??? 4.0 ??? ตอนที่ 3


??? 4.0 ??? ตอนที่ 3
สวัสดีครับ กลับมาอีกครั้งสำหรับ การแสดงความคิดเห็นส่วนบุคคล ในเรื่อง ....4.0.... จริงๆคาดว่าจะไม่เขียนเพิ่ม เพราะดูเหมื่อนจะเป็นเรื่องหนักสำหรับคนไทย....แต่ด้วยความห่วงใยประเทศ คงต้องเขียนเพิ่มให้อ่านเล่นๆ น่ะครับ
ต่อเนื่องบทความที่ 2 ที่ผ่านมา การนำเทคโนโลยี 4.0 เข้ามาใช้ จะเห็นได้ว่าในตอน 2 นั้น จะกล่าวพอสังเชปในการใช้ และผลที่ได้รับต่อผู้ปฎิบัติงาน และตัวโรงงาน อะไรจะเลิดขนาดนั้น
ฉะนั้นบทความนี้จึงจะกล่าวถึงผลกระทบต่อเนื่องจาก ตอนที่ 2  ในทัศนะของข้าเจ้าบ้าง เพราะเหตุดารณืจริงไม่ทันได้เกินกับโรงงานเป็นเพียงระดมสมอง เมื่อมีแง่ดี แล้วแง่ร้ายจะเป็นอย่างไร จึงเป็นที่มาของการยกเลิก เพื่อนำระบบไปใช้ (ได้แค่ศึกษา แล้วทำไมได้ โดยไม่ให้บริษัทฯ แม่ทราบ)
จากการนำระบบเข้าใช้ จะเห็นได้ว่าทุกคนทำผลงานด้วยตัวเอง งานมากได้ผลตอบแทนมาก งานน้อยได้น้อยอย่างเป็นธรรมต่อพนักงาน แต่มีผลกระทบปรากฏว่า
**การบริหารในรูปแบบปิรามิดถูกยุบไปโดย เป็นระบบ MicroQC. กล่าวคือ ในเมื่อทุกคนทำงานได้ผลประโยชน์จากงานที่ทำ ในเงื่อนไขต้องมีคุณภาพ ทุกคนที่ทำก็ได้ทำงานคุณภาพ การจ้างพนักงานที่มีหน้าที่สอดส่องการทำงาน เช่น หัวหน้างาน+ผู้จัดการแผนกงานต่างๆ ลดหมดบาทลง การเป็นการบริหารงานแบบทางลาบ ผู้จักการใหญ่ผู้มีหน้าที่สูง ติดต่อพนังงานโดยไม่ต้องมีหัวหน้าตามระดับชั้นอีกแล้ว ฉะนั้นหัวหน้างานถูกให้ออกก่อน หรือลดตำแหน่งลงไปเป็นผู้ปฎิบัติงาน
**ผลกระทบพนักงาน เกิดการแข่งขันภายใน มีการทำงานอย่างมีคุณภาพเพิ่มมาก (ทำมากได้มากทำน้อยได้น้อย) ส่งผลให้การผลิตเพิ่มอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระบบเอื้ออาทรหมดไป กล่าวคือ โรงงานเคยผลิตได้ หนึ่งพันชิ้นต่อเดือน กลายเป็นหนึ่งพันชิ้นต่อยี่สิบวัน และเมือออเดอร์เข้ามาเท่าเดิม พนักงานก็ล้นงาน เกิดการปลดคนงานครั้งใหญ่ เลือกไว้เฉพาะคนงานที่มีสถิติการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงๆ สำหรับโรงงานที่สามารถหาออเดอร์เพิ่มได้ อาจเป็นการลดราคาชิ้นงานที่ผลิต เนื่องมาจากการทำงานที่มีประสิทธิภาพต้นทุนถูกลง
**ผลกระทบครั้งใหญ่เมือโรงงานมีประสิทธิภาพสามารถรับงานได้สูงขึ้น เกิดการแย่งานระหว่างงานที่เหมื่อนกัน หรือคล้ายคลึงกัน มีการปรับโครงข่ายโรงงาน เพื่อให้รับงานที่คล้ายคลึงกัน เป็นการพัฒนาโรงงาน เนื่องจากประสิทธิภาพคนงานเพิ่มขึ้น เมือมีการลดคนงานลง พื้นที่ที่เป็นที่ปฎิบัติงานของพนักงานลดลง จากการลดคนงาน อาธิเช่น งานที่ต้องใช้คนงาน 1 คนต่อ 3 ตารางเมตร(1คนต่อ1โต๊ะ) คิดง่ายๆ หากลดคนงานไป 1 ใน 3 จะมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้นกว่าครึ่ง เพราะคนงานลด 1 ใน 3 ก็จริง แต่พื้นที่อื่นๆ บริบทพื้นที่ที่ต้องรองรับคนงานนอกจากพื้นที่ปฎิบิคงานเฉพาะลดลงด้วยนั้นเอง
**ผลกระทบการแข่งขันระหว่างโรงงานที่ 1 เมื่อโรงงานรับออเดอร์มากขึ้น โรงงานอื่นๆ มีมีงานคล้ายกันได้ผลกระทบเกิดการปิดโรงงาน สัดส่วนโรงงานต่อผลผลิต เปลี่ยนไป ร่วมกับมีการสนับสนุนการใช้ 4.0 เต็มรูปแบบ แน่นนอนโรงงานที่สามารถดัดแปลงจากเครื่องจักรเดิมๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการปรับส่วนหนึงส่วนใดของดรงงาน ไปเป็น 3.5 ไม่ถึงขั้น 4.0 เคยต้องใช้คนประจำสถานนี 1 คนต่อ 1 สถานี มี 10 สถานี ก็ใช้ 10 คน กลายเป็น 1 คน ประจำสถานี 10 สถานีแทน มีการแจ้งเตือนความผิดพลาดเองเครื่องทำงานอัตโนมัติ คนล้นงาน....
**ผลกระทบการแข่งขันระหว่างโรงงานที่ 2 เมื่อมีการปิดโรงงาน เกิดผลกระทบการผลิตต่อตลาด แม้มีโรงงานที่มีการผลิตที่เพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็มีข้อจำกัดที่จะทำไม่เพียงพอ 100 โรงงานผลิตปิดตัวลง 80 โรงงาน มีความต้องการสินค้าก็มีการสร้างโรงงานเพิ่ม แต่การสร้างนี้เป้นการสร้าง 4.0 คราวนี้เป็นโรงงาน เป็นโรงงาน 4.0 เต็มรูปแบบ จาก 1 คนต่อ 10 สถานี  กลายเป็น 1 คนต่อ 100 สถานี ค่าไฟค่าน้ำ ในโรงงานลดลง เนื่องจากคนงานลดลงการใช้งานที่ต้องใช้พื้นที่ต่อพนักงานลดลงมาก อาจเป็นสัดส่วนถึง 1 ต่อ 2 หน่วยพื้นที่
**ผลกระทบสังคมบริบท กล่าวคือผลกระทบภายนอก การจ้างงานน้อย ตัวอย่างเช่น ห้องพัก ร้านอาหาร ร้านค้ารายใหญ่ รายย่อ สถาสันทนาการ โรงเรียน โรงพยาบาล ได้รับผลกระทบ เคยมีรายได้พอจ่ายดอกเบี้ย+ผลตอบแทน พออยู่ได้ ไม่สมดุลกัน การลงทุนระยะยาว กู้หนี้ยืมสินมา เพื่อจะมีรายได้เลี้ยงตัวเองไปตลอด จำต้องปิดตัวลงไป
แน่นนอนที่กล่าวมานั้น เป็นผลกระทบบางส่วนที่ได้จากการวิเคราะห์ ผมสนับสนุนให้ใช้ 4.0 เข้าในประเทศมากครับ เพราะผมมีอาชิพในการดัดแปลงเครื่องจักร 1.0 ไปยัง 4.0  ไม่ได้ไม่อยากให้ประเทศเจริญ นั้นเป็นทัศนะส่วนตัวครับ แต่สำหรับมุมมอง ผู้นำประเทศแล้ว ต้องตั้งคำถามก่อนว่า คุณเคยสงสัยไม่ว่า ทำไมประเทศใน(ตะวันออกกลาง) ถึงรับบางอย่าง ไม่ยอมรับบางอย่าง เพราะการเป็นผู้นำประเทศจำเป็นต้องดูรอบด้าน ด้านหนึ่งที่สำคัญคือ บริบทของประเทศ นำเทคโนโลยีเข้ามา การไม่คำนึงถึงบริบทประเทศ ความพร้อม และเวลาที่เหมาะสม รวมถึงเทคโนโลยีใด 4.0 เหมือนกัน แต่เทคโนโลยีไหนควรสนับสนุน เทคโนโลยีไหนไม่ควรสนับสนุน เพื่อเข้ากับบริบทประเทศ การที่นำเข้ามาโดยไม่คำนึงถึงบริบทประเทศ ได้แต่อวยตัวเองว่าตัวเองเจ็ง นำเทศโนโลยีชั้นสูงเข้าประเทศทำให้ประเทศเจริญจริงหรือท่าน หากท่านคิดผิด ประชาโรงงาน(พนักงาน+โรงงาน+บริบทท้องถิ่น) จะค่อยๆ ปิดตัวลง ทำไมหรือครับเพราะการส่งเสริมนั้นเท่าที่พบก็ส่งเสริมอย่างขยักขย่อน ควรให้โอกาสส่งเสริม โรงงานในบริบทประเทศเจริญให้อยู่ได้ต่อสูงได้ในสังคมโลก กลับให้การส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ๆ และด้วยบริบทของประเทศการส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่(ต่างประเทศ) จึฃล้มเหลว เพราอะไรหรือครับ เพราะแทนที่ท่านเหล่านั้น จำต้องเริ่มต้นใหม่สรางโรงงานใหม่ ท่านหล่าวนั้นเลือกที่จะไปตั้งใหม่ในประเทศอื่นดีกว่าจริงไม๋ครับ ทำไม ทำไม ผู้นำถึงไม่มี นโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการที่มีอยู่แล้วเพิ่มฐานการผลิต ขยายโรงงาน อาจใช้วิธีส่งเสริมการลงทุนในรูปแบบให้นักลงทุนชาวต่างประเทศลงทุนในกิจการที่มีอยู่ โดยการเพิ่มทุน ในการปรับปรุงโรงงานให้มีเทศโนโลยีสูงขึ้น ให้มีผลประกอบการที่มากขึ้น จุงใจให้นักลงทุนมาเสริมกำลังเป็นกองหนุนให้ประชาโรงงาน ดดยที่นักลงทุนลงทุนน้อยกว่าเปิดโรงงานใหม่ในต่างประเทศแต่ได้ผลประโยชนืที่สูงกว่าไปเปิดใหม่ล่ะครับท่านผู้นำ.......
[การมีผู้นำประเทศ นำเข้าระบบ หรือเทคโนโลยี หรือและกระบวนการ จริงอยู่ท่านคิดถึงความเจริญคิดว่าจะเป็นทางที่ดีต่อประเทศ แต่ถ้าท่านนำเข้ามาโดยไม่คำนึงถึง “บริบทประชาบริบทประเทศ” แล้วนั้น ย่อมเป็นหายนะของประเทศโดยแท้]
ขอกล่าวโดยสังเขป เพี่ยงแค่นี้น่ะครับ น่าจะยาวไปแล้ว.....เบื่อเสียก่อน....ยังเหลืออีกตอน เดียวจะหาว่าได้แต่ ติ แต่ ติ แล้วให้ทำอย่างไร ก็น่าจะเป็นหน้าที่ ของตอน 4 ล่ะครับ มีผูกก็ต้องมีแก้ ไม่รู้จะมีเวลาไม๋ และไม่รู้จะมีประโยชน์เพียงใด เพราะผมเป้นเพียงคนตัวเล็ก..........ก็ไม่รู้สิน่ะ แค่ความคิดเห็นส่วนตัว....


หมายเลขบันทึก: 682908เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2020 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 กันยายน 2020 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท