คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

แนวปฏิบัติในการจัดบริการตรวจสุขภาพพนักงานกับการทำงานกับสารเคมี


"กระบวนการผลิตในปัจจุบันได้มีการนำสารเคมีมากมายหลายชนิดมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งสารเคมีบางชนิดก็เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต สารเคมีบางชนิดก็เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต สารเคมีทุกชนิดสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้สัมผัสซึ่งผู้ที่รับผิดชอบในการจัดบริการดูแลสุขภาพพนักงานจะต้องสามารถประเมินอันตรายจากสารเคมีแต่ละชนิดได้จึงสามารถจัดบริการการดูแลสุขภาพพนักงานได้อย่างเหมาะสม"

หลักในการประเมินอันตรายจากการทำงานกับสารเคมีแต่ละชนิด

  1. พิจารณารายชื่อของสารเคมีที่ใช้และปริมาณที่จัดเก็บเปรียบเทียบกับรายชื่อสารเคมีท้ายประกาศในกฎหมายความปลอดภัย   เรื่อง  ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย  ถ้าสารเคมีที่ใช้ตรงกับสารเคมีที่มีชื่ออยู่ท้ายประกาศฯ จะต้องจัดการตรวจสุขภาพให้กับพนักงานที่ทำงานสัมผัสสารเคมีนั้น
  2. ศึกษาข้อมูลจาก MSDS (Material  Safety  Data  Sheet) หรือข้อมูลในแบบแจ้งรายละเอียดของสารเคมีอันตรายในสถานประกอบกิจการ (สอ.1) ของสารเคมีแต่ละชนิดโดยพิจารณาจาก

2.1. ช่องทางการเข้าสู่ร่างกายของสารเคมี เช่นสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปาก ทางการสูดหายใจ หรือสามารถซึมผ่านผิวหนัง

2.2. ศึกษาค่า LD 50 (Median  Lethal  Dose)  คือปริมาณเข้มข้นของสารเคมีในการทดลองที่ทำให้สัตว์ทดลองตายลงเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของสัตว์ทดลองทั้งหมด  มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1  กิโลกรัม  และค่า LC  50  (Median Lethal Concentration)  คือปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศที่ทำให้สัตว์ทดลองตายจำนวนครึ่งหนึ่งของสัตว์ทดลองทั้งหมดมีหน่วยเป็นมิลลิกรัมต่อลิตร

2.3. พิจารณาค่า TLVs จากมาตรฐานที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 2,3 และ 4 ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย  เรื่อง  ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม  (สารเคมี) ถ้าค่า TLVs ยิ่งมีค่าน้อยแสดงว่าสารเคมีนั้นมีอันตรายหรือความเป็นพิษมาก

2.4. พิจารณาข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ  โดยพิจารณาจากอันตรายของสารเคมีที่อวัยวะเป็นเป้าหมาย เช่น

2.4.1. พิษต่อปอด และระบบทางเดินหายใจ

2.4.2. พิษต่อระบบประสาท

2.4.3. พิษต่อระบบโลหิต

2.4.4. พิษต่อตับ ไต และระบบสืบพันธุ์

2.4.5. พิษต่อระบบผิวหนัง

2.5. ในกรณีที่สารเคมีอันตรายหลายชนิดผสมกันอยู่  ให้พิจารณาสารประกอบแต่ละชนิดที่ผสมในสารเคมีนั้น  (ตามแบบ สอ.1)  โดยต้องระบุเปอร์เซ็นต์ของสารเคมีแต่ละชนิดที่เป็นส่วนประกอบและค่ามาตรฐานความปลอดภัย (TLVs และ  LD 50)  ของสารเคมีแต่ละชนิดด้วย

      การประเมินการรับสัมผัสปัจจัยเคมี ผู้ที่มีหน้าที่ประเมินควรทำการสำรวจการปฏิบัติงานจริงของพนักงานเพื่อให้ทราบถึงลักษณะการรับสัมผัสในแต่ละงาน  โดยมีหลักในการพิจารณาดังนี้

  1. พิจารณาว่ามีปริมาณสารเคมีในบรรยากาศทำงานมากน้อยเพียงใด  โดยสังเกตฝุ่น ฟูม  ไอของสารเคมีที่ฟุ้ง  คราบสารเคมีทีหกจับเป็นคราบ ความสะอาดของเครื่องแต่งกายของพนักงาน  อาจจะสอบถามพนักงานเกี่ยวกับอาการที่เกิดจากการสัมผัสสารเคมีในระหว่างทำงาน เช่น อาการแสบตา จมูก เวียนศีรษะ ฯลฯ
  2. พิจารณาว่าพนักงานผู้ใดบ้างที่ทำงานสัมผัสกับสารเคมี
  3. พิจารณาระบบการควบคุมทางวิศวกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  4. ประเมินอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่พนักงานใช้จริง เพื่อดูว่ามีความเหมาะสมสามารถป้องกันอันตรายจากสารเคมีที่สัมผัสหรือไม่และมีการจัดเก็บ การใช้ การทำความสะอาด
  5. พิจารณาลักษณะการปฏิบัติของพนักงานว่ามีการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัยหรือไม่
  6. ประเมินว่ามีสถานที่สำหรับให้พนักงานล้างตา ล้างมือ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าเพียงพอหรือไม่  และแยกบริเวณที่พนักงานใช้รับประทานอาหารและน้ำดื่มออกจากบริเวณที่มีการหรือไม่
  7. ดูว่ามีการจัดเก็บสารเคมีแต่ละชนิดหรือไม่

       การจัดบริการตรวจสุขภาพพนักงานที่ทำงานสัมผัสสารเคมีแต่ละชนิด จะต้องมีความเข้าใจถึงผลกระทบของสารเคมีแต่ละชนิดต่อสุขภาพ เนื่องจากสารเคมีแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน

                                               นรินทร์  แก้ววารี

                                              เจ้าพนักงานแรงงาน

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6815เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2005 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ทำอย่างไรครับถึงจะให้นายจ้างทราบว่าจะต้องมีการตรวจสุขภาพให้พนักงาน ค่าใช้จ่ายก็เยอะ ทางสวัสดิการฯ มีหนังสือแจ้งไปยังนายจ้างได้ไหมครับว่าที่ทำงานของนายจ้างต้องมีการตรวจสุขภาพประจำปีให้กับลูกจ้าง ข้อดีก็มีตั้งเยอะ
ใน www.chemtrack.org มีMSDS ฉบับภาษาไทยและอังกฤษ ของสารตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ อยู่จำนวนหนึ่ง  ผู้สนใจสามารถเปิดดูได้
ขอแสดงความขอบคุณ คุณวราพรรณ  ด่านอุตรา มา  ณ  โอกาสนี้ ที่ให้ข้อมูลแก่พนักงานราชการน้องใหม่ครับ  ข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์ในการทำงาน และประโยชน์ต่อสถานประกอบกิจการ ต่อผู้ใช้แรงงานที่เป็นกลไกกลุ่มสำคัญของประเทศ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท