โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน 2563


เรียน    ผู้เข้าร่วมโครงการ

ตามที่ท่านได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 2 ระหว่างวันที่  9-11 กันยายน 2563           

ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการและเป็นตัวแทนในนามของ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศใคร่ขอขอบคุณอย่างสูงที่ท่านให้เกียรติและความไว้วางใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในครั้งนี้

ผมและคณะผู้จัดฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับสาระ ความรู้ แรงบันดาลใจและช่วงเวลาของการเรียนรู้อย่างมีความสุขในกิจกรรมครั้งนี้

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย 

หลักสูตรศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0  ประจำปี พ.ศ. 2563  (ปีที่ 3)

ระหว่างวันที่ 26-29 กันยายน 2563
(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ลงพื้นที่ศึกษา “ดอยตุงโมเดล”

วันที่ 9 กันยายน 2563

** กล่าวต้อนรับคณะ ฯ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ อยู่ใน Silo ด้าน HR ของ กฟผ.มา 16 ปี เริ่มตั้งแต่สมัยผู้ว่าการฯ ไกรสีห์ จนมาถึงรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 16 นับได้ว่าพิเศษมากเนื่องจากมีท่านผู้ว่าการกรศิษฏ์ มาในโครงการฯ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีความลุ่มลึกในด้านศาสตร์พระราชามาก

การศึกษาดูงานครั้งนี้นั้น ความรู้เกิดจากการนั่งรถคุยกัน การออกความเห็นร่วมกัน ไม่มีใครรู้มากกว่าใคร หากอยู่ที่การปะทะกันทางปัญญา และดร.จีระได้เรียนรู้จากลูกศิษย์มากเช่นกัน ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความก้าวหน้า เสมือนสมาชิกคนหนึ่งของ EGAT และโชคดีที่โครงการฯ ได้ทำอย่างต่อเนื่อง

การศึกษาดูงานรุ่นนี้เตรียมการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 แต่ไม่ได้มา เนื่องจากติดช่วงหยุดโควิด –19 จึงได้ตัดสินใจให้รอนิดนึง และในที่สุดทางด้าน HR ก็ให้เลื่อนและโชคดีที่ท่านกรศิษฏ์ ได้เดินทางมาด้วย

ดร.จีระจะทำการศึกษาลูกศิษย์ทุกคน แม้จำนวนวันไม่มากแต่สามารถทำให้เข้มข้นได้ ในส่วนตัวของอาจารย์จีระ มีแนวคิดที่จะเน้นเรื่องการหาความรู้ โดยให้ทุกท่านสามารถหาข้อมูลจากรุ่นก่อน ๆใน Blog ChiraAcademy ได้ การเรียนในหลักสูตรนี้จะเป็นการเชื่อมโยงกับสถานการณ์ และวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันด้วย

สิ่งที่ทำคือการสร้างภาวะผู้นำ (Leadership) ในห้องนี้ และที่ขอฝากไว้คือ

1. ทุกท่านกลับไปดูลูกน้องมากขึ้น คำว่า Sustainability ต้องมองแบบ Beyond that ซึ่งคนที่จะทำให้ยั่งยืนคือรุ่นหลัง

2. การทำงานข้าม Silo ต้องมีการหารือกัน แลกเปลี่ยนกัน แม้กลับไปทำงาน Structure เดิมก็ควรเน้นการแลกเปลี่ยนกันข้าม Silo ให้ได้ องคาพยพใน EGAT ต้องมีพลังร่วมกัน

3. การหาความรู้ร่วมกัน เอา Reality มาตั้ง ศาสตร์พระราชานำไปใช้กับทั้งชีวิต และจัดการการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง

สิ่งสำคัญคือการทำงานต่อเนื่อง ใครก็ตามที่ต้องการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนทัศนคติในการทำงานจะดีมาก ควรเน้น Inner Happiness คือเน้นการทำงานที่มีความสุข

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

  ทำไมถึงทำให้คนมีความแตกต่างอยู่ร่วมกันได้ เพราะมองเรื่องความแตกต่างเป็นความสวยงาม อย่างดอกไม้เมื่อมีหลากสีสันรวมกันจัดในแจกันกลายเป็นมาสวยงาม

ความน่าสนใจของ “ดอยตุงโมเดล” คือ มีการสอนเรื่องกระบวนการจัดการ ให้เริ่มจาก

1. การตกลงกติกาตั้งแต่เริ่มแรก

  2. ให้ทุกคนออกความเห็นในความคิดเห็นตัวเอง ไม่ไปว่าความคิดคนอื่นเขา

      สิ่งที่น่าสนใจคือ การคุมจะสามารถคุมได้อย่างไร เนื่องจากใช้กติกากลุ่มคุม การขอตัวคนมาเพื่อมาแบ่งเบาภาระ ไม่ใช่แบกภาระ เราจะมีวิธีการเคลียร์ปัญหาได้อย่างไรโดยใช้กติกากลุ่มจัดการ

          กระบวนการไม่ง่ายจะทำอย่างไร ยกตัวอย่าง การลงแขก เป็น Keyword สำคัญ แต่สูญหายไปเพราะอะไร

          สรุปคือ ทุกการทำงานของศาสตร์พระราชาลึกซึ้งหมด ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ต่างฝ่ายคิดเหมือนเดิม ต้องมีคิดต่างบ้างถึงเกิดการแก้ปัญหา ต้องมีคนใดคนหนึ่งเปลี่ยนความคิด จะทำให้เกิดการแก้ปัญหาไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น

          ยกตัวอย่าง ถ้าเราไม่ไปสร้างโรงไฟฟ้า เขาจะอยู่ได้ 100 ปีหรือไม่ เราจะมีอะไรที่ดูแลเขาได้หรือไม่ อย่างพื้นที่ 15 ไร่ ถ้าเรามีวิธีการ เอากล้วยไปทอด ไปฉาบ ไปขาย พื้นที่ดินปลูกเหมือนเดิม แต่คนมีอาชีพ หลักคิดมีทางออก มีวิธีการ จะทำอย่างไร ดูตัวอย่างดอยตุงโมเดลที่สามารถบริหารจัดการจากเขาหัวโล้นจนสามารถเป็นป่า มีรายสูงกว่าในเมืองถึง 3 เท่า

          ตัวอย่าง หมู่บ้านคลองเรือที่ กฟผ. ไปลงโรงไฟฟ้าชุมชน รายได้ต่อปีมีประมาณเท่าไหร่ ศาสตร์พระราชาสอนให้วิเคราะห์จากข้อมูลจริง จากการลงพื้นที่จริง จึงสามารถตอบได้ การวิเคราะห์จึงเหมือนการวิจัย งานวิจัยเสร็จจะได้ผลมาเป็นงานนวัตกรรม

          ตัวอย่าง น้ำเน่าเสียที่คลองเปรม เพราะเหตุใดน้ำในลำคลองเน่า มาจากคู มาจากหมู่บ้านประชาชื่น มีคนเป็นหมื่นเป็นแสนปล่อยขยะลงน้ำมา ที่คลองเปรมที่น้ำเน่าสามารถทำให้หายเน่าได้ภายใน 1 คืน โดยการผันน้ำ ระบายน้ำ แต่ไม่ใช่วิธียั่งยืน เพราะในที่สุดน้ำก็กลับมาเน่าเหมือนเดิม   วิธีการคือการกั้นเขื่อน ทำถังกักริมเขื่อน และมีการบำบัดเป็นระยะ ๆ และปล่อยน้ำดี  

วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวคือ การเข้าไปที่หมู่บ้านต้นน้ำ และใช้แนวคิดศาสตร์พระราชาไปจับ ทำอย่างไรถึงจะยั่งยืน

          การศึกษาดูงานศาสตร์พระราชาในครั้งนี้ จึงอยากให้ศึกษา “ดอยตุงโมเดล” สิ่งที่หวังคือสามารถนำไปสร้างแรงบันดาลใจให้เราอยากเรียนรู้ต่อ  และมีแรงบันดาลใจในการทำอะไรต่าง ๆ

          3 ห่วง 2 เงื่อนไข

          3 ห่วง คือ ทำอะไรพอประมาณ (ประมาณตน)  มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน (บริหารความเสี่ยง) ยกตัวอย่างมูลนิธิ Earth Save เริ่มต้นที่ต้องมีเอกสารสิทธิ์ที่ต้องช่วยกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ต้องเป็นอินทรีย์ตามแนวทางศาสตร์พระราชา เราได้ทำตามแนวทางศาสตร์พระราชาอยู่ได้ด้วยตัวเองหรือไม่ การขาย เราจะขายอะไรก็ได้ในส่วนที่เกิน  โมเดลเกษตรบนดอย ภูมิคุ้มกันเป็นตัวอย่างที่ดี  อะไรที่ทำแล้วเจ๊ง ไม่โอเค คำถามคืออยู่ได้หรือไม่ ในมุมศาสตร์พระราชาคือทำอย่างไรถ้าไม่ขายแต่สามารถอยู่ได้

          ตัวอย่าง มีโมเดล 1 ไร่หรือไม่ที่สามารถอยู่ได้  พัฒนาชุมชน รัฐบาลให้ความสนใจมาก มีการทำการเกษตรให้กับชาวบ้าน มีการวัดผลว่ารายได้เท่าไหร่

          ศาสตร์พระราชา สามารถช่วยจากมีหนี้ ปลดหนี้ พอขายแล้วมีรายได้ รายได้วัดได้อย่างไร  ดอยตุงขายของพรีเมี่ยม ไม่ต้องกดราคา  แต่เกรดพรีเมี่ยมไม่ได้มาง่าย ๆ ต้องใช้ของและวัตถุดิบที่ดี

          เกรดพรีเมี่ยม ความเสี่ยงคือตลาด จะดูแลตลาดอย่างไร

          เขื่อนสิรินธรโมเดล ปลูกอย่างไร มี 2 เงื่อนไข คือ 1. ปลูกความรู้  2.  อย่าลองผิดลองถูกถ้าเสียหายชาวบ้านรับไม่ได้ เราต้องรับผิดชอบให้เขา

          ความลึกซึ้งของศาสตร์พระราชา คือต้องคิดให้ครบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่เราส่วนใหญ่คิดเป็นท่อน คิดไม่ครบ จะทำให้ต่อไปเราไปไม่รอด  ตัวอย่างดอยตุง ต้องดูแลแบรนด์ด้วย  หรือถ้าไม่ใช้เกรดพรีเมี่ยม ก็ต้องมีอะไรที่พิเศษเช่น ฝีมือ การดีไซน์ เช่น IKEA เป็นต้น

          ศาสตร์พระราชา คือ

          1. ไม่ใช่เรื่องเกษตรอย่างเดียว

          2. 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

          3. วิธีการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          การนำศาสตร์พระราชาไปปรับใช้ที่ตัวท่าน และองค์กร  ส่งเสริมเรื่องการจัดการ ไม่ใช่เฉพาะแค่ชุมชน การพิสูจน์ที่มหาศาลคือ วิธีการแก้ป้ญหา 17 Sustainable Development Goals ใช้แนวคิด 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ศาสตร์พระราชากลายเป็นแบรนด์โลก

EGAT ต้องสามารถจัดการกับสังคมให้ดีขึ้น ให้ Inspired ว่าอะไรคือแก่นที่เป็นหลัก เมื่อเราอยู่ด้วยกันได้แก่นที่ฝังในชิพ แล้วนำไป Apply กับการทำงานในอนาคต  ก็จะถูกกดดันมากขึ้น  เพราะ EGAT ไม่ใช่แค่ผลิตไฟฟ้า แต่เป็นสถาบันที่ยิ่งใหญ่ของประเทศไทย อย่าให้เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจอื่นที่มีปัญหา

          เราอย่าทำตัวเป็น Privileged หรือสิทธิพิเศษ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่องเพื่อยั่งยืน

          เน้นให้ Working and Learning ยกตัวอย่าง Peter Drucker กล่าวก่อนตายว่า เวลาเรียนรู้ได้เรียนรู้จากลูกศิษย์ และอยากให้ลูกศิษย์ถามคำถามที่ยาก เพราะการตั้งคำถามที่ดีจะเป็นการ Inspired

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

เรื่อง Privileged สามารถทำให้รัฐวิสาหกิจเจ๊งได้ เพราะเขาใช้สิทธิพิเศษ และเมื่อวันหนึ่งเขาถูกริบสิทธิพิเศษ ก็ไม่สามารถไปรอดได้

การถือหุ้น 51% เคยติงสหภาพว่าให้เป็นเพียงภูมิคุ้มกันเท่านั้น ถ้าเอามาเป็นสิทธิพิเศษจะไม่สามารถอยู่รอดได้ สิ่งที่ควรทำคือให้เราทำเพราะว่าเราเก่ง เราเหนือกว่าเขาจริง ๆ ต้องชนะด้วยความแข็งแกร่งเพราะเราเหนือกว่าเขาจริง ๆ ไม่ใช่เพระสิทธิพิเศษ  พระองค์ท่านเคยตรัสว่า อย่าให้ปลา ให้ฟรี หรืออย่าเกาะขาเขาไปตลอดชีวิต เพราะเมื่อวันใดเขาสลัดทิ้ง เราจะอยู่ไม่ได้  

เรียนรู้การทำงานของศูนย์ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง

“การพัฒนาที่มีประสิทธิผลต้องเริ่มจาก “ข้อมูลจริง” และ “การพัฒนาต้องวัดผลได้” โดยการวัดผลอย่างต่อเนื่อง

โดยคุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการเผยแพร่องค์ความรู้ คุณ ณัฐกร สวัสดิ์แดง และน้องคริส

โครงการพัฒนาดอยตุงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งโดยสมเด็จย่าฯ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง แม่ฟ้าหลวง เป็นชื่อที่ สมเด็จย่าฯ ได้ สมัญญานามจากชาวบ้านที่เห็นท่านเสด็จมาจากแฮลิคอปเตอร์  จึงเหมือนเสด็จมาจากฟ้า 

พื้นที่ดอยตุง 106,980 ไร่ แต่ก่อนเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ถ้ำหลวงอยู่ในเขตดอยตุง สังกัดอำเภอแม่สาย และแม่ฟ้าหลวง มีชายแดนติดต่อพม่า 24 กม. โครงการตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

คนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา และคนกลุ่มน้อย อาชีพส่วนใหญ่ทำไร่เลื่อนลอย (ปีนี้ทำที่นี่ปีหน้าย้ายไปที่อื่น3-5ปีค่อยย้ายกลับมาอีกที) และปลูกฝิ่น สิ่งที่เห็นคือคนที่นี่ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ปลูกข้าว ข้าวไร่หรือข้าวดอย ช่วงเวลาทำมาหากินคือช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนมีการเผาพื้นที่ ชีวิตที่ทำมาหากินต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด ปลูกข้าวไม่พอกินได้แค่ครึ่งปี สิ่งที่ทำคือปลูกฝิ่น สถานที่คือดอยช้างมูบในพื้นที่1,200เมตร ที่ขึ้นไปที่ปลูกเพราะเป็นพืชชนิดเดียวที่มีอยู่ในมือ เรียกว่ายาฝิ่น  ชาวบ้านจะมองเป็นยารักษาตัว  และปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ในพื้นที่สูง แทรกกับการปลูกข้าวและพืชไร่ ดอกฝิ่นจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว มีการกรีดฝิ่นขาย สามารถขายได้และไปซื้อข้าวกินโดยลูกค้าคือกองกำลังน้อยใหญ่ในพื้นที่ 

เมื่อก่อนชาวบ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนฝิ่นและอาวุธสงคราม มีกองกำลังไทยใหญ่ ขุนซาร์ กองกำลังว้า ขึ้นอยู่กับใครมีอำนาจ ซึ่งคนกลุ่มนี้ซื้อฝิ่นไปขาย

15 ม.ค. 2530 สมเด็จย่าฯ เสด็จมาเป็นที่แรก และมองว่าชาวบ้านอยู่กินอย่างแร้นแค้น และป่าไม่เหลือแล้ว นั่นก็หมายถึงคนก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่สามารถปลูกเพื่อทำกิน  สมเด็จย่าฯ ทรงรับสั่งว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” ตรงดอยตุงลอร์ด  ป่าเหลืออยู่ 20 % เป็นป่าบนเขาหิน  ป่าที่อุดมสมบูรณ์ไม่เหลือแล้ว เมื่อธรรมชาติอยู่ไม่ได้ คนก็อยู่ไม่ได้เช่นเดียวกัน ท่านมองว่าท่านจะทำอย่างไรดี ท่านมองว่าต้องเรียนจากคนที่รู้ และก็ไปเรียนกับเขา คนที่รู้คือในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีศูนย์ศึกษาพัฒนาในทุกพื้นที่ เรียนรู้จากโครงการพระราชดำริฯ

สมเด็จย่าฯ ทรงรับส่งว่า “ปลูกป่าอย่างเดียวไม่สำเร็จ ต้องปลูกป่า และปลูกคน”

สิ่งที่ผู้นำ นำเราคือ นำให้เราทำ ไม่ใช่ให้เราตาม  สมเด็จย่าฯ มาตอน 87 พรรษา ดอยตุงตั้งบนภูเขา ที่ท่านไปศึกษาก็มีที่คล้ายกัน สมเด็จย่าฯ ทรงไปศึกษาป่าที่ห้วยฮ่องไคร้ และการปลูกพืชบนพื้นที่สูง ซึ่งในหลวง ร. 9 ทำที่ดอยอ่างขาง  และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าที่สวนจิตรลดา โดยได้เชิญคุณชาย ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุลไปเรียน ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงทำสวนจิตรลดาเป็นต้นแบบ ซึ่งสมเด็จย่าฯ ได้นำมาปรับใช้ที่ดอยตุง

ดอยตุงทำอย่างไร ?

1. เราต้องมีข้อมูลจริงในพื้นที่

          ดอยตุงได้ข้อมูลจริงอย่างไร ซึ่งเป็นหนึ่งในการปลูกคน ได้กรอบว่า 9 หมื่นกว่าไร่  ทำการสำรวจข้อมูล คพศ. เป็นการเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานะที่ทำกันทุกหมู่บ้าน เก็บข้อมูลทุกหมู่บ้าน คัดเลือกว่าใครอยู่ที่ไหนอย่างไร เราต้องการข้อมูลตั้งต้นก่อนว่ามีอย่างไร

          - บัตรสมาชิกโครงการพัฒนาดอยตุง (บัตร คพศ.)

          - ทำทะเบียนโครงการพัฒนาดอยตุง

คำถามคือ มีหรือไม่ที่ชาวบ้านไม่อยากได้

คำตอบคือ ส่วนใหญ่เขาต้องการมีเพราะเสมือนว่ามีตัวตน ส่วนคนที่ออกไปส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนที่สีเทา เขาจะอยู่ไม่ได้เอง

          - หนังสือการรับรองการเข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดิน (น.ส.ร.)  พื้นที่ทั้งหมดมี 107,000 ไร่ สำรวจข้อมูลเข้าถึงทุกครัวเรือน  มีการปกครองพูดคุยด้วยภาษาเขาเอง มีภาษาไทยเป็นภาษากลาง

          - การสำรวจข้อมูลด้วยอาสาสำรวจข้อมูล  

          - ประมวลผลสรุปข้อมูล

          - สัญชาติได้ 8,000 คน มีสัญชาติไทย 80% 10 % เป็นบัตรที่ไม่ได้สิทธิ์ ปัจจุบันเพิ่มคนได้สัญชาติเป็น 10,000 คน

          - ทะเบียนบ้าน เหมือนทะเบียนโครงการพัฒนาดอยตุง (การย้ายเข้ามาในโครงการฯ ได้ต้องแต่งงานเท่านั้น)

          - หนังสือรับรองการเข้าอยู่อาศัย และทำกินในที่ดิน (น.ส.ร.)ส่งเสริมการปลูกกาแฟ ประณีตในที่ดินจำกัด

- อาชีพส่วนใหญ่เป็นรับจ้าง ในประเทศ หรือต่างประเทศ รายได้เฉลี่ยทั้งหมด 60% มาจากการรับจ้าง

คำถามข้อมูลได้จากไหน

คำตอบมีการสำรวจจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริงทุกปี อย่างในปี พ.ศ. 2562 เก็บข้อมูลปี พ.ศ. 2561

- ในเรื่องพื้นที่ป่า จะบ่งบอกว่าเป็นพื้นที่ทำกิน ลักษณะของแต่ละพื้นที่

คำถามมีการวัดดัชนีความสุขหรือไม่

คำตอบมีการสำรวจความพึงพอใจในแต่ละเรื่อง

ดร.จีระ เสริมว่ามีการเก็บข้อมูลในพื้นที่จริง เป็นที่มาของการเข้าถึง การนำข้อมูลมาใช้อย่างเต็มที่ ถ้า กฟผ.จะเก็บข้อมูลขอให้ไปคุยกับชาวบ้านด้วย ในอนาคตข้างหน้า อยากให้ EGAT ช่วยชุมชนที่ยากจน เป็นการเสริมงาน และใช้คำว่าเข้าถึง

          ต้องมีคนที่เก็บข้อมูลและรู้ลักษณะชุมชนเมืองอย่างแท้จริง

พี่นันเสริมเราไม่ได้เก็บแบบสุ่ม แต่เริ่มจากการนำของ คพศ. แล้วมาปรับใช้ให้ดอยตุง

คำถาม  เราจะเข้าถึงอย่างไร

คำตอบปีแรกยาก ต้องมีตัวเชื่อมคืออาสา สมัยนั้นเป็นเด็กนักเรียนในหมู่บ้าน พูดภาษาไทยได้

          การหารือกับชุมชนให้เขาเลือก ไม่ใช่เราเลือก บางครั้งเขาอาจเอาจิ๊กโก๋มาให้เรา แต่เราต้องใช้วิกฤติเป็นโอกาส เปลี่ยนเป็นคนดีได้ ชาวบ้านจะเชื่อเราเช่นกัน

          ข้อมูล คพศ. เป็นข้อมูลที่ทำขึ้นมาเอง  เป็นตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของ อบต.ระดับหนึ่ง แต่ดอยตุงจะเป็นจริงตามที่สำรวจ

รากเหง้าของปัญหาคือ

ไม่รู้ เจ็บ จน  ความยากจนทำให้ขาดโอกาส ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่เขาไม่มีโอกาสเลยทำให้ไม่รู้

การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ แก้ปัญหา เจ็บป่วย ยากจน ไม่รู้

- การพัฒนายึดคนเป็นศูนย์กลาง

- คนดี ทำอาชีพสุจริต เศรษฐกิจ สังคมดี สิ่งแวดล้อมดี

- วิธีการคือ “ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง”

2. การทรงงาน

          1. วิเคราะห์จากรากเหง้าของปัญหา คือ จน เจ็บ ไม่รู้ ก็จะวนเวียนอยู่แบบนี้ สิ่งที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้เพราะความยากจน และขาดโอกาส

          ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่เพราะเขาไม่มีโอกาสที่ดี

          2. การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ

          - การแก้ปัญหาของความเจ็บป่วย ความยากจน ความไม่รู้

          อาทิ เริ่มต้นจากรับซื้อผลผลิตชาวเขา แล้วนำไปขายในตลาด  ตั้งโรงเรียน ตชด. ไปในชุมชนต่าง ๆ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ

          3. พระราโชบายสมเด็จย่าฯ

          “คนกับป่าต้องอยู่รวมกันได้อย่างดี อย่างพึ่งพาอาศัย” ทำอย่างไรให้เขาช่วยตัวเขาเอง ต้องนึกเสมอว่าเราไม่อยู่ ทำอย่างไรให้เขาดูแลตัวเองได้

3 S Model

ขั้นที่ 1 Survival (อยู่รอด) ทำอย่างไรให้เขาอยู่รอด มีข้าวกินตลอดปี

ขั้นที่ 2 Sufficiency (พอเพียง) อยู่แล้วสะดวกสบาย เมื่อคนเรากินอยู่สบายขึ้น ก็ส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือ เริ่มเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้มากแค่ไหน

ขั้นที่ 3 Sustainability (ยั่งยืน) ชาวบ้านต้องคิดได้ด้วยตัวเอง มีจริยธรรม ไม่โลภ สามารถช่วยเหลือคนอื่นได้ตามกำลังเขา ยั่งยืน คือเขาสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องไม่พึ่งคนอื่น และต้องมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีด้วย  คนที่มีจริยธรรม มีภูมิคุ้มกัน ไม่มีสิ่งทำให้เขาเปลี่ยนไป รู้จักผิดชอบชั่วดี

คำถาม ดอยตุงไม่มีเงินกู้ทำอย่างไร

คำตอบ  ระยะแรก ดอยตุงเขายังไม่รู้ตัวว่าเป็นใคร ยังไม่รู้เวลารัฐเข้ามาถึง  เหตุผลในการกู้เงินมาเพื่อกิน เพื่อใช้ เท่านั้น แต่ไม่กู้เพิ่ม ระยะที่ 2 เป็นเรื่องการสร้างรายได้อย่างไร ไปชำระหนี้ได้  ถ้าสนใจให้ลองถามชาวบ้านว่าทำไมถึงกู้ เวลาถามให้ถามลึกลงไปว่าปัญหาแท้จริงคืออะไร ระยะที่ 2 คือต้องให้เขามีข้าวกิน อาหารก็เพียงพอ ไม่ค่อยกังวลเรื่องกู้เท่าไหร่

          ต้องดูว่าคนดอยตุงมีศักยภาพอย่างไรบ้าง เช่น การปักผ้า การทอผ้า  ฯลฯ

ศูนย์บำบัดผาหมี 1,000 วัน

          เพื่อแก้ปัญหา เจ็บ จน ไม่รู้ ตั้งศูนย์บำบัดยาเสพติด 1,000 วัน ใช้ระยะเวลาบำบัดด้วยยา 2-3 เดือน และมีกระบวนการฟื้นฟู เพื่อเข้าสู่หมู่บ้าน

45-60 วัน บำบัดด้วยยาทางการแพทย์

          มีการติดตามฝึกอาชีพ และเตรียมชุมชนให้พร้อมต้อนรับฮีโร่ 945 วัน

โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
          ให้บริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนด้วยตนเอง คณะกรรมการหมู่บ้านสามารถใช้กฎระเบียบบังคับใช้ได้ มีมาตรการการลงโทษ มีการติดตามผล 1,000 วัน บำบัดยาเสพติดร่วมกับโรงพยาบาลธัญญารักษ์ เป็นต้น มีการบำบัดด้วยความสมัครใจ และจากการสำรวจข้อมูลมีคนไปเสพซ้ำแต่ไม่ค่อยมาก

ปลูกป่าเพื่อปลูกคน

          ปลูกป่าเศรษฐกิจ โดยดึงความเป็นมืออาชีพของภาคเอกชนมาช่วย โดยให้บริษัทเอกชน 6บริษัท  เข้ามาร่วมลงทุนโดยไม่หวังผลกำไร

 ให้ชาวบ้านปลูกป่า พืชเศรษฐกิจโดยไม่หวังผลกำไร เป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSR เป็นการใช้ปากพูด ไม่มี MOU แต่เหตุต้องมีมิตซุย เพราะญี่ปุ่นมีให้เงินกู้เพื่อการเกษตร แต่ไม่สามารถกู้โดยมูลนิธิฯ ได้จึงต้องใช้บริษัทนวุติ จำกัด ในการกู้

สมเด็จย่าฯ พระราชทานนามว่า บริษัท นวุติ จำกัด แปลว่า 90 พรรษา  ปีที่เริ่มคือ ค.ศ. 1988 และปี 1990 จะฉลองครบรอบ 90 ปี ให้กระทรวง ทบวง กรม มาร่วมเน้นการปลูกป่า

สรุปคือ การพัฒนาต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง  ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง

          คนดีจะทำมาหาเลี้ยงชีพสุจริตดี แล้วเศรษฐกิจดี เมื่อเศรษฐกิจดี สังคมก็ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แล้วจะมาดูแลสิ่งแวดล้อม  และถ้าทุกอย่างพร้อมก็จะมีความสุข

          ดอยตุงมีระยะเวลา 30 ปี เราเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องอะไร

ทำไมต้องกาแฟพันธุ์อาราบิก้า

          ดอยตุง บริบทปลูกฝิ่น เนื่องจากอากาศเย็น จึงปลูกกาแฟได้ อีกเรื่องคือเป็นมิตรกับป่า และที่สำคัญคือปลูกแล้วขายได้ มีตลาดที่กระจายศักยภาพได้

          มีชาที่ชาวบ้านปลูกคือชาป่า เรียกว่าชาอัสสัม ชาวบ้านคั่วชาเป็น ชาที่กินคือชาดอยตุง มีมูลค่าเพิ่ม

ทำไมต้องแมคคาเดเมีย

          ไม่มีในประเทศไทยมาก่อน จากการเก็บข้อมูลพื้นที่ป่าดอยตุงเป็นต้นก่อ เป็นพืชตระกูลนัด เลยศึกษาว่าอะไรมีความเสียงน้อย ผลสรุปคือ แมคคาเดเมียเนื่องจาก

          - ให้ผลผลิตดี มีโอกาสขายได้แน่นอน

          - ถ้าล้มเหลวให้ถือว่าปลูกป่าที่ดีที่สุด

กิจกรรมถอดบทเรียนประจำวันครั้งที่ 1 (ณ ห้องประชุมคลับต์ 31)

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

โจทย์ Workshop (20 นาที)

          จากการดูงานวันนี้ได้เรียนรู้หลักการทำงานอะไรของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และหลักการอะไรเอาไปปรับใช้กับตัวเอง และงานอย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ให้แต่ละกลุ่มคอมเมนท์ซึ่งกันและกัน อยากให้มีความหลากหลาย ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วม

กลุ่มที่ 1 แมคคาเดเมีย รสวาซาบิ

สิ่งท่านเรียนวันนี้ ได้หลายอย่าง ป่า 3 อย่าง ประโยขน์ 4 อย่าง

ยุทธศาสตร์พระราชา เรื่อง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

1. เข้าใจว่าทำอะไรอยู่

2 มองปัญหาต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

3. ศึกษาสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สังคมที่อยู่ตรงนั้น ดูบริบทของสังคม และเจาะลึกด้วยว่าทำอะไร ถึงไหน และดูพื้นที่จริง

วิธีการที่ปรับใช้

เช่น งานปรึกษากฎหมาย และงานคดี มีข้อสงสัย ปัญหาสัญญา ส่วนใหญ่ข้อมูลได้มาไม่ครบ สัญญาไม่ครบ เอกสารประกอบไม่ครบ เราจะไปติดตามข้อมูล และหน่วยงานต่าง ๆ ทุก ๆ หน่วยงานอย่างไร

เข้าใจว่าปัญหาคืออะไร MOU คืออะไร

- ประสานความวุ่นวาย และต้องมี Service Mind ในการทำงาน

- เข้าใจว่าแต่ละคน บริบทครอบครัว มีความแตกต่างกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา เริ่มจากยิ้มให้ก่อน

ส่วนงานยุทธศาสตร์

1. มองก่อนว่าองค์กรมีปัญหาอะไร

2. เข้าใจและหาข้อมูลให้ครบถ้วน และเพียงพอให้ผู้บริหารตัดสินใจได้

3. กลางน้ำ ถ้าได้ข้อมูลไม่เพียงพอ ก็เพิ่มเติม ถ้าเพียงพอแล้ว มีการประเมินผลว่าสิ่งที่ได้รับมีความพึงพอใจอย่างไรบ้าง

4. พัฒนาร่วมกันว่าเราจะมีเป้าหมายอย่างไร

5. การปรับปรุงระบบงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับงานที่ทำมากขึ้น มีการปรับปรุงงานทางอีเล็กโทรนิกส์ให้งานเร็วมากขึ้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          แนวคิดศาสตร์พระราชา วิธีการนำไปใช้จะนำไปใช้อย่างไร การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ที่ฟังจากคุณนันที่อธิบายและเข้าใจได้ง่าย เช่น การอยู่บนที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์

เข้าใจ ต้องเข้าใจเขาก่อน เช่นการปลูกฝิ่น ต้องเข้าใจก่อนว่าปลูกเพราะถือเป็นยา หรือปัญหาเอกสารสิทธิ์ไม่มี เข้าใจปัญหาว่าเป็นอย่างไร

          เข้าถึง ก็จะมีวิธีการให้คลายกังวลเช่น บัตรประชาชน ทุกคนจะเริ่มไว้วางใจ มี Quick Win ต่อไปจะเริ่มพัฒนาว่าเป็นอย่างนี้ อย่างนี้ สร้างความไว้วางใจ

          พัฒนา ต้องเข้าใจ และเข้าถึงก่อน คิดให้ครบตั้งแต่หัวถึงท้ายและมาร้อยเรียง เป็นความยั่งยืนในการพัฒนาตนเอง ทำอย่างไรถึงพึ่งพาตัวเองได้ โมเดลมีการเรียนรู้ตลอด วิเคราะห์ว่าสถานการณ์เปลี่ยนอย่างไร

          คิดเหมือนเดิม ทำเหมือนเดิม ได้ผลแบบเดิม ถ้าอยากได้ผลใหม่ ขอผลเท่าเดิมแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนต้องคิดใหม่ทำใหม่ ความยั่งยืนจะล้อกับสิ่งนี้

          งานประยุกต์ใช้ บอกไม่ได้ต้องเอางานมาดู ถ้างานกฎหมายต้องเข้าใจว่าคนใช้งานกฎหมาย ต้องตอบให้ได้ว่าต้องการอะไร  และสรุปว่าอย่างไร ทำให้ได้จริง ๆ ไม่ใช่กั๊ก ๆ ๆ  ต้องมีทางเลือกที่ 1,2 ถึงจะเรียกว่ากฎหมายเข้าใจผู้ใช้บริการ และนำไปพัฒนาต่อได้ กฎหมายจะเป็นส่วนที่ชี้อยู่ว่าควรทำอะไร  จะเห็นช่องทาง เช่น ช่องทางการหาเงินจากสัญญา มีจุดที่เจรจาได้ มีการมองในมุมธุรกิจ ตัวกฎหมายเองต้องการ Educate มีการส่งไปดูเรื่องสัญญาการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

          กฎหมายมีการรอถาม และถามได้ตลอด ต้องมีการคำนึงถึงความยั่งยืน แบบไม่ใช่ให้สิทธิพิเศษ สปอยด์ หรือลองผิดลองถูก

คำถาม

1. ในกรณีเข้าใจ การเข้าถึงจะมีวิธีการอย่างไร

ตอบ ต้องมีวิธีการ Approach ที่ทำให้ไว้ใจได้ เช่น การสังเกตสิ่งแวดล้อม เข่น การสอนช่างซ่อมมอเตอร์ไซด์ เริ่มจากการถามก่อน ทำให้ได้ข้อมูลจากปาก มีการสำรวจ พูดคุยระหว่างสอน ทำให้ได้รับความไว้วางใจ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ

          ทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องคิด ยกตัวอย่าง มีคน 2 คน นิสัยเหมือนกัน พูดจาไม่ดีเหมือนกัน อีกคนยอม อีกคนชก เป็นต้น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          กลุ่มนี้ ถ้าจะเปรียบเทียบกับรุ่นที่แล้วถือว่าตอบโจทย์ข้อนี้ได้ตรง โดยเฉพาะการนำเสนอ 2 คน คนหนึ่งกฎหมาย อีกคนยุทธศาสตร์ ถ้าสามารถนำไปใช้กับงานของเขา โดยใช้การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

          ยกตัวอย่างทำไมสภาพัฒน์ฯ ทำเรื่องคนไม่สำเร็จ อาจเพราะเก็บตัวอย่าง แต่ไม่ได้เข้าหาคนอย่างแท้จริง ถ้าเรามีความเข้าใจและละเอียดอ่อน และนำไปใช้กับงานตัวเอง ถามว่าคำว่าเข้าใจชัดหรือไม่ เข้าใจให้ถึงจิตใจของเขา ให้เขาเข้าถึงการมีส่วนร่วม  ต้องใช้เวลา การพัฒนาคนระหว่างเข้าใจ และเข้าถึง คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ อย่างน้อย  ดร.จีระ ที่ฝากไว้ น่าจะยกตัวอย่างที่ไปดูงานเช่น แมคคาเดเมีย หรือที่คุณนันพูดคือเรื่องอะไรบ้าง ดอยตุงเหมือนการมาสมรภูมิ เราต้องรู้ว่าจะนำไปพัฒนาชุมชนอย่างไรบ้าง เพราะแท้จริง การเมืองก็สำคัญ ชุมชนก็สำคัญ และปัจจุบันเราไปช่วยยูเนี่ยน ในอนาคตถ้านักการเมืองไม่ดีมาหากฟผ. ถ้าไม่สามารถปกป้องได้จะสู้ได้หรือไม่

          เข้าใจ เข้าถึงต้องสามารถไป Apply กับงานกฟผ.ได้ อย่างแมคคาเดเมียมีเพียง 3 ประเทศที่ผลิตอยู่ ทำไมสมเด็จย่าฯ ทำสำเร็จ แต่คนอื่นไม่ทำ แสดงว่าต้องเอาจริงมาก ๆ อยากให้หยิบคำว่าเข้าใจ เข้าถึง พัฒนายกตัวอย่าง ให้เห็นชัดเจนมากขึ้นเช่น กระบวนการทำกาแฟเป็นต้น

         

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

          ได้เห็นหลักการ เราจะเข้าใจได้อย่างไร เข้าถึงอย่างไร และพัฒนาได้อย่างไร ทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเรา ภายในคนทำงานร่วมกับท่าน เราเข้าใจดีแล้วหรือยัง จะไปพูดกับชาวบ้าน จะไปคุยเรื่องอะไร ที่จะคุยคุยเรื่องอะไร เริ่มจาก

1. ทีมทำงานต้องเข้าใจก่อน

2. เข้าใจบริบทสังคม ภูมิประเทศ วิถีชีวิต วัฒนธรรม เขาพร้อมคุยเมื่อไหร่ ไม่ใช่เราพร้อมคุยเมื่อไหร่ ถ้าจะได้ใจ เราต้องเป็นคนปรับตัว ไม่ใช่เขาปรับตัว

3. มีแผนว่าจะทำอย่างไรให้เขาเข้าใจเรา ตัวอย่างการไปพูดกับชาวบ้าน 30 นาทีถือว่ามากแล้ว ทำอย่างไรให้คนทั่วไปเข้าใจหลักยาก ๆ ในเรื่องกฎหมาย ทำอย่างไรนำหลักวิชาการลงไปให้ชาวบ้านเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจ เขาก็ไม่เข้าร่วม

4. เข้าถึง ในที่นี้หมายถึงเข้าถึงหัวจิต หัวใจ เขากังวล ไม่สบายใจเรื่องอะไร ช่วยพัฒนาต้องมีทางเลือกให้เขา ให้เขาเป็นคนคิด คนพูด ไม่ใช่เราพูดแทน ปัญหาเขา เขาเป็นคนพูด ถ้าปัญหาเป็นอย่างนี้ทางออกควรเป็นอย่างไร และนำสิ่งที่เขาพูดมาวางแผน วางแผนคนเดียวไม่ได้ ต้องวางแผนบนกระดาษ ที่สำคัญเรื่องการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ทำอย่างไรให้เขามีส่วนร่วม  ส่วนใหญ่ให้เขาทำ ทำตามที่เราคิด แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ให้เขาคิดเอง ต้องให้เขาคิดและเขาเป็นคนทำ ไม่ใช่สั่ง แต่เราร่วมไม้ ร่วมมือในการพัฒนาด้วย เราจะต้องอยู่กับเขาตลอดเวลา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ จะอยู่กับเขาตลอด 24 ชั่วโมง สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันที ถึงเกิดใจพัฒนาได้

กลุ่ม 2

ใช้หลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เหมือนกัน

          จุดเริ่มแรกที่ไปคือหอแห่งแรงบันดาลใจ สมเด็จย่าฯ มีแรงบันดาลใจที่จะช่วยคนทั้งประเทศ ท่านมองเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็น 3 เหลี่ยมทองคำ ถ้าได้พัฒนาตรงนี้ ประชาชนจะกลายสัญชาติเป็นอย่างอื่นได้

          หลักการทรงงานเป็นการเข้าใจปัญหาในพื้นที่ มีการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในพื้นที่อย่างไร เช่นพื้นที่สูงอากาศหนาว ทำอย่างไรให้มีอาชีพทดแทนการปลูกฝิ่น เขามองว่าถ้าเกิดการเจ็บป่วย และปวดต่าง ๆ ฝิ่นคือคำตอบ เขาเป็นอย่างนี้ เราจะทำอย่างไรมาทดแทน เช่นโครงการปลูกพืชเศรษฐกิจ ประชาชนในพื้นที่สามารถมีอาชีพได้ทั้งปี มีการทำอาชีพของตัวเอง ปลูกกาแฟ และแมคคาเดเมียขาย

          การพัฒนาคือการระเบิดจากข้างใน ไม่ได้เอาชุมชนในเมืองมาพัฒนา แต่เป็นการพัฒนาด้วยใช้พื้นที่ พัฒนาพื้นที่เอง

การนำไปใช้

          สิ่งนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ได้ เราจะนำไปใช้อย่างไรบ้าง มองว่างาน CSR เดิมเป็นอย่างไร ดูเหมือนเข้าใจปัญหาของเขา แต่เราเหมือนไปรับฟังปัญหา ที่เขาพูดในที่ประชุม มีการแก้ไขปัญหาด้วยเงิน  อยากทำโครงการอะไรเสนอขึ้นมา แล้วเราสนับสนุนไป  แต่จะทำให้เกิดความยั่งยืนจะทำอย่างไร เพราะถ้าแบบเดิมก็จะเป็นการวนลูบแล้วลุกล้ำที่เหมือนเดิม

          สิ่งที่จะเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คือลงพื้นที่จริง ไปศึกษาดูในแต่ละพื้นที่มีศักยภาพในตัวเองอย่างไร การเข้าถึงปัญหา เมื่อได้ข้อมูลจะกลับมาศึกษาให้ครบวงจร สิ่งที่ควรจะได้ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ  ปลายน้ำ  จะได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องหรือไม่

          คนในแม่เมาะ เดิมมีอาชีพเกษตรกร โรงไฟฟ้าแม่เมาะจะลดกำลังผลิตลงไป เหลือแค่ครึ่งเดียว แล้วเขาจะอยู่อย่างไร สิ่งที่ควรจะเป็นคือ การหาความยั่งยืนให้เขา คือเขาเคยอยู่อย่างไร มีรายได้อย่างไร การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่แก้ไขปัญหาแม่เมาะได้คือการนำศาสตร์พระราชามาพื้นที่ เราต้องให้เขากลับมาที่ตัวเอง พัฒนาและช่วยเหลือตัวเองได้ พื้นที่ต้องมีการประยุกต์ให้คนใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้ เดิมทำอย่างไร ให้เขาทำอย่างนั้น ขณะนี้ศาสตร์พระราชา นำ  7 เขื่อนพัฒนา 3 โรงไฟฟ้า แม่เมาะกำลังพัฒนาศูนย์การเรียนรู้และใช้เป็นเครือข่ายให้ขยายผลเพื่อพัฒนาตนเองให้ได้

          การโค้ชชิ่งทีม ถ้าทีมมีปัญหา เราควรรู้ว่าปัญหาเกิดจากอะไร เช่นปัญหาต้องสามารถลงไปถึงรากเหง้าของทีมงาน การเก็บข้อมูลควรศึกษาว่าคนมีพื้นฐานอะไร เพราะแต่ละคนมีศักยภาพไม่เหมือนกัน เรื่องส่วนตัว สามารถประยุกต์ใช้ได้ ปัญหาอาจไม่ใช่ลูกเราอย่างเดียว ต้องศึกษาสังคม สิ่งแวดล้อม ของวัยรุ่นด้วยว่าเป็นอย่างไร จึงจะได้ไปแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          การประยุกต์ใช้กับการทางเหมืองเป็นสิ่งที่ดี น่าจะเพิ่มเรื่องอาชีพในการไปประยุกต์ใช้ด้วย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          แม่เมาะที่มาเก่งทุกคน แต่พูดถึงชุมชนทีไรก็ไม่สำเร็จ เขาจะอยู่อย่างไร เป็นความคิดที่ดีมาก  Energy Tax ที่มาจากแม่เมาะเยอะมาก เงินที่ไปสู่ประชาชนจริง ๆ ไม่มี ถ้าเอาเข้าใจเข้าถึงพัฒนาเป็นหลัก แล้วเอาแม่เมาะเป็นส่วนสำคัญ

          ทำเยอะ แต่ความรู้สึกที่ได้จากเรา เราเข้าใจศาสตร์พระราชามากขึ้น ถ้ากลับไปแล้วมีการติดต่อในกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีการชนะเล็ก ๆ อย่างต่อเนื่อง  ถ้างานที่ทำกับชุมชนสามารถต่อเนื่องได้ ทดแทนกันได้ ในที่สุดรุ่นน้องก็ขึ้นไปเป็นผู้ว่าฯ หลักสูตรนี้ เมื่อกลับไปควรมองที่ลูกน้อง แม้เขาไม่ได้เรียนจะทำอย่างไรให้เขามีความสามารถ โค้ชเขาในการทำงานต่อในอนาคต ให้ลึก และตรงประเด็น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สามารถไปอีกลึก  การมาแต่ละครั้งจะได้ความเข้าใจที่มากขึ้น

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

          เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา จะรู้ได้อย่างไรว่าถูกต้อง สิ่งสำคัญคือ

1. อย่าคิดแทนชาวบ้าน ต้องถามเขาว่าเขาต้องการอะไร

2. กระบวนการแยกมวลชน คือคนไหนได้รับผลกระทบ คนไหนที่พูดปาว ๆ แบบเอาหน้า พูดแทนชาวบ้าน ต้องหาตัวจริง เสียงจริง ต้องหาวิธีการคนที่ได้รับผลกระทบจริง ๆ คืออย่างไร ความจำเป็น และความต้องการจริงคืออะไร แล้วเขาจะร่วมทำโปรเจคของเขาจริง ๆ เพราะใครจะเปลี่ยนเขาจะไม่ได้ หรือใครจะมาเก็บข้อมูลจากชุมชนให้มาถามดอยตุง เพราะดอยตุงมีละเอียดกว่า การรู้ Need and Want คือลงพื้นที่และเอาชาวบ้านเป็นที่ตั้ง

คำถาม

          คนที่เป็นตัวจริงไม่พูด แล้วเราจะหาเขาได้หรือไม่ ทำอย่างไรให้พูด

คำตอบ

          เราต้องมีวิธีการ กระบวนการ ดอยตุงใช้ตัวเชื่อมคือ อสพ. เราต้องมีคนคอยดูว่าคนนี้ใช่หรือไม่ใช่ ถ้าเรามีตัวแทนจากเขา เราจะรู้เองว่าคือใคร แต่ถ้าใครมีคนพูดปาว ๆ จะหนักหน่อย ต้องแยกให้ได้ว่าคนได้รับผลกระทบจริง ๆ คือใคร และเราจะหาเขาได้จริง ๆ  จะเพิ่มเติมกับคุณถนอม และพงษ์ศักดิ์

กลุ่ม 3 ร่วมแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างยังไม่มีว่ามูลนิธิฯ ทำอย่างไรบ้าง ต้องเริ่มจากเข้าใจก่อน ถ้าเดินเข้าไปเลยอาจเป็นปัญหาต้องทำอย่างไรให้เขาไว้ใจ เขาถึงจะพูดความจริงออกมา ข้อมูลจะไม่ได้

          การแยกมวลชน แม่เมาะกำลังทำอยู่ เช่น ดาวสภา แต่คนที่เดือดร้อนจริง ยังไม่ต้องแก้ไข จะหารือกันอย่างไร ต้องสามารถออกแบบให้หมู่บ้านก่อน คนที่เดือดร้อนจริง เราไม่อยากเอาโมเดลเราไปใส่ให้เขา  ถ้าอันไหนทำอยู่แล้ว และทำได้ดี เขาอยากจะทำ มีกลุ่มเกษตร แปรรูป วัตถุดิบ ต้องการแปรรูปตรงนี้ได้อย่างไรบ้าง ถ้าขายผลผลิตอย่างเดียว ได้น้อยและงบประมาณไม่พอ ถ้าเพิ่มคุณภาพ เครื่องสุญญากาศ อาจมีการช่วยซ่อม และออกคนละครึ่ง เป็นต้น

          ต้องได้ใจก่อนเข้าถึง และจะเข้าทางไหน ถ้ามวลชนมาก ต้องเข้าให้ถูกทาง ภูมิคุ้มกันชาวบ้าน ถ้าตรงไหนยุแยงแรงกว่าจะไปตรงนั้น คน กฟผ. ต้องอยู่ตรงกลาง ไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นคนของรัฐ ต้องวางตัวเป็นกลาง และไม่ขึ้นกับฝ่ายใด ต้องละเอียดอ่อน และข้อมูลต้องรู้ลึกจริง ๆ  

          แมคคาเดเมีย ไม่ปลูกง่าย ๆ ผลผลิตจากปีที่แล้วหลายพันบาท เพิ่งมีขาย ผลผลิตเพิ่งออกมา  มูลนิธิฯ ไม่ได้ทำแบบการค้า แต่เพิ่มมูลค่าแบบพรีเมี่ยม ใครอยากได้ต้องจอง  กาแฟ อาราบิก้าปลูกพื้นที่สูง

กลุ่มที่ 3  เท่ เท่ โมเดล

          การมากลุ่มที่ 3 เห็นพื้นที่ป่าหัวโล้น วิธีการที่โครงการใช้คือการค้นหารากเหง้าของปัญหา ใช้วิธีการหาข้อมูลจริง คือ Empathy เขาต้องการอะไร เขารู้สึกอย่างไร รากเหง้าปัญหาคือ เจ็บ จน ไม่รู้ คือ เรื่องการเจ็บป่วย ยากจนเรื่องเศรษฐกิจ ชนกลุ่มน้อย ไม่มีสิทธิ ไม่มีบัตรประชาชน เริ่มขยายผลเป็นการพัฒนาคน เริ่มใช้บัตร ให้ทดแทนประชาชนได้ มีการออกโฉนด

          เศรษฐกิจพอเพียง มี 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ไม่เอาเปรียบ แบ่งปัน ทุ่มเท  มีเหตุมีผล มีป่า มีความสมบูรณ์ ภูมิคุ้มกัน คือการมีความรู้ และมีรายได้ มีการวิจัยเรื่องการปลูกวนิลาที่จะขยายต่อไป

          3 S มีเพิ่มคือ เพื่ออยู่รอดได้แล้ว มีการลดหนี้ และต้องพึ่งตนเอง  มีปลา และบ่อปลา

          การปรับใช้ รู้ลึก รู้จริง ศึกษาอย่างจริงจัง และครบวงจร ถ้าเราทำอะไรผิดไป ไม่สามารถคิดต่อจากเราได้  เราอาจทำอะไรผิดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเราต้องมองกว้าง ไม่ใช่มองจากเล็กไปใหญ่ ไม่เช่นนั้นจะแก้ไขปัญหาไม่ได้ เราต้องเข้าใจเขามากขึ้น เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาให้เขาทำงานร่วมกันเราได้

          หน่วยงานทีเกี่ยวข้อง มีบัญชี 3 ฝ่าย สุดท้ายไปสุดที่ กฟภ.  เราต้องเริ่มจากให้ทีมงานคุยให้ลงก่อน เพื่อไม่ให้ปัญหาเรื้อรัง และท้ายที่สุด คือได้แรงบันดาลใจ ว่าพระองค์ท่านทรงงานหนัก

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          ทุกท่านมีความเข้าใจเรื่องได้ดี  มีงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของชุมชนกับโรงไฟฟ้า อยากรู้ว่าที่ผ่านมาทำอย่างไร ชุมชนรักโรงไฟฟ้าหรือไม่ ตรงพื้นที่เหมืองที่มีปัญหา ไม่มั่นใจว่าอยู่ในขอบเขตโรงไฟฟ้าด้วยหรือไม่ 

          การพูดเรื่องเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา บางเรื่องไปพร้อมกันด้วยซ้ำ มีการเข้าใจและเข้าถึงอีก ถ้าเขาไม่ไว้วางใจ เขาจะไม่บอกเรา สุดท้ายคือ ถ้าไม่ได้ใจเขา เขาไม่อยากทำอะไรกับเรา แล้วจะพัฒนาได้หรือไม่ การที่เขาไม่เอา เป็นเพราะเราขาด ไม่สามารถข้าใจ เข้าถึงเขาได้ หรือเขาเป็นบัวใต้น้ำ พระองค์ท่านพูดว่า ข้อจำกัดของราชการ ทำอะไรมีข้อจำกัดเต็มไปหมด โครงการหลวงฯ ทำให้ลดข้อจำกัด ทำให้เร็วขึ้น

          เรื่องศาสตร์พระราชา เป็นเรื่องการประมาณตน  ตัวอย่าง ดอยผาส้ม เอาชาวบ้านมาเรียนรู้ได้ นายอำเภอเอาจริง เอาจัง และกลับไปทำเปลี่ยนโฉมได้เร็วมาก ที่น่าสนใจของอาจารย์ยักษ์คือการ Commitment ถ้าไม่มีสัญญาณว่าเอาเราไปต่อไม่ได้  ดังนั้นการเทคนิคต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เป็นทักษะของแต่ละคน แม้แต่การพัฒนาต้องใช้หลักศาสตร์พระราชา คุณธรรม 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อะไรก็ตามต้องมีคุณธรรม คือ สิ่งที่เราทำต่าง ๆ คือต้องไม่กระทบคนอื่นเขา  เพราะถ้ามีคนใด คนหนึ่งกระทบ เขาจะต่อต้าน และสิ่งนี้ไม่เหมาะด้วย

          สิ่งสำคัญที่อยากย้ำคือต้องเข้าใจปัญหาจริง ๆ เพราะถ้าไม่เข้าใจจริงๆ จะไปต่อไม่ได้ แก้ปัญหาผิดจุดจะผิดไปหมด และตามถึงปัญหาที่คาดไม่ถึง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          ขอชมเชย กลุ่มแรกพูดถึง เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และไป Apply กับ กฟผ. กลุ่ม 2 เรื่องการนำไปใช้กับแม่เมาะ กลุ่ม 3 มองภาพรวมคือดอยตุงเป็นเสมือสมรภูมิที่จะขับเคลื่อนตัวเองและองค์กร EGAT ต่อไป ในฐานะที่เป็นโค้ช เห็นบรรยากาศแบบนี้ที่ดอยตุง งานมีความชัดเจนมากขึ้น รู้อยู่แล้วว่าท่านต้องการอะไร

          ทราบดีว่ามีต่างประเทศมาดูงานดอยตุงมาก การมาดูงานต่างประเทศ เป็นเรื่องที่ยอมรับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จย่าฯ ที่ทำงาน ประสบความสำเร็จมากในสายตาคนทั้งโลก  ยกตัวอย่าง มีผู้ที่ได้โนเบลทางเศรษฐศาสตร์ เขาใช้ภูมิสังคมเป็นหลัก ไม่ได้เน้นเรื่องเงิน ให้ลองไปค้นหาดูหนังสือเล่มล่าสุดเรื่อง Poor Economics ก็เหมือนกับที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทำ ขอเสนอว่าในอนาคตทุกกรณีศึกษาที่ กฟผ.ทำในชุมชน ขอให้เก็บข้อมูลและสร้าง Lab ทางสังคม เพราะพฤติกรรมของชุมชนไม่เหมือนกัน  อย่างคนจน แทนที่เอาเงินไปซื้ออาหารที่มีคุณภาพ กลับไปซื้ออาหารอร่อยเป็นต้น คนที่ได้โนเบล เขาเก็บข้อมูล และมาวิเคราะห์เป็น Micro ตลาดพลู สิ่งแรกที่ไปคือไปเก็บข้อมูล และให้ลูกน้องวิเคราะห์พฤติกรรมของแต่ละชุมชนว่าแตกต่างกันอย่างไร พฤติกรรมขึ้นอยู่กับภูมิสังคม อาจหมายถึงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นด้วย

          แนวทางของสมเด็จย่าฯ คือแนวทางที่เป็น Eastern Way  สิ่งสำคัญคือการเข้าถึง เข้าถึงพฤติกรรมในบริบทที่แตกต่างกัน แล้วเงินที่ใส่เข้าไปจะคุ้ม ไม่ใช่เชื้อโมเดลของฝรั่ง เพราะแท้ที่จริง ก็ไม่สามารถนำมาใช้กับทุกบริบทของสังคม แต่เศรษฐกิจพอเพียง การไม่มีเงินก็สามารถใช้ของแลกของได้

          ขอแสดงความยินดีกับทั้ง 3 กลุ่ม เรื่องความเข้าใจศาสตร์พระราชา  วันนี้ถือว่าทุกกลุ่มเดินขึ้นมา แต่ละกลุ่มมีทุนทางปัญญาสูง เหนือกว่าหลายองค์กรในประเทศไทย แต่ปัญญาต้องไป Apply กับสถานการณ์จริง  สิ่งหนึ่งที่ทิ้งไว้ให้คือ การเป็นคนใฝ่รู้ ลูกศิษย์ กฟผ. ของอาจารย์จีระ ดีขึ้นทุกคน วันนี้ทุกคนได้เปรียบ เพราะมีระบบ มีโอกาส มีท่านผู้ว่าฯ มาด้วย แต่ถึงแม้ไม่มีก็ต้องหาความรู้ด้วยตัวเองด้วยเช่นกัน

          อยากให้ดูว่าอาจารย์จีระทำอะไร อาจารย์อายุ 75 ปีแล้ว แต่เขายังบ้าคลั่งฟังทุกคน คนที่นี่ได้เปรียบ แต่เทคนิคอย่างเดียวไม่พอต้องมี Passion และ Empathy  ทำไมไม่เปลี่ยนจากขายไฟฟ้าเป็นความรู้และห่วงใย ของสังคม

         

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          ตัวอย่างจริงของ กฟผ. เอาชาวบ้านมาขายของ คำถามคือเคยคุยกับคนที่ขายของหรือไม่  บางคนขายได้ บางคนขายไม่ได้ บางคนไม่อยากมา หรือมาเพราะเกรงใจ กฟผ. คำถามคือ เรารู้สึกอย่างไร สิ่งที่ให้ข้อสังเกตคือเรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นที่เมืองทอง

          หลักของศาสตร์พระราชาคือภูมิคุ้มกัน ต้องผลิตและขายกันเอง 50% ตลาดใน 30 % ตลาดนอก 20 % ถ้าส่งออกเจ๊งก็ยังอยู่ได้ สินค้าส่งออกของโอทอป ขายดีที่สุดคือสปา สิ่งที่ดีที่สุดคือการจัดงาน แล้วมีคนซื้อ แต่เบื้องหลังคือการนำพ่อค้ามาคุยกับคนผลิต มีการตกลงกัน แล้วเกิด Order ที่นี่เหมือนมีลูกค้ามาเจอ ถ้าเราคิดให้ครบ  แต่ถ้าเราเข้าใจสินค้าชุมชนว่ามีอะไรบ้าง ลองดูว่าสินค้ามีพ่อค้านำไปขายที่ใดบ้าง แต่ถ้าทำเพียงแค่โปรโมท เอาไปจัดงานที่ห้าง ก็อาจไม่ครบวงจร แต่ถ้าเราทำให้ครบ ชุมชนจะเริ่มรู้ว่าต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างไรถึงขายได้

          เขาไป เราไป ต้องอยู่ได้ มีการเอากระบวนการของชุมชนเข้ามา ใครทำร้ายชุมชนจะเดือดร้อน กฟผ.ต้องหากระบวนการผลิตให้ชุมชนมีส่วนร่วม แต่กฟผ. ไม่ได้หมายถึงองค์กรเดียวอยู่ยั้ง ยืนยง  เราจะทำอย่างไร จะเพิ่มอย่างไร

          โรงไฟฟ้าน้ำพอง ถ้าถ่านหินหมดทำอย่างไร ถ้าทำพลังงานทดแทนเงินหายไปจม ถ้าชุมชน พึ่งเงินกองทุน ผลคือเกิดอะไรขึ้น

          ถ้าวันหนึ่งเงินหายจะเกิดอะไรขึ้น CSV  (Creating Shared Value) ไม่เหมาะที่ใช้กับโรงไฟฟ้า เพราะจับตัวชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อน ตอนหลังจึงนำแนวคิดศาสตร์พระราชาคือเมื่อเราจากไปชุมชนจะยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม CSV อาจเป็นตัวQuick Win ก็ได้  อย่างกระบี่ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้อีก 10 ปีจะนำไฟฟ้ามาจากไหน ดังนั้นมีทางออกคือไม่ถ่านหิน ก็น้ำมัน

          ปัญหาการไฟฟ้า 7 เขตพัฒนา 3 โรงไฟฟ้า ตอนจับมือกับอาจารย์ยักษ์ คิดหาวิธีการทำให้เกิดการพัฒนาชุมชน และเกิดความยั่งยืนได้ ไม่ใช่แค่เป็นปัญหาของ กฟผ. แต่เป็นปัญหาของชาติ

          ดอยผาส้ม ในอดีตคือป่า และถูกให้ทำเหมือง มีการเริ่มปลูกป่าทำฝาย ต่อมา 3 ปี ข้างล่างเริ่มมีน้ำ น้ำเริ่มซึมออกมา 10 ปีต่อมา เริ่มเป็นป่า และใกล้ ๆ ป่าเบญจพรรณ มีต้นไม้ใหญ่ รากยาว เวลาฝนไม่ตกจะมีน้ำซึมจากภูเขาเรื่อย ๆ ทำให้ชาวบ้านมีน้ำโดยไม่ต้องมีฝน

          รอบ ๆ เขื่อน มีภูเขาหัวโล้น ไม่ได้ทำให้โลกร้อนอย่างเดียว แต่ทำร้ายดินที่ลงเขื่อน ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินหายไปหมด การลงไปในเขื่อนจะทำให้น้ำในเขื่อนตื้น ถ้าไม่ทำอะไรเลย ตะกอนดินจะลงเร็วมาก  พระองค์ท่านเคยตรัสกับ กฟผ.ว่าจะดูแลตะกอนดินนี้อย่างไร ให้ไปคิดและเขียนในกระดาษ เขียนเสร็จแล้วให้ใส่ลงไห อีก 400 ปีค่อยขุดมา เวลาใช้จะได้ไม่ต้องคิดใหม่ เราจะทำอย่างไร  ธรรมชาติคัดสรร ให้ขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างบ้านขุนกลางจะเห็นป่า  เห็นเขาหัวโล้น ป่าอุดมสมบูรณ์หมด วิธีคิดเกิดป่า  ศาสตร์พระราชาเป็นการนำความรู้มาใช้

          ฝายเก็บดินได้ 1 ตัน ถ้าครบ 52,000 ฝาย เก็บดินได้เท่าไหร่ สิ่งนี้เป็นปัญหาของ กฟผ. แต่เราไม่เข้าใจ การช่วยคนรอบเขื่อนแท้จริงเกิดช่วยตัวเอง

กลุ่มที่ 1 ร่วมแสดงความคิดเห็นกับกลุ่ม 3

          ขอชื่นชมกลุ่ม 3 พูดถึง 3 หลักการคือ

1. เจ็บ จนไม่รู้

2. เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

3.  3 S

          Commentator เหมือนนำเสนอเอง หลักการน่าจะมีตัวอย่างของ กฟผ. ที่เป็นโจทย์ แล้วไปเทียบกับ กฟผ.ที่จะแก้ไขคืออะไรจะเห็นภาพชัดเจนขึ้น

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

          ชาวบ้านหรือใครก็ตามที่อยากทำงานกับเรา ถ้าเราอยากได้ความเชื่อมั่น เราต้องให้ความเชื่อมั่นกับเขาก่อน เราต้องเชื่อว่าเขาทำได้ ทีเราเห็นผลงานทั้งหลายเป็นผลงานที่เชื่อว่าเขาทำได้ หน้าที่คือกระตุ้นให้เขาทำ เป็นการเข้าใจว่าเขาทำได้

          สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เขาเป็นเจ้าของ ความต่อเนื่องไม่ใช่เรายั่งยืนแต่เขายั่งยืน หน้าที่เราคือ อยู่เคียงคู่ อยู่เคียงข้าง แต่เราไม่สามารถทำให้เขาแทนได้ เราต้องพยายามอดทน อดกลั้น เพื่อให้เขาทำ เพราะถ้าเมื่อไหร่ ลงมือทำ จะเหมือนเราทำแทนลูกหรือไม่ เราต้องเชื่อมั่นว่าเขาทำได้ และต้องให้โอกาสเขาทำ เคียงข้างเวลาเขาทำ เพราะไม่เช่นนั้นเขาจะไม่เชื่อมั่นศรัทธา และความจริงเขาจะไม่บอกเรา เชื่อใจ มั่นใจ ว่าเขาทำได้ และให้โอกาสเขาทำ เราเป็นฝ่ายสนับสนุนให้เขาทำต่อไปได้

          บางพื้นที่ไม่จำเป็นต้องอยู่รอด อยู่ในแบบ Survival Sufficiency แล้ว อาจเป็นแค่ช่วยการตลาด แล้วแค่นี้จะเป็นการปลดล็อกหรือไม่

          พื้นที่อาจเริ่มจากการอยู่รอด จะทำอย่างไรให้เขามีราบได้เพิ่ม และพอเพียง  

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

ถ้าเขาไม่เอา เราไม่ทำ เราต้องสร้างให้เกิด Passion และมุ่งมั่นให้คนสำเร็จ เลือกสิ่งที่เขาทำได้และเป็น Pilot  เราต้องมี Passion มุ่งมั่นและทะลุทะลวงให้ได้ สู้หรือไม่ ทุกอย่างทำได้ It can be done.



วันที่ 10 กันยายน 2563

**การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง

ณ ห้องประชุม VIP

1. นายวีรชิต วรัญชิตกุล นายกอบต.แม่ฟ้าหลวง
2. นายประเสริฐ คำลือ รองประธานสภา ต.แม่ฟ้าหลวง

3. นางมยุรา สิลาวงศ์กรกุล ประธานกลุ่มสตรี บ้านขาแหย่ง

3. นางสาวอรัญญา อภิเสถียรพงศ์ นักวิเคราะห์และจัดการองค์ความรู้ หมู่บ้านลาบา

          “ผู้บริหารคนรุ่นใหม่ของดอยตุงที่เกิดจากการสร้างคน (อาสาสมัคร ศพต.พ.) ของโครงการพัฒานาดอยตุงฯ ตอนเริ่มต้นมี 344 คน ปัจจุบันอาสาสมัครเหล่านี้กลายเป็นผู้นำของชุมชนถึง 90% และได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของสมเด็จย่าไปใช้ในการบริหารจัดการในชุมชนของตนเอง”

นายวีรชิต วรัญชิตกุล นายกอบต.แม่ฟ้าหลวง

ก่อนดอยตุงมาที่นี่ เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่น ในช่วงหลัง ๆ สิ่งที่ดอยตุงเข้ามาได้ช่วยให้ทุกอย่างชัดเจนมากขึ้น คนในพื้นที่สูง แต่ก่อนไม่มีโอกาส ไม่มีสัญชาติต้องใช้วิถีชีวิตที่อยู่กับป่า เป็นอาชีพที่สุจริต มีภาษา 6 ภาษา ประเพณีของแต่ละที่ต่างกัน แต่ก็ไม่ได้เอาประเพณีมาปิดกั้นการทำงาน

          ตอนที่สมเด็จย่าฯ เข้ามา มูลนิธิฯ  ในสมัยก่อนที่นี่มีกองกำลัง ทุกคนที่เข้ามาเป็นคนไทย เราไม่เชื่อ แต่เรามีตัวแทนของชุมชนที่จะเข้ามาประสานกับดอยตุง  การพูดการจาก็ไม่สุภาพ

          ออกจากโรงเรียนมาเรามีโอกาสได้แปลภาษาทุกด้านว่าอะไรอยู่ที่ไหน

ข้อคิดที่ได้จากการทำงานดอยตุง

1. เราให้ทำกับคนที่เชื่อเรา และให้เห็นภาพก่อน เพื่อให้เขาเข้าใจและรู้ถึงบริบท สรุปรายได้เท่าไหร่ สิ่งที่จะพัฒนาจะเป็นอย่างไร เราจะทำอย่างไรให้รายได้ต่อปีเพิ่มมากขึ้น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ทำให้เห็นภาพของการพัฒนาดอยตุง ที่ทำให้ชุมชนเกิดการเชื่อมั่นเรื่อย ๆ เพื่อพัฒนาเรื่อย ๆ

2. ดอยตุงเป็นแหล่งที่มีการค้ายามากที่สุด มีวิธีการในการบำบัด 1,000 วัน มีการบำบัด 1 เดือน และติดตามผล ให้ครบ 1,000 วัน สามารถหยุดยาเสพติดได้ถึง 95%

3. การบริหารงานของแม่ฟ้าหลวงแตกต่างจากที่อื่น

3.1 ผู้บริหาร – หน้าที่อย่ามีอคติ อย่าเป็นน้ำเต็มแก้ว เราต้องยอมฟังเหตุผล ไม่สร้างความขัดแย้ง ต้องทำงานด้วยใจและมีเวลา พูดแล้วต้องทำตามเวลาที่กำหนด

3.2 เงินเดือนมาจากพี่น้องภาษีประชาชน  เน้นการช่วยเหลือประชาชาชน ให้ดีที่สุด

3.3 สมาชิกสภา รู้วิธีการบริหารจัดการ เราเป็นสมาชิกสภาตำบล ไม่ใช่สมาชิกสภาหมู่บ้าน

สรุปคือ

1. หน้าที่เขาไม่ใช่มาแย่งงบประมาณ แต่มาดูงบประมาณตำบลว่าอะไรจำเป็นต้องทำก่อน

2. เราเป็นผู้นำ เราต้องนำก่อน

3. มีกฎกติกา ชุมชน เช่น การประชุมสภา ใครมาช้าปรับ 200 บาท เป็นต้น

4. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ช่วยหรือไม่ ให้มาคุยกันว่าจะทำอะไร แบ่งงบประมาณอย่างไร เพื่อชี้แจงให้เข้าใจตรงกัน ถ้าทุกคนเข้าใจเหมือนกัน จะมีการเข้ามาแก้ปัญหาให้กับชุมชนและองค์กร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. การเป็นตัวกลางระหว่างโครงการฯ กับชุมชน ใครเลือก

ตอบตอนนั้นเป็นอาสาสมัคร มีการสอบถามว่าใครพูดไทยได้บ้าง เริ่มจากการอยากมาช่วยเหลือพี่น้องเรา และคิดว่าจะเป็นตัวแทนในการช่วย และถือว่ามีโอกาส จึงคิดว่าจะนำโอกาสมาช่วย และเป็นตัวกลางในการสื่อสารให้กับชาวบ้าน

2. ตอนเริ่มยากมากหรือไม่มีเทคนิคอย่างไร

ตอบชุมชนไม่มีการศึกษา คำถามคือเขาจะทำอย่างไร  บริบทของที่นี่เป็นอย่างไร ชุมชนติดอะไร เขียนเป็นหัวข้อ และวางกรอบ มีการปรับ  ต้องมีการสื่อสารให้ถูก และทำความเข้าใจ ต้องอาศัยศาสตร์หลายอย่าง  

3. ในฐานะอาสา ถ้าพูดผิดถูกยิงเป้า มีความมั่นใจโครงการฯ ดอยตุงอย่างไรว่าจะช่วยชาวบ้านได้จริง

ตอบเริ่มต้น ไม่ได้พูดเรื่องยา พูดเรื่องอาชีพก่อน แต่ถ้าวันไหนก้าวแรกพูดเรื่องยา ปัญหาเจอแน่นอน ส่วนหนึ่งครึ่งหนึ่งมีการปรับกลยุทธ์กับเรา เน้นการให้ชุมชนมีความสุขขึ้น

4. การพัฒนาส่วนใหญ่ไม่ให้คนติดยา เรื่องการค้ายาใช้เวลานานหรือไม่ กว่าจะหมด

ตอบคนผลิตเขาไม่กิน แต่เขาส่งให้คนอื่นกิน เขาใช้อิทธิพล ที่เราบำบัดคือคนที่ติด  ถ้าทำไม่ได้ก็ออกไป แต่ถ้าคิดว่าสิ่งนี้ไม่ดี แต่หมู่บ้านยังรับเขาอยู่ ก็รับไป

นายประเสริฐ คำลือ รองประธานสภา ต.แม่ฟ้าหลวง และ ศอบต.

คุณประเสริฐ คำลือ ได้ทำงานร่วมกับชุมชน หน้าที่หลัก เสนอแผนพัฒนา ตรวจสอบการทำงานของผู้บริหาร และรับผิดชอบงบประมาณ

แม่ฟ้าหลวงไม่มีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล แต่มีสภาอบต. แม่ฟ้าหลวง มีการเรียงลำดับตั้งแต่ 0-19 ในการรับฟังปัญหาพี่น้องประชาชน เพื่อสื่อสารกับหมู่บ้าน ให้ได้รับการแก้ไข หลาย อบต. ทั่วประเทศมีการประชุมประจำเดือนทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง มีการประชุมสามัญ และวิสามัญ ปัญหาสำหรับพี่น้องประชาชน มีการรายงานให้ผู้บริหารเพื่อให้แก้ไขทันท่วงที จากน้ำหยดเดียวมีการแก้ไขให้ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ ยาเสพติด คือสิ่งสะท้อนแก้ไขได้

การแก้ปัญหาคนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ได้ว่าสิ่งไหนน่ากลัว ถ้ามีการศึกษา ให้ศึกษาให้อยู่ในกรอบ ถ้าก้าวกระโดดมากเกินไปเป็นสิ่งที่น่ากลัว ถ้าไม่มีภูมิคุ้มกัน อาจเกิดปัญหาอย่างปัจจุบัน และในอนาคต  หน่วยงานหลายครั้งที่แก้ปัญหาได้ไม่ถูกจุด เราจะแก้ปัญหาให้มีความเข้าใจกันอย่างไร เพราะถ้าไม่ถูกจุด ก็เสมือนน้ำผึ้งหยดเดียวที่เกิดปัญหา และยากแก่การควบคุม  แต่ถ้าทำวิจัยเรื่องพื้นที่ ปราชญ์ชุมชน น้ำ ประปา ภูเขา ดิน ฟ้า อากาศ สามารถตั้งรกรากได้ ระดับผู้มีความรู้มากมายเคยคิดถึงสิ่งเหล่านี้หรือไม่ มากหรือน้อยแตกต่างกันไป เร็วหรือช้า เป็นสิ่งที่ต้องได้รับผลกระทบ ควรมีขนาดที่ละเอียดอ่อนกว่านี้ และระหว่างขนาด S,M,L ควรมีช่องว่างในการคิดเพื่อให้มีความพอดีสำหรับแต่ละคนด้วย 

นางมยุรา สิลาวงศ์กรกุล ประธานกลุ่มสตรี บ้านขาแหย่ง

คุณมยุรา เป็นคนเผ่าอาข่า แต่ได้แฟนที่เผ่าลาหู่ เริ่มจาก 0 ไม่ว่าจะภาษาหรืออาชีพตอนมาอยู่แรกพูดภาษาไม่ได้ ต้องให้คนแปล อยู่มาก่อนดอยตุง เคยเป็นครูอาสาให้บ้านสี่หลัง 3-4 ปี และเมื่อไม่นานมีโครงการดอยตุงเข้ามา ได้ร่วมงานเป็นจิตอาสา

สมัยนั้น ผู้หญิงดอยตุง หรือชนเผ่าไม่ค่อยได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น เพราะบรรพบุรุษไม่ค่อยเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

ได้มาเป็นจิตอาสา เนื่องจากมีการสอบถามว่าใครสามารถพูดภาษาไทยสื่อสารกับชาวบ้านได้ไหม โชคดีที่เรียนภาษาไทย จึงได้มาเป็นอาสาและเป็นตัวแทนในการสื่อสารของดอยตุง มีการทำอาชีพในกลุ่มหัตถกรรมหมู่บ้าน  

นางสาวอรัญญา อภิเสถียรพงศ์ นักวิเคราะห์และจัดการองค์ความรู้

ชนเผ่าลาหู่แดง อยู่บ้านลาบา การมาทำงานกับดอยตุง เริ่มตั้งแต่การเข้าประถมศึกษา มัธยมศึกษา และไปเรียนที่เชียงใหม่ ทำงานที่ดอยตุงมา 12 ปี อยู่ในส่วนจัดการความรู้ เห็นการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เข้ามาเริ่มแรกว่าเราอยู่ในหมู่บ้านแบบไหน ได้เรียนหนังสือและเรียนจบและกลับมาทำงานที่บ้าน เข้ามาในฐานะนักวิจัยท้องถิ่น พยายามพัฒนาตัวเอง จบแล้วมาทำงานที่ดอยตุง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. แรงจูงใจที่ทำให้น้อง ๆ อยากทำงานที่ดอยตุงอยู่ ณ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต มีบางส่วนที่อยากทำงานที่อื่น ในส่วนผู้นำที่ดูแลชุมชน และน้อง ๆ เรามีกลยุทธ์อย่างไรให้น้อง ๆ ทำงานที่ดอยตุงเหมือนเดิม

ตอบ ในฐานะผู้นำชุมชน สิ่งที่ทำตลอดคือ วัฒนธรรม ประเพณี มีกิจกรรมที่ส่งเสริมจากรุ่นสู่รุ่น  สิ่งที่ทำให้เขาเห็นได้คือวัฒนธรรม จารีตประเพณี การอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี  ตัวเงินเป็นสิ่งสำคัญที่สุดหรือไม่ คำตอบคือไม่ เพราะมองว่าไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่สัมผัสได้กับครอบครัวคือการถ่ายทอดของครอบครัว คือพ่อเป็นหมอเถื่อน แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นคือพ่อสามารถเดินได้จากหัวบ้านถึงท้ายบ้านเพื่อสื่อสารได้ เป็นหัวหน้าชนเผ่า ทำหลายหน้าที่โดยไม่ได้ค่าตอบแทน ได้เชื้อพ่อมา 50% จะทำอย่างไรให้กับคนไทยบ้าง อย่างการปลูกฝังประเพณี เป็นเสมือนกุศโลบายให้มีการรวมญาติ

          การให้ใครมาอยู่กับเราได้ เขาต้องรู้สึกว่าอบอุ่น และความสุขที่อยู่ใกล้เรา ถ้าเขาอึดอัดเขาไม่อยากอยู่ ความสุขของแต่ละคนไม่เหมือนกัน  และเราก็ไม่สามารถปิดกั้นความสุขได้ มีความเชื่อว่าลูกหลานหลายคนดอยตุงต้องกลับมาเพราะเป็นความหล่อหลอมจากบรรพบุรุษให้คนรักพื้นที่ และอยากตอบแทนพระคุณของสมเด็จย่าฯ         

          เชื่อว่าสิ่งที่สัมผัสได้คือสิ่งที่ได้รับตั้งแต่วัยเด็ก การศึกษาทำให้คนเป็นคนดีได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ แต่การทำให้คนเป็นคนดีได้คือการใส่ใจที่มากกว่าวัตถุ ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะเน้นความสบาย เน้นวัตถุ ความผูกพันหายไป เป็นเสมือนไวรัสที่มาทำลาย

          มองถึงเด็กในอนาคต จะไม่ให้ใช้อะไรที่เกินตัว  อย่าให้เหลือมาก เพราะถ้าเหลือมากจะไปสู่อบายมุข มนุษย์กินข้าว 3 มื้อ ไม่มีใครนอน 2 เตียง แต่นอนเตียงเดียว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดให้ครอบครัว ยกตัวอย่างโครงการสายใยรักเป็นโครงการที่ดีมาก ๆ

          สิ่งที่เราทำคือ เราต้องสร้างคนให้เป็นคนมีคุณภาพ ไปไหนขอให้เป็นคนดี ไปไหนขออย่าให้เป็นภาระสังคม สิ่งที่ผ่าตัดให้คนของเรามีคุณภาพ

          ทุกวันนี้เราเอาวิถีชีวิตมากับเด็ก ทุกวันศุกร์มีการแต่งชุดชนเผ่า หน้าที่คือให้เด็กค่อย ๆ เปลี่ยนมีความคิดที่ดี

2. ถ้าเทียบ อบต.แม่ฟ้าหลวง อบต.ประสบความสำเร็จแค่ไหน

ตอบเรื่องนี้พูดยากถ้าจะเทียบว่าอยู่ตรงไหน แต่เอาโล่รางวัลมาแล้วทุกโล่

3. ทำไมอยากทำงานที่นี่

ตอบอยากมีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งที่เข้ามาพัฒนา เรื่องอากาศ และค่าใช้จ่าย และได้อยู่กับครอบครัว

4. ถามนายกฯ เรื่องการเปลี่ยนแปลงก่อนโครงการหลวงเข้ามา และโครงการหลวงเข้ามามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ใช้ทักษะอะไร มีการเรียนรู้อย่างไรในการให้คนมา Training

ตอบปัจจุบันอายุ 56 ปี เริ่มต้นจะสมัยรุ่นพ่อมาตั้งถิ่นฐานของกองกำลัง แต่ละกลุ่มมีกองกำลังหมด ในกลุ่มจะมีไปอยู่ในดอยต่าง ๆ เป็นฐาน ๆ รัฐบาลมีงบประมาณหรือไม่ คำตอบคือไม่มี  คนที่มีกำลังอาวุธจะอยู่ตามชายแดน ไม่มีกำลังจะอยู่ในเมือง สมัยนั้นอาศัยการเอาตัวให้รอด เลี้ยงตัวเอง ครอบครัวให้รอดก่อน พอดอยตุงขึ้นมาตอนแรกการสร้างพระตำหนักยังไม่เชื่อ แต่เราเป็นอาสาสมัคร เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ว่าที่สมเด็จย่าฯ เข้ามา จริง ๆ เพื่อมาช่วยเรื่องอาชีพ เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่มาเรื่องต้องการจับยาเสพติด แม้พระองค์ท่านไม่ใช่ญาติพี่น้อง แต่เข้ามาพัฒนาเพื่อช่วยเรา แล้วเราจะทำอะไรได้บ้าง มีการสร้างกฎ กติกาให้ชุมชน ไม่ให้คนนอกมาอยู่ นอกจากแต่งงานเข้ามา  ไม่เช่นนั้นจะเข้ามาเยอะแล้วพื้นที่จะมีปัญหา เน้นการสร้างวิถีชีวิตให้เป็นอย่างนี้ แต่ก็ยังเป็นห่วงวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ มีการกำหนดกฎ กติกาชุมชน มีการโน้มน้าวให้เขาฟัง ใช้วิธีการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม

5. การทำอะไรอย่าไปกำหนดเอง เพราะบางครั้งเราคิดดี แต่เมื่อถึงเวลาชุมชนเห็นอีกแบบหนึ่ง เช่น งานศพช่วยเหลืองานศพ

ตอบชุมชนที่บ้านเวลามีกิจกรรม สิ่งที่แต่ละบ้านทำ จะแตกต่างกับหลายพื้นที่ในชุมชนเมือง เวลามีกิจกรรมคือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กฎระเบียบที่ตั้งขึ้นมาเป็นภาระที่ทำร่วมกัน มีปัญหาเรื่องบ่อขยะ มีการมองย้อนในอดีตว่า ดิน ฟ้า อากาศ มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนคือการบริโภค เช่น จากก่อนใช้ขัน ปัจจุบันใช้ก๊อก ฝักบัว น้ำเปิดไหลทิ้ง หรือการช่วยเหลือมีการเกณฑ์คนทำกับข้าวช่วยงานวันละกี่คน  และไม่ทำให้เกิดผลเสียกับเขา บางครั้งความเป็นกลาง หรือความยุติธรรม ไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะชุมชนมีความยินดีและพร้อมในการจัดการ

          สิ่งที่เราควรเริ่มคือ ผู้สูงอายุและเด็ก มีการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม และดูเรื่องขยะย่อยสลาย ขยะเชื้อเพลิง มีการจัดเตรียมอาหารมาเสริฟ มีการเพิ่มธุรกิจ มีการคุยให้ชาวบ้านผู้ปฏิบัติว่าทำอย่างไร สิ่งที่น่ากลัวคือ การแพ้ศรัทธา เช่น การบริจาค แต่เป็นพลาสติก ทำให้มีขยะเพิ่มขึ้น เลยคิดว่าจะสามารถบอกได้หรือไม่ว่าจะขอให้บริจาคแบบไหน เพื่อไม่เพิ่มพลาสติก เพิ่มขยะ เพราะปัญหาขยะเป็นปัญหาทั้งโลก ถ้าไม่ได้เริ่ม หรือรีบจะล้มเหลว แต่ถ้ามนุษย์ถูกกระตุ้นด้วยการสร้างจิตสำนึกอาจไม่พอ อาจต้องสร้างด้วยจิตวิญญาณ  ท่านลองทำ และทำเป็นนิสัยแล้วหรือยัง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเพื่ออะไร  และเราจะได้อะไร คุณไม่จำเป็นต้องมีบ่อขยะมหาศาล เพราะขยะมีวันเต็มในอนาคต ขยะพกพาง่ายสุดคือพลาสติก แต่กำจัดยากสุด เหมือนพูดง่ายแต่เข้าใจยาก สรุปคือเราต้องใช้แนวคิดคือเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา และจะถ่ายทอดได้อย่างไร ถ้าจะทำให้ยั่งยืนจะทำอย่างไร และจะควบคุมสิ่งเหล่านี้จะทำอย่างไร

6. ท่านผู้ว่าฯ กรศิษฎ์ เสริมว่าสังคมที่เห็นคือเขาอยู่กันแบบเอื้ออาทรและพึ่งพากัน การที่เราจะไปกำหนดเองไม่ใช่ การพัฒนามาพร้อมกับผลกระทบ ความสะดวกบายมาพร้อมกับขยะ มีกฎ กติกาชุมชนในการเสริม ในวันหน้าอยากดูรายการกติกาชุมชนที่ยอมรับร่วมกันอย่างไรบ้าง ศาสตร์พระราชาต้องคุยกันรู้เรื่องและมีคนยอมรับ

7. ตอนจีบกับแฟนของคุณมยุราจีบด้วยภาษาอะไร

ตอบภาษาไทย

8. เมื่อวานมีน้องที่บรรยายว่าเด็กรุ่นใหม่มีทำงานในต่างประเทศคือ ออสเตรเลีย และประเทศที่อยู่ใกล้ ๆ

ตอบต้องแยกเป็นส่วน ๆ คนเก่งส่วนหนึ่งก็ไป แต่ไปไหนก็ตาม ท้ายสุดก็กลับมาอยู่ที่นี่ เพราะเขาไปเพื่อหาเงิน เพื่อความมั่นคง  ส่วนมากไม่มีเรื่องการอพยพย้ายถิ่น ปัจจุบันมีคนอยู่ในพื้นที่ดอยตุงไม่เกิน 4,000 คน  คนที่ออกไปหาเงินต้องส่งเงินให้พ่อแม่ คนที่อยู่กับพ่อแม่จะดูแลพ่อแม่ ไม่มีคนที่ทิ้งให้เดียวดาย

          จะสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ผู้นำ ผู้นำต้องมีกติกาที่ชัดเจน และวันไหนเป็นเจ้านาย รักลูกน้องลำเอียงเมื่อไหร่ งานล้มเหลวทันที หลายชุมชนหมู่บ้านแตกแยกเพราะเกิดความเหลื่อมล้ำ และคนจะไม่ศรัทธา ไม่เชื่อ และจะแก้ไขหน่อย

          มีลุงแก่ ๆ ท่านนึง จากกฎกติกาห้ามตัดไม้ แต่มีลุงแก่ไปตัดตอนต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้ตายตามธรรมชาติ และไม่ให้เป็นที่สังเกต และไปเจอจริง ตามภาษากฎหมายต้องโดนจับ แต่ชุมชนเลือกวิธีที่ให้ลุงทำอย่างไรจะรักษาให้ต้นไม้ไม่ตาย  เขารู้วิธีที่จะตัดตอนให้ต้นไม้ยืนต้นตายจากธรรมชาติ เช่นรู้วิธีที่ตัดตอนไม่ให้ยืนต้นตายเช่นเดียวกัน เราต้องถามเหตุผลว่าทำไม่ถึงตัด  ลุงตอบว่าอยากได้แสงแดด หลายครั้งที่ลุงอยากได้มากขึ้น  ทำให้ต้องทำลายบางอย่าง แต่เราจะมีมาตรการชุมชน หรือหน่วยงานในการจัดการอย่าไร ถ้าใช้วิธีซุ่มจับ จะติดคุกแน่นอน แต่ปัญหาจะไม่จบสิ้น และต้องมีวิธี 1,2,3 แน่นอน ถ้านำข้อกฎหมายที่ปรับใช้ และหาทางออกร่วมกันได้ โดยแก้ไขเหมือนศาสตร์พระราชา ทำแล้วสนิทใจ สามารถต่อได้ไม่รู้เท่าไหร่

9. ความเสมอภาคของสิทธิสตรีปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

ตอบเด็กผู้หญิงจะจบปริญญาตรีมากกว่าผู้ชายจบ ป.ตรี ผู้หญิงมีหน้าที่การงานดีกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าจบ ป.ตรีแล้วสำเร็จ เพราะการเรียนรู้หรือการศึกษาต้องควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม ผู้หญิงปัจจุบันมีอาชีพเสริมรายได้มากกว่าผู้ชาย เวลาประชุม ประชาคมเป็นผู้หญิงทั้งนั้น จะเห็นการเปลี่ยนแปลง สมัยก่อน ผู้ชายสูบฝิ่นอยู่กับบ้าน ผู้หญิงจะหาเลี้ยงสามี แต่ปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนคือ ผู้หญิงเริ่มมีความคิด มีการศึกษา  ชีวิตมีการปรับเปลี่ยนจากเดิม

10. ปัญหาเรื่องวัยรุ่นมีการแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง

ตอบเด็กที่นี่มีกฎกติกา ถ้าใครเริ่มต้นทะเลาะก่อน จะปรับก่อนทั้งคู่ และดูว่าใครทำก่อน   แต่ถ้าผู้นำทำตรง และถูกต้องจะไม่มีการทะเลาะกัน

11. ตำรวจแม่ฟ้าหลวงดูแลเรื่องอะไรเป็นหลัก

ตอบตำรวจเป็นด่านที่หนึ่งที่ต้องดูแลเรื่องยาเสพติด

12. กฎกติกา เป็นอย่างไร

ตอบแต่ละหมู่บ้าน แต่ละชุมชนตั้งกติกา กันเอง และเมื่อตั้งเสร็จแล้ว มีการรวมกันเป็นกติกาทั้งตำบล ให้ระดับกลางตัดสิน  ปรับกฎ กติกา แล้วต้องกระเทือน

13.มีหน่วยงานราชการไหนเชิญให้เป็นตัวอย่างชุมชนของที่อื่น

ตอบมีการไปดูศึกษาดูงานที่อื่น แล้วเอาข้อดีข้อเสียมาปรับ เราจะใช้หลักวิธีการอย่างไรในการปรับกลยุทธ์ หัวหน้าต้องเข้าจัดการ

14. มีนายทุนเข้ามาในหมู่บ้านทำอย่างไร

ตอบทุกอย่างมีกฎกติกาในการควบคุม อย่างการสร้างบ้านต้องผ่านชุมชนก่อน และต้องขออนุญาตดอยตุงด้วย  หลายคนอยากมา แต่เขาไม่มีโอกาส คุณจะมาได้ต้องมาแต่งงานกับคนในพื้นที่  พื้นที่ดอยตุงน้อยมากที่จะเจอน้ำท่วมขัง มีบ้างที่น้ำหลาก แต่ไม่เกินชั่วโมงก็แห้ง

15. แต่ละกลุ่มมีพื้นที่การเปลี่ยนแปลง จะเกิดผลกระทบอย่างไรถ้าคณะผู้จัดอบรมไปดูพื้นที่ในอดีตจากแต่ก่อนเป็นอย่างนี้ แล้วปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างนี้ ทางโครงการฯ สามารถให้ดูได้หรือไม่ การจัดอบรมต่อไปอยากให้ครึ่งวันไปดูในหมู่บ้าน

ตอบ     สามารถไปเดินทั่วหมู่บ้านได้ เพื่อศึกษาอดีตว่าเป็นอย่างนี้ จะดูที่ไหนได้หมด แต่ถ้ามาเพื่อผลประโยชน์ไม่ได้

          ดูในพื้นที่จริง ปัจจุบันหมู่บ้านปรับเป็นปัจจุบันแล้ว ถ้าจะเข้าหมู่บ้านเข้าได้ แต่ต้องแบ่งเวลาหน่อย

16. เวลาปรับคนทำผิดกฎระเบียบ หลังจากได้ค่าปรับมาแล้ว อบต.จัดการอย่างไร

ตอบชุมชนจัดการกันเอง อบต. ไม่เกี่ยวสักบาท ถ้าผู้นำเข้มแข็งไม่มีปัญหา แต่ถ้าผู้นำไม่เข้มแข็งอาจมีปัญหา กฎหมายจะมีปัญหา เราต้องการผู้นำที่เสียสละ และเป็นผู้นำที่แท้จริง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อยากให้ประโยชน์ขั้นต้น จากการได้ความรู้ตั้งแต่เมื่อวานถึงวันนี้ เราจะมีอะไรเสริม นอกจากเข้าใจเข้าถึง พัฒนา ผู้นำท้องถิ่น หรือชุมชน นำศาสตร์พระราชามาใช้ แนวคิดของศาสตร์พระราชาที่อยากฝากไว้มีอะไรบ้าง เพราะแนวคิดนี้มีผลกระทบต่อผู้นำที่จะนำไปพัฒนางานของเขา  และพัฒนาการป้องกันความเสียงที่จะเกิดข้างหน้าอย่างไร

นายกฯ ตอบ ศาสตร์พระราชา สิ่งที่คิด และสิ่งที่ทำแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะไปที่ไหน ให้เอาบริบทของที่นั่น ต้องคิดสิ่งใหม่ ใช้คนอยู่กับป่า ต้องมีการวางมาตรการใหม่ ขอให้คิดว่าเราอยู่ในจุดไหน เราศึกษาเฉพาะดินก็ไม่ได้ คนไม่ได้ เราต้องศึกษาทั้งหมด แล้วเราจะทำอย่างไร นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องเก็บข้อมูลทุกมิติ และลงว่าอะไรคือความจริง ถ้าข้อมูลไม่ชัดเจน จะเจ๊ง ต้องให้เขาเข้าใจคุณด้วยถึงสามารถพัฒนาได้

          เริ่มต้นข้อมูลไม่ตรง ต้องอาศัยคนในพื้นที่เพิ่มข้อมูลต่อ ทำอะไรก็ตามให้ดูบริบทในพื้นที่

          คุณประเสริฐ ตอบ ศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เช่น เรื่องขยะ การจะเข้าถึงเรื่องใดก็ตาม เข้าถึงปัญหา หรือเพื่อใคร ถ้าเข้าถึงปัญหาด้วยจิตวิญญาณ  การเข้าถึงไม่ยาก แต่ถ้าเข้าถึงเพียงแค่โปรเจค หรืองานเข้าได้เพียงครึ่งเดียว แต่ถ้าเข้าถึง ต้องเข้าถึงขนาดไหน ด้วยความรู้สึกอะไร แล้วถึงเข้าใจขนาดไหน ถึงไปพัฒนา เราทำเพื่อใคร ทำเพื่อตัวเอง เพื่อคนอื่น เพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือเพื่ออะไร ถ้าเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา คนที่จะขับเคลื่อน เก็บทุกคำพูด ทุกอิริยาบถ เรียบเรียงเป็นตัวเลือก การเข้าใจ เราเข้าใจแบบไหน พัฒนา พัฒนาในปัจจุบัน กับ พัฒนาในอนาคตจะเป็นอย่างไร ไม่ยากในความสามารถ แต่ยากในการเข้าใจ

          คุณมยุรา ตอบไม่ว่าการทำงานอะไรต้องมีความต่อเนื่อง เช่นในสวนดอกจะมีรูปภาพที่แสดงถึงความต่อเนื่อง การส่งเสริมต้องมีตลาดให้ด้วย โอกาสเน้นการให้โอกาสและช่วยเหลือคน  ถ้าการให้โดยคนรับไม่รู้คุณค่า จะไม่เกิดประโยชน์ เน้นการช่วยเหลือตัวเอง และยืนได้ด้วยตนเอง

          คุณอรัญญา ตอบ ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี ถ้าเขามีทางเลือก ถ้าเขาได้รับทางเลือกจะทำให้คนมีการพัฒนาตนเองมีศักยภาพได้ เชื่อในศักยภาพ ตัวเองจะสามารถทำให้พัฒนาต่อได้

สรุป การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนตามตำราแม่ฟ้าหลวง

หลักการหรือสิ่งที่สมเด็จย่าฯ ทำมีอะไรบ้าง

โดยคุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

  • - สมเด็จย่าฯ มีพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ดอยตุง

- รากเหง้าปัญหาคือ เจ็บ จน ไม่รู้ ควายยากจน และขาดโอกาส ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่เขาไม่มีทางเลือก

- ต้องทำพร้อมกัน  คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้

- การทำงานต้องมีการแบ่งระยะเป็นสั้น กลาง ยาว 

- แม่ฟ้าหลวง ให้คิดถึงจุดที่มีกระทบต่อคนหมู่มากแล้วให้ได้ใจเขา มีการสำรวจข้อมูล ถ้าไม่มีข้อมูลจริง แก้ไขอย่างไรก็ไม่จบ

- ใช้วิธีการปลูกคน อย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คนเหล่านี้เมื่อได้รับการถ่ายทอด วิธีการให้เขาทำงานเพื่อให้เขาถูกเลือก ให้ได้รับเลือก

- เผ่าที่มากที่สุดคือ เผ่าอาข่า

- จ้างแรงงานปลูกป่า สอนให้ทำเพื่อเรียนรู้ ให้เขาเรียนรู้ทักษะพื้นฐานทางเกษตรที่ไม่เคยมี เปลี่ยนจากเกษตรกรรับจ้าง เป็นเกษตรกรป่าเศรษฐกิจ จากนั้นดึงทักษะเรื่องปลูกดอกไม้ จัดอย่างไรให้สวย ให้งาม มีเทคนิคการออกแบบ Landscape  (สวนแม่ฟ้าหลวงสวยทุกวัน สร้างตั้งแต่ปี 2535  ถึงปัจจุบันนี้ เป็นรางวัลที่ภาคภูมิใจ สวนแม่ฟ้าหลวงอยู่ได้เนื่องจากเก็บค่าเข้าชม เพราะถ้าไม่เก็บค่าเข้าชมจะเอาอะไรมาดูแล)

- เบื้องหลังความงาม เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ คนงานสวน 60-70 คน คนที่มาเที่ยวสวน มีส่วนหนึ่งที่มาช้อปปิ้ง มีการขายของที่ระลึก มีการถ่ายรูป รูปแบบสวนจะเปลี่ยนทุกปี

- อะไรที่ทำได้ทำเป็นยกให้เขาเป็นเจ้าของกาแฟปลูกให้เขาทำแล้ว ให้โอกาสแล้ว ต้องให้ตลาดเขาด้วย ดอยตุงมาสำรวจ และมีการสร้างโรงงานต่าง ๆ รองรับ เป็นฝ่ายตลาดให้ ถ้าไปจะเห็นด้วยตาตัวเองว่าทำอะไรอยู่ และจะมีศักยภาพที่ดีเพิ่มขึ้นมาได้ ยกระดับคุณภาพที่ดี เครื่องมือที่ได้มาตรฐาน ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างนั้นตลอดไป

- ถามถึงเครื่องมือที่ชาวบ้านหรือชุมชนว่าอยากได้หรือไม่ เช่นโทรศัพท์ถ้าซื้อแบบแพงไปให้เขาแต่เขาใช้ไม่ได้อาจไม่เหมาะสมกับเขา สรุปคือเทคโนโลยีต้องเหมาะสมกับเขา ว่าเขาทำอะไรได้

- ออกแบบได้อย่างที่เขาต้องการ ควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน ทำแล้วได้กำไร และไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

- ให้คิดก่อนทำ ว่าจะทำอย่างไร

- ดอยตุง สร้างสรรค์ ยั่งยืน เป็นต้นแบบ พอเพียง มีศักดิ์ศรี

- การได้มาไม่ยาก ง่าย แต่ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป รักษาให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ยากกว่า

- เราต้องหาพันธมิตรที่ดี  พัฒนาฝีมือการออกแบบ ทำงานร่วมกัน Partner อย่างดี

- เมื่อทำงานแล้วเราต้องตอบให้ได้ว่าชาวบ้านได้อะไร

- ถ้าเป็นเงินของคุณ  ถ้าทำแล้วเจ๊ง เป็นเงินท่านจะทำหรือไม่  การทำงานทุกบาท ทุกสตางค์เราต้องถือเสมอว่าเป็นเงินของเรา ทำแล้วชาวบ้านได้อะไร วัดผลได้ โอกาสการศึกษามากขึ้น นำความรู้ ความสามารถกลับมาในพื้นที่ได้

- สิ่งแวดล้อมได้อะไร ต้องคำนึงถึงใจเขา ใจเรา เรามีโอกาส มีแค่ไหนถึงพอเพียง อย่าโลภ  การพัฒนาที่ดีขึ้น เช่น ป่าได้เพิ่มขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น มีอาชีพ หาเวทีอื่น ๆ ให้พวกเขาทำ

- เมื่อก่อนโลก 2 โลกข้างบน กับข้างล่าง คนข้างล่างชอบ Bully คนชาวเผ่าเขา อยากให้เขารักษาวัฒนธรรมเขาไว้ เพราะมีนักท่องเที่ยวอย่างเราที่ชอบ และขออยากถ่ายรูปกับชุดที่จัดเต็มที่

- เราต้องคำนึงถึง ชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม  ทำด้วยใจ ทำด้วยความรัก และการปฏิบัติจริง

- เราต้องคุยว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร เราต้องคุยกัน เราต้องทำต่อเนื่อง ให้เห็นถึงความมุ่งมั่น พัฒนา  เชิญ ธันวาคม – มกราคม เสาร์-อาทิตย์ งานสีสันดอยตุง

- ใครทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ชุมชนเริ่มทำ  มีศูนย์เด็กใฝ่ดี มีการนำเด็ก ๆ ให้มีอะไรทำ เพราะถ้าเด็กไม่มีอะไรทำอาจเข้าสู่การรับจ้างขนยา

- สร้างเด็กให้ดี ไม่ว่าอยู่ที่ไหนเขาก็เป็นคนดีของสังคม

- จุดที่ต้องพัฒนาคือการปลูกป่าดอยตุง เป็นการปลูกป่าเชิงเดี่ยว ไม่มีความหลายหลายทางชีวภาพ ขยายผลปลูกป่าจากดอยตุงสู่ป่ามะหัน และปูนะ

  • - มีกิจกรรมอื่นให้ชาวบ้านกิน มีกิจกรรมอื่นเสริมให้มีรายได้เพียงพอ แล้วป่าจะเกิดขึ้นเอง  การปลูกป่าแบบไม่ปลูกจะมีความหลากหลายทางธรรมชาติดีที่สุด

บทเรียนที่ได้เรียนรู้เรื่องศาสตร์พระราชา

ได้เรียนรู้อะไร และหลักการที่ท่านจะนำไปใช้คืออะไร

1. ตั้งแต่เมื่อวานได้เรื่องหลักการคือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข , 3 S, การเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นหัวใจไปต่อยอดการพัฒนาต่อ ที่ได้เรียนรู้วันนี้มีหลายเรื่องทั้งในเรื่องกาแฟ ทักถอ

การปรับใช้ เรื่องภาษีที่ดิน มีเรื่องงานระบบส่ง การเข้าถึงราษฎร เป็นประโยชน์มากที่จะต้องใช้ความเข้าถึง และเข้าใจ ถึงดำเนินโครงการได้สำเร็จ

2. ที่เห็นวันนี้ เชื่อว่าการพัฒนาดอยตุง ที่ผู้นำชุมชนได้ฟังท่าน แนวทางปฏิบัติเหมือนกัน สิ่งที่เกิดกับแม่ฟ้าหลวงเป็นจริง ถ้านำไปปฏิบัติ ในการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เชื่อว่าองค์กรจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนจริง ๆ

          งานพัฒนาคือเรื่องการผลิตไฟฟ้า สิ่งที่นำไปใช้คือการรู้ข้อมูล ปัญหาแท้จริงคืออะไร สิ่งที่จะแก้ไขได้อย่างถูกต้อง งานเกี่ยวกับชุมชน พูดถึงหลักการที่นำไปใช้ด้วย

3. สิ่งที่ได้ดูงาน ที่คิดว่าไปปรับใช้ได้เลยคือโรงเรียนใฝ่ดี ที่ชอบใจคือ สถานประกอบการสีเขียว สีเหลือง และสีส้ม คือสิ่งที่เตรียมไว้ให้ กับสิ่งที่น้อง ๆ อยากเรียนรู้

          การปรับใช้คือปรับใช้ในพื้นที่บริเวณเขื่อน ให้น้อง ๆ ร่วมกันทำ และมีแนวทางที่จะร่วมมือกับนักเรียนภายนอกประมาณ 2-3 โครงการ มีการติว ให้นักเรียน มีการเข้าค่ายทหาร 4 คืน 5 วัน น้องๆ จะมาเป็นพี่เลี้ยง และ Staff ที่จะติวให้กับรุ่นต่อไป เดิมมีงบประมาณ 200,000 บาทต่อปี แต่หลังจากที่เข้ามาช่วงหลังเขื่อนภูมิพล งบประมาณโดนตัดคนที่จะเข้าร่วมโครงการไม่ถึง 200 คน อยากจะสานต่อโครงการนี้ มีค่ายเรียนรู้นอกห้องเรียน มีแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ตรงส่วนสถานประกอบการสีส้ม คิดว่าจะน่าจะเป็นส่วนที่ปรับปรุงโครงการเข้าค่ายให้น้อง ๆ น่าจะดำเนินการได้เลยในปีถัดไป

4. รู้สึกว่าชุมชนเข้มแข็งมาก ผู้นำมีภาวะผู้นำเข้มแข็งมาก มีงานจิตอาสา และร่วมมือกัน สามารถต่อไปได้ในอนาคต ที่มาของชุมชนเข้มแข็งไม่ได้มาง่าย ๆ ต้องไว้ใจ มีเราไว้ใจเขา และเขาไว้ใจเรา ต้องมีการทุ่มเทอย่างมาก

5. การดำเนินการสอนได้รู้โครงการ 3 S และการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ถ้าเปรียบเทียบโครงการโรงไฟฟ้าวังน้อย ประสบปัญหาเรื่อง CSR มีการต่อต้านไม่ให้สร้างระบบส่ง ช่วงหนึ่งใช้เวลา 11 เดือนกว่าสำเร็จ ให้สร้างสายส่งไฟฟ้าเข้ามา พอสร้างโรงไฟฟ้าเสร็จ ชาวบ้านไม่พอใจ เพราะเดิมคือที่ทำที่นา แต่ กฟผ.ไปสร้างถนน ทำให้ที่ดินทำกินเปลี่ยนไป ใช้เวลา 6 เดือนในการคุยถึงทำให้โครงการไปต่อได้ กฟผ.ได้จ่ายเงินกองทุน 15ล้านบาท ต่อมาเงินกองทุนได้น้อย ผู้นำชุมชนพูดว่าการนำเงินกองทุนไปใช้ประโยชน์ แบ่งปันให้แต่ละตำบลไม่เพียงพอ ได้มาคุยกับ กฟผ. สร้างโรงไฟฟ้า เพื่อให้มีกองทุนพัฒนา ปัญหาที่ผ่านมาคือ กฟผ. สนับสนุนให้เลี้ยงไก่ และเลี้ยงปลา แต่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ ไก่และปลาตาย ตอนหลังจึงไปสอบถามชาวบ้านว่าอยากทำอะไรได้เข้าไปสอนเขาให้เขาได้เรียนรู้ ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์กระจายทั่วอำเภอ เราทำตามเป้าหมายเขา และทำให้เขายั่งยืน มีการเข้าถึง และสอบถามว่าเขาอยากได้อะไรและทำตาม

6. จากการได้เรียนรู้จากโครงการฯ คือ โครงการมีเป้าหมายที่แน่วแน่ชัดเจน คือแก้ปัญหาคนพื้นที่ด้วยการปลูกป่า และพืชเศรษฐกิจ ด้วยวิธีการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มีการมองจาก ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ถึงจะได้เห็นภาพ ขอชมเชยทีมงานโครงการที่มีโครงการดี ๆ ให้ผสกนิกรชาวไทยทุกคน

          การดูแลเรื่องโรงไฟฟ้าภาคใต้ จะนำมาใช้ด้านการดูแลระบบส่ง เนื่องจากเห็นปัญหาเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในระบบไฟฟ้า เราสามารถนำตรงนี้ไป Apply ดูว่าปัญหาเป็นอย่างไร สามารถชักชวนให้เกิดความมั่นคงได้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

7. โครงการใช้ศาสตร์ของพระราชาในการการเข้าใจ และเข้าถึง ก่อน โดยเริ่มจากการไว้ใจก่อน เช่น ถ้าคุยเรื่องยาเสพติดเขาจะเลิกทันที เพราะเหมือนเขาโดนปืนจ่ออยู่แล้ว และพูดเรื่องความจริงใจ และแก้ไข ไม่ใช่ทำแค่ให้เสร็จ ๆ ปิดและไปแล้ว เช่นการปลูกชา ต้องปลูกให้ได้ผล

          การพัฒนา ถ้าดูว่าทำผักขาย ได้ราคาผักก็ได้แค่นี้ แต่ต้องทำเป็นเกรดพรีเมี่ยม สมกับที่ลงทุน เช่น แมคคาเดเมีย5ปีต้องเห็นผล ถ้าไม่ได้ผลชาวบ้านจะหาย และเรื่องการตลาด จะเป็นการร่วมกันคิดทุกฝ่าย มีเป้าหมายทั้งองค์กรไปด้วยกัน แต่ กฟผ. Vision มาจากไหน จึงทำให้เห็นทิศทางที่ไปไม่เป็นหนึ่ง ให้เข้าใจก่อนว่าเขาคิดอย่างไร ให้เข้าให้ถึงความคิดก่อน และน้อง ๆ รุ่นใหม่ เราต้องเข้าใจเขา ไม่ได้ไปคุยกับเขา ไม่ได้คุยว่าสาเหตุที่เป็นอย่างนี้เพราะอะไร ไม่ใช่ไปบอกว่าต้องทำอย่างนี้ เพราะเด็กเหล่านี้คิดเป็น เมื่อไม่พอใจเด็กรุ่นใหม่ไม่ได้คุย แต่โพสต์ลง Social  เราต้องเข้าถึง และมีทางเลือก ทำจากเล็ก ๆ ให้ Output ออก อย่าทำแบบ Perfect Man แต่เขาไม่ได้ใช้ครบ ราคาแพง เขาอาจรับไม่ได้ ต้องรู้ว่าเขาต้องการอะไร เราจะออกแบบแค่ไหน แล้วจะเป็นไปได้

วันที่ 11 กันยายน 2563

** ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับชาวบ้านและการลงพื้นที่จริง

นายถนอม ใจการ ผู้จัดการฝ่ายภาคสนามอาวุโส

          สมเด็จย่าฯ อายุ 87 เริ่มทำงานใหม่ แต่เราอายุ 60 ปีอาจคิดแค่เกษียณ ต่างกันที่หลักคิด คือพระองค์ท่านคิดเพื่อช่วยคน ให้ดูทั้งทางตรงและทางอ้อม

          หลักแรกคือ สมเด็จย่าฯ เป็นใครมาทำอะไรที่นี่และทำเพื่อใคร ปู่ ย่า ตา ยาย มีระบบให้เราหรือไม่ ต้องตระหนักให้ดี  จปถ. คือของหน่วยงานพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย  มีการรวบรวมข้อมูลไป จะรวมที่ท้องถิ่น อำเภอ หรือจังหวัด ต้องมีข้อมูล คุณภาพข้อมูลที่ได้มาจะได้สนับสนุนเราในการไปทำอะไรก็ตาม  การทำอะไรต้องมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจ  อีกเรื่องที่เราต้องตระหนักคือเรื่องภูมิสังคม เราต้องเรียนรู้ควบคู่ไปด้วยว่าไปท้องถิ่นไหน ภูมิสังคมเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรตระหนักมาก ๆ

          ยกตัวอย่างเรื่องการทำงานต้องปรับตามภูมิสังคม ภูมิประเทศ คือ หัวหน้าพนักงานไฟป่าที่แม่ฟ้าหลวง มีความตั้งใจดีที่จะดับไฟป่า แต่พาน้อง ๆ ไปเสียชีวิต 5 คน เนื่องจากทำงานโดยลืมคำนึงถึงภูมิสังคม ภูมิประเทศ ซึ่งทางแม่ฟ้าหลวงฯ ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก  สิ่งที่ควรทำคือ เราต้องเรียนรู้ที่จะปรับตามภูมิสังคม ภูมิประเทศ  ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันของแต่ละที่มาใช้กับที่อื่น

          ตัวอย่าง Quick Hit คือ แพทย์ อสม. รักษาตัวเองให้อยู่รอด วันนึงมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาที่แม่ฟ้าหลวง อสม. มากับโครงการพัฒนาดอยตุง มีตัวอย่างตอนไปทำที่พม่าปี พ.ศ. 2545 พื้นที่ว้าประมาณ 1 แสนคน เป็นโรคหิด เหตุเกิดจากเสื้อผ้า ผ้าห่มไม่ได้ซัก และมีแมลงที่อยู่ในเสื้อผ้าไปกัด ทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มเต็มตัว แท้จริง โรคหิดมียาอยู่ เอายามาทาแล้วหาย

          เราเองต้องเตรียมพร้อมในการช่วยให้เราหายใจให้ดีขึ้น

          การที่ กฟผ. ลงพื้นที่ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี มีการทำข้อมูล ให้ชักชวนคนต่าง ๆ  ให้คนได้รับประโยชน์จากที่เราทำ  กฟผ.จะได้ชื่อไปด้วยว่าทำจริง

          ความผิดพลาดของแม่ฟ้าหลวงคือ

          1. เรื่องป่า แม่ฟ้าหลวง ผิดพลาดตรงปลูกต้นสนโดยไม่ดูบริบทของภูมิประเทศ เพราะความจริงภูมิประเทศที่นี่ต้องให้ปลูกป่าหลายอย่าง และธรรมชาติขึ้นเอง  แต่ตอนนั้นทำโดยไม่ได้ศึกษาและรู้ข้อมูลเพียงพอ

          2. เรื่องไฟป่า แต่ก่อนไว้ใจกรมอุทยานและเจ้าหน้าที่ไฟป่า โดยไม่มีการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินเพิ่ม  มีวันนึงต้นเดือนเมษายน ไฟไหม้เกือบถึงพระตำหนัก สิ่งที่ต้องทำคือ มีการดูแลระดับหนึ่ง และควรมีการเตรียมความพร้อมระดับ 2 และระดับ 3  เราต้องมีการช่วยกันแก้ปัญหา การจัดการอย่างดีจะช่วยวางแผนได้ดี การมี Database สำคัญมาก จะช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูล ภูมิสังคม และภูมิประเทศได้อย่างดี ต้องมีการเก็บข้อมูลในพื้นที่ว่ามีอะไรเป็นอย่างไร

          ทุกที่ที่ แม่ฟ้าหลวงไปทำ เก็บข้อมูลทั้งหมด สิ่งสำคัญคือมีวิธี และเทคนิคที่ทำงานได้

          3. ที่สะเทือนใจคือ การกินหมู กินไก่ ชาวบ้านต้องเตรียมให้ และมีปัญหาเรื่องเวลาที่ไม่ตรงกันระหว่างส่วนราชการและชาวบ้าน ตอนแรกมีปัญหาเรื่องท่อประปาที่ให้มาชาวบ้านไม่สามารถใช้ได้ ต่อมา ประชาสงเคราะห์ ถามหมู่บ้านว่า ชาวบ้านต้องการอะไร คำตอบคือท่อประปา ได้ส่งท่อประปามา จึงสามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามที่หมู่บ้านต้องการ และใช้ได้จริง ต่อมาประชาสงเคราะห์มาเมื่อไหร่ไม่มีปัญหา

สรุป สิ่งที่อยากฝากไว้ให้กับ กฟผ.คือ

1. ความใกล้ชิด สนิทสนม ความไว้ใจซึ่งกันและกัน ต้องมีการเปิดตัวให้ชัดเจนไม่ยุ่งเศรษฐกิจ

2. การหาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการตัดสินใจง่ายขึ้น

3. การเก็บข้อมูลและการติดต่อกลับมาต้องมีคนรับข้อมูลตลอดเพื่อประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ทำไมต้องช่วยว้า

ตอบ มาทางระบบ ทางรัฐบาลกลางสั่งมาว่า ต้องเป็นแม่ฟ้าหลวงเท่านั้น

2.  ดร.จีระ เสริมว่า ในภาพใหญ่ มูลนิธิฯ ได้รับเกียรติจากต่างประเทศให้ไปช่วย เช่น พม่า เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง  เป้าหมายของโลกาภิวัตน์คือการทูตที่ยิ่งใหญ่ 17 Sustainable Development Goal เป็นเป้าหมายที่นำไปสู่ Mean คือเศรษฐกิจพอเพียง ต่างประเทศ และโลกยอมรับมาก แต่เราไม่เข้าใจ  การไปพม่า ไม่ได้ไปเพื่อตัวเอง แต่ในนามประเทศ มีการปรับตามบริบทของพื้นที่ เรื่อง Clarity เป็นสิ่งสำคัญ  เมื่อจบกลับไปแล้วขอให้คิดถึงศาสตร์พระราชา การพัฒนาต้องมี Action ไปแก้ Action เดิม และปรับ Action ใหม่ ในอนาคตจะทำอะไรร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการ ข้อดีคือรู้จักต่อเนื่อง รู้จักทุกคน  เป็นวัฒนธรรมที่คนข้างนอกไป Integrate ยากมาก ประเด็นเรื่องต่างประเทศเป็นประเด็นที่ต้องรักษาไว้ด้วย กฟผ.ต้องมีแนวคิดคือ Global และ Apply Local ด้วย  เพราะชายแดนอันตรายมากมีทั้งทหาร ยาเสพติด มีชนชั้น เราจะทำให้ชนชั้นเกิดความสงบขึ้นได้อย่างไร ถ้าเอาแนวศาสตร์พระราชาไปใช้ นอกจากการแบ่งแยกเชื้อชาติที่แก้ไขได้แล้ว อาจสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้ได้ด้วย

          คุณชาย ม.ร.ว.ดิศนัดดาได้ถูกเชิญไปสร้างสันติภาพที่อัฟกานิสถานอยากให้เรามองความยิ่งใหญ่ตรงนี้ด้วย

ตอบจากการไปในพื้นที่ว้ามีรูปในหลวง ร.9 และราชินีไว้ที่บ้านด้วย สิ่งที่พบคือ ยาเสพติดแหล่งผลิตอยู่ที่ว้า พม่า ถ้ารุกโอกาสชนะมี ถ้าตั้งรับมีแค่เสมอกับแพ้ ดังนั้นการตั้งงบประมาณ จึงเป็นการคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติกับพื้นที่  จึงต้องทำเพื่อรุก และแก้ปัญหา ในเรื่องคน อย่างที่มาเลเซีย และแก้ปัญหายาเสพติด

          ตอนไปช่วยพม่า มีการอพยพว้าจากทางเหนือลงมา และแทบไม่มีที่อยู่ ในหลวง ร.9 มองว่าพม่าเป็นเหมือนเพื่อนบ้านเรา จึงขอให้ส่งมูลนิธิฯ ด้วย 2. เรื่องความมั่นคง ถ้าไม่ช่วยปัญหาโรคเท้าช้าง และอื่น ๆ จะตามมาหมด ถ้าเข้าไปแก้ในพื้นที่จะช่วยป้องกันการมีปัญหาเข้าประเทศไทย และยังสามารถช่วยเรื่องการทำกินกับชนในเผ่าพม่าได้ดียิ่งขึ้น บทบาทหน้าที่ไปสร้างความหวัง ความเชื่อให้ลุกขึ้นมาแก้ไขด้วยตัวเอง

3. การเข้าไปของ กฟผ. มีทั้งที่เข้าใจ และมีส่วนแย้งจะทำอย่างไร

ตอบมีที่ไม่เห็นด้วยทั้งหมด อย่างที่ประชุมโอเค แต่ลับหลังประชุมไม่โอเค ชาวบ้านเบื้องต้นยังไม่เชื่อมั่นว่าดอยตุงมาแบบไหน เราต้องสร้างความเชื่อมั่น คือ พัฒนาชุมชน แน่นอน เพราะเขากลัวดอยตุงจะอ้างสถาบัน และมาทำเรื่องต่าง ๆ  เขาจะตั้งป้อมไว้ก่อน แล้วค่อย ๆ ดูไป

นายพงษ์ศักดิ์ อภิสวัสดิ์สุนทร ผู้จัดการส่วนพัฒนาสังคม / ประธานสภา อบต.แม่ฟ้าหลวง

          ทุกพื้นที่ที่มูลนิธิฯ ไปดำเนินการเกิดจากความต้องการของชุมชน ความต้องการของชุมชนเกิดจากอะไร และเราจะสร้างอย่างไร เราต้องเจอ NGOs ต่อต้าน และหลายสิ่ง ดังนั้น ก่อนลงพื้นที่ หน่วยงานที่ส่งไปต้องมีข้อมูลก่อนเข้าพื้นที่ ปัญหาบริบทเดิมเป็นอย่างไร เป็นข้อมูลเบอร์ 2

          1. การพัฒนาต้องใช้ข้อมูลจริง เช่น ต้องมีการรู้ว่าน้ำมีปัญหาหรือไม่

          2. การสร้างความศรัทธา หรือความเชื่อ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเข้าในพื้นที่ แล้วชาวบ้านเกิดความเชื่อว่าต้องทำสำเร็จ เข้าไปอยู่และนอนในพื้นที่ เช่น เล่าต๋า มีความยิ่งใหญ่ระดับขุนซาร์  คุณชายดิศนัดดาเข้าไปพูดคุย และนอนในหมู่บ้านเลย

          3. การค้นหาปัญหา โดยเข้าไปดูภูมิสังคม ดูศักยภาพ การคิดแก้ไขปัญหาคนจน

ปริญญาตรี โท เอก ไม่ต่างกัน มีการคุยกับชาวบ้าน สิ่งที่เราจะมองคือ ดิน น้ำ ป่า อาชีพ ที่เราต้องคุยร่วมกัน อะไรที่จะพัฒนาต้องใช้เงิน เช่น น้ำมีเพียงพอหรือไม่

          เรื่องที่ทำกิน การได้รับสิทธิที่ทำกิน ประเด็นไหนที่ง่าย และทำเห็นผลใน 3 เดือน ทางทีมงานเรียกว่า Quick Hit คือทำงานนี้ได้แล้ว สิ่งที่ได้คือ เจ้าหน้าที่และชาวบ้านทำงานด้วยกัน เมื่อทำงาน Quick Hit , Quick Win เราจะได้ข้อมูลจริง

          ปัญหาเรามีอะไร เราต้องเริ่มจากการมองเล็ก ๆ ว่า มีผลต่อส่วนใหญ่อย่างไร เช่น น้ำจะมีผลในภาพรวมอย่างไร ขุดตามหลักการจริง ให้มีความรู้จริง  เมื่อเข้าในพื้นที่ได้ข้อมูลจริง การแก้ไขปัญหาจะนำชุมชนมาร่วมกันในการคิด วางแผน วางปัญหาร่วมว่าจะทำตรงไหน

          ยกตัวอย่าง กลุ่ม NGOs เหมือนกัน จังหวัดน่านเคยพูดว่า “มังกรต่างถิ่น หรือจะสู้งูดินในพื้นที่” เขาเชื่อว่าเขามีความสามารถ แต่ดอยตุงก็ไม่โต้เถียง ได้เชิญเขามาที่ดอยตุง และให้เขาคิดในบริบทของพื้นที่เอง ปรากฏว่าเขาทำไม่ได้ ดอยตุงเลยเชิญเขามาร่วมคิดกับดอยตุง โดยให้เอาประโยชน์ของชาวบ้านเป็นพื้นฐาน สิ่งที่คิดทำตอบโจทย์ใคร ให้เขาคุยกับชาวบ้านว่าชาวบ้านจะเลือกข้างไหน

          การดำเนินงานไม่เน้นการต่อสู้ หรือตอบโต้ สามารถสร้างประโยชน์ให้พื้นที่และถิ่นเกิดของเขา  มีคำถามว่ามูลนิธิฟ้าหลวงฯ ทำไมช่วยคนจน ไม่ช่วยคนรวย คำตอบคือ สมเด็จย่าฯ ช่วยคนโดยไม่ดูชนชาติ วรรณะ แต่คนรวยไม่มีศักยภาพ ถ้าช่วยให้เขามีศักยภาพ จะช่วยให้เขามีรายได้ และเขาจะกลายเป็นส่วนที่ช่วยสังคมต่อไป

          การดำเนินงานในพื้นที่จะไม่ใช้อำนาจ มีตัวอย่างการเกิดมาลาเรีย ดอยตุงลงพื้นที่ต้องต่อสู้ทั้งอุปสรรค และต้องดูแลสุขภาพให้ดี

          การคิดค้นดำเนินงาน ต้องคุยจากปัญหาที่เขาเจอ แล้วเราเอาความรู้ที่เราไปดูงาน อบรม ใส่เข้าไป กระบวนการความรู้ใส่เข้าไป  แล้วสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม

สรุปคือ

1. สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ

2. วิเคราะห์ปัญหาจากบริบทในพื้นที่

3. ใส่ความรู้ องค์ความรู้ในการบริหารจัดการ

4. สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการกลุ่ม

5. สร้างการสื่อสารที่ดี

6. ได้มวลชนในการทำงานร่วมกับเรา สนับสนุนแนวทางหรือประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับเป็นตัวผลักดัน

7.  เราจะทำอะไร อย่างไร รู้จริง ทำจริงและวางแผนร่วมกัน

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. เรามีวิธีการบริหารจัดการคนในพื้นที่ให้ทำงานร่วมกับเราอย่างไร

ตอบ พื้นที่ ที่เราทำงานมีตัวต่อ ให้ชาวบ้านส่งเข้ามา เช่น ตำบลแม่ฟ้าหลวงมีกี่หมู่บ้านให้คัดตัวแทนขึ้นมา เมื่อออกไปแล้ว คนกลุ่มนี้จะได้ทำงานแทนเรา หรือทำงานกับคนกลุ่มนี้ได้อยู่ ชาวบ้านจะได้ความร่วมมือร่วมใจ

2. การไปช่วยต่างประเทศ เราไปช่วยอะไร งบประมาณจากไหน

ตอบ ทุกที่ที่ทำงานมีงบประมาณนำเสนอ เราใช้วิธีการทางเลือก ส่วนใหญ่เป็นทาง รัฐบาลต่างประเทศสนับสนุน และ UN ให้สนับสนุน ในพื้นที่ที่ไปทำงานมีเงินเยอะ แต่ทำไม่สำเร็จ จึงขอให้แม่ฟ้าหลวงไปทำ การไปไปในนามประเทศไทย ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นส่วนหนึ่ง การเข้าไปไม่ใช่เรื่องง่าย

          ดอยตุง เป็นต้นแบบไม่ใช่แค่ไทย แต่สามารถช่วยต่างประเทศที่มีปัญหา อย่างเรื่องยาเสพติด มีการส่งคนมาศึกษาหรือดูงานเกือบ 2 เดือน  แต่ละที่มีกระบวนการ เมื่อติดขัดอาจหาวิธีแนะในพื้นที่

เราต้องอยู่ในพื้นที่จนเขาเกิดความไว้วางใจ สร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในตัวเรา

3. การเข้าไปแบบหลีกเลี่ยงการปะทะ หลีกเลี่ยงการตอบโต้ ชวนกันอย่างไร

ตอบการลงพื้นที่ เราต้องหาข้อมูลก่อนว่าใครคือหัว ใครคือ NGOs แล้วเรามาร่วมกันไหม เอาประโยชน์ของชาวบ้านเป็นที่ตั้ง เดินพื้นที่ร่วมกัน จะช่วยกันอย่างไร กลุ่มนี้เห็นอะไรให้เขาสรุปก่อน การอยู่ในพื้นที่จากคนที่ไม่เคยเห็นหน้า ก็ต้องโผล่ออกมา เราต้องหาคนให้เจอ แล้วมาเจอหน้ากัน ตัวอย่างที่น่าน มีทุกส่วนงานทำในพื้นที่และทำร่วมกัน

4. ดูว่าดอยตุงเหมือนมีความสำเร็จแล้ว สามารถไปต่างประเทศได้แล้ว อยากทราบวิสัยทัศน์ของโครงการดอยตุงหรืออนาคตข้างหน้าว่ามองไว้อย่างไร จากที่ดูเหมือนเป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์ไปต่อยอด นอกจากนี้มีอะไรบ้าง

ตอบดอยตุงดูแลเรื่องหลักการสมเด็จย่าฯ ให้คนอยู่ร่วมกับป่า ให้คนมีความยั่งยืน การพัฒนาพื้นที่ไม่ใช่พัฒนาเป็นแนวระนาบ การไม่ให้ปลูกป่าง่าย ต้องให้คนรุ่นใหม่กลับมาดูแลป่าอย่างไร  อย่างเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม การล่าสัตว์ มีหลักการอย่างไร  ปลูกป่าแบบไม่ปลูก รวมถึงหลายสิ่งหลายอย่าง และเมื่อตกเส้นพัฒนา ฟื้นฟูป่า ในอนาคตต้องให้ชาวบ้านเห็นคุณค่า  ถ้าทำชาวบ้านต้องหาข้อมูล เราจะให้ประโยชน์ตกถึงชาวบ้านได้อย่างไร  เราจะฟื้นฟูให้เป็นต้นแบบได้อย่างไร  เราต้องหาเหตุและผลในการวางแผน

          คนของเรา เราต้องดูแล เพราะนี่เป็นป่าของเขา เป็นพื้นที่เขา เขาจะดูแลป่าอย่างไร คนเคยล่านก  ล่าสัตว์ เปลี่ยนได้หรือไม่ เขาเป็นผู้สอนเอง ชุมชนบนดอยตุง ต้องพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน เราไม่สามารถช่วยได้ มีต้นแบบอย่างนี้ ท่านน่าจะเป็นพลังในการพัฒนาประเทศได้อีก

          สิ่งที่หวังคือ หวังให้ท่านไปทำในสิ่งที่เป็นศาสตร์พระราชาและตำราแม่ฟ้าหลวง ขอให้ไปดูงาน และทำจริง เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติร่วมกัน

5. การพัฒนาดอยตุง ในความคิดจะทำอย่างไรถึงไม่ยึดติดความสำเร็จและความเป็นเจ้าของ  ทำได้อย่างไร

ตอบคุณพงษ์ศักดิ์ เขามีความชัดเจน เพราะเขาเป็นคนดอยตุง ตัวเขาจบปริญญาโท ถ้าเขาทำที่อื่น ได้ช่วยคนในบริษัทนั้น แต่ทำที่ดอยตุง ได้ช่วยชุมชน บ้านเกิด ครอบครัว และนอกจากนั้นได้ช่วยมนุษยชาติ ส่วนคุณถนอม หรือคุณนัน คิดว่าสิ่งที่ยึดเหนี่ยวให้เราอยู่ได้ 26-27 ปี สัมผัสได้ถึงแววตาแห่งความเป็นมิตรภาพ ครอบครัว ได้เกินกว่าค่าจ้าง เหมือนเป็นญาติพี่น้อง  ความรักและเอ็นดูจากเขา เราสัมผัสได้ ถ้าไปอยู่ที่อื่น หรือเริ่มต้นใหม่อาจไม่ได้แบบนี้ หรือในหมู่บ้านอาจไม่ได้สัมผัสได้เหมือนที่ดอยตุง หรืออย่างคริส เห็นตั้งแต่เด็ก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          มองตัวเองถือว่าเป็นข้าวนอกนา หรืออยู่ข้างนอก แต่ที่นี่ทำทุกปี สิ่งที่เห็นคือต้องปรับตัว ต้องเรียนรู้ ยิ่งมาศาสตร์พระราชามากเท่าไหร่ต้องนึกถึงที่นี่ มาที่นี่พิเศษหน่อยคือเนื่องจากมีโควิด 19 ทำให้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม รุ่นหนึ่งก็ดี รุ่นสองก็มีพัฒนาขึ้น เมื่อเห็นกรณีศึกษาดอยตุง เห็นบริบทของดองตุง พอเป็นบริบทของ กฟผ. ทีม ดร.จีระ เป็นเสมือน Facilitator  ชอบใช้ Learning how to learn แต่นอกจากกระตุ้นให้คิดแล้ว ยังกระตุ้นให้ทำด้วย

          กฟผ. ในเรื่องชุมชนต้องทำต่อ มีการนำศาสตร์พระราชาและมาดูดอยตุง ทุกคนในห้องนี้ต้องไปค้นหาตัวเอง  มีหลายคนในอดีตที่เป็นประธานรุ่น เห็นความสำคัญของการจัด Morning Coffee

          การกลับไป อย่าเก็บความรู้ข้อมูลด้วยตัวเอง ต้องแบ่งปันคือ ลูกน้อง  และส่วนสำคัญคือเจ้านายด้วย อย่างท่านกรศิษฏ์ แม้ท่านเกษียณแล้วท่านก็จะช่วย การที่ท่านมา อาจารย์จีระ ก็ได้ความรู้ด้วย นอกจากนี้ที่ต้องคำนึงถึงคือ Stakeholder ,มีการเมือง ชุมชน เพื่อนร่วมงาน และ Union เป็นต้น

          การนำไปเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา กฟผ.จะนำไปใช้ตรงไหน สิ่งที่ขอคือ ถ้าในอนาคต มีกิจกรรมอะไรก็ตามที่ท่านไปทำ

ผู้ว่าฯ กรศิษฏ์

          ชอบวีดิโอดอยตุง เป็นตัวที่ชอบมากที่สุด เพราะมีประสบการณ์ดอยตุง ที่สะท้อนในมุมของ Bureaucracy และเรื่องอื่น ๆ อีกมาก วีดิโอชุดนี้ตอนจบมีการหักมุมคือ ไปชอบลูกสาวเจ้านาย ผลคือสร้างได้ทั้งมิตรและศัตรู

          เห็นหลักสูตร 3 วันรู้สึกอย่างไรบ้าง ตอนเป็นผู้ว่าฯ เริ่มคิดเรื่องนี้ได้ในขณะที่ กฟผ.เน้น CSV แต่ทั่วโลกเน้น SDG  วันนึงทีมงานไปเรียนกับอาจารย์ยักษ์ เลยพิสูจน์ได้จริง จะเห็นได้ว่าดอยตุงไม่ได้รู้ทั้งหมด เห็นมืออาชีพ  ไม่ใช่ยกระดับให้ดูแตกต่าง เราต้องหา ต้องรู้หมดว่าเป็นอย่างไรให้เขาช่วยเราได้ เว้นแต่คนที่มีจิตอาสาจริง ๆ ของฟรีไม่มีในโลก การจัดการทำอย่างไรถึงเป็นประโยชน์ทั้งสองฝ่ายคือ Win-Win ยกตัวอย่าง การนำโซล่าร์ มามีปัญหาเรื่องการดูแลรักษา เห็นว่าจะสำเร็จต้องมีช่างประจำหมู่บ้านรับงานช่วยแก้ และให้มีรายได้

          การทำงานทุกอย่างต้องทำให้ครบ ให้มีวิธีการ Organize เรื่องรายได้ และต่อไปต้องมี Routine มีกระบวนการจัดการให้มีคนแห่มาทำ ที่มามาจากไหน ต้องทำงานร่วมกับชุมชน ใช้ปุ่ม ใช้ประชาคม  การไปยัดเยียด เป็นไปไม่ได้  เพราะถ้าเขาไม่ทำ ไม่ดูแล ไปไม่รอด เขาต้องเน้นทำอย่างไรให้มีความสุข

          วัดนึงถ้าไปช่วยชุมชน  เราเป็นผู้นำ ต้องมีทริค วิธีการ และอดทน  มีการสร้างข้อเชื่อมต่อได้

เรามีการ Focus ที่ชุมชน  การศึกษามีไปดูในหลายๆ ที่จึงทำให้รู้ แต่ก็ต้องมีการพัฒนาเรื่อย ๆ  เป็นนักปฏิบัติมาโดยตลอด และรู้วิธีการพัฒนาคน สิ่งที่เห็นคืออย่าไปรังเกียจงานที่ไม่ชอบ  เพราะโดยส่วนตัวได้ดีเพราะงานที่ไม่ชอบ อย่าไปเกี่ยงงาน ทัศนคติในการทำงานสำคัญ

ได้ข้อคิดอะไร มีการปรับเรื่อย ๆ หลักสูตรตอนเช้าชอบมากที่สุด เพราะ กฟผ.มีปัญหาในเรื่องการ Approach ชุมชน อยากให้ลองดู และไปคิดเองว่าจะไปพัฒนาและปฏิบัติอะไรต่อ  อยากทำงานเพราะมี Passion ในการช่วยเหลือประเทศ อยากทำงานเพื่อสังคม และช่วยประเทศชาติ

สิ่งสำคัญที่ดอยตุงพูดคือเรื่องความต่อเนื่อง และใครจะเป็นคนต่อเนื่อง เพราะไม่ได้สร้างกระบวนการให้ต่อเนื่อง เราต้องคิดหากระบวนการให้ดูแลตนเองได้อย่างต่อเนือง

สิ่งที่ดอยตุงจะทำคือให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น สิ่งที่บริษัท นวุติ ทำเป็นลักษณะ Social Enterprise ความต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ เป็นกระบวนการสร้างความยั่งยืน ต้องมีคนคิดเรื่องนี้ สร้างความต่อเนื่องในการดูแล ถ้าจัดวางอย่างถูกต้อง

เรื่องที่ไม่ค่อยได้พูดคือเรื่อง 2 เงื่อนไข คือความรู้ และคุณธรรม สิ่งสำคัญคือการบ่งเพาะคุณธรรม เขาได้รับการยอมรับสูงมาก ไม่ต้องเลือกตั้งก็ได้ ต้องสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณธรรม

ให้ฟรี จะทำไม่ให้คนเห็นคุณค่า อย่าให้คนซื้อเราเพราะสงสาร  อย่าบิดเบือนตลาด  ธุรกิจเราทำอะไร ชาวบ้านได้อะไร เราต้องคิดให้รอบคอบ พูดแบบตรงไปตรงมา

ทำไมไม่หามืออาชีพ ให้ที่เขาไปและให้เขาบริหาร จะได้ผลที่ต่างกัน  ยกตัวอย่าง แม่เมาะจะทำอย่างไร ให้พื้นที่ดูสวยงามและน่าท่องเที่ยว มีวิธีคิดมากมาย แต่เราชอบอยู่ในกรอบ หวังว่ามาครั้งนี้ทุกคนจะได้แรงบันดาลใจ ให้คิดแล้วทำ

หมายเลขบันทึก: 682243เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2020 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กันยายน 2020 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท