ลูกกำพรึก


+++ลุกกำพรึก ลูกกำพลิก+++

ตั้งแต่จำความได้แม่บอกว่าลูกกำพรึกเป็นสิ่งที่ต้องทำคู่บ้านของเราคนอื่นทำไม่ทำคือเรื่องของเขาแต่บ้านเราต้องทำในทุกโอกาสและสถานการในงานบุญนั้นๆ ตัวฉันเกิดมาก็คุ้นเคยกับ ลูก"กำพรึก" หรือ ลูก"กำพลิก" ชาวใต้ก็เรียกกันอย่างนี้มานาน ที่กำแล้วพลิกเพราะต้องไปแย่งชิงกันมานะคะ ด้วยความเข้าใจในตอนนั้นว่าทำไม่ถึงกำพลิกนะคะ ที่จริงแล้วก็มาจากความเชื่อของคนเฒ่าคนคนแก่ครั้งโบราณนั่นเองค่ะ ชื่อจริงๆคือ เรียก"กัลปพฤกษ์" ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ในแดนสวรรค์ ต้นไม้นี้ใครนึกอยากจะได้อะไร ก็จะได้สมใจปราถนาดั่งใจนึกทุกประการ และในอนาคตเมื่อถึงยุคของพระศรีอารยเมตไตร พระพุทธเจ้าองค์ที่ 5 ในกลัปปนี้จะมาบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้าองค์ถัดไป ต้น"กัลปพฤกษ์"นี้ก็จะมีอยู่ทั้งสี่มุมเมือง ใครต้องการสิ่งใดก็สามารถจะได้สมหวังจากต้นไม้ต้นนี้

+++ ตั้งแต่เกิดมาก็คุ้นเคยกับ ลูก"กำพรึก" หรือ ลูก"กำพริก" ชาวใต้ก็เรียกกันอย่างนี้มานาน ก็เลยลองไปถามคนเฒ่าคนแก่ดูว่า ชื่อจริงๆคืออะไร เขาตอบมาว่า จริงๆแล้วเรียก"กัลปพฤกษ์" ซึ่งเป็นชื่อต้นไม้ในแดนสวรรค์ ต้นไม้นี้ใครนึกอยากจะได้อะไร ก็จะได้สมใจนึก และในอนาคตเมื่อถึงสมัยของพระศรีอารยเมตไตร ต้น"กัลปพฤกษ์"นี้ก็จะมีอยู่ทั้งสี่มุมเมือง ใครต้องการสิ่งใดก็สามารถจะได้สมหวังจากต้นไม้ต้นนี้ สรุปคือว่าเป็นต้นไม้แห่งความสมหวังนั้นเอง..

+++จากข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็ทราบว่า "ลูกกัลปพฤกษ์" , "กำพรึก" , "กำพริก" , "เหรียญโปรยทาน" มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ใช้สำหรับโปรยทาน โดยเฉพาะใน งานศพ งานบวช งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า ชิงเปรต(ประเพณีของชาวใต้) ในโอกาสที่อยากจะทำบุญทำทาน หรือพระมหากษัตริย์ต้องการให้ทานประชาชนของพระองค์

"ลูกกัลปพฤกษ์" หรือ "กำพรึก", "กำพริก" , "เหรียญโปรยทาน" ในสมัยก่อน ลูก"กำพรึก"นี้จะใช้ทางระกำ ทำเป็นลูกกลมๆยัดเงินเหรียญใส่เข้าไปไว้สำหรับโปรยทาน คนที่จะได้รับทานได้จะต้องแย่งชิงกันเพื่อรับทานอันนี้ ซึ่งถือว่าไม่น่าเกลียดอะไร ได้บุญด้วยซ้ำสนุกอีกต่างหาก 555+

มาถึงในปัจจุบันจะห่อด้วยกระดาษสวยๆ หรือริบบิ้น ทำเป็นรูปดอกไม้บ้าง ตะกร้อบ้าง ปลาตะเพียน ห่อขนม ข้าวต้มมัด ผู้ที่เก็บจะมีความรู้สึกว่า เงินที่ได้เป็นเงินที่เก็บไว้เป็นขวัญถุงจะดีมากกว่าจะคิดเอาไปใช้ซื้ออะไร ต่างๆอย่างจริงจังสมหวัง...นั้นเอง ใครพึ่งปราถนาสิ่งใดให้ไปขอพรที่ใต้ต้นกัลปพฤษ์

เมื่อได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมทางอินเตอร์เน็ตทำให้ทราบว่า "ลูกกัลปพฤกษ์" , "กำพรึก" , "กำพลิก" เป็น"เหรียญโปรยทาน" ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ใช้สำหรับโปรยทาน โดยเฉพาะใน งานศพ งานบวช งานทอดกฐิน งานทอดผ้าป่า ชิงเปรต(ประเพณีของชาวใต้) ในโอกาสที่อยากจะทำบุญทำทาน หรือพระมหากษัตริย์ต้องการให้ทานประชาชนของพระองค์

"ลูกกัลปพฤกษ์" หรือ "กำพรึก", "กำพลิก" เป็น "เหรียญโปรยทาน" ในสมัยก่อน ลูก"กำพรึก"นี้จะใช้ทางระกำ ทำเป็นลูกกลมๆยัดเงินเหรียญใส่เข้าไปไว้สำหรับโปรยทาน คนที่จะได้รับทานได้จะต้องแย่งชิงกันเพื่อรับทานอันนี้ ซึ่งถือว่าไม่น่าเกลียดอะไร ได้บุญด้วยซ้ำไป สนุกอีกต่างหากมากด้วย+++

+++ตั้งแต่จำความได้แม่จะห่อลูกกำพลิกด้วยถุงพลาสติกเอามาตัดห่อมัดด้วยเชือกด้าย พอในยุคมีกระดาษแก้ว ก็พัฒนามาก่อด้วยกระดาษแก้วหลากสีมัดด้วยยางเส้นกระดาษแก้วสีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน มาถึงในปัจจุบันจะห่อด้วยกระดาษสวยๆ หรือริบบิ้น ทำเป็นรูปดอกไม้บ้าง ตะกร้อบ้าง ผู้ที่เก็บจะมีความรู้สึกว่า เงินที่ได้เป็นเงินที่เก็บไว้เป็นขวัญถุงจะดีมากกว่าจะคิดเอาไปใช้ซื้ออะไร ต่างๆอย่างจริงจัง โบราณบอกว่าให้รับเอาไว้ในอากาศอย่าให้ตกถึงดิน หากแม้นรับได้แล้วให้เอามาเป็นเงินขวัญถุงทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองค่ะ

เป็นความภาคภูมิใจที่บ้านเราเป็นคนริเริ่มหว่านลูกกำพลิกเป็นคนแรกของวัดบ้านท่าจีนแล้วต่อมาเมื่อทำเป็นประจำๆคนจึงนิยมหันมาทำตาม....เป็นประเพณีนิยม....มาอนุโมทนาบุญร่วมกันค่ะ...ปีแรกๆเริ่มจากหลักร้อย....จนมาถึงหลักพันแล้วในวันนี้....สาธุๆค่ะ......++++

++ปล.อิ่มบุญ....เด็กๆเก็บลูกกำพลิกได้คนละน้อยสองน้อยต่างพากันดีใจ เบื้องหลังของความสุขคือได้เห็นเด็กแย่งลูกกำพลิกกันอย่างมีความสุขมีรอยยิ้มมีเสียงหัวเราะเด็กต่างแย่งหาแบงค์ 100 และแบงค์ 500 ค่ะ....สาธุๆ อิ่มบุญยิ่งนัก เด็กถามว่าป้ามีแบงค์จริงหรือ เราตอบเด็กๆว่าจริง ไปรอแย่งกันนะ...สาธุๆ

หมายเลขบันทึก: 682588เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2020 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กันยายน 2020 09:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท