โครงการสร้างชุมชนตลาดพลูเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม ในยุคหลังโควิด-19 ไปสู่ความยั่งยืน วันที่ 26 กันยายน 2563


เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2563 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ประธาน Chira Academy ในฐานะประธานที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการพร้อมด้วยคณะทำงานฝ่ายตลาดพลูประกอบด้วย พ.ต.อ.พิสิฐชัย ถิ่นขนอน ผกก.สน.ตลาดพลู ประธานที่ปรึกษาโครงการฝ่ายชุมชนตลาดพลู คุณสุพจน์ โภชนพาณิชย์ ประธาน กต.ตร.สน.ตลาดพลู อนุกต.ตร.กทม.ฝ่ายเศรษฐกิจ    และคุณธรรมเจริญสุ บุญมาสำเร็จโชคดี รองประธานชุมชนตลาดพลู จัดโครงการสร้างชุมชนตลาดพลูเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมในยุคหลังโควิด-19 ไปสู่ความยั่งยืน ณ วัดกันตทาราราม ชุมชนตลาดพลู กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดด้านล่างนี้

สรุปการเรียนรู้ โดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมวิชาการ Chira Academy

โครงการสร้างชุมชนตลาดพลูเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม

ในยุคหลังโควิด-19 ไปสู่ความยั่งยืน

วันที่ 26 กันยายน 2563 เวลา 9.00-12.00 น. 

ณ ห้องประชุมวัดกันตทาราราม ชุมชนตลาดพลู กรุงเทพมหานคร

กล่าวสัมโมทนียกถา โดย พระครูโชติธรรมารักษ์ เจ้าอาวาสวัดกันตทาราราม 

    เจริญพรคณะผู้ดำเนินการที่สร้างเสริมวัฒนธรรม เพื่อทำสถานที่นี้เป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง เน้นการอยู่ร่วมกันในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ในการปกครอง ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นประธาน ใช้สถานที่ในการต้อนรับด้วยความเต็มใจและยินดีอย่างมาก ในฐานะเป็นเจ้าอาวาส ยินดีต้อนรับด้วยความจริงใจ  ที่อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกในพระพุทธศาสนา

    ผลงานที่ดำเนินการอยู่ อายุย่าง 71 ปี จบปริญญาเอกทางด้านพุทธศาสตร์ดูแลด้านพุทธศาสนา ฝ่ายธรรมาจารย์  ใช้เวลา 10 ปีให้คณะสงฆ์ เจ้าอาวาสดูแลพระพุทธศาสนา เป็นข้อบังคับในตำแหน่งเจ้าอาวาสที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ 

    ความภาคภูมิใจ พ่อเป็นพระอรหันต์ของชาติ มี 9 ข้อ 

  1. ความเพียร
  2. ความพอดี
  3. ความรู้ตน
  4. การต้อนรับ
  5. อ่อนโยนไม่อ่อนแอ
  6. เรียนหนังสือเป็นออมสิน
  7. พูดจริงทำจริง
  8. สัจจะโดยปรมัตต์ หรือสัจจะโดยสมมุติ รู้จักสงบเสงี่ยมเตรียมตัวรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นในศูนย์แผ่นดินไทย ให้ประเทศชาติเจริญ 

ความซื่อสัตย์ สุจริต  ด้วยกาย วาจา ใจ ต่อ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  และเป็นความจริงตาม

     9.ความพึ่งตน รักษาคุณงามความดี รักษาความซื่อสัตย์สุจริต รักษาความพอดี ความรู้จักตรง พูดจริง ทำจริง ซื่อสัตย์สุจริต เอาชนะใจตนให้ได้ 

    สิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดาต้องมีความดับเป็นธรรมดา เราต้องทำหน้าที่ให้อยู่ในระบบ 9 ประการให้ได้  เราทำใจให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  เราทุกคนต้องป้องกันด้วยดี เราไม่ติด แต่เราป้องกันด้วยหลักธรรม คือมีความจริงใจ เพียร พอดี รู้ตน รับ ต้อนรับ เอาธรรมเป็นที่พึ่ง พระธรรม กาย วาจา ใจ ใจเป็นสิ่งสำคัญ พึ่งแบบอัตตา หิ อัตตโน นาโถ 

    ขอต้อนรับด้วยใจ ด้วยความผาสุก จงเจริญ ความสำเร็จให้เกิดขึ้นกับทุกคน เจริญพร 

    กล่าวรายงาน โดย คุณสุพจน์ โภชนพาณิชย์  ประธาน กต.ตร.สน.ตลาดพลู

        ในนามชุมชนตลาดพลู ขอเสนอความเป็นมาคร่าว ๆ เป็นชุมชนเก่าแก่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในอดีต ร.5 เคยเสด็จผ่าน มีบ้านทรงไทยเป็นที่ประทับของท่าน และคุณหลวงดิษฐการ ที่ ร.9 ประทับก่อนเสด็จไปสวิตเซอร์แลนด์ 

        ชุมชนตลาดพลูมีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องอาหารหลากหลาย โบราณสถาน และวัดเก่าแก่ อาทิ วัดปากน้ำ วัดราชพฤกษ์ ที่เก็บเถ้ากระดูกของพระเจ้าตากสิน

        ปัจจุบันชุมชนเริ่มขยายตัวเนื่องจากมีรถไฟฟ้ามา ทำให้แออัดด้วยรถ มี 3 สถานีในชุมชน ทำให้ที่ตาบอดของตลาดพลูกลายเป็นทองคำ  

        เห็นชัดว่า ชุมชนตลาดพลูเป็นที่ที่มีศักยภาพของประเทศไทย ในช่วง โควิด 19 ชุมชนตลาดพลูได้รับผลกระทบมากมาย ทำให้เขตขาดรายได้ ในฐานะที่ทำงาน กต.ตร.สน.ตลาดพลู ดูเรื่องเศรษฐกิจ ให้โรงพักทำเพื่อชุมชน เปิดตู้ปันสุขที่โรงพัก เป็นมาตรการเยียวยาคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด19 ช่วยให้คนพึ่งตนเองได้

        30 พ.ค. คุณธรรมเจริญสุ บุญมา ได้ให้หารือกับ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เพื่อจะพัฒนาชุมชนตลาดพลูได้พัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และปลอดยาเสพติด และประสานกับ พลเอกถนอมในการพัฒนาให้ชุมชนตลอดไป โดยจะเป็นพลังสำคัญขับเคลื่อนในอนาคต 

    กล่าวในฐานะประธานที่ปรึกษาโครงการฯ โดย พ.ต.อ. พิสิฐชัย ถิ่นขนอน ผกก.สน.ตลาดพลู

        ขอขอบคุณที่ให้เกียรติเป็นประธานที่ปรึกษาโครงการฯ  จะพยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด มีความภาคภูมิใจว่า สถานีตำรวจตลาดพลู ได้รับโล่ ธรรมาภิบาล ประชาชนสามารถพึ่งพาได้อย่างแท้จริง เช่นการเป็นจิตอาสา การสนับสนุนของขวัญตามชุมชนต่าง ๆ การให้ความรู้ด้านกฎหมาย รู้สึกเป็นเกียรติที่สร้างชุมชนตลาดพลูให้มีคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อประชาชนมีอาชีพ และรายได้ที่ดี จะทำให้ตลาดพลู ปลอดภัยและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น ซึ่งนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น 

    พิธีเปิด โดย พลเอกโกญจนาท จุณณะภาต รองประธานสภากรุงเทพมหานคร

        ขอขอบคุณที่ทางโครงการฯ ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด กิจกรรมต่าง ๆ เป็นหน้าที่ของกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ โคร

    งการต่าง ๆ มีประโยชน์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะด้านการศึกษาและอื่น ๆ สิ่งที่กรุงเทพฯ ต้องคำนึงถึงคือการดูแลความเป็นอยู่ ทุกข์สุข สุขภาพของประชาชนทั่วไป ได้มอบหมายให้กับเขตรับผิดชอบ ที่อยู่นี้อยู่ในเขตรับผิดชอบของเขตธนบุรี

        โครงการที่นี่เป็นชุมชนที่ใหญ่มาก มีความคิดว่าต้องมีการพัฒนา ความเจริญต้องเข้ามาถึงระดับหนึ่ง ต้องมีการพัฒนายิ่งขึ้นไป มีความชื่นชมมูลนิธิฯ ให้ความเคารพท่าน เคยปฏิบัติงาน ในสมาคมเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

        ความอุ่นใจที่ 2 คือการเริ่มนำโครงการต่าง ๆ ที่มีประโยชน์เข้ามาพัฒนา ผู้อำนวยการเขตธนบุรี เป็นคนมีฝีมือ เข้มแข็ง วิสัยทัศน์ก้าวไกล คิดว่ามีความเหมาะสมที่จะพัฒนา รวมถึงเขตใกล้เคียงคือบางกอกใหญ่

        กรุงเทพฯ ยังมีอีกโครงการฯ คือโดรงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นวาระแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กทม. ดูแล ที่รู้จักเรียกได้ง่ายคือ สปสช. คือบัตรทอง บัตรต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับการดูแลทั่วถึง กำลังได้รับความแก้ไขให้ดูแลดีขึ้น 

        ขอให้ท่านพัฒนาและศึกษาโครงการนี้ โครงการฯ นี้ได้รับงบประมาณดูแลโดยตรงที่จะต้องดูแลสุขภาพของทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นวัยไหน อาชีพไหน มูลนิธิฯ น่าจะหยิบยกในการดูแลต่อเนื่องไป ขอฝากโครงการฯ มูลนิธิฯ ให้เขตดูแลสนับสนุน เพื่อประชาชน เพราะทุกอย่างมาจากภาษีของท่าน ต้องมีการดูแลท่าน ต้องมีการร่วมมือพัฒนาชุมชน ในเขตหรือประเทศด้วย

        สุดท้ายขออวยพรให้กิจกรรมของโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน ผู้ดูแลสนับสนุน ขอขอบคุณที่พัฒนาชุมชน ถ้าทำแล้วขาดงบประมาณด้านใดขอให้บอกผ่านทางเขตมา เพราะสิ่งที่จะทำเป็นประโยชน์ทั้งสิ้นทั้งตนเอง และผู้ที่อยู่รอบข้าง ผู้ใกล้ชิด ผู้สูงอายุในสายตระกูลของท่าน ขอให้โครงการฯ ดำเนินไปอย่างเหมาะสมในการสานต่อภายใต้มูลนิธิฯ ของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

    การบรรยาย โดย คุณสุพจน์ โภชนพาณิชย์  ประธาน กต.ตร.สน.ตลาดพลู

        ตลาดพลู คนทั่วไปใน กทม.จะรู้ว่าตลาดพลูแหล่งอาหารอร่อย  ฝากท่านประธานว่า ตลาดพลูมีวัฒนธรรม วัดเยอะมาก อยากจัด Festival ตลาดพลู ปีละครั้งน่าจะดี หรือเทศกาลอาหารสำหรับตลาดพลู น่าจะดีมาก กลางคืนคนเยอะมาก แต่มีปัญหาเรื่องที่จอดรถ อาหารดี ขนมหวานอร่อย ฝากขอให้พวกเราช่วยขับเคลื่อน 

    คุณกนกวรรณ เอี่ยมลิ้ม ผู้อำนวยการเขตธนบุรี 

        เข้ามาในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่จะพัฒนาตลาดพลูให้เป็นชุมชนด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เห็นถึงสิ่งที่จะพัฒนาวัฒนธรรมให้เป็นรูปร่าง ต้องใช้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ นอกจากมีชุมชน มีวัด โรงเรียนที่จะบ่มเพาะเยาวชน เขตจะสนับสนุนด้านกายภาพ เราได้มีงบประมาณในการพัฒนาท่าเรือตลาดพลูที่จะเชื่อมโยงคลองบางหลวง เป็นสายน้ำประวัติศาสตร์ที่ กทม.จะทำให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวทางน้ำ แต่สิ่งที่เป็นปัญหาด้านกายภาพคือลานจอดรถ และการรองรับ ไม่ได้พัฒนาการมีส่วนร่วมร่วมกัน 

        ตลาดพลู มีอาหารอร่อย และวัฒนธรรมหลากหลาย คิดว่าผู้ที่เข้าโครงการจะสามารถสานสัมพันธ์ให้เกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน 

    การบรรยาย เรื่อง เสนอแนวทางการพัฒนาชุมชน  โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

        ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะหารือและนำเสนอ จะเป็นการถามชาวชุมชนตลาดพลูว่า อยากได้อะไรผ่านกิจกรรม Workshop แลกเปลี่ยนความเห็น

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาที่ชุมชนตลาดพลูเพราะเกิดในกทม. คนกทม.ต่างคนต่างอยู่ แต่คนต่างจังหวัดมีรากเหง้า

        คุณธรรมเจริญสุ บุญมาสำเร็จโชคดี (คุณไว) ได้ฟังรายการวิทยุของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาเป็น 10 ปีแล้วโทรศัพท์มาหา จึงได้มีโอกาสมาพบประธานชุมชนและรู้จักกัน วันนี้พบกันแบบเป็นทางการ มีตัวแทนจากเขต ส่วนพลเอกโกญจนาท จุณณะภาต รองประธานสภากรุงเทพมหานครก็เป็นรุ่นน้องนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ภูมิใจที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครเห็นคุณค่าโครงการนี้

        โครงการนี้ตรงกับทฤษฎีดอยตุง “ดอกไม้หลากสี”นำความแตกต่างมาเป็นพลัง

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะมาศึกษา 5 ชุมชนอย่างละเอียดตามหลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือ รู้จักและเข้าถึงจิตวิญญาณชุมชน นอกจากนี้จะมีนักเรียนเทพศิรินทร์ลงพื้นที่ไปพบปะคนในชุมชน และอยากจะขอให้ประธานชุมชนพานักเรียนไปศึกษาชุมชนด้วย

    Workshop

    1. เลือกประธาน 1 ท่าน และเลขาฯ 1 ท่าน

    2. จุดแข็งของชุมชนคืออะไร 3 ข้อ 

    3. เรื่องที่ต้องแก้ไขด่วนคืออะไร อันตรายแค่ไหน

    4. การเริ่มแก้ปัญหาชุมชน 4 เรื่องคืออะไร จะแก้ไขอย่างไร จัดอันดับ 1-4 

    กลุ่มที่ 1 นำเสนอโดย นายเอี่ยม อินเพน ประธานชุมชนวัดกันตทาราราม 

        มีบวรคือ วัด โรงเรียน ชุมชน เป็นชุมชนใหญ่ มีครัวเรือนประมาณ 624 ครัวเรือน มีผู้ชาย 1,400 คน หญิง 900 คน จุดแข็งคือ มีกลุ่ม อสส. อาสาสมัครสาธารณสุข มีการคัดกรองที่เกี่ยวกับป้องกันโควิด ในการลงพื้นที่ มีกลุ่ม อสส. คอยเฝ้าระวังคัดกรองโควิด และจะดูแลผู้สูงอายุด้วย 1 ท่านดู 3-4 ครัวเรือน มีกลุ่มอาสาสมัครตำรวจบ้านเป็นจุดแข็งอีกกลุ่ม นำตระเวนออกตรวจและเตือนภัยต่าง ๆ มีปัญหายาเสพติด เป็นชุมชนสีขาว ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดระหว่างชาติ กลุ่มผู้สูงอายุเน้นการส่งเสริมออกกำลังกาย มีกลุ่มแอโรบิคเปิดเต้นทุกวัน จันทร์-ศุกร์ 6 โมงเย็น – 1 ทุ่ม แต่ยังขาดการสนับสนุน มีกลุ่มในวัยเด็กที่เน้นการออกกำลังกาย ไม่ให้เด็กมั่วสุม ติดเกมส์ มีการส่งเสริมเด็กออกกำลังกาย อยากส่งเสริมให้ไปต่อ

        ภาพโดยรวมตลาดพลูมีเหมือนกันคือ โบราณสถาน วัดเก่า และสมเด็จพระเจ้าตากสินที่เป็นสัญลักษณ์ชาวธนบุรีที่เดินเทิดพระเกียรติพระองค์ 

        ปัญหาระดับชาติ อาทิ 

    1. ขยะ มีหน่วยงานราชการเข้ามาเรื่อย ๆ แต่ไม่เพียงพอ ถ้าจะมีเอกชนร่วมรณรงค์กับชุมชนจะเป็นเรื่องที่ดี 

        2. มีตัวแทนคอนโดฯ เข้ามาอยู่ในพื้นที่ของชุมชนวัดกันตทาราราม ติดกับโรงเรียน ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งกระทบชาวบ้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นฝุ่นละออง เสียงดัง ชุมชน โรงเรียนได้รับผลกระทบอย่างมาก ชาวบ้านร้องเรียนก็จะผ่านมาที่คุณเอี่ยม

        3. การป้องกันอัคคีภัย คุณเอี่ยมเป็นอาสาสมัครบรรเทาหน่วยสาธารณภัย ชุมชนเป็นบ้านไม้เก่าจำนวนมาก อย่างชุมชนวัดกันตทารารามอยากได้เครื่องป้องกันอัคคีภัยอย่างมาก 

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสริมว่า ถ้าเราฟังแล้วเขาจัดลำดับมามีปัญหาสิ่งแวดล้อม อัคคีภัย ขอแนะนำว่า เราน่าจะเพิ่มเรื่องปัญหาสุขภาพ การมีงานทำ คุณภาพชีวิต แต่ถ้ายังไม่เสนอมายังไม่เป็นไร  ทีมของ ดร.จีระจะสามารถช่วยได้

    กลุ่มที่ 2 โรงเจ 1,2

        จุดแข็งคือ อาหารดัง ที่เน้นคือกุยช่าย กับบ๊ะจ่าง ฝากเรียนทางเดอะมอลล์พิจารณา มีโรงเจที่ใหญ่ที่สุดของเขตธนบุรี มีวัฒนธรรมหลากหลาย  มีความสามัคคีในชุมชน

        สิ่งที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วนคือ ถนนในชุมชน ทางรถไฟทางข้าม ไฟส่องสว่าง กล้องวงจรปิด ถังเคมีดับเพลิง 

        สิ่งที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วน

        1. ทางข้ามรถไฟของชุมชน ไม่มีระบบป้องกันความปลอดภัย เป็นทางที่มอเตอร์ไซด์วินกั้นเอง ซึ่งเกิดอุบัติเหตุสูงพอสมควร

        2. ถังดับเพลิง 2 ชุมชนรวมกัน 1,100 หลังคาเรือน แต่ถังดับเพลิงไม่พอกระจายในชุมชน

        3. กล้องวงจรปิดมีแค่ 3-4 อันไม่ครอบคลุมเวลาเกิดปัญหา

        4. ไฟส่องสว่าง เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม โดยเฉพาะเวลาก่อสร้าง 

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า กลุ่ม 1 กับ  2 มีอะไรที่คล้ายกัน เวลาแก้ สิ่งที่อยากเห็นคือ หลุดพ้นความยากจน มีรายได้ที่มั่นคง  เราต้องกระจายโอกาสให้ถึงชุมชนด้วย   

    กลุ่มที่ 3 นำเสนอโดย    ประธานชุมชนสามัคคีธรรม

    จุดแข็งคือ ความสามัคคี ไม่ต้องรอเรียกเขาจะมาหากันเอง อีกเรื่องคืออาหารอร่อย การทำอาหารที่มาส่งใต้สะพานตลาดพลู  

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า มีการกระจายรายได้ไปชุมชนด้วยหรือไม่ วันหนึ่งตลาดพลูจะเป็นของคนต่างประเทศ  

    วันนี้เป็นวันเริ่มต้นที่มีความสุข คาดว่าจะประชุมปีละครั้ง ที่เหลือจะไปเยี่ยม เก็บข้อมูลและทำความรู้จัก อยากให้มีทั้งคุณภาพชีวิต และรายได้ที่ยั่งยืน 

    ประธานชุมชนสามัคคีธรรม นำเสนอต่อดังนี้

    ปัญหาที่อยากแก้ไขเร่งด่วน

    1. ไฟส่องทาง เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับเขต ยังไม่มีการส่องสว่างทางเดิน โดยเฉพาะอยากให้ติดตรงเขื่อนด้วย เพราะมืดมาก

    คุณบุปผารัตน์ ตั้งประพฤติดี ประธานชุมชนวัดใหม่ยายนุ้ย เสนอว่า

    ชุมชนวัดใหม่ยายนุ้ยอยู่ใกล้เคียงกับชุมชนสามัคคีธรรม  สิ่งที่วิตกกังวลคือ มีคอนโดฯ เข้ามาจะสร้างรอบ ๆ ชุมชน มีผลกระทบกับชุมชนคือการสัญจร การบำบัดน้ำเสีย มลภาวะ ฝุ่นละอองเกิดขึ้นแน่นอน บวร ได้รับผลกระทบหมด เราจะทำอย่างไรที่จะแก้ไขป้องกันสิ่งที่จะเกิดกับชุมชน 

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า ขอให้วิตกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน ต้องให้บริษัทก่อสร้างทำอะไรอย่าให้มีผลกระทบ ต้องทำต่อ อย่างทักษะเกี่ยวข้องกับบริษัทควรมีตั้งแต่ก่อสร้าง บริหารจัดการและ Soft skill คือเข้าใจคนอื่น และต้องอธิบายให้เขตด้วย ให้ดูแลชุมชนด้วย เพราะถ้าชุมชนไม่มีความสุข เราก็อยู่ไม่ได้ 

    วันหนึ่งจะหาทางคุยกับคอนโดฯ ด้วย

    ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วน นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์และอดีตรองคณบดี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นว่า ชื่นชมตลาดพลู ด้วยหลายสิ่งหลายอย่างตลาดพลู เมื่อมีความเจริญ ทำอย่างไรให้อยู่ร่วมกันได้ ทำอย่างไรประสานให้เราอยู่ได้ จุดแข็งคือมีประวัติศาสตร์และมีผู้สูงวัยที่นี่มาก เราจะดูแลผู้สูงวัยอย่างไร เพราะผู้สูงวัยเป็นคนเก็บเรื่องราวตรงนี้มาก อยู่ที่ผู้สูงวัยจะเล่าต่อให้เราได้

        จุดแข็งอีกเรื่องคืออาหารทำอย่างไรให้บ่งบอกว่าเป็นเอกลักษณ์ตลาดพลู เช่น กุยช่ายตลาดพลู และจะเพิ่มความหลากหลายเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ กลับมาที่แหล่งรายได้  

        ถ้าเราร่วมกัน สร้างมูลค่าเพิ่มของชุมชนนี้ได้ ทำอย่างไรสร้างมูลค่าเพิ่มต่อจากทุนตรงนี้  มาตลาดพลูกินได้ทุกอย่างทั้งคาวและหวาน  เราต้องใช้จุดแข็งของตลาดพลูนำ สร้างรายได้โดยดึงจากพวกเราอย่างไร ไม่ต้องหวังรายได้จากชาวต่างชาติ  สิ่งที่เน้นคือโควิดอยู่กับเราอีกนาน เราจะดึงคนที่มีเงินในประเทศมาใช้เงินตรงนี้ และจะทำอย่างไรให้เขารู้ เช่นนึกถึงอาหารนึกถึงตลาดพลู สิ่งที่ต้องการเพิ่มคือความร่วมมือของแหล่งอาหารต่าง ๆ ทำอย่างไรให้ชุมชนมีจุดแข็งของความร่วมมือ ทำอย่างไรให้เขามาหาเราทุกอาทิตย์ เพราะเมื่อเขาใช้เงิน ชุมชนจะมีรายได้ 

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า สิ่งที่หวังคือเรื่องความยั่งยืน กระจายรายได้ อย่างเรื่องสิ่งแวดล้อม ไฟทาง ดร.จีระ ยินดีเจรจาให้ ถ้าเราเอาจริง เราจะเดินได้ 

        นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์และผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ ได้เสนอแนะว่า เคยมาเที่ยวตลาดพลูตั้งแต่เด็ก วัตถุประสงค์โครงการมี 4 ข้อ อยากเพิ่มอีกข้อคือ เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ อนุรักษ์โบราณสถาน สืบสานวัฒนธรรมและประเพณีที่หลากหลายของชุมชน เนื่องจากมีพระเจ้าตากสินเป็นที่เคารพรัก มีชุมชนจีน เราสามารถจัด One Day tour และ 2 Days Trip ได้อย่างดี 

        ในส่วนชุมชนตลาดพลู มีคุณสมบัติ ทรัพย์สมบัติมาก แต่ขาดผู้ประสาน หรือ Organizer ตรงนี้ เสริมแล้วพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยและกรุงเทพฯ ได้เลย  ถ้าแนวคิดเสร็จ ของบประมาณไม่น่ายาก 

        การพัฒนาชุมชนให้เป็นระบบ ง่ายต่อการจัดการ เป็นชุมชนสีขาวที่ปลอดยาเสพติด นับได้ว่าเป็นศักยภาพที่สูงมาก และคิดว่าช่วยพวกเราได้ โดยอาศัยการสนับสนุนพวกเรา 

        คุณกฤช สินอุดม นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์และผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าและโรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ เสนอแนะว่า

    ขอเพิ่มประเด็นทางกายภาพ ส่วนหนึ่งคือผังเมือง ถ้าชุมชนแข็งแรง มี Forum แบบนี้ นำเสนอผังเมืองได้ในอนาคต จะเป็นต้นแบบของชุมชน แต่ถ้าตั้งรับแบบนี้จะทำให้คอนโดฯ มาตลอด และเราควบคุมไม่ได้ เรื่องผังเมืองจึงเป็นปัจจัยที่ชวนให้คิด เน้นการสร้างให้ชุมชนอนุรักษ์ กำหนด โซนนิ่ง ความสูง และให้ชุมชนอยู่อย่างมีความสุข เพราะผังเมืองอยู่ได้  5 ปี พัฒนาแล้วจะเป็นตัวอย่างการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ดี  ช่วยให้เขาผลักดันตีกรอบพื้นที่ไว้จะเป็นไปได้   

        การมองไปข้างหน้า เพราะปัจจุบันเราโดน Disrupt ทำให้หลายอย่างเร่งเกิดขึ้น อย่างอยากกินกุยช่าย อาจสั่ง Grab ไม่อยากต่อคิว ถ้าเราไม่มองไว้ก่อน อาจเกิดปัญหาคือคนไม่มา เราจะสร้าง Story อย่างไรให้คนมา ให้มีพื้นที่ที่มีบริบทของอดีต เราต้องสร้าง ถ้ามัวแต่แก้ปัญหา เราจะเดินตามหลัง แต่ถ้าเราสร้างไปล่วงหน้า เช่น ทางสัญจร Walking Street ดูดี มีคนอยากมา และปลอดภัย อยากให้ศึกษาที่ญี่ปุ่นมีเมืองเล็ก ๆ ชุมชนเยอะมาก ถ้าตลาดพลูทำจะสามารถทำได้เช่นกัน ถ้าทุกคนมีพลังร่วมกัน มีโอกาสสูงมาก เป็นโมเดลที่น่าสนใจมาก เรื่องต่าง ๆ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า 3-5 ปี เพื่อเป็นต้นแบบให้ได้ 

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสริมว่า วันนี้ด้วยความกรุณาของคุณสุพจน์ คุณไว ผู้กำกับ และเครือข่ายที่ดร.จีระมี ลองคิดดูว่าวันนี้ทำไมถึงเชิญเขามา และยินดีที่เขามา เพราะสิ่งนี้คือการสร้างความคิดที่เราแบ่งปันความรู้ในกลุ่ม ทุกคนที่มาที่นี่หวังดี และ 3 คนที่พูด พูดได้ตรงประเด็น 

        สิ่งที่อยากทำ ให้เห็นว่าถ้าเราร่วมกันต้องเป็นลักษณะดอกไม้หลายสี และความคิดของอาจารย์คือมีความหลากหลาย สิ่งที่มาจะสร้างความกระทบคนเป็นหมื่น

        คุณธัญกาญจน์ อัครเดชเดชา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีตากสินและลูกศิษย์ปริญญาเอกของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง แสดงความคิดเห็นว่า จากการที่เป็นผู้สังเกตการณ์ รู้สึกประทับใจมาก รู้สึกที่นี่มีความสุขในการทำแล้ว ที่นี่มีพื้นฐานความสุข บวร มีวัดใหม่ยายนุ้ย โบสถ์สวยงาม มีการร่วมกันแก้ปัญหายาเสพติด 

        โครงการที่ดร.จีระทำ ต้องการใส่ความสุขให้กับประเทศ อาจารย์ต้องการคืนกำไรให้ประเทศไทย อย่างหลักสูตรศาสตร์พระราชา เราจะคืนคุณค่าแผ่นดินได้อย่างไร จากการทำวิจัยแห่งความสุข การที่ทำให้เกิดขึ้นจริง คือคนนำ ผู้เสียสละที่จะนำธง ให้ดูตัวอย่างสมเด็จพระเจ้าตากสิน ไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ในโลกนี้ ประเทศไทยทรงคุณค่าที่สุดคือเรื่องอาหาร ผู้นำชุมชนต้องหาที่จอดรถ 

        ทางแก้คือ คอนโดฯ ที่จะสร้างต้องสร้างที่สาธารณชนให้เราอย่างที่จอดรถ เช่น ลานจอดรถ มีที่ให้เช่าจักรยาน สร้างเป็นโมเดลให้ใช้ได้  เราต้องสร้างผู้นำ และไปต่อยอด 

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า ถ้าอยู่เกิน 2 ปี แบรนด์ของตลาดพลูสามารถไปข้างนอกได้  เราต้องนำบรรยากาศแบบนี้ไปแบ่งปันให้ลูกบ้านฟัง  ความใฝ่รู้ชุมชนก็มีได้ อย่างเทพศิรินทร์ ทุกคนพร้อมจะไปช่วย

    คุณกฤษฎากร อั๋นวงษ์ นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์และผู้ดูเรื่อง Data แสดงความคิดเห็นว่า

    อยากมาเที่ยวตลาดพลูนานแล้ว แต่มาไม่ได้เพราะไม่มีที่จอดรถ ถือว่าเป็นน้องใหม่ก่อน จากที่ฟัง คิดว่าที่นี่เป็นชุมชนที่แข็งแรง มีประสบการณ์ด้านการวางแผน วางแผนชาติ ตั้งแต่ 5,6,7 เป็นต้นมา ดร.จีระวางด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตลอด

        มาจากตลิ่งชัน มีการวางแผนการท่องเที่ยวแบบทวิภาคี พบว่าที่นี่แข็งแรงมีจุดแข็งหลายอย่าง การเอาภาคีมาช่วย ตอนนี้ลืมต่างชาติไปเลย ไทยต้องเที่ยวกันเอง ไทยต้องอุดหนุนไทย ตลาดพลูเป็นอีกจุดหนึ่งที่สามารถแก้ได้ ทั้งสถาปนิก และจัดที่ดินที่เหมาะสม แต่ถ้าไม่นำรถมาเลยจะมาอย่างไรได้บ้าง  อยากเน้นเรื่องการเชื่อมโยงภายนอกมาตลาดพลู อีกเรื่องคือทางเรือ เที่ยวอย่างไรไม่ต้องเอารถมา 

        ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า งบสี่แสนล้านบาท มีแนวทางในการทำการท่องเที่ยวทางเรือ การเชื่อมโยงทางคลองกับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวทางน้ำมีเสน่ห์ เรื่องน้ำเสียเป็นเรื่องที่ควรทำ

        จะปรึกษาคนที่มีความสามารถและทำจริง  อยากให้ตัวแทนของชุมชนที่มาวันนี้ อยากตอบแทนชุมชนที่มา กทม.ด้วย 

        คุณธรรมเจริญสุ บุญมาสำเร็จโชคดี (คุณไว) กล่าวปิดท้ายว่า วันนี้ได้เชิญผู้แทนจากภาคเอกชนมาร่วมสังเกตการณ์ได้แก่ ผู้แทนจากเดอะมอลล์ บริษัท เอ็มพาวเวอร์ไลฟ์ จำกัด Life Sathorn Sierra บริษัท สยามมัลติคอน บริษัทเหล่านี้ทำ CSR และจะสามารถมาช่วยชุมชนได้

        คุณไวจะเน้นหลักบวร พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีเสมอต้นเสมอปลาย

        คุณไวจะจัดทัวร์โดยให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาด้วยรถไฟฟ้า BTS แล้วนำวินมอเตอร์ไซค์ไปรับไปไหว้พระที่วัดเวฬุวัน หลังจากนั้นพาไปบ้านริมน้ำพร้อมทั้งนำอาหารมาบริการ เป็นการแก้ปัญหาที่จอดรถในชุมชนตลาดพลูได้แบบหนึ่ง

       




    หมายเลขบันทึก: 683002เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2020 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2020 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท