเปิดเสรีก็จะเสียเปรียบ เช่น การมีทีวีดิจิตอลทำให้ช่อง 3 เสียเปรียบ

กรณีศึกษาธุรกิจที่ปรับตัวเร็วเพราะจะถูก Disruption จากสิ่งต่างๆ

กฟผ.จะถูก Disrupt จากกฎหมาย

ซีคอนมี E-commerce มา disrupt

ช่วงที่มีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโควิด ทำให้คนซื้อรองเท้าแตะทำสวนมากขึ้น

ช่องวัน เหมือนช่องทีวีดิจิตอลอื่นหารายได้จากไพรม์ไทม์เลี้ยง 24 ชั่วโมง รายได้จากโฆษณามากเพราะมีกลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง คือ ผู้หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ช่วงโควิดทำให้เกิดการชมทีวีซีรีส์มากขึ้น ไลน์ทีวีเกิดได้เพราะช่องวัน

ผู้นำต้องสร้างขวัญกำลังใจให้คนในองค์กร

นันยาง ปีหนึ่งกำไร 500 ล้าน เป็นที่ 1 มา 5 ปีแล้ว อยู่ได้เพราะคุณภาพ ทนที่สุด แต่สมัยนี้การตลาดต้องโดนใจ นันยางเลิกโฆษณาทีวีไปสักพัก แต่เน้น Social Media ทำให้ไม่มีต้นทุนโฆษณา

กฟผ.ต้องเน้น Image แต่ควรต้องโฆษณาแบบ creative มากผ่าน Social Media 

เวลาธนาคารปล่อยสินเชื่อ พบว่า ไม่มีธุรกิจใดที่เบี้ยวหนี้การไฟฟ้า

Marketing of the year ได้แก่ นันยาง ปตท. มีต้นทุนโฆษณาน้อย

Nanyang Red มีหมุดสีทอง 6 หมุดเป็นการชนะยูฟ่าของลิเวอร์พูล เป็น Marketing of the Year เป็น made to order ไม่มีของเสียแน่นอน คนซื้อหมด

Nanyang Sugar แต่ละเบอร์มีสีเดียว แต่ละรุ่นสีต่างกัน มีเชือกรองเท้าคู่กัน ถ้ารองเท้าชมพู แต่เชือกเหลือง ลูกค้าก็นิยมซื้อเชือกสีอื่นเพิ่ม ขายดีมาก

Brand Value or Brand Equity ทำให้สินค้ามีราคาแพงขึ้น

นันยางทำรองเท้าลายทหารช่วงหัวหน้าวิเชียร นำเงินที่ขายไปช่วย เป็นการเกาะกระแส

เป็นการใช้สื่อดิจิตอลเป็นหลัก

เมื่อเปิดเสรีช่องทีวีเพิ่มขึ้น แล้วคนไปโฆษณา Social Media แทนที่จะผ่านทีวี ทำให้ช่อง 3 ได้รับผลกระทบ บางช่องแข่งไม่ได้ก็ปิดแล้ว

ช่องวันตอนนี้เป็นอันดับ 3 ช่วงไพร์มไทม์ กำลังมากกว่า Work Point กำลังเข้าตลาดหลักทรัพย์

กฟผ.จะเหมือนช่อง 3 จะไม่ค่อยรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง รู้อีกทีก็ไฟไหม้บ้าน

ช่องวันผลิตคอนเทนต์เองหมด แต่ช่อง 3 จ้างผลิตทั้งหมด พนักงานช่อง 3 มีมากกว่า ทำให้แข่งไม่ได้ ตอนนี้ผู้ผลิตละครช่อง 3 ย้ายไปช่องอื่นมาก

การเป็น Production House ทำให้ขาย content ได้ทั่วโลก ปัจจุบันนี้ ทีวีได้รายได้จากออนไลน์ไม่แพ้ออนแอร์ หลังออกทีวีแล้วขึ้นยูทูป ตอนหลังก็ออกอากาศพร้อมกันทั้งในและต่างประเทศเพราะมีความร่วมมือกับต่างประเทศ

หลักทรัพย์บัวหลวงทำกำไรมากที่สุด มีปริมาณการขายอันดับ 7 แต่รายได้อันดับ 1 เหราะราคาขายสูงกว่า 

สมัยนี้คนซื้อหุ้นเองผ่านมือถือ

ประธานสรรเสริญ วงศ์ชอุ่มวางแผน 15 ปี จะจัดกลุ่มลูกค้าตามรายได้ บางครั้งคนมีเงินมากแต่ไม่ค่อยซื้อขายหุ้น ก็ไม่ค่อยได้สร้างรายได้ 

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มีกลุ่มเป้าหมายที่เน้นการซื้อขายในมูลค่าสูง (High Volume)

ต้องเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า เลือกกลุ่มที่เหมาะสมมีการซื้อขายสูงแล้วพัฒนา Application ที่เสถียรและดูข้อมูลได้เร็ว 

จะมีการต่อรองราคาสำหรับรายใหญ่ แต่ไม่ให้รายเล็กต่อรองราคา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอให้วิเคราะห์กฟผ.จากมุมธุรกิจ

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

การแข่งขันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

มีการเปิดเสรี

ลูกค้าแตกต่างไป ซีคอนจะทำ Solar roof ใหญ่ที่สุด

จะมี New Players ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลง

เกิดโควิด-19 ลดพื้นที่สำนักงาน เพราะคนทำงานที่บ้านได้ คนไม่ต้องเดินทางไปประชุม แต่ประชุมผ่านซูมได้

ต้องมี product innovation

ต้องใช้ social media 

ต้องใช้ระบบดิจิตอลแทนกระดาษ 

ใช้ระบบ Cashless 

ตลาดเปลี่ยนเร็วจากเทคโนโลยี

ในอนาคต มียานพาหนะไฟฟ้า กฟผ.ไม่ควรมองว่า ขายแค่ไฟฟ้า ต้องแสดงให้คนอื่นว่า ไฟฟ้าของกฟผ.ดีกว่าของที่อื่นอย่างไร

Brand Premium ของปตท.ดี กฟผ.ต้องสร้างแบรนด์อย่าให้กอฟแซง ต้องเน้นแบรนด์การสร้างชุมชน 

Cost Management นำจำนวนคนหารด้วยเมกกะวัตต์ กฟผ.อาจจะขยายการไฟฟ้าไปยังประเทศอื่น

กฎหมายเปิดเสรี

ในอนาคต จะมีการลดต้นทุนการเงิน

การพัฒนาคุณภาพคน ต้องมีการลงทุนส่งคนเรียน

Cyber Attack สมัยนี้สู้กันด้วยความปลอดภัยด้านไอที ต้องลงทุนพัฒนาด้านนี้

ความเสี่ยงการเมือง 

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เมื่อกฟผ.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ กฎหมาย กระทรวงพลังงาน regulator มีความเห็นอย่างไร

ตอนนี้มีราคาผู้บริโภคมาเกี่ยว ถ้าไฟฟ้าเปิดเสรีเต็มที่ คนก็จะกลัว มีข้อแนะนำอย่างไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

การเปิดเสรีทำให้ราคาลดลง

ต้องหา World Practice ดูว่า ผลิตไฟฟ้าจากอะไร ต้นทุนและราคาขายเป็นอย่างไร ต้องมองตลาด CLMV ด้วยเป็นอย่างน้อย โดยใช้ทรัพยากรที่มีแต่ไม่เพิ่มคน

ควร spin off ออกไปเป็นอีกบริษัทเพื่อสู้กับรายอื่น

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดีใจที่มีนักธุรกิจที่เข้าในกฟผ. ได้หลายมุมมอง

ช่วงคำถาม

คนที่ 1

กฟผ.ควรมีแนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินทรัพย์ที่มี หารายได้เพิ่มอย่างไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

ควรลดต้นทุน ก็เหมือนเพิ่มรายได้ A penny saved a penny earned

ต้องชนะใจมวลชนแล้วขยายในเมืองไทยก่อนโดยไม่มีคนต่อต้าน

อย่าให้ IPP เพิ่ม แต่กฟผ.ทำแล้วมักถูกต่อต้านมากกว่า IPP

ควรปิดโรงไฟฟ้าเก่าที่ไม่มีประสิทธิภาพ

คนที่ 2 

กฟผ.มีคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า ตอนนี้ มีคำสั่งให้เราทำงานช้า แต่คนรุ่นใหม่อยากทำแบบธุรกิจ ควร Position อย่างไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

ขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กร

ควรตั้งบริษัทใหม่ไปแข่งกับที่อื่นหรือรอไฟไหม้บ้านแล้วให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

คนที่ 2

เราจะยังเก็บธุรกิจเก่าและแตกหน่อไปเป็นธุรกิจใหม่

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

ปตท.ก็เป็นแบบนี้

คนที่ 3

นโยบายการเมืองเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวมาก

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

เรื่องนี้น่าเห็นใจ

คนที่ 4

มีความเชื่อไหมว่า คนกฟผ.ไม่น่าจะเป็นคนกฟผ.

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

ไม่ใช่อนาคตอันใกล้

แต่ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น อยากให้ยังเป็นของคนกฟผ. เพราะคนกฟผ.รักองค์กร

คนที่ 5

ในมุมมองนักธุรกิจ กฟผ.อยู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน มีคำแนะนำอะไรหรือไม่สำหรับกฟผ.ทำ Spin off

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กรณีโรงไฟฟ้าราชบุรี มีกำไรมาก กฟผ.ถือหุ้นให้ประชาชนแทนที่จะถือหุ้นเองหรือถือหุ้นมากกว่านี้ 

ทรัพย์สินต่างๆที่มีควรมีการนำมาวิเคราะห์ให้รอบคอบให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น

ความเสี่ยงการเมืองกระทบกฟผ.รุนแรง อาจจะเชิญนักการเมืองมาเป็นแนวร่วมบ้าง

คนที่ 6

กฟผ.เป็นเสาหลักพัฒนาประเทศ เราใส่ใจสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความสามารถแข่งขันให้ประเทศ

อะไรที่คนนอกต้องการให้กฟผ.อยู่ในอนาคต ยุทธศาสตร์เป็นอย่างไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

โดยยุทธศาสตร์ กฟผ.เป็นเสาหลัก

กฟผ.ต้องอยู่แล้วขยาย แล้วขยายไป CLMV 

คนที่ 7

การบริหาร Stakeholder ควรทำอย่างไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

บริหารได้ยาก นายของกฟผ.จะทำอะไรได้ยากขึ้นเมื่อกฟผ.เป็นบริษัท นายจะกลายเป็นผู้ถือหุ้น ดูกรณีปตท.เป็นหลัก อย่ากลัวการไปเป็นบริษัท

คนที่ 8

ถ้ากฟผ.อยากยั่งยืนในไทย ควรมีกลยุทธ์ใดให้สร้าง brand loyalty

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

การสร้างใช้เวลา

สิ่งสำคัญคือความจริงใจ

ต้องหา position ให้ชัด ให้คนที่ได้รับผลประโยชน์ออกมาพูดเองว่า สิ่งที่กฟผ.ทำดีอย่างไร ทำเหมือนเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา 

คนที่ 9

การทำ transform ช่องวันกับนันยาง มีปัจจัยความสำเร็จอะไร

คุณปิยะ ซอโสตถิกุล 

ต้องทำให้เข้าใจว่า โลกเปลี่ยนแปลงแล้ว ลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร

ต้องลงทุน Social media เพราะต้นทุนต่ำกว่าแต่มี Impact มากกว่า รองเท้าแตะรีไซเคิลนันยางเข้าถึงประชาชนมากกว่า ทำโดยใช้ขยะในทะเล อาจารย์ปัตตานีนำขยะในทะเลมาผลิตรองเท้าแตะ จึงร่วมมือกันผลิต เป็นการโฆษณาดัง ทำด้วยใจ ไม่หวังประชาสัมพันธ์แต่ออกมาดัง

คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  

เมื่อตอนที่เคยเป็นหัวหน้ากอง เคยบอกว่า รัฐวิสาหกิจยังพังได้ เรื่องสิทธิพิเศษจะทำลายความเข้มแข็ง แต่เรามักชอบสิทธิพิเศษ

การแข่งขันเป็นเรื่องจำเป็น ไม่เคยเจอประเทศไหนที่เปิดเสรีตลาดไฟฟ้าแล้วราคาถูก ถ้าดีมานด์มาก ราคาก็ยังคงแพง ไฟฟ้ามีปัญหาเทคนิคมาก สิงคโปร์เปิดเสรีไฟฟ้า ราคาต่อหน่วย 5 บาททั้งๆเป็นแหล่งแก๊ส

เคยเสนอปรับแผน PPP เพิ่มพลังงานทดแทน

กฟผ.ใช้ประกันราคา ถ้าไม่ประกัน ราคาไฟฟ้าจะแพง

ถ้าประกัน 20 ปี ค่าไฟถูก แต่ทุกคนต้องอยู่ในระบบและต้องมีการชำระเงิน แต่ไม่สามารถทำลายโรงไฟฟ้าเก่าที่ยังไม่หมดสัญญาได้

ดิจิตอลทำให้ประมวลข้อมูลเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จะทำงานแบบเดิมไม่ได้

ในอนาคต จะมีโรงไฟฟ้าเล็กๆ แต่ไม่มีความช่วยเหลือระบบ

The Leaders’ Special Talk 

หัวข้อ “เรื่องเล่าจากวิสัยทัศน์.. สู่ความสำเร็จของผู้นำ 

และการพัฒนาองค์การ ด้วยศาสตร์พระราชา” 

..จากแนวคิดเครื่องมือ สู่การปรับใช้ที่ได้ผล 

โดย     คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ 

อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ 

อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และ 

อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล 

และดำเนินรายการ โดย อาจารย์สุภวัส วรมาลี

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

ม.อ.เน้นกิจเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง 

สิ่งที่ทำสำเร็จมาจากปณิธาน

จะนำมาแชร์หลักสูตรศาสตร์พระราชา

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ 

ขอบพระคุณอาจารย์จีระและกฟผ. รู้สึกเป็นเกียรติมาก

แนวคิดอาจารย์จีระที่ให้คุณค่าความหลากหลาย ทุกคนเป็นอนาคตของกฟผ. และท่านจะได้ประโยชน์แน่นอน

ม.อ.เกิดในยุคใกล้เคียงกันกับกฟผ. 

กฟผ.เป็นเรื่องความมั่งคงการไฟฟ้าเพื่อการแข่งขันของประเทศซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

แต่คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.เป็นการให้โอกาสการศึกษาการแพทย์ ยกระดับมาตรฐานการแพทย์ ลดความเหลื่อมล้ำทั้ง โอกาสการศึกษาและการรักษาพยาบาล สมัยที่ทั่วโลกต่อสู้คอมมิวนิสต์ ไทยมีความเหลื่อมล้ำมาก การลงไปพัฒนาภูมิภาคจึงเป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย

ความมั่นคงทางไฟฟ้าก็ถือเป็นความมั่นคงของประเทศด้วย

อดีตผู้ว่าการกฟผ.ท่านแรกเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ทำให้ม.อ.เป็นเสาหลักของภาคใต้

SPEED ของกฟผ.มีสาระใกล้เคียงกับปรัชญาของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.

D คือประโยชน์เพื่อนมนุษย์

หลักสูตรอาจารย์จีระเน้นคุณธรรม กฟผ.ก็ได้ให้ความสำคัญกับคุณธรรม จริยธรรม

เรื่อง Performance คณะแพทย์ยึดถือมานานได้รางวัลคุณภาพระดับประเทศมานาน

สิ่งสำคัญคือการเน้นนวัตกรรม

ช่วงโควิด-19 เรื่องนี้เกิดช่วงรศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญเกษียณแล้ว ก่อนหน้านั้นมีซาร์สมาเร็วจบ แต่โควิดยังไม่มีทีท่าจะจบ ทั้งสองโรคเกิดที่จีนระบาดไปทุกทวีป ทุกทวีปที่ระบาดมีการบินเชื่อมโยงและมีการสื่อสารกับฮ่องกง 

สิ่งที่น่าตกใจมากก็คือ แพทย์ และพยาบาลที่รักษาโควิด-19 ก็ตายเอง

โจทย์ของศาสตร์พระราชาที่ทำให้งานสำเร็จ

-การเตรียมการ ศึกษาข้อมูลเป็นระบบ ก่อนเป็นศบค. กระทรวงสาธารณสุขศึกษามีกรมควบคุมโรคและกลุ่มนักวิชาการที่มีความรู้เรื่องนี้ดีศึกษาโรคมาแล้ว  มีออกแบบกลไก เกิดแล้วควบคุมสถานการณ์มา กลไกการทำงานเกิดเพราะออกแบบระบบก่อน 

-มีการทำงานเชื่อมโยงกันเป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 สอน การออกแบบทีมก่อนแล้ว นายกมากระตุ้น

การเตรียมการและการทำจริงไม่เหมือนกัน ปี 2546 เจอซาร์สรายแรกเจอ WHO ส่งหมอมาเก็บเชื้อที่เวียดนาม และหมอคนนี้ก็มาเสียชีวิตที่ไทย แผนและการทำจริงมักไม่เหมือนกัน 

ม.อ.ก็มีแผนเตรียมพร้อม เดือนมีนาคมและเมษายน มีผู้ป่วยโควิด-19 มาจากฮ่องกง จึงได้ประสานไปยังศบค.ว่า ม.อ.มีเคสแล้ว ทางศบค.จึงได้ประกาศมีเคสแล้วและจะร่วมมือกันดูแลเป็นอย่างดี

การดำเนินการแบบนี้ตรงศาสตร์พระราชาเรื่องการสื่อสาร ศบค.แถลงข่าวที่เป็นความจริง ไม่นำนักการเมืองมาพูด แต่นำนักการวิชาการที่ชาวบ้านพูดแล้วเชื่อมาพูด 

สมัยนั้นข้อมูลไม่แม่น และคนกลัวตาย หมอที่ดูแลคนไข้ต้องสัมผัสคนในครอบครัวไม่ได้ 14 วัน แต่ก็ระเบิดจากภายในว่า เป็นเคสแรกเข้ามาไทย ต้องนำสิ่งที่ดีที่สุดมาล้อมเคสนี้ไว้ป้องกันการระบาด

การสื่อสารเน้นซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน เน้นความปลอดภัย

ศาสตร์พระราชาเน้นการร่วมมือ เช่น การร่วมมือสาธารณสุข

รัชกาลที่ 9 ท่านให้ใช้หลักวิชาการที่รอบคอบ แต่ไม่ให้ยึดติดตำรา ตอนนั้นตำราไม่ได้พูดถึงสิ่งต่างๆที่หมอบอก สิ่งสำคัญคือเทคนิค ต้องรู้ Why จะสกัด How ได้ เช่น ใช้ เสื้อกันฝนแทนชุดป้องกัน ทำให้พึ่งตนเองได้

รัชกาลที่ 9 ทรงเน้นประโยชน์มหาชนชาวสยาม ได้แก่ ผู้ป่วย ทีมงานที่สัมผัสโรค และชุมชน ทุกอย่างต้องผ่านฆ่าเชื้อก่อนออกไปชุมชน

ในเวลาอันสั้นต้องประกอบทีมและหาเครื่องมือ ใช้ควันธูปทดสอบการรั่วห้อง negative 

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

การใช้ศาสตร์พระราชาในการแพทย์ทำให้ทำงานที่ไม่เคยทำได้ สิ่งสำคัญคือการสื่อสารในช่วงวิกฤติ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมลร่วมโครงการม.อ.มาตลอด และไปดอยตุงจะได้มาแบ่งปันประสบการณ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล 

เรื่องของรศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญทันสมัยมาก การแก้โควิดมีประสิทธิภาพมาก การแพทย์ได้แนวคิดจากพระบิดา มีวิสัยทัศน์การแพทย์และการสาธารณสุข ตอนนั้นประเทศจน ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ท่านนำเงินส่วนพระองค์มาให้แพทย์และพยาบาล

ปัจจุบัน เห็นภาวะผู้นำจากหมอ ประชาชนเชื่อ

กฟผ.ต้องใช้ผู้นำที่มีบารมีมาช่วย

ที่ดอยตุงก็ต้องใช้อสม. แต่ต้องมี Commitment  มีการฝึกฝน และเป็นประชาชนในชุมชน อสม.เป็นความสำเร็จคอยช่วยดูแล

กฟผ.สามารถสร้างอสม.เช่น คนที่อยู่ตามแนวสายส่ง ผู้นำต้องมีการฝึกและส่งไม้ต่อ มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เยาวชน แต่ละรุ่น

ต้องนำเครื่องมือทั้งหลายมา

ทฤษฎี 2R’s ของอาจารย์จีระ คิดอะไรจากความจริงเป็นตัวตั้ง (reality) ต้องมีกรอบความคิดก่อน

กฟผ.ต้องมองไกล โรงไฟฟ้าพอหรือไม่ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นมาทันหรือไม่ พลังงานทดแทนของชาวบ้านจะทำอย่างไร

รุ่นพี่กฟผ.เคยคิดสถานีเติมพลังงานไฟฟ้าและดึงชุมชนมาร่วม

แม้ไม่มีปัญหา แต่ก็ต้องพัฒนาต่อไปอย่างยั่งยืน

ที่ดอยตุง สมเด็จย่าพบภูเขาหัวโล้น ประชากรไม่มีสัญชาติ ค้ามนุษย์ ปลูกฝิ่น ท่านเห็นปัญหามาจากข้างล่าง 

สมเด็จย่าบอกว่า ปัญหาเกิดเพราะชาวบ้านเจ็บ จน ไม่รู้ ก็ต้องแก้ปัญหา โดยนำแพทย์อาสาเข้าไป ส่งเสริมให้ปลูกกาแฟ ท่านใช้คนพื้นที่เข้าไปคุยกับชาวบ้าน

ท่านผู้ว่ากฟผ.ก็นำศาสตร์พระราชาใส่เข้าไปในใจคนกฟผ.

ศาสตร์พระราชาใช้ได้ทุกเรื่อง ยึดโยงสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ

ดอยตุงต้องมีรายได้ที่จะเลี้ยงตนเอง

คนดอยตุงจากทรัพยากรธรรมดา ปรับขึ้นมาเป็นทุนมนุษย์ปลูกกาแฟ ทำเซรามิคและทอผ้าได้ มีสิ่งที่มองไม่เห็นคือ ไฟป่า เวลาเกิด ถ้าไม่มีดอยตุง ข้างล่างไหม้ สิ่งที่ดีคือคนพื้นที่มาช่วยดับไฟป่า  

Relevance ตรงประเด็น เห็นปัญหาแล้วแก้ทันที ต้องทำวิจัยเก็บข้อมูลก่อน สนเป็นตัวต้นเหตุไฟป่า ต้องปลูกกาแฟและแมคคาเดเมียก่อนให้มีผลผลิตและรายได้แล้วจึงตัดสนออกไป ทุกอย่างต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

ทฤษฎี 3V’s

Value Added 

Value Creation 

Value Diversity ต้องใช้ความหลากหลาย ต้องมีส่วนผสมที่ดี มีการร่วมมือข้ามไซโลแล้วไปเพิ่มมูลค่า ทำให้ทำงานเหนื่อยน้อยลง

มีกรณีศึกษาแล้วต้องปรับใช้ได้ 

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

สิ่งที่จะทำให้ศาสตร์พระราชาประสบความสำเร็จคือ ท.ท.ท. ทำทันที จากท่านว.วชิรเมธี

ท่านผู้ว่าการกฟผ.มีมุมมองจากคนในกฟผ. ได้นำไปใช้ในกฟผ.อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

คุณกรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์ 

ตอนเป็นผู้ว่าการ ก็มีแนวคิดว่า “เราอยากให้คุณคิดและทำเป็นคนแรก”

ความยั่งยืนคือ ปัจจัยทั้งหลายไม่มีความหยุดนิ่ง ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

นำไปสู่แนวคิด “หยุดคิด สมองเสื่อม หยุดทำ เป็นง่อย” ต้องคิดค้น พัฒนาและช่วยกันทำ

ดอยตุงทำเรื่องเด็กเป็นเรื่องกระบวนการความยั่งยืน คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักสมเด็จย่าแล้ว

คุณปิยะ ซอโสตถิกุลพูดเรื่องแบรนด์ 

ถ้าสังคมมองเห็นคุณค่ากฟผ. เราก็จะอยู่ได้

เวลาปรับใช้ กฟผ.ลงพื้นที่ได้รับโจทย์จากดร.สุธี อักษรกิตต์ให้แก้น้ำเสียที่คลองเปรมซึ่งมีขยะนานาชนิดทำให้น้ำเน่า เมื่อลงพื้นที่จริง คลองเปรมทำให้หายเน่าด้วยการผันน้ำเข้ามา ตอนหลังมีหมู่บ้านมามากทำให้มีของเสียมาก แสดงว่า ถ้าข้อมูลไม่ชัด จะแก้ปัญหายาก ต้องมีการลงพื้นที่จริง

คนคลองเปรมทนน้ำเสียมานาน ต้องใช้คนน้อยสุด ช่วยให้เขาพึ่งตนเองได้เมื่อกฟผ.จากไป ถือเป็นศาสตร์พระราชา แล้วคนในชุมชนก็ลงพื้นที่เป็นจิตอาสา

สิ่งสำคัญคือต้องส่งเสริมให้ชาวบ้านทำต่อ เป็นการระเบิดจากข้างใน



หมายเลขบันทึก: 683043เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2020 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2020 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท