โครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2563


เรียน    ผู้เข้าร่วมโครงการ

ตามที่ท่านได้ตอบรับเข้าร่วมอบรมในโครงการพัฒนาผู้นำและผู้บริหาร หลักสูตร “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0 และกิจกรรมลงพื้นที่ศึกษา “ศาสตร์พระราชา” และ“ดอยตุงโมเดล” ณ จังหวัดเชียงราย สำหรับกลุ่มที่ 1 ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม 2563           

ผมในฐานะผู้อำนวยการโครงการและเป็นตัวแทนในนามของ Chira Academy และมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศใคร่ขอขอบคุณอย่างสูงที่ท่านให้เกียรติและความไว้วางใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการในครั้งนี้

ผมและคณะผู้จัดฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะได้รับสาระ ความรู้ แรงบันดาลใจและช่วงเวลาของการเรียนรู้อย่างมีความสุขในกิจกรรมครั้งนี้

จีระ หงส์ลดารมภ์

สรุปการบรรยาย 

หลักสูตรศาสตร์พระราชากับการพัฒนาผู้นำยุค 4.0  ประจำปี พ.ศ. 2563  (ปีที่ 3)

ระหว่างวันที่ 26-29 กันยายน 2563
(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ลงพื้นที่ศึกษา “ดอยตุงโมเดล”

วันที่ 26 สิงหาคม 2563

** กล่าวต้อนรับคณะ ฯ

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ปีนี้เป็นปีที่ 16 ที่ทำให้กับทาง กฟผ. โชคดีที่เห็นการทำงานที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ โครงการศึกษาหลักสูตรศาสตร์พระราชาฯ นี้เป็นการริเริ่มของท่านผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ด้วย สิ่งที่จะทำ ทำไปเพื่ออะไร ปีนี้เป็นปีที่พิเศษ มีความหวังที่จะมีส่วนร่วมกับพวกเราทุกคน เราจะผนึกกำลังร่วมกัน

การมาที่ดอยตุง เสมือนเป็นสมรภูมิ เป้าหมายต้องการให้ศาสตร์พระราชานอกจากดูแลเพื่อชุมชนแล้วขอตั้งวัตถุประสงค์ 3 เรื่อง

1. เพื่อดึงศักยภาพที่เป็นเลิศของแต่ละคนที่ทำงานในกฟผ. ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นออกมา อาทิ ความจงรักภักดี Mindset Happiness

2. การสร้างผู้นำ ผู้นำในยุคต่อไปของ กฟผ.ต้องทันต่อเหตุการณ์ อาทิ เรื่องการเมือง เพราะแท้จริงแล้ว กฟผ.ไม่ใช่องค์กรที่มีหน้าที่แค่ผลิตไฟฟ้าเท่านั้น แต่เป็นองค์กรที่มีบทบาทต่อสังคม จะทำอย่างไร

3. การบริหารความหลากหลายสำคัญที่สุด การเรียนรู้เป็นการเอาศักยภาพตัวเองมา และเรียนกันเป็นทีม ทำให้ทุกท่านมองอนาคตในบทบาทของฐานะผู้นำ

คุณกรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

  ในมุมมองของ กฟผ. การออกจากตำแหน่งผู้ว่าการฯ  ถ้าไม่อยู่ในระบบของเขา อาจมีคนมองว่าเหมือนจะสร้างอะไรรองรับตำแหน่งไว้ แต่ความจริง คืออยากสานต่อในสิ่งที่ทำค้างไว้หลายเรื่อง ให้ต่อเนื่องและเกิดผลกับ คน กฟผ. และองค์กรเองในระยะยาว เพราะถ้าเป็นแค่ Regulator ไม่สามารถทำอะไรได้มาก

  ความภูมิใจของ กฟผ.คือได้ถวายงานใกล้ชิดพระองค์ท่าน มีคำตรัสพระองค์ท่านว่า ”ทำไมถึงปล่อยให้ราษฎรทุกข์ มาปิดหน้าเขื่อนสิรินธร” จึงเป็นเหตุจูงใจที่จะทำให้คนมีพื้นที่ทำกิน และไม่ตกสำรวจ เพราะที่เขื่อนบางพื้นที่ไม่มีน้ำ

          ปัญหาของ กฟผ. หลายเรื่องมาจาก Mindset ดังนั้นถ้ามองเรื่องการเปลี่ยน Mindset ก็สามารถแก้ไขได้ เปลี่ยนวิธีคิดแก้ไขได้

          เหตุผลการมาที่ดอยตุง เนื่องจากเห็นความสำเร็จของศาสตร์พระราชาที่ดอยตุง อยากให้ได้แรงบันดาลใจไปคิดต่อ และอยากให้เห็นว่าผู้นำเขาทำอะไร ทุกงานที่ดอยตุงสำเร็จ ก็มีความล้มเหลวมาด้วย แต่ในที่สุดก็สำเร็จจนมาถึงวันนี้ได้ ดังนั้นผู้นำสำคัญที่สุด เห็นถึงความอดทน สู้ มุมานะ ไม่ยอมแพ้ หลายครั้งที่งานไม่สำเร็จเพราะเราท้อ เราหงุดหงิด

          สิ่งที่ผู้นำต้องเปลี่ยน และต้องมีความยืดหยุ่น เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บางครั้งอาจมีการแก้ระเบียบถ้าเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องทำเร่งด่วน

          “หยุดคิดสมองเสื่อม หยุดทำเป็นง่อย Speed ต้องเร็วกว่านรก ไม่เช่นนั้น นรกจะมาขับเคลื่อนคุณ”

          ศาสตร์พระราชา 3 ห่วง 2 เงื่อนไข แนวความคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่  

การเลือกคน - เราต้องหัวไว ใจสู้ สำคัญที่สุดคือ เราต้องทำงานอย่างมี Passion ถึงจะขับเคลื่อนได้ บางครั้งสอนไม่ได้ แต่วัดผลได้

ศาสตร์พระราชาต้องหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ ความไม่มีกิน และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ถ้าเข้าใจสังคมจะเห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ พอเพียง แล้วขายส่วนเหลือ

สิ่งที่อยากให้ศึกษาดูงาน คือ เขาทำอะไรกัน เขามีกินกันอย่างไร แต่ส่วนใหญ่เราไปยึดติดกับเส้นยากจน

สิ่งที่พระองค์ท่านคาดหวังสุดท้ายคือความเอื้ออาทร อยู่ด้วยกันด้วยกติกาของเขา ไม่ใช่กฎหมาย กติกาชุมชน สุดท้ายความสำเร็จของศาสตร์พระราชามีทริคคือเรื่องการลงแขก แต่กฟผ.อาจไม่ค่อยเห็น และอาจทะเลาะกัน

** การขับเคลื่อนชุมชนได้ต้องมีแรงบันดาลใจ ทำไมถึงอยากทำ ทำไมถึงไม่อยากทำ

งานกฟผ.ในอนาคตไม่ใช่งานเทคโนโลยี สังคมจะยอมรับเมื่อเห็นสิ่งที่คุณทำนั้นมีคุณค่าต่อสังคม ให้ทำเพื่อประชาคม เพื่อสังคม มากกว่าตัวเองและองค์กร

3 วันนี้ขอให้ไปศึกษาว่าศาสตร์พระราชาแรงบันดาลใจแท้จริงคืออะไร ข้อมูลในปัจจุบันนี้เป็นทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลไม่จริง  ให้ศึกษาให้ดี เราต้องศึกษาและเข้าใจสังคมให้ได้ว่าเป็นอย่างไร เพราะสังคมมีความเข้าใจผิดว่า กฟผ. ต่อต้านพลังงานทดแทน แต่แท้จริง ไม่ใช่ กฟผ. ศึกษามานานแล้ว แต่มีประเด็นหรือมุมมองที่มากกว่านั้น ต้องศึกษาจากข้อมูลจริง เพราะแท้จริงเราไม่ได้แค่ผลิตไฟฟ้า แต่เราสร้างคุณประโยชน์ให้สังคม

ข้อคิดคือ ตอนทำโครงการฯ ได้เชิญอดีตผู้ว่าฯ มาครั้งละรุ่น และแต่ละท่านจะเน้นให้ทำเพื่อสังคม

เรียนรู้การทำงานของศูนย์ข้อมูลโครงการพัฒนาดอยตุง

“การพัฒนาที่มีประสิทธิผลต้องเริ่มจาก “ข้อมูลจริง” และ “การพัฒนาต้องวัดผลได้” โดยการวัดผลอย่างต่อเนื่อง

โดยคุณอมรรัตน์ บังคมเนตร ผู้จัดการเผยแพร่องค์ความรู้ และณัฐกร สวัสดิ์แดง และน้องคริส

การศึกษาดูงานจะเน้นการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้  หลายสิ่งหลายอย่างสามารถปรับมาใช้งานของเราได้

โครงการพัฒนาดอยตุงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งโดยสมเด็จย่าฯ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงดำเนินการ ชาวเขา ที่อยู่ห่างไกล เรียกสมเด็จย่าฯ ว่าแม่ฟ้าหลวง เพราะท่านเดินทางโดยแฮลิคอปเตอร์

พื้นที่ดอยตุง 106,980 ไร่ แต่ก่อนเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำ ถ้ำหลวงอยู่ในเขตดอยตุง สังกัดอำเภอแม่สาย และแม่ฟ้าหลวง มีชายแดนติดต่อพม่า 24 กม. โครงการตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531

คนส่วนใหญ่เป็นชาวเขา และคนกลุ่มน้อย อาชีพส่วนใหญ่ทำไร่เลื่อนลอย และปลูกฝิ่น สิ่งที่เห็นคือใช้เครื่องมือที่มีอยู่ปลูกข้าว ทำมาหากิน ชีวิตที่ทำมาหากินต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด ปลูกข้าวไม่พอกิน ก็ปลูกฝิ่น ชาวบ้านจะมองเป็นยารักษาตัว  และปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ในพื้นที่สูง แทรกกับการปลูกข้าวและพืชไร่ ดอกฝิ่นจะอยู่ในช่วงฤดูหนาว และมีการกรีดฝิ่นขาย

เมื่อก่อนชาวบ้านซื้อขายแลกเปลี่ยนฝิ่นและอาวุธสงคราม มีกองกำลังไทยใหญ่ ขุนซาร์ กองกำลังว้า ขึ้นอยู่กับใครมีอำนาจ ซึ่งคนกลุ่มนี้ซื้อฝิ่นไปขาย

15 ม.ค. 2530 สมเด็จย่าฯ เสด็จมาเป็นที่แรก และมองว่าชาวบ้านอยู่กิอย่างแร้นแค้น และป่าไม่เหลือแล้ว นั่นก็หมายถึงคนก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน เพราะไม่สามารถปลูกเพื่อทำกิน  สมเด็จย่าฯ ทรงรับสั่งว่า “ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง” ป่าเหลืออยู่ 20 % เป็นป่าบนเขาหิน ท่านมองว่าท่านจะทำอย่างไรดี ท่านมองว่าต้องเรียนจากคนที่รู้ และก็ไปเรียนกับเขา คนที่รู้คือในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มีศูนย์ศึกษาพัฒนาในทุกพื้นที่ เรียนรู้จากโครงการพระราชดำริฯ

สมเด็จย่าฯ ทรงไปศึกษาป่าที่ห้วยฮ่องไคร้ และการปลูกพืชบนพื้นที่สูง ซึ่งในหลวง ร. 9 ทำที่ดอยอ่างขาง  และการแปรรูปเพิ่มมูลค่าที่สวนจิตรลดา โดยได้เชิญคุณชาย ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุลไปเรียน

สมเด็จย่าฯ ทรงรับส่งว่า “ปลูกป่าอย่างเดียวไม่สำเร็จ ต้องปลูกป่า และปลูกคน”

ดอยตุงทำอย่างไร ?

1. เราต้องมีข้อมูลจริง

          ดอยตุงได้ข้อมูลจริงอย่างไร ซึ่งเป็นหนึ่งในการปลูกคน ได้กรอบว่า 9 หมื่นกว่าไร่  ทำการคัดเลือกว่าใครอยู่ที่ไหนอย่างไร เราต้องการข้อมูลตั้งต้นก่อนว่ามีอย่างไร

          - สัญชาติได้ 8,000 คน มีสัญชาติไทย 80% 10 % เป็นบัตรที่ไม่ได้สิทธิ์

          - ทะเบียนบ้าน เหมือนทะเบียนโครงการพัฒนาดอยตุง (การย้ายเข้ามาในโครงการฯ ได้ต้องแต่งงานเท่านั้น)

          - หนังสือรับรองการเข้าอยู่อาศัย และทำกินในที่ดิน (น.ส.ร.)ส่งเสริมการปลูกกาแฟ ประณีตในที่ดินจำกัด

          - พื้นที่เก็บข้อมูล 106, 000 กว่าไร่

          - สำรวจข้อมูลเข้าถึงทุกครัวเรือน 

- การสำรวจข้อมูลโดยอาสาสำรวจข้อมูล

- ประมวลผลสรุปข้อมูล

- อาชีพส่วนใหญ่เป็นรับจ้าง ในประเทศ หรือต่างประเทศ

- ในเรื่องพื้นที่ป่า จะบ่งบอกว่าเป็นพื้นที่ทำกิน ลักษณะของแต่ละพื้นที่

สรุปการสำรวจข้อมูลเริ่มจากไม่มีอะไรเลย หลายคนที่นามสกุลเดียวกับทั้งหมู่บ้าน และพบว่ามีชื่อนามสกุลซ้ำกันจำนวนมาก จึงมีรูปถ่ายติดไว้

2. การทรงงาน

          1. วิเคราะห์จากรากเหง้าของปัญหา คือ จน เจ็บ ไม่รู้ ก็จะวนเวียนอยู่แบบนี้ สิ่งที่ทำให้เขาเป็นแบบนี้เพราะความยากจน และขาดโอกาส

          ไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี แต่เพราะเขาไม่มีโอกาสที่ดี

          2. การพัฒนาอย่างมีบูรณาการ

          - การแก้ปัญหาของความเจ็บป่วย ความยากจน ความไม่รู้

          อาทิ เริ่มต้นจากรับซื้อผลผลิตชาวเขา แล้วนำไปขายในตลาด  ตั้งโรงเรียน ตชด. ไปในชุมชนต่าง ๆ ไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ

          3. พระราโชบายสมเด็จย่าฯ

          “คนกับป่าต้องอยู่รวมกันได้อย่างดี อย่างพึ่งพาอาศัย” ทำอย่างไรให้เขาช่วยตัวเขาเอง ต้องนึกเสมอว่าเราไม่อยู่ ทำอย่างไรให้เขาดูแลตัวเองได้

          - พระตำหนักดอยตุงเป็นพื้นที่ที่ท่านอยากทรงงาน

          - ท่านเป็นตัวอย่างของการทำ ทุกคนเห็นว่าท่านยังทำ แล้วเราเป็นใครก็ควรทำ อาทิ

ศูนย์บำบัดผาหมี 1,000 วัน

          - ถ้าจะปลูกป่าอนุรักษ์ ต้องทำอย่างไร ใช้เงินเท่าไหร่ แล้วไปถามผู้รู้ เช่น ป่าไม้ ให้ปลูกจนไม่ต้องดูแลรักษา ให้ดูแลเอง ถ้าจะปลูก 9,900 ไร่ต้องใช้เงินเท่าไหร่  และจะเอาเงินมาจากไหน พระองค์ท่านเคยไปขอรัฐบาล แต่ไม่ได้เพราะไม่ได้ตั้งงบไว้

45-60 วัน บำบัดด้วยยาทางการแพทย์

          มีการติดตามฝึกอาชีพ และเตรียมชุมชนให้พร้อมต้อนรับฮีโร่ 945 วัน

โครงการหมู่บ้านปลอดยาเสพติด
          ให้บริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนด้วยตนเอง คณะกรรมการหมู่บ้านสามารถใช้กฎระเบียบบังคับใช้ได้

สรุปคือ การพัฒนาต้องยึดคนเป็นศูนย์กลาง  ช่วยเขาให้เขาช่วยตัวเขาเอง

          คนดีจะทำมาหาเลี้ยงชีพสุจริตดี แล้วเศรษฐกิจดี เศรษฐกิจดี สังคมก็ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แล้วก็มาดูแลสิ่งแวดล้อม  และถ้าทุกอย่างพร้อมก็จะมีความสุข

          ดอยตุงมีระยะเวลา 30 ปี เราเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องอะไร

3 S Model 

1. Survival อยู่รอด  ทำอย่างไรให้เขาอยู่รอด มีข้าวกินตลอดปี

- สำคัญที่สุดคือข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและจริงจากชาวบ้านเท่านั้น

2. Sufficiency พอเพียง เมื่อคนเรากินอยู่สบายขึ้น ก็ส่งลูกหลานไปเรียนหนังสือ เริ่มเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้มากแค่ไหน

3. Sustainability ยั่งยืน คือเขาสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องไม่พึ่งคนอื่น และต้องมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดีด้วย  คนที่มีจริยธรรม มีภูมิคุ้มกัน ไม่มีสิ่งทำให้เขาเปลี่ยนไป รู้จักผิดชอบชั่วดี

บริษัท นวุติ จำกัด

          มองว่าการปลูกพืชผลที่ให้มูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นที่มาของการนำเอกชนมาช่วย ได้ 6 บริษัทร่วมลงทุนให้ชาวบ้านปลูกป่า พืชเศรษฐกิจโดยไม่หวังผลกำไร เป็นการทำธุรกิจเพื่อสังคม หรือ CSR เป็นการใช้ปากพูด ไม่มี MOU แต่เหตุต้องมีมิตซุย เพราะญี่ปุ้นมีให้เงินกู้เพื่อการเกษตร แต่ไม่สามารถกู้โดยมูลนิธิฯ ได้จึงต้องใช้บริษัทนวุติ จำกัด ในการกู้

ทำไมต้องกาแฟพันธุ์อาราบิก้า

          ดอยตุง บริบทปลูกฝิ่น เนื่องจากอากาศเย็น จึงปลูกกาแฟได้ อีกเรื่องคือเป็นมิตรกับป่า และที่สำคัญคือปลูกแล้วขายได้ มีตลาดที่กระจายศักยภาพได้

          มีชาที่ชาวบ้านปลูกคือชาป่า เรียกว่าชาอัสสัม ชาวบ้านคั่วชาเป็น ชาที่กินคือชาดอยตุง มีมูลค่าเพิ่ม

ทำไมต้องแมคคาเดเมีย

          ไม่มีในประเทศไทยมาก่อน จากการเก็บข้อมูลพื้นที่ป่าดอยตุงเป็นต้นก่อ เป็นพืชตระกูลนัด เลยศึกษาว่าอะไรมีความเสียงน้อยคือ แมคคาเดเมีย

          - ให้ผลผลิตดี มีโอกาสขายได้แน่นอน

          - ถ้าล้มเหลวให้ถือว่าปลูกป่าที่ดีที่สุด

สรุปสิ่งสำคัญที่สุดคือ

1. ดูบริบทในพื้นที่

2. ดูว่าเขาทำอะไรอยู่ ทำอะไรเป็น

3. ฟังเยอะ พูดน้อย

4. วัตถุดิบที่มีคุณภาพ

5. อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน

6. ทำสิ่งใด ทำแล้วขายที่ไหน ชาวบ้านสำรวจเรา และควบคุมคุณภาพ

7. เราสร้างงานให้คน และคนจะกลับมาสร้างงานให้ดีขึ้น

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ข้อสังเกต เลือกเกรดพรีเมียมในการทำผลิตภัณฑ์ ทำให้คนไม่กดราคา

- การทำงานชุมชนอย่าทำแบบราชการเพราะช้า เพราะประชาชนรอไม่ได้

- อย่าลองผิดลองถูก เพราะถ้าประชาชนเสียหายเขาจะไม่เชื่อเรา ให้เอาความเสียหายไว้ที่เรา

- การทำพรีเมียม เป็นช่องทางให้ชุมชนไปขายได้มูลค่า

- การช่วยจะช่วยอะไร

กิจกรรมถอดบทเรียนประจำวันครั้งที่ 1 (ณ ห้องประชุมคลับต์ 31)

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

          เล่าประสบการณ์การโค้ชชิ่งที่ออสเตรเลีย มีความประทับใจเรื่องการสอนแบบ Expand Awareness คือการส่งพลังงานเวลาสอนเราต้องรู้ว่าพลังงานที่ส่งต้องไปถึงคนที่อยู่ข้างหลังได้ด้วย  เนื่องจากธรรมชาติของมนุษย์เชื่อมโยงด้วยความสัมพันธ์ คิดว่าศาสตร์โค้ชชิ่งจะสามารถช่วยส่งต่อกับประเทศไทยให้ได้

          Life Coach เป็นศาสตร์การใช้ชีวิต และส่วนใหญ่โค้ชเฉพาะผู้บริหาร เพราะองค์กรจ่ายให้ เชื่อว่าผู้บริหารมีชีวิตและใช้ชีวิตการทำงาน

          ชีวิตมี 8 ด้าน คนเรามีความต้องการ 8 ด้านนี้ ถ้าผู้บริหารมีความสุขและทำงานได้ดีต้องมีความสมดุลทั้ง 8ด้าน  และบางครั้งเราลืมจนเทไปว่าชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย เราต้องถามว่ารู้สึกอะไร ถ้าผู้บริหารเข้าใจความรู้สึกจะมี Compassion คือความรัก ความเมตตา และความเท่าเทียม

          ถ้าเรามีความสุขจะปล่อยศักยภาพอย่างเต็มที่โดยไม่มีกำแพง

          การโค้ชผู้บริหารให้วางลง และให้ลูกน้องเติมโต

          ถ้าเราเคารพตัวเองได้ เราจะเติบโตในพื้นที่เรา โดยไม่ต้องให้ใครมาพิสูจน์หรือยืนยัน เราต้องสามารถโค้ชตัวเองได้ โดยที่ไม่ต้องพึ่งพิงคนอื่น และไม่ทำให้คนอื่นทุกข์เพราะเรา  ศาสตร์นี้ใช้ได้กับมนุษย์ทุกคน

ดร.เพขญ์ ภัคโชตานนท์

          ทำงานที่แคนาดามา 5 ปี และทำที่เมืองไทยมาปีกว่า เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สิ่งที่พบคือเด็กไม่รู้ว่าคนไทยเป็นอย่างไร ก็ไม่รู้จะเข้าไปอย่างไร ส่วนใหญ่อาจารย์มหาวิทยาลัยอยู่บนหอคอย จนกระทั่งชาวบ้านมาขอให้ช่วย ได้พานักศึกษาออกไปข้างนอก ทำให้เข้าใจบริบทของสังคม ว่าสังคมข้างนอกเป็นอย่างไร คือประสบการณ์

          การทำงานวิจัย ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือกับชาวบ้านก็ทำไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจกับชุมชนเช่นเดียวกัน จึงสามารถทำให้บูรณาการได้

          งานด้านศาสตร์พระราชา ในเมืองนอกเป็นกระแสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เท่าที่มี มีการทำเกษตรที่หลังบ้าน มีการจัดกิจกรรมงานสังคม ก็จะทำให้ขับเคลื่อนงานได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          อยากให้ลูกศิษย์เข้ากลุ่มว่าตั้งแต่เช้าถึงปัจจุบันได้รับบทเรียนอะไร แบ่งกลุ่มตามรถให้วิเคราะห์ประมาณ 20 นาที และในมุมด้านการโค้ชแบบโค้ชจิมมี่ก็ดี สิ่งที่อยากขอไว้ในห้องนี้คือการใฝ่รู้ ปัจจุบันเป็นความรู้ใหม่ ๆ อยากรู้ว่าลูกศิษย์รุ่นนี้เป็นรุ่นพิเศษที่ได้แบ่งความรู้ร่วมกัน

โจทย์ จากการดูงานวันนี้ได้เรียนรู้หลักการของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงอย่างไรบ้าง ?

กลุ่ม 1 To be number 1

หลังจากที่ฟังบรรยายแต่เช้าสิ่งที่ทุกคนตระหนักคือต้องพิจารณาปัญหาก่อน

ปัญหาเกิดจากการ ความไม่รู้ เช่นปลูกฝิ่น เจ็บป่วยก็ใช้ยาฝิ่น พอติดก็ไม่รู้จะทำอย่างไรในการประกอบอาชีพ ก็มีเรื่องจนตามเข้ามา

ดังนั้นการแก้ปัญหาคือควรดูที่ต้นเหตุคือควรดูให้ลึกตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ อาทิ ต้นน้ำคือ ความไม่รู้ในเรื่องกลุ่มของชุมชน เราเองก็ไม่รู้ความเป็นไปของชุมชน ถ้าเราไม่รู้ข้อมูลที่เป็นจริงจะไม่สามารถแก้ปัญหาถูกจุดได้

ขั้นตอนการดำเนินการ

1. การลงสำรวจ ได้จำลองมาจากแนวของรัฐบาลอย่าง สพฐ สำเนาทะเบียนบ้าน มีรูปถ่าย มีต้นแบบ ประยุกต์ได้ดี

2. ได้ Keyword ส่งไปที่ 3 S คือ

- อยู่รอด Survival ให้เขามีส่วนร่วมด้วยตัวเขาเอง สมเด็จย่าฯ เริ่มจากการปลูกป่า

- พอเพียง Sufficiency ต้องให้เขาอยู่ได้ด้วยตัวเอง และทำให้เขามีประโยชน์ และไม่มีหนี้

- ยั่งยืน Sustainable ทำอย่างไรให้อยู่ได้ด้วยตัวเองโดยเราไม่ต้องสนับสนุน

บุคลากรสามารถให้ลูกหลานกลับมาพัฒนาต่อเนื่องได้ แสดงถึงเขาสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว

หรืออย่าง EGAT คนรุ่นใหม่เข้ามา ทำอย่างไรให้เขาอยู่ ไม่ลาออก ไม่โดนดึงตัวไป

กลุ่มที่ 2 กลุ่มหยดน้ำ

หยดน้ำ หมายถึง การต้องเริ่มที่คน ๆ หนึ่งที่มีแรงขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างครอบครัวมหิดล ที่เป็นแรงขนาดใหญ่ สร้างคุณประโยชน์ให้แผ่นดิน

- เริ่มจากตัวเองก่อน

- รับฟังปัญหาเขา สำรวจข้อมูลเท็จจริงว่าปัญหาคืออะไร คือ เจ็บ จน และไม่รู้ เป็น Model ต่าง ๆ ขึ้นมา ให้สามารถอยู่ด้วยตัวของเขาเอง

- รูปแบบการจัดทำโครงการ “คนต้องอยู่กับป่า สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้” ให้เขาช่วยกันเอง แล้วดูแลกันไป

การเริ่มโครงการต่าง ๆ บางอย่างมีความเสี่ยง ถ้าปล่อยให้ชาวบ้านไปรับความเสี่ยงเองจะทำให้โครงการฯ ขาดความน่าเชื่อถือ และสร้างปัญหาระยะยาว  เราต้องมีส่วนรับผิดชอบในเบื้องต้น

- การ Partner ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ

- การวัดผลโครงการฯ ว่าชีวิตดีขึ้นหรือไม่ สำเร็จหรือไม่

กลุ่มที่ 3 รถคันที่ 4

เริ่มจากการมองปัญหา ตั้งคำถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนี้

- ทำอย่างไรให้รู้จริงกับปัญหานั้น ดูข้อมูล การใช้ข้อมูลเป็นสิ่งที่วิเศษมาก

- ความต้องการคืออะไร ความต้องการเป็นอยู่ ใครคิดจะเปลี่ยน ถ้าจะเปลี่ยนต้องทำให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

พระองค์ท่านสร้างความภาคภูมิใจให้เขารักในสิ่งที่ทำ และเห็นประโยชน์สามารถสร้างรายได้

การปลูกพืช ถ้ามีความเข้าใจจริง ๆ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา การทำให้เกิดความยั่งยืน มีแนวทางที่จะพัฒนาต่อยอดอีกอย่างไร

- มีการ Sharing ให้มองว่าทำเท่านี้แล้วต่อไปถึงอนาคต

**การร่วมแสดงความคิดเห็นต่อยอดการสำเสนองานกลุ่ม

ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

1. ท่านได้ความรู้จากดอยตุง อันหนึ่งคือ Survival สิ่งสำคัญคือไม่ใช่แค่อยู่รอด ท่านจะยั่งยืนอย่างไร ไม่มีอะไรหยุดนิ่งหรืออยู่กับที่ อย่าง Solar Activity เริ่มเฉื่อย โลกก็จะเปลี่ยนแปลง

- ไม่ได้บอกให้เชื่อหรือไม่เชื่อ แต่ให้มองว่าเป็นสิ่งหลากหลาย

- ถ้าเราไม่รู้ข้อมูล เราต้องเอาให้ชัด ให้มีเทคนิคในการหาข้อมูล

- ที่นี่มีการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ขอ Solar ไม่พอ และน้ำขาดแคลนมาก ทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้และทุกฝ่ายพอใจ

- ปัญหาแต่ละที่ไม่เหมือนกัน เราจะนำศาสตร์พระราชาไปใช้อย่างไร

- ทำอย่างไรชุมชนถึงดูแลตัวเองได้ ทำอย่างไรถึงทำให้คนรู้สึกรักและหวงแหน เช่น ชุมชนที่คลองเปรม

- กิจกรรมอะไรก็ตามที่ลงแรง ลงเงินได้จะโอเค

- ทำไมวันนี้ดอยตุงไม่กล้าเอาแมคคาเดเมียให้ชุมชน

- บางเรื่องทำได้ บางเรื่องทำไม่ได้ติดกฎหมาย เริ่มอนุญาตให้คนมีบทบาท ความเป็น Bureaucracy ลดลง ถ้าแก้ Mindset ได้จะผ่อนคลาย และเห็นว่าแก้ธุรกิจบางเรื่อง แล้วทุกสิ่งจะง่ายขึ้น ดีขึ้น

- การทำอะไรก็ตามต้องมีข้อมูล และขออนุมัติไป ปัญหาของ กฟผ. คือไม่เอาคนที่รู้มาวิจัยที่แท้จริง ที่ดอยตุงทำสำเร็จ เพราะเอาคนรู้จริงมาพิจารณา ไม่ใช่เอาคนไม่รู้มา งานวิจัยเป็นเรื่องสำคัญ

- Social Innovation สำคัญมาก ๆ สิ่งที่ฝากไว้คือ อดีตผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจสั่งการ  

- เวลาเราศึกษาอะไรขอให้รู้จริง  ถ้าเราอิน เรารัก จะมี Passion ทำสิ่งนั้นได้ดี

- เชื่อว่าทุกอย่างที่เราทำจะหล่อหลอมให้เราเป็นคนในวันนี้ได้ เราจะทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างไร

- ชุมชนนี้มีเงินแค่นี้ แค่ไหนถึงเรียกว่าพอเพียง อันนี้คือการประมาณตน                                                                                                                                                                              

สรุปคือวันนี้คือทำอะไรแล้วรู้จริง สำคัญมาก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

          แม้อาจารย์ทำอยู่แล้ว มีประสบการณ์บ้างแล้ว แต่ไม่มีใครรู้จริงเท่าท่านผู้ว่าการฯ การทำงานกลุ่มในวันนี้ให้คะแนนค่อนข้างสูงคือ โจทย์ที่ให้มากับการระดมสมองมีจำกัด ต้องรู้จริง และทำจริง ที่อยากจะเสริมก็คือ นอกจากเข้าใจเรื่องวันนี้ เราน่าจะทำเพิ่มคือ จะเอาไปเป็นตัวอย่างของ EGAT เราได้อย่างไร  เราต้องรู้วิกฤติของ EGAT ในเรื่องต่าง ๆ มีมากกว่าชุมชน

          กลุ่ม 3 ได้ Apply ถึงงาน EGAT

          กลุ่ม 1 มองเรื่องความยั่งยืนในอนาคต

          กลุ่ม 2 มองเรื่องครอบครัวและราชสกุลมหิดล

สิ่งที่อยากฝากกลุ่ม 18 คนนี้หลังจากกลับไป

1. มองลูกน้องมากขึ้น

          -ในกลุ่มมีการมองเรื่อง Sustainability

          - ต้องเรียนรู้การบริหารนายคุณ 

2. จัดการกับเจ้านายในอนาคตได้ดี

- รุ่นนี้อยากสร้าง Sustainability ให้คนหมู่มากได้อย่างไร

- ให้ Empower

3. Stakeholder ต้องจัดการกับคนกลุ่มนี้มากขึ้น ต้องมองคนอื่นมากกว่าตัวเอง บทบาทของ EGAT ต้องเป็น Protector ให้ประเทศของเรา

4. Risk Management การบริหารความเสี่ยง อยากเห็นบทบาท กฟผ.

สรุปคือชอบทุกกลุ่มแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยากทำอะไร

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ชอบคนที่ถูกนำเสนอทุกกลุ่ม สิ่งที่ทุกกลุ่มนำเสนอคือความจงรักภักดี รักชาติ รักแผ่นดิน และทุกคนสัมผัสได้หมด ความรักความเมตตาที่ราชสกุลมหิดลมอบให้กับทุกคน

ยกตัวอย่างความกรุณาท่านดาไลลามะที่แสดงถึงความกรุณาที่มองทุกคนเท่าเทียมกัน และมีพลังที่ทำให้ทุกคนระดับโลก

ทั้ง 3 กลุ่มได้นำเสนอในสิ่งที่เป็นความรู้สึก ถ้าเราสัมผัสได้ถึงความรู้สึกจะช่วยเชื่อม Collaboration คน EGAT ได้ทั้งหมด

เราใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ในฐานะมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ไม่ใช่การทิ้งมรดก เพราะนั่นก็เหมือนการไม่ละทิ้งตัวตน

ดร.เพชญ์  ภัคโชตานนท์

          ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพที่สูงมากในการนำเสนอ เราทำเพื่อประเทศชาติจะมีแรงและขับเคลื่อนในการทำงานกันต่อ

          การไฟฟ้าอยู่ได้ พวกพี่ก็อยู่ได้ ถ้ากฟผ.ไปอยู่ที่ไหน และชาวบ้านอยากให้เราอยู่ตรงนี้ ก็เป็นเรื่องดี

ผู้ว่าฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์

          การสู้รบกับ NGOs ทำอย่างไรถึงจะเชิญคนที่มีน้ำหนักอย่างนักวิชาการมา ถ้าได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะดีมาก

          ความยั่งยืนอันหนึ่ง  ยกตัวอย่าง แผงโซล่าเซลล์ เมื่อสอนชุมชนเป็นของกลาง จะไม่มีความเป็นเจ้าของ จะติดวิธีคิดที่ไม่สามารถไปต่อได้ ทางแก้คือเปลี่ยนวิธีคิดคือเอาช่างมาดูแล แล้วช่างมีรายได้ จะบริหารจัดการดูแลช่างอย่างไร ใครเป็นคนจ่าย

          ทำเรื่องศาสตร์พระราชาอย่าตัดสิน ต้องให้ชุมชนคุยกันและสร้างกติกาชุมชนร่วมกัน เป็นกฎหมายของชุมชน ถ้าไม่มีกติกาจะ Over Supply ต่อไปจะมีปัญหา อย่างถ้าเราส่งเสริมให้เขาไปทำปุ๋ยในบ้านได้หรือไม่

          ความยั่งยืนมาอย่างไร ชุมชนต้องเลือก ทำสิ่งที่เป็นปัญหาแก้ไขให้ยั่งยืนได้อย่างไร

ความเป็นผู้นำคือ ความสามารถในการนำสิ่งที่อยากให้เขาทำ และทำให้เขาทำในสิ่งที่เขาต้องทำ การทำงานให้สำเร็จต้องบริหารลูกน้องและเจ้านายอย่างไร และสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การบริหารจัดการศาสตร์พระราชาแบบยั่งยืน  และสุดท้ายชุมชนจะเลือกแบบไหน ถ้าสุดท้ายชุมชนจะ Commit

คุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

          เราต้องรู้ข้อมูลจริง ถึงทำได้ ถ้าไม่รู้ข้อมูลจริงจะแก้ไม่ถูกที่คัน เริ่มจากตรงนั้น และต้องเริ่มจากข้อมูลตรงไหนจริงหรือไม่จริง ต้องถามว่ามีปัญหาอะไร เช่น ชาวบ้านบอกมีหนี้สิน และหนี้สินเกิดจากอะไรเช่นการเกษตร เวลาใครพูดอะไรออกมา ให้เราถามคำถาม ทำไม ทำไม ให้จนสุด  เช่น ปลูกข้าวโพด เพราะอะไร เพราะไม่มีน้ำ  เราต้องเค้นหาและวิเคราะห์จริง เพราะบางครั้งชาวบ้านอาจไม่บอกจริงก็ได้ ให้ใช้ตามองและพูดกับเขา เป็นคนที่ลงพื้นที่จริง อย่าเพิ่งเชื่ออะไรในลำดับแรก เมื่อได้ข้อมูลแล้วต้องมีการเขียนแผนในกระดาษก่อน ว่าจะสำเร็จหรือไม่ ชาวบ้านได้อะไร คิดแผนสำรองด้วย ต้องเตรียมตัวก่อนถามชาวบ้าน

          สิ่งที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงยึดมากคือทำแล้วชาวบ้านได้อะไร ถ้าทำแล้วเจ๊ง จะทำหรือไม่ แต่ถ้าเป็นเงินไม่ใช่ของเราเช่น ราชการ เงินองค์กร ทำไมถึงต้องทำ สรุปคือ ให้เขียนแผนบนกระดาษก่อนค่อยทำ อย่าให้เขาบอบช้ำ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการต่อต้านและไม่ไว้ใจเรา แต่เราต้องทำ ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถให้เขาทำในสิ่งที่ต้องการทำ



วันที่ 27 สิงหาคม 2563

** การบรรยายสรุปเรื่อง การพัฒนาเด็กและเยาวชน และเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ในพื้นที่

เป็นศูนย์พัฒนาเด็กใฝ่ดีพัฒนาให้พื้นที่ดอยตุงเป็นหลัก ด้วยความเชื่อว่าเพราะทุกคนมีเมล็ดพันธุ์ดี

เป้าหมายคือ สร้างพัฒนาผู้นำคนรุ่นใหม่ที่ดี

ส่วนงานพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ค่ายเด็ก ศูนย์พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ KLC ประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ได้แก่ ค่ายเด็กใฝ่ดี ทุนการศึกษา ศูนย์เด็กใฝ่ดี

2. โครงการร้อยใจรักษ์

3. โรงเรียนในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ค่ายเด็กใฝ่ดี

การออกแบบศูนย์เด็กใฝ่ดี : เริ่มจากการลงพื้นที่เพื่อให้เจ้าของพื้นที่ได้ร่วมกันออกแบบบ้าน

1. ประเด็นในการหางานควรมีเป้าหมายหลัก เช่น การหาศูนย์ที่ให้คำปรึกษา แนะแนว ดำเนินกิจกรรมที่เน้นไปในด้านแนะแนวอาชีพ เป็นต้น

2. ศูนย์ควรมีระบบการจัดการให้ครอบคลุมถึงเด็กที่อยู่พื้นที่ไกลและในพื้นที่ใกล้ศูนย์อย่างเท่าเทียมกัน

3. ควรมีกิจกรรมภายในโรงเรียนแก่นักเรียนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

เหตุผลและสิ่งที่อยากให้มีในศูนย์เด็กใฝ่ดี (ผลการสำรวจจากเด็กและเยาวชน ปี 2558)

1. เสริมทักษะด้านต่าง ๆ (20%)

รวมถึงในด้านอาชีพ เพื่อสร้างรายได้เสริมหรือรายได้หลักให้ครอบครัว และทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต

2. บุคคลให้คำแนะนำและคำปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ  (18%)

สามารถพูดคุยเป็นกันเอง ไม่ถือตัว และให้ความรู้สึกว่าปลอดภัยเมื่อได้มาขอคำปรึกษาจากพี่ ๆ

3. ความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ (18%)

เพราะสามารถใช้สื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และเป็นประโยชน์กับตนเองในอนาคต  ทั้งด้านการเรียนและการทำงาน

การออกแบบศูนย์เด็กใฝ่ดี : การใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชนดอยตุง (ข้อมูลปี 2558)  

คุณครู มีการลงพื้นที่ และคุยกับคุณครูว่าจะไปทิศทางไหน แบ่งเป็นเด็กและเยาวชนสายใน และเด็กและเยาวชนสายนอก

เด็กและเยาวชนสายใน – ทำกิจกรรมในพื้นที่เวลาว่าง เช่น เข้าป่า ยิงนก ตกปลา ทำไร่ ทำสวน เตะบอล ทำงานบ้าน เป็นต้น

เด็กและเยาวชนสายนอก – ทำกิจกรรมในและนอกพื้นที่หมู่บ้าน เช่น เล่นเกมคอมพิวเตอร์  เล่นเฟซบุ๊ก ขับรถเที่ยว เล่นกีฬา เรียนพิเศษ เรียนภาษาจีน เป็นต้น

เป้าหมายของศูนย์เด็กใฝ่ดี

 คือมีพื้นที่ได้ปล่อยพลัง และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พัฒนาศักยภาพของตัวเอง มองเห็นถึงอนาคตตัวเองและอนาคตบ้านเกิดตัวเอง  

กลุ่มเป้าหมาย

          - เด็กและเยาวชนโครงการพัฒนาดอยตุงฯ 6-18 ปี (อายุต่ำกว่า 6 ปีสามารถเข้าใช้บริการได้และต้องมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด)

- มี 29 หมู่บ้าน  8 โรงเรียนในคพต.  บุตรหลานพนักงาน

ศูนย์เด็กใฝ่ดี พื้นที่ของคนรุ่นใหม่

          เปิดอย่างเป็นทางการวันเสาร์ที่ 19 มกราคม 2562 เวลา 8.00 – 17.00 น. (หยุดวันจันทร์)

แนวคิดของศูนย์เด็กใฝ่ดี คือ เล่น รู้ ลอง

          รู้-มารับแรงบันดาลใจจากพี่ต้นแบบตัวจริง ผ่านการรู้แบบลึก ๆ ฝึกฝนให้ต่อเนื่อง  ถ้าเอาจริง เอาจัง ลุยสู้ทุนการศึกษา

          ลอง- เปิดพื้นที่โชว์ แชร์ ลงสนามจริงกับธุรกิจที่สนใจ เปิดชมรมที่เด็กและเยาวชนต้องการ

การบริหารจัดการศูนย์เด็กใฝ่ดี

1. ระบบความปลอดภัยศูนย์เด็กใฝ่ดี

          สแกนบัตรสมาชิก ทางเข้า-ออก SMS จะส่งไปที่โทรศัพท์ของผู้ปกครอง

3. สิ่งอำนวยความสะดวก

มีห้องเรียน ห้องเต้น ห้องศิลปะ ห้องปริ้นเอกสาร มีเกมกระดาน ห้องประชุม

หลักสูตรเด็กใฝ่ดี

มีการเรียนรู้ทางอาชีพ มีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ มีการจำลองอาชีพ สร้างขึ้นมาเองตามที่ชอบ ให้ได้อินกับอาชีพนั้นจริง ๆ

- การเรียนรู้ผ่านการสวมบทบาท 8-14 ปี

          สถานที่จำลองขนาดเล็ก บนพื้นที่ธรรมชาติที่สร้างขึ้น สำหรับเด็กและเยาวชนวัย 8-14 ปี เข้ามาทำการทดลองหากิจกรรม ผ่านการการสวมบทบาทเป็นอาชีพต่าง ๆ

          โดยประกอบไปด้วยห้องสมุด ห้องพยาบาล ห้องศิลปะ ห้องดนตรี ห้องเต้น ห้องครัว ธนาคารใฝ่ดี, โรงภาพยนตร์ , แปลงผัก, สถานีวิทยุ, สตูดิโอถ่ายภาพ ที่รังสรรค์ขึ้นมา

- การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง 12 – 18 ปี

- พัฒนาผู้นำคนรุ่นใหม่ 15 – 18 ปี

สกุลเงินใฝ่ดี

          ศูนย์เด็กใฝ่ดีมีระบบสกุลเงินเป็นของตัวเอง เรียกว่า “ใฝ่ดี” เมื่อมาถึงศูนย์เด็กใฝ่ดี น้อง ๆ แต่ละคนจะได้รับเช็คเป็นจำนวนเงิน 50 ใฝ่ดีสำหรับไปขึ้นเงินสดที่ธนาคารใฝ่ดี

          ระบบสกุลเงินใฝ่ดีแบ่งเป็นธนบัตรมูลค่า 20/50/100/500 และ 1,000 ใฝ่ดี เมื่อเข้าทำงานน้อง ๆ จะได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินใฝ่ดีซึ่งสามารถไปใช้ซื้อบริการและการศึกษา อันเป็นส่วนหนึ่งของระบบดีมานต์และซัพพลายของเศรษฐกิจ

กิจกรรมที่น้องเข้ามาเรียนรู้กับเรา แล้วเราจ่ายเงินค่าตอบแทนให้

มีธนาคารใฝ่ดี

การใช้บริการในสถานประกอบการ

สถานประกอบการที่ได้เงิน

หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน        400 FD

เกษตรกร                   300 FD

นักหัตถกรรม              300 FD

นักสิ่งแวดล้อม             400 FD

นักประชาสัมพันธ์         300 FD

นักบรรณารักษ์            400 FD

ช่างไม้                      400 FD

สถานประกอบการที่เสียเงิน

นักทำอาหาร               700 FD

นักทำเครื่องดื่ม            700 FD

คาเฟ่ เกมกระดาน         500 FD

โรงหนังใฝ่ดี                300 FD

คอร์สสอนดนตรี           800 FD

คอร์สสอนเต้น             800 FD

คอร์สสอนกีฬา             800 FD  

เรียนรู้การออมเงิน ฝากเงิน ถอนเงิน

          ภายหลังการทำงาน น้อง ๆ จะมีรายได้เก็บออมจากสถานประกอบการต่าง ๆ ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถเปิดบัญชีธนาคารเพื่อออมเงินที่ได้มาเพื่อฝากเงินและรับดอกเบี้ยเงินฝาก

รับดอกเบี้ยเมื่อเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารใฝ่ดี

          ธนาคารใฝ่ดีจะจ่ายดอกเบี้ยตามประเภทสมาชิก ของมูลค่าเงินฝากทุก 12 เดือน โดยน้อง ๆ สามารถตรวจสอบยอดคงเหลือได้ที่ธนาคารใฝ่ดี ซึ่งน้อง ๆ จะมีโอกาสได้เห็นยอดเงินที่เพิ่มขึ้นเมื่อถอนเงิน สร้างเสริมวินัยการออมให้กับน้อง ๆ

การออกแบบกระบวนการเรียนรู้

มีหลักสูตรหน่วยแพทย์ชุมชน (การปฐมพยาบาลเบื้องต้น)  เรียนรู้จากสมเด็จย่าฯ หน่วยแพทย์อาสา

ตัวอย่าง กิจกรรมประจำวันเสาร์

8.30 น. ธนาคารใฝ่ดีและร้านซื่อสัตย์

9.00 น. นักบรรณารักษ์

10.00 น. นักประชาสัมพันธ์

11.00 น. นักทำอาหาร

ตัวอย่างการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง

1. ชมรมช่างใฝ่ดี

2. ชมรม School Idol

3. ชมรม มัคคุเทศก์น้อยดอยตุง

4. ชมรม Junior Chef

5. ชมรมดนตรีบานชื่น

6. ชมรม Faidee Cafe

7. ชมรม Faidee Academy

การออกแบบหลักสูตรและการพัฒนาผู้นำคนรุ่นใหม่

พี่ใฝ่ดี

- ออกแบบเนื้อหาร่วมกับพี่วิทยากร

- ประสานงานร่วมกับวิทยากรและหัวหน้าชมรม

- นัดหมายต่าง ๆ

- ประเมินพัฒนาการของรายบุคคล

- ที่ปรึกษาชมรม

- แก้ไขปัญหาต่าง ๆ หน้างานจริง

พี่วิทยากร

- ออกแบบเนื้อหาร่วมกับพี่ใฝ่ดี

- ประสานงานร่วมกับพี่ใฝ่ดีและหัวหน้าชมรม

- ประเมินพัฒนาการของรายบุคคล

- ออกแบบการเรียนรู้ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

- แก้ไขปัญหาต่าง ๆ จากการฝึกฝน

หัวหน้าชมรม

- ออกแบบเนื้อหาร่วมกับพี่ใฝ่ดี

- ประสานงานร่วมกับพี่ใฝ่ดีและพี่วิทยากร

- เรียนรู้ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์

- ฝึกฝนทักษะของทีม

- กระตุ้นให้ทีมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น

- ประเมินพัฒนาการของทีมรายบุคคล

รูปแบบการเรียนรู้

- การเรียนรู้ผ่านการสวมบทบาท

- การเรียนรู้ผ่านนอกห้องเรียน

- อยู่บ้านก็สนุกได้ (ลงทะเบียนส่งอุปกรณ์ไปส่งถึงหน้าหมู่บ้านและเล่นไปพร้อมกันจากที่บ้าน)

- ยกความสนุกถึงโรงเรียน

- ความสนุกร่วมกับชุมชน

- การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1, เวลาที่ยกกองไปทำที่โรงเรียนเวลาน้องเรียนหนังสือไปขัดจังหวะหรือไม่

ตอบไปช่วงพักเที่ยงใช้ช่วง 30 นาทีให้คุ้ม ไปประมาณ 8 โรงเรียน แยกกันไป เช่นไปทีเดียวอาทิตย์หนึ่ง

2. กิจกรรมที่ทำเป็นจิตอาสาหรือมีรายได้

ตอบกิจกรรมได้รับการสนับสนุน แต่ออกแบบ มาจากน้อง ๆ

ในภาคการเรียนปกติ โรงเรียนทำเหมือนเดิม แต่เราเสริมกิจกรรมนอกห้องเรียน

3. ถ้าอยากมาเที่ยวและมาสอนด้วยจะได้หรือไม่

ตอบมาได้แต่ต้องมีการวางแผนก่อน

4. กิจกรรมที่จัดรองรับเด็กได้กี่คน

ตอบ อายุ 8-14 ปีรองรับได้ 70-80 คน

5. กิจกรรมที่ทำให้บ้านเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่

ตอบไม่เสียค่าใช้จ่าย อุปกรณ์บางอย่างน้องเอาไป แล้วคืน บางอย่างไม่ต้องเอาคืน

มีบริการรับส่งไปกลับเด็กสายใน จะรับเป็นพิเศษ เนื่องจากพ่อแม่ไม่สามารถรับด้านนอกด้วย

เสริม ความยั่งยืนเมื่อช่วยเหลือตนเองแล้วก็ช่วยเหลือคนอื่นตามกำลัง

ใครสนใจให้มาเรียนรู้ที่ดอยตุงแล้วเอาไปทำ ดอยตุงเป็นเสมือนรูปแบบให้ อันไหนถูกและดี เรียนรู้แล้วไปปรับใช้ ถ้าทำแล้วดีก็มาบอกและมาแชร์กัน

6. โครงการมีการประเมินอย่างไร

ตอบมีการปรับเรื่อย ๆ กิจกรรมมีการ Upgrade เรื่อย ๆ ตามเด็ก การวัดผล มีการ AR สำหรับเด็กทุกครั้ง เราเจอปัญหาอะไรและแก้ไขอย่างไร

เรามีเวทีที่น้องไปต่อได้

7.มีการคิดค้นเรื่องนวัตกรรมหรือไม่

ตอบมีอาชีพ Social Media ขึ้นมา

ถ้าทำดีหรือศึกษาความรู้ เช่นเข้าเรียนรู้หลักของสมเด็จย่า ฯ จะได้เงินการเรียนรู้เรื่องใฝ่ดี

เรามีเวทีให้ฝึกเรื่อย ๆ

ในปีหน้ามีโครงการเชื่อมโยงอาชีพต่าง ๆ ที่น่าสนใจให้น้อง ๆ

ศูนย์เด็กใฝ่ดี เพิ่งเปิดตัวมาได้ 1 ปี  ความน่าสนใจคือ สร้างเวทีให้น้อง ๆ แสดงศักยภาพตัวเอง

มีการให้เรียนรู้เห็นเส้นทางการต่อยอดในอนาคตว่าจะไปไหนอย่างไร      

**การพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารส่วนตำบลแม่ฟ้าหลวง

ณ ห้องประชุม VIP

1. นายประเสริฐ คำลือ รองประธานสภา ต.แม่ฟ้าหลวง

2. นางมยุรา สิลาวงศ์กรกุล ประธานกลุ่มสตรี บ้านขาแหย่ง

3. นายจตุพงศ์ อภิพรไพศาล  ผู้ช่วยผู้จัดการ บ้านขาแหย่ง

4. นางสาวอรัญญา อภิเสถียรพงศ์ นักวิเคราะห์และจัดการองค์ความรู้ หมู่บ้านลาบา

          “ผู้บริหารคนรุ่นใหม่ของดอยตุงที่เกิดจากการสร้างคน (อาสาสมัคร ศพต.พ.) ของโครงการพัฒานาดอยตุงฯ ตอนเริ่มต้นมี 344 คน ปัจจุบันอาสาสมัครเหล่านี้กลายเป็นผู้นำของชุมชนถึง 90% และได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของสมเด็จย่าไปใช้ในการบริหารจัดการในชุมชนของตนเอง”

นายประเสริฐ คำลือ รองประธานสภา ต.แม่ฟ้าหลวง

คุณประเสริฐ คำลือ ได้ทำงานร่วมกับชุมชน หน้าที่หลักทำงานร่วมกับกรรมการ สภา อบต. พิจารณาร่างงบประมาณและการจัดการในการแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชน

การบริหารจัดการในแม่ฟ้าหลวง ไม่มีฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล แต่อยู่ที่การคุยเรื่องความจำเป็นว่าลำบากมากน้อยแค่ไหน จะไม่มองแค่หมู่บ้านว่าบ้านเราต้องได้ แต่มองภาพรวมทั้งหมด คือสิ่งไหนควรแก้ไขด่วน เราจะให้ความสำคัญก่อน โดยการนำเอาทุกเหตุผล ทุกข้อเสนอรวมกัน แล้วค่อยตกลง โดยตัวแทนชุมชนจะมีหน้าที่นำกลับไปคุยกับพี่น้องชาวบ้าน ทำอย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจ และฝ่ายนโยบายเข้าใจ เราต้องใช้เหตุผลในการคุย กระบวนการเหล่านี้ใช้กฎหมายเดียวกัน แต่การบริหารพื้นที่มีข้อดี ข้อด้อยแตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม แม่ฟ้าหลวงมองว่า การบริหารจัดการของแม่ฟ้าหลวงเองก็ไม่ใช่ดีที่สุด มีทั้งข้อดี ข้อเสีย และได้ไปดูงานหลายที่เพื่อนำมาพัฒนาว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนด้อย แล้วมาพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต ว่าควรพัฒนาอะไร   เพราะวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง และมีปัญหาถาโถมเข้ามาตลอด

แม่ฟ้าหลวง มีกลุ่มชนเผ่า 6 ชนเผ่า โดยคุยกัน 7 ภาษาแต่ใช้ภาษากลางพูดเพื่อให้คนเข้าใจถึงเนื้อหา และมีการใช้ภาษาชนเผ่าเพื่ออธิบายให้เข้าใจ และเข้าถึง เรื่องนโยบายภาครัฐ และงบประมาณ ที่มีจำกัด จะมีการบริหารจัดการอย่างไร ?

นางมยุรา สิลาวงศ์กรกุล ประธานกลุ่มสตรี บ้านขาแหย่ง

คุณมยุรา เป็นคนเผ่าอาข่า แต่ได้แฟนที่เผ่าลาหู่ จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับชุมชนของ 2 ชนเผ่า อยู่กับดอยตุงตั้งแต่เริ่มแรก เคยเป็นเจ้าหน้าที่สังคม ออกพื้นที่และสำรวจพื้นที่ เป็นอาสาสมัครพัฒนาชุมชน จากนั้นได้ออกมาเป็นอาสาสมัคร อบต. ได้อยู่กับการเมืองท้องที่ เป็นสมาชิก อบต. เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานตำบล ฯ รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มหัตถกรรมหมู่บ้าน ที่ทำเรื่องสินค้าหัตถกรรมชนเผ่า

เป็นผู้ที่ประสานงานร่วมกับดอยตุงว่าต้องพูดภาษาไทยให้ได้ และสื่อสารภาษาชนเผ่าในดอยตุงได้  หลังจากที่ดอยตุงมา และได้เริ่มเปิดโอกาสให้ผู้หญิงนำหน้า      

นางสาวอรัญญา อภิเสถียรพงศ์ นักวิเคราะห์และจัดการองค์ความรู้

ชนเผ่าลาหู่แดง อยู่บ้านลาบา การมาทำงานกับดอยตุง เริ่มตั้งแต่การเข้าประถมศึกษา มัธยมศึกษา และไปเรียนที่เชียงใหม่ ทำงานที่ดอยตุงมา 12 ปี อยู่ในส่วนจัดการความรู้

นายจตุพงศ์ อภิพรไพศาล (พี) ผู้ช่วยผู้จัดการ

          เป็นลูกบ้านของแม่มยุราคือบ้านขาแหย่ง  ดอยตุงตอนแรกที่จำได้คือไม่มีต้นไม้ พออายุ 7-8 ขวบ ย้ายไปกับพ่อแม่ทำงานที่เชียงใหม่ แต่พออายุ 13 ปี ได้เดินทางกลับมาที่ดอยตุง พบว่ามีหลายสิ่งเปลี่ยนไป มีการเปลี่ยนแปลงมาก  ส่วนตัวจึงมีความสนใจเรียนต่อทางด้านสังคม มัธยมต้น มัธยมปลาย และม.นเรศวร มีการทำงานในส่วนพัฒนาสังคม ชื่นชอบตั้งแต่งานสวน นโยบายคือดอยตุงปลูกต้นสน  แต่ปัญหาพบว่าไม้สนปลูกแน่นมาก และทำให้ไม้อื่นขึ้นไม่ได้ เลยติดต่อหน่วยงานทางวิชาการและมหาวิทยาลัย

          อีกด้านคือทำงานด้านการจัดการขยะ และระบบน้ำให้การจัดการเกษตร ระบบน้ำป่าอนุรักษ์ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ   ในอดีตเราเป็นคนในพื้นที่แต่ให้ผู้ใหญ่ดูแลพื้นที่  ไม่ได้ทำงานโดยตรง แต่ปัจจุบันกลายเป็นบทบาทที่เราทำทุกวันนี้

การร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

1. การคุยเรื่องงบประมาณให้แต่ละคนเสนอความต้องการ พิจารณาความจำเป็น แต่ละหมู่บ้านคิดว่าจำเป็นอยู่แล้ว มีเกณฑ์อย่างไรที่จะให้ใคร 

ตอบมีการทำประชาคมทุกปี เสนอปัญหาหมู่บ้าน และมากองรวมทีเดียว การจัดสรร ถูกจำกัดด้วยงบประมาณที่จำกัด

          ถ้ามองถึงความจำเป็น แต่ละหมู่บ้านมีปัญหาแตกต่างกัน มีการทำข้อตกลงกัน เช่น 2 ล้านบาท อาจแบ่งออกได้ 4-5 โครงการฯ และโครงการที่จะได้จะต้องมีเหตุผลว่าได้ด้วยเหตุประการได้ เช่นบ้านใดมีปัญหาเร่งด่วนสุด และเกิดผลกระทบจริง ๆ วิธีการคือ มีทีมสำรวจ คือทีมกองช่างในการสำรวจพื้นที่จริง ว่าเหตุผลประการใด เอาข้อมูลมากลั่นกรองในเขตงบประมาณ  มีการแยกภาระว่าด้านไหน ในส่วนบ้านที่ไม่ได้งบประมาณ ตัวแทนก็ต้องกลับไปคุยต่อเพื่อทำความเข้าใจ เป็นตัวกลางเชื่อมโยงไปชุมชนว่าเหตุผลอะไรถึงไม่ได้ เอาเหตุผลประการนี้ทั้งหมด เช่น ถ้าคิดว่าของเราลำบากสุด แต่ปรากฏว่าของคนอื่นลำบากกว่า ก็ควรจัดสรรให้ส่วนงานอื่นไป

          จะมีการคุยรวมกัน 3-4 หมู่บ้าน ว่าพื้นที่ทำกินเป็นพื้นที่การเกษตรของเรา แม้ชาวบ้านไม่ได้ใช้โดยตรง อาจมีการบวกกับระเบียบ อบจ.ด้วย เช่น ถนนได้ 4 เมตร ถ้าอบต.ทำหน่วยงานเดียว งบสร้างโครงสร้างพื้นฐานอาจไม่พอ จึงต้องช่วยกันคนละครึ่ง ดังนั้นตัวแทนจึงมีหน้าที่ไปชี้แจงกับหมู่บ้านให้เข้าใจ และมีการทำข้อตกลงว่า ถ้ารอบนี้บ้านใดได้แล้ว รอบหน้าอาจให้คนอื่นได้บ้าง

สรุปคือเอาข้อเท็จจริงมาคุยกัน และใช้เวลาสรุปเสร็จไม่เกิน 2 ชั่วโมง การค้านเป็นการค้านด้วยเหตุผล ไมใช่การค้านแบบหัวชนฝา แต่ถ้าไม่ยอมจะทำให้เกิดอะไรขึ้น  เช่น ในการแก้ปัญหาคือเอาเมืองมาล้อมทางระบายน้ำ พอฝนตก น้ำไม่มีทางไปแน่นอน เนื่องจากไม่ได้วางแผนตั้งแต่โครงสร้างแต่แรก ถ้าไม่วางแผนโครงสร้างแต่แรกก็มีปัญหา

          ก่อนงบประมาณลง ชาวบ้านต้องเสนอปัญหา ที่นี่ทุ่มงบการศึกษาปีละ 10 ล้านบาท เนื่องจากเน้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษาที่ต้องเติมให้ตลอด เป็นรุ่นสู่รุ่น เพราะเคยประสบปัญหาเรื่องการศึกษาคือการส่งต่อ  งบประมาณที่สำคัญต่อมาคืองบทางการเกษตร

          สิ่งที่ตอบแทนได้คือทำอย่างไรให้ตัวเองดี ไม่เป็นภาระสังคม และกลับมาช่วยเหลือสังคมต่อ เราเหมือนเป็นชนเผ่าที่อพยพหนีร้อนมาพึ่งเย็นในแผ่นดินไทย ได้มีโอกาสมาทำงานในส่วนมูลนิธิของสมเด็จย่าฯ เราไม่ลืมบุญคุณ และจะถ่ายทอดให้รุ่นลูกรุ่นหลาน  เพราะรุ่นหลังไม่รู้ว่าที่ผ่านมารุ่นพี่ รุ่นพ่อ รุ่นปู่ รุ่นย่า ได้รับอะไร

          หลายคนที่ไม่รู้ ไม่มีทางเลือก ก็เป็นเหยื่อ ของคนที่รู้และมีทางเลือก ด้วยความไม่รู้ก็ถูกหลอก มีการเอาเงินมาล่อ ใช้บุญคุณต้องทดแทน ทำให้บางครั้งเกิดการถูกหลอกให้ค้าประเวณี

          สิ่งที่รู้ในโลกกว้าง ถ้าไม่ถ่ายทอดความจำเป็นให้เขาอาจทำให้เขาไม่เข้าใจว่าความเป็นสัจธรรมของความเป็นคนวัดกันที่วัตถุหรืออะไร ถ้าไม่เกิดความเคารพศาสนา จะทำให้มีจรรยาบรรณที่ดีได้อย่างไร

2. เรื่องงบประมาณ ในตำบลของท่านงบประมาณที่เก็บมา มีเรื่องภาษีโรงเรือน การประกอบอาชีพ เราได้ประโยชน์จากโครงการหลวงอย่างไร ต่างจากข้างล่างอย่างไร

ตอบ เราได้ภาษีโรงเรือน ป้าย ร้านค้า รายได้ทั้งหมดที่ได้ พอคิดจากการประเมินหน่วยงานรัฐ เราเก็บภาษีสู้เขาไม่ได้ ทั้งที่เราดูแลป่าต้นน้ำให้ แต่ด้วยกฎระเบียบทางกฎหมาย งบประมาณเพียงพอหรือไม่ ได้รับสนับสนุนจากส่วนกลางอยู่แล้ว อบต.มีธนาคารพาณิชย์ให้เช่า มีตลาด คนในหมู่บ้าน มีตลาดในหน้าบ้านเป็นแผงไปขาย มีการให้เจ้าหน้าที่ อบต.ไปคุยกับทางแม่ฟ้าหลวงว่า อบต.จะมาทำการตลาด ถ้า อบต. ไม่มีตลาด ก็เหมือนไม่มีรายได้ อบต.ทำการตลาดก็เสมือนการเปิดประมูล รายได้ส่วนนั้นปีหนึ่งหลายแสนบาท เรามีห้องแถวให้คนพื้นที่เช่าประกอบอยู่ 10 คูหา มีการเอางบประมาณมาลงให้ พื้นที่ตรงนั้นเดิมทีเป็นศูนย์เด็กเล็กและทำเป็นพื้นที่ตลาด ถ้าไม่ทำให้เพิ่มมูลค่า มีสิทธิ์ตกอันดับไป

3. สอบถามสุภาพสตรี 2 ท่าน การที่สิทธิสุภาพสตรีดีขึ้น มีผลต่อมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงอย่างไร มีการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ ในการศึกษาอย่างไร มีปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวหรือไม่อย่างไร

ตอบ มีเป็นส่วนมาก อยากเล่าถึงอดีตคือการเป็นครูอาสา ที่หมู่บ้านสี่หลัง ช่วงนั้นลำบาก และมีปัญหายาเสพติดที่หาซื้อได้ง่าย จะเห็นสภาพของผู้หญิงในอดีต คือ ผู้หญิงต้องไปทำไร่ทำสวน โดยเฉพาะเผ่าอาข่า แทบไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงสบาย เนื่องจากให้คุณค่าลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง ผู้หญิงแต่งงานต้องไปอยู่บ้านสามี ผู้หญิงแทบไม่มีบทบาทอะไรเลย หลังจากที่ดอยตุงเข้ามา สภาพปรับเปลี่ยนไป ทำให้เด็กรุ่นใหม่ค่อนข้างสบาย มีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน และส่วนใหญ่ผู้หญิงจะประสบความสำเร็จมากกว่าผู้ชาย เพราะเด็กผู้ชายไม่ค่อยจบ ป.ตรี ในหมู่บ้านมีเด็กผู้หญิงเป็นครูเด็กเล็ก ส่วนใหญ่ผู้หญิงมาประชุม ผู้ชายมีเพียงแค่ 10 % เรื่องการค้าขาย ผู้หญิงเก่งกว่าผู้ชาย  ผู้ชายส่วนใหญ่จะใช้แรงงาน

          ผู้หญิงสมัยนี้พัฒนาเร็วกว่าสมัยก่อน สินค้าของลาหู่หรืออาข่าไม่ค่อยทัน

          ในมุมคนรุ่นใหม่ เราได้รับโอกาสเหมือนกัน ผู้หญิงมีสิทธิเรียนเท่าผู้ชาย ผู้หญิงตั้งใจเรียนให้จบมากกว่า โอกาสและทางเลือกมาพร้อมศักยภาพมากกว่า คนได้รับสิทธิมากขนาดไหนขึ้นกับแต่ละคนเตรียมพร้อมรับโอกาสขนาดไหน

4. การจัดการความรู้ มีความรู้ที่ติดมาตั้งแต่เริ่มต้น กับการสร้างใหม่ อะไรคือ Key Success Factor

ตอบการจัดการความรู้ มูลนิธิฯ มีทีมที่จัดการความรู้ สิ่งที่ทำคือ พยายามตั้งคำถาม เช่นเมื่อเปิดโครงการฯ ใหม่ เช่นฝายทำอย่างไร ไปศึกษา ดูรายละเอียด และทำเป็นคู่มือให้ภายในได้ดู การลงชุมชน มีกระบวนการหลักคือการแชร์กันทางอินเทอร์เนตเป็นกระบวนการศึกษาภายใน ที่นี่เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชีวิตก็เผยแพร่ และนำไปต่อยอดได้ด้วย

การทำงานอย่างไรให้ส่งต่อและยั่งยืน ต้องทำกับการปฏิบัติให้รู้จริง มีการถอดบทเรียน และสอน และทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ถอดให้ได้ว่าทำอะไร และสื่อสารให้เป็นว่าทำอย่างไร การที่คนมาแลกเปลี่ยน ได้สะท้อนมุมมองคำถาม ให้กลับมาในพื้นที่ คนรุ่นก่อนมีประสบการณ์ แม้ไม่มีการศึกษาก็เป็นการแลกเปลี่ยนที่ดี มีการสื่อสารในพื้นที่ที่ดี  ชุมชนมีการขับเคลื่อน สื่อสาร ให้ข้อมูลที่ดี แต่ละคนมีน้ำใจทั้งรับและทั้งให้

5. ปัญหาเรื่องยาเสพติด และโสเภณีเมื่อ 30 ปี ปัจจุบันลดลง แต่มีปัญหาใหม่ ๆ อะไรบ้าง

ตอบ  มีการแก้ปัญหาความไม่รู้ด้วยการให้ลูกหลานเรียนรู้ ให้การศึกษาต่าง ๆ แต่ปัญหาคือ รู้มาก แต่ไม่ละเอียดพอ จึงอาจเกิดปัญหาเช่นคิดค้นอย่างเดียว แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลต่อเนื่อง เช่น ปัญหาขยะที่เกิดจากการคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ผลกระทบคือสิ่งแวดล้อม เราจะไปทิ้งที่ไหน เป็นปัญหาที่เราเจอ และคิดว่าเป็นปัญหาระดับโลก และจะต้องให้กลับไปช่วยแก้ไขแน่นอน ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากผู้รู้ เกิดการเผยแพร่ ส่งต่อผู้บริโภค แล้วเป็นปัญหาให้เรา แล้วไม่ได้แก้ไข ประโยชน์รับไป แต่เหลือสิ่งที่เราต้องกำจัดในพื้นที่เรา เราจะต้องแก้ปัญหาอย่างไรที่ แม้ฟ้าหลวงและอบต.ทำ เช่น ชุมชนทำการคัดแยกขยะ มีส่วนที่นำกลับไปใช้ใหม่ และกำจัดขยะย่อยสลาย ส่วนที่กำจัดเองไม่ได้เช่นขยะสารพิษ ไฟฉายหลอดไฟ ต่าง ๆ มีช่องเก็บ และอบต. จะส่งให้บริษัทที่กำจัดขยะต่อไป ขยะห้องน้ำ ต้องเผา และถ้าเผาแล้วจะกระทบคนอื่นหรือไม่  เราต้องหาวิธีอย่างไร การกำจัดขยะที่ดีที่สุดคือไม่สร้างขยะ การเผาขยะอย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องทบทวนกัน สิ่งที่สร้างความสะดวกสบายได้สร้างขยะ และใช้ทุกครัวเรือน ถ้าชุมชนไหนทำได้จะเป็นประโยชน์มาก ถ้าชุมชนไหนไม่นำขยะเข้าหมู่บ้านได้ ชุมชนนั้นถือว่าสุดยอด กลัวคนเก่งในการคิดทำ แต่ไม่คิดถึงอนาคต

6.  ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์  กล่าวถึงความขัดแย้งเป็นเรื่องธรรมชาติ ก่อนตกลงอะไรกันให้สร้างกติกาก่อน เช่นขอให้ทุกคนอย่าพาดพิงคนอื่น ให้พูดถึงเรื่องตนเองเท่านั้น ปรากฏว่าเอาอยู่ การยอมกันได้ต้องมีพื้นฐานที่คุยแล้วจบได้ ยอมได้ อยากอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข พื้นฐานคือความเอื้ออาทร ทำไมเราอยู่อย่างนี้ได้เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

ตอบสิ่งที่คุยคือการคุยกันด้วยเหตุและผล เริ่มจากฐานคิดว่าเราเป็นผู้รับมาก่อน คือเราได้อาศัยพื้นที่แผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จย่าฯ ให้เรา เราเป็นผู้รับมาตลอด และถึงเวลาที่เราเป็นผู้ให้เขาด้วย พื้นฐานจิตใจของคนที่อยู่ตรงนี้ถ้าชั่งน้ำหนักไม่ได้ต่างกันมาก

สำหรับโครงการที่ไม่ได้งบประมาณ จะมีการให้เหตุผลที่ต้องไปคุยกับชาวบ้านให้เข้าใจ เอาภาพถ่ายมาดูว่าจริงหรือไม่ มีสัญญาใจ บางครั้งในครั้งหน้าอาจไม่ได้ เพราะมีคนอื่นสำคัญ ที่จำเป็นต้องได้มากกว่า จะขับเคลื่อนทั้งตำบลให้ไปในภาพเดียวกัน จะเป็นเรื่องปกติที่เมื่อมีความขัดแย้งจะยึดอะไรเป็นหลัก หัวใจเบื้องลึกมีคำตอบหรือไม่

การตั้งโจทย์โดยมีคำตอบอยู่ในใจ คำตอบนั้นก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณปรารถนา ตอบไปก็ไม่มีประโยชน์ การที่เราตั้งคำถามได้ แต่เราต้องไปหาคำตอบที่ดีที่สุดนั้น อาจพบว่าเมื่อผ่านไป 2 ปีอาจเป็นคำตอบที่แย่ที่สุดก็ได้

7. บทบาทอะไรที่ทำให้ดอยตุงสำเร็จถึงปัจจุบัน

ตอบไม่ได้มีบทบาทอะไรมาก เพราะส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน ในตอนนั้นหาผู้รู้ภาษาไทยเป็นตัวกลางในการสื่อสารได้ ช่วงแรกเป็นผู้ชายสื่อสาร โชคดีที่ได้ทำที่บ้านลาหู่ ไม่ปิดกั้นผู้หญิง ได้ทำงานเป็นจิตอาสา เป็นเจ้าหน้าที่สังคม มารับพื้นที่และสำรวจทุกหลังคาเรือน ความเป็นอยู่ รายได้ รายจ่ายว่าทำอะไร มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ก่อนเพื่อให้สำนักงานดอยตุง และมีการกลับมาที่บ้าน เป็นผู้ประสานงาน

          ในหมู่บ้านผู้หญิงจะดูเรื่องหัตถกรรม มีการส่งเสริมเงินทุน สิ่งก่อสร้างสารพัดอย่างช่วงนั้นไม่มีเงินทุน ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ ช่วยตัวเองได้เอามาคืน ไม่ได้ทำสัญญาแต่เมื่อ 3-4 ปีผ่านไป ไม่รู้คืนให้กับใคร ก็คืนให้กับทางมูลนิธิฯ

8. ตอนแรก ๆ เกิดอะไรขึ้น ทำไมดอยตุงเข้ามาและประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการเข้ามา

ตอบ แนวคิดไม่ได้ต่างกันเลยของมูลนิธิฯ กับระบบรัฐ รัฐมาตามนโยบายและออกไปกับนโยบาย แต่มูลนิธิฯ มาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นก่อนคือเอาปัญหามากองก่อน แต่ภาครัฐ การเข้ามาชุมชนเป็นเรื่องยาก ถ้ามาในฐานะที่เขารู้ทันอยู่แล้วเขาไม่เห็นผล การสำรวจของมูลนิธิฯ ไปสำรวจ มีความละเอียดอ่อน ได้สาระ และการปัญหา ในพื้นที่ชัดเจน จะแก้ไขอย่างไรเมื่อเป็นเจ้าของงาน หากยังไม่ลงพื้นที่ เจอเก็บข้อมูลได้ดี คุณได้สำรวจได้รับรางวัล หลับตาเห็นทุกครัวเรือน ไปไม่ถึงร้อยละ 90 % ถ้าเอาคนในพื้นที่คนในพื้นที่จะทราบบริบท และสาระสำคัญ ถ้า ดร.มาสำรวจ ก็จะได้ข้อมูลแบบ ดร. แต่ถ้าเป็นข้อมูลจริง ลองทำด้วยตัวเอง เจอปัญหาจริง จะแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น

          การเป็นข้อมูลที่ไม่ใช่บริบทในพื้นที่จะลำบาก เพราะไม่รู้วิถีชีวิตที่แท้จริงว่าเป็นอย่างไร ใครจะเป็นคนกำหนดตราชั่งว่าอะไรตรงไหน

9. ในอดีตมีคำหนึ่งคือ ปมด้อย จากตัวอย่างการบริจาคผ้าห่มให้ชาวเขา ปัจจุบันรู้สึกว่าไม่น่าจะใช่ การรับบริจาคแท้จริงรู้สึกมึความสุขหรือไม่อย่างไร

ตอบการให้เป็นการให้ด้วยใจ มีมูลค่าทางใจ ด้วยจิตใจที่รับ ถ้าให้ด้วยความรู้สึกว่าด้อยหรือมองว่าอเนจอนาถ ก็ไม่ควรบริจาค ควรเก็บที่บ้านดีกว่า

10. ดร.เพชญ์ สอบถามว่าโครงการดอยตุงเข้ามาทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น มีคนรวยเกิดมาในชุมชนจะมีการจัดการความเหลื่อมล้ำอย่างไร ดอยตุงมีวิธีจัดการอย่างไรให้มีความยั่งยืนในอนาคต

ตอบดอยตุงจากการสำรวจมี 80 กว่าครัวเรือนที่รายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ ส่วนใหญ่ ผู้สูงอายุ และทำงานคนเดียว ความเหลื่อมล้ำดอยตุง มีแต่เกิดจากอะไร ต้องมองความเหลื่อมล้ำคือ บางคนทำธุรกิจ เป็นอาชีพสุจริต เราห้ามให้คนรวยไม่ได้ เช่นนำขยะเข้ามา มีวิธีการบริหารจัดการอย่างไร เช่นบ้านผาหมี รายได้ต่อวัน 1 ครอบครัว 50,000 บาท นักท่องเที่ยวเข้า 5-6 พันคน จะมีการจัดการขยะที่เกิดขึ้นอย่างไร มีคนได้รับประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ทำอย่างไรให้เกิดความเท่าเทียมกัน มีกติกา กำไรได้ แต่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิด อนาคตมีวิธีการป้องกันอย่างไร

          แต่ละครอบครัวมีพื้นที่ครอบครองเท่าไหร่ ไม่ยอมให้คนนอกเข้ามาในพื้นที่ แต่ทุกหมู่บ้านมีกติกา ในเรื่องการย้ายเข้า ย้ายออก การจัดการขยะ เราต้องมีระเบียบของ อบต. ของตำบล ต้องใช้เท่ากัน มีวิธีคิดให้ตัวเองร่ำรวย โดยไม่กระทบคนส่วนมากเป็นสิทธิของคุณ เทศบาลทำอย่างไรให้จัดการขยะได้ มีกี่ห้องที่รับได้ มีครัวเรือนกี่ครัวเรือน อยู่ที่ว่าจะเอานักท่องเที่ยวเข้ามาเท่าไหร่ กระบวนการดอยตุงไม่ได้แทรกแซง แต่เป็นพื้นฐานที่เข้ามาตลอด

11. ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แสดงความคิดเห็นว่ามีหลายเรื่องที่ตรงกับกลุ่มของเรา น่าจะมี 2 เรื่องใหญ่ ๆ คือการเป็นผู้นำท้องถิ่น สามารถประสานความหลากหลายได้ เป็นตัวอย่างที่ดี อยากใช้ตัวอย่างเหล่านี้เป็นกรณีศึกษาในเรื่องอื่น อยากเห็นตัวอย่างอื่นเช่นเดียวกัน เช่น เนลสัน แมนเดลา เข้าคุกไป 20 ปีก็ไม่ได้ฆ่าผิวขาว ถ้าจะนำตัวอย่างดอยตุงไปแนะนำกลุ่มอื่นมีข้อแนะนำอย่างไร สิ่งที่เห็นคือมีความขัดแย้งแต่แสดงถึงความปรองดอง ในผู้นำท้องถิ่นเห็นคดีทุจริตต่าง ๆ ใน ปปช.มากมาย ในกรณีของท่านจะมีคำแนะนำอย่างไร ในฐานะพบกับท่านผู้ว่าการฯ กฟผ. เจออนาคตผู้นำถ้ามีข้อเสนอแนะในการแนะนำแนวทางของ EGAT ในการแนะนำและเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ตอบ การทำอะไรสักอย่างหนึ่งคือ จะไม่เลี้ยงข้าวคนไม่รู้จักหิว เพราะเขาจะไม่รู้คุณค่า แต่ถ้ามองว่าจะส่งเสริมอะไรบางอย่าง ต้องยอมรับว่าของฟรีไม่มีที่สิ้นสุด เน้นการให้ของฟรีในการพัฒนาการต่อยอด ให้พัฒนาในสิ่งที่เขาขาด ต้องดูอาการให้รู้ว่าเขาคันตรงไหน แต่ถ้าไม่รู้แล้วอยากช่วยเขา โครงการฯนี้ล้มเหลว ยกตัวอย่างมูลนิธิฯ เข้ามาศึกษาวิจัยสิ่งที่เขาขาดก่อน อยากให้หลายองค์กร หลายหน่วยงานภาครัฐนำตรงนี้ไปใช้ ในเรื่องผู้นำท้องถิ่น ถ้าเข้ามาแล้วจะเอาอะไร จะโดนฟ้องแน่นอน แต่ถ้าเข้ามาแล้วชาวบ้านจะได้อะไรไม่โดนฟ้องแน่นอน คุณอยู่ตรงไหนก็ไม่โดนฟ้อง เพราะทำภายใต้ระเบียบ และระเบียบถูกอธิบายภายใต้เหตุและผล มุมมองของแต่ละคนทำให้ใสสะอาดได้ ไม่อยากให้พาดพิงถึงใคร คนเก่ง คนดีมีมาก แต่เสียกับความอยากของมนุษย์ ถ้าเอาเป้าชุมชนเป็นใหญ่ ไม่มีใครทำอะไรได้ แต่ถ้าเป้าหมายเป็นนายกฯ ก็จะโดน เสือ สิงห์ กระทิง แรดเอาอะไรมาล่อคุณ คุณต้องเผชิญกับความอยาก แต่ถ้ามาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่นเช่นกัน

12. มองการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอย่างไร

ตอบเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานอะไร ถ้าองค์กรหรือหัว มีวิสัยทัศน์ มีความซื่อสัตย์ อยู่บนธรรมาภิบาล องค์กรนั้นจะซื่อสัตย์มีความน่าเชื่อถือ คนทำอะไรรู้อยู่แก่ใจก่อน เรารู้อยู่แก่ใจแต่บางครั้งยังทำอยู่ บางครั้งต้องลองฝืน การบริหารองค์กรต่าง ๆ สิ่งที่ดีที่สุดในการบริหารคือความโปร่งใสในองค์กรและการมีส่วนร่วม สิ่งที่เราอยู่ร่วมกันได้คือ การมีส่วนร่วม รัฐบาลสนับสนุนกองทุน เพื่อช่วยเหลือในส่วนที่รัฐไม่ได้ให้ เราไม่ได้รอเงินจากรัฐบาล เราทำด้วยตัวเองจากเงินออม ความเป็นกลางไม่ได้ดีเสมอไป ความเอียงต้องเอียงอย่างมีเหตุผลร่วมกัน

เราช่วยเขาได้ตอนเขาทุกข์ แล้วเขาจะเห็นค่าเรา ให้เขามีส่วนร่วมในการตั้งกติกาจะมีความหมายมากขึ้น

13. ถ้าเห็นปัญหาในชุมชนแล้วอยากแก้ อยู่นอกความหมายที่ว่าหรือไม่

ตอบ คือ การเข้ามาแก้ไข แฝงนัยยะอะไรหรือไม่ ถ้าไม่มีเงื่อนไข เป็นสิ่งที่ส่งเสริม แต่ถ้าอยากเป็นพระเอกในคราบโจรจะไม่มีประโยชน์

14. โค้ชจิมมี่ ฟังแล้วรู้สึกถึงจิตวิญญาณของแผ่นดิน ไม่ใช่แค่กตัญญู แต่สำนึกถึงบุญคุณของพระองค์ท่าน วิธีการที่แต่ละคนพูดสัมผัสได้ถึงความรู้สึกในนั้น เรื่องเล่าไม่ใช่แค่ Story แต่ถ่ายทอดด้วย Feeling ด้วย ชื่นชมเพราะเป็น Learning ของประเทศชาติ เป็นการเชื่อมโยงทางจิตวิญญาณที่ทำให้เราเชื่อมโยงกันได้ เป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ 3 รุ่น ขอบคุณคำว่ามาให้หรือมาเอา ถ้ามาให้รับเดี๋ยวนี้เลย

สรุป การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนตามตำราแม่ฟ้าหลวง

หลักการหรือสิ่งที่สมเด็จย่าฯ ทำมีอะไรบ้าง

โดยคุณอมรรัตน์ บังคมเนตร

  • - ดอยตุงเริ่มต้น ปี พ.ศ. 2531

- รากเหง้าของปัญหา คือ เจ็บ จน ไม่รู้

- การยึดคนเป็นศูนย์กลางพัฒนา

- คนกับป่าต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างดีอย่างพึ่งพาอาศัยกัน

- 3 S Model ที่ใช้ในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย Survival , Sufficiency , Sustainable

- วิธีการคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา เป็นพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อ 25 ต.ค. 2522  
(การทำสิ่งใดหนึ่งนั้นได้ลงพื้นที่หรือยัง เดินดูหรือไม่ จะสามารถแยกแยะปัญหาได้ ทำใกล้ความจริงหรือไม่ และได้พูดคุยกับเขาหรือไม่ เพราะการพูดคุยจะเห็นแววตาและสิ่งที่เขาสื่อออกมา ความรู้สึกหรือจิตวิญญาณต้องใช้ความสัมผัส ถ้าไม่ลง เราไม่รู้ ให้พูดคุยกับเขาด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้ง และไม่มี Agenda เพราะเขาสัมผัสได้ ให้ทำเป็นนิสัย)

- เวลาพัฒนาต้องกลับไปดู ภูมิสังคม การพัฒนาคนต้องดูทั้งภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ชาวบ้าน ต้องเข้าใจ และรู้จักเขาด้วย คนไม่ชอบการบังคับ เพราะการพัฒนาไม่มีใครชอบบังคับ แต่ถ้าเราแนะจะได้

- ลงพื้นที่ วางแผน บนข้อมูลจริง (การลงพื้นที่อย่าลงโดดเดี่ยว ต้องทำงานร่วมกัน ปรึกษาหารือกัน หลักการทำงานคล้ายที่ดูที่หอสร้างแรงบันดาลใจคือ นำข้อมูลจริง มาพูดกัน บางปัญหาถ้าคุยกันในพื้นที่เคลียร์ได้ บางปัญหาต้องแก้ในที่ประชุม)

- โครงการ 30 ปี แบ่งเป็นระยะ ๆ ระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว พลาดไม่ได้ ถ้าพลาดความเชื่อมั่น ศรัทธาหมดแต่ตอนนี้ ถ้าแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ไม่สามารถตอบโจทย์ได้อย่างแน่นอน

- สร้างความเข้าใจ สร้างทีม มีผู้เชื่อมระหว่างชาวบ้านและโครงการฯ ใช้คนที่อยู่ในชุมชน เขาจะเลือกใครมาก็แล้วแต่ เมื่อเลือกมาแล้วเขาเป็นตัวแทนของคุณ คุณก็ต้องเชื่อเขาด้วย ปัจจัยอะไรที่สมเด็จย่าสร้างไว้คือตั้งแต่ที่เขาเป็น อสพ. ต้องใช้ข้อต่อตัวนี้เลือก เราสร้างอาสาสมัครพัฒนาชุมชน (อสพ.) สร้างคนให้ไปสร้างความมั่นคง

- สิ่งสำคัญที่สุดเป็นปัจจัยที่สำคัญคือการสื่อสาร Communication, Communication and more Communication หมายถึงการมีเป้าที่ชัดเจนว่าจะสื่อสารอะไรและพูดให้ช้ำ ๆ ชัด ๆ ย้ำให้เราคิดอยู่นั่นในเรื่องนี้ เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม จะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ทำให้อยู่กับเราตลอดไป สื่อสารชัดเจน และซ้ำ ๆ

- Participation , Participation, and more Participation หน้าที่ของคนทำงานคือทำอย่างไรให้กระตุกให้เขาคิด ให้ร่วมคิดและร่วมทำ เขาทำ เขาคิด และเขาคิด และทำ และรู้สึกความเป็นเจ้าของ ถ้ามั่นใจว่าของดี เขาจะยืนยันว่าดี

- ชาวบ้านได้อะไร ?

  1. 1. เชื่อมั่น ศรัทธา เข้าใจ – ถ้าเมื่อใดไม่สามารถทำให้เขาเชื่อมั่น ศรัทธา ไม่มีวันที่ทำให้เขาเข้าใจ เข้าใจให้ถูกว่าทีมที่ทำงานต้องทำงานหนัก ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ และตอนที่เราลงไปหาชาวบ้าน เรารู้จักและเข้าใจเขาอย่างถ่องแท้หรือยัง ถ้าเขาเข้าใจและดึงเขามามีส่วนร่วม ถ้าไม่เข้าใจ ไม่เคลียร์ เขาจะไม่เข้าใจและไม่ร่วมทำ
  2. 2. ชุมชนมีส่วนร่วม
  3. 3. ชาวบ้านเป็นเจ้าของ
  4. 4. บริหารจัดการเชิงพื้นที่
  5. 5. ประเด็นร่วม ประโยชน์ร่วมกันของคนส่วนใหญ่ ต้องให้ชาวบ้านเป็นคนคิด  มีกระบวนการคิดร่วมกัน การประชุมครั้งใหญ่มีการลงพื้นที่ มีการรายงานปัญหาทุกอย่างมารายงานข้อมูลเบื้องลึก เราต้องมีข้อมูลหลายด้าน
  6. 6. ความต่อเนื่อง
  7. 7. บูรณาการทุกภาคส่วน – ทำคนเดียวไม่ได้ เช่น เรื่องน้ำ ชลประทานหาน้ำ มีการมาเจอกันโดยไม่ได้นัดหมายจะทำอย่างไร พอทำงานร่วมกัน สิ่งที่เกิดขึ้น คนสร้างทางเป็นเงินประชาชน คนสร้างท่อน้ำเป็นเงินประชาชน
  8. 8. ปรับตามภูมิสังคม – ต้องมีการเคลียร์ปัญหาก่อน
  9. 9. ชาวบ้านได้อะไร ? .- ให้นึกว่าเงินที่ทำเป็นเงินกระเป๋าเรา ทำแล้วคุ้มค่า คุ้มทุน จะคืนกำไรอย่างไรบ้าง

- ปลูกป่า เพื่อปลูกคน

- ทำถูกกฎหมาย

          - จ้างแรงงานปลูกป่าสอนให้เรียนรู้

          - เป็นคนจัดสวน เรียนรู้จากการที่ทำงาน เมื่อทำได้ ทำเป็นให้เขาเป็นเจ้าของ ไม่ต้องเป็นลูกน้องใคร อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ ความเป็นเจ้าของเป็นจุดเริ่มของการพัฒนา

          - ภูมิปัญญาเดิม ศักยภาพที่มี

          - ออกแบบตามที่ต้องการ

          - พระราโชบายในการพัฒนาของสมเด็จย่าฯ  อย่าให้คนซื้อของเราเพราะสงสาร ต้องทำให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้ขาดทุน

          - ถ้าให้โอกาสทำให้คนสามารถพัฒนาศักยภาพได้เต็มที่ สามารถก้าวสู่เวทีโลก

          - แบรนด์ดอยตุง – สร้างสรรค์ ยั่งยืน พอเพียง เป็นต้นแบบ มีศักดิ์ศรี – คนซื้อเพราะมีคุณภาพและมีมาตรฐาน

          - สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ – สิ่งที่ยากคือการดำรงไว้ซึ่งคุณภาพและ GI ที่ได้มา

          - ธุรกิจเพื่อสังคม ถ้าทำตามที่ชาวบ้านทำได้คือ ผลิตภัณฑ์

          - เรานำเอาภูมิปัญญาเดิมมาใช้ในการผลิต โดยไม่กระทบสิ่งแวดล้อมด้วย เราต้องหา Partner ทั้งไทยและต่างประเทศ

          - International Partnership

          - ทำเสร็จแล้วชาวบ้านได้อะไร ต้องวัดผลได้ด้วย ให้เขาได้โอกาสทางการศึกษา เมื่อเราทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด พอเวลาเปลี่ยนไป จะได้ไม่ไปทางเลือกอื่น

          - พื้นที่ป่า คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้

           - เราไม่สามารถเลิกพัฒนาได้ แต่เราให้เวทีให้เขาแสดงศักยภาพตัวเอง

          - องค์กรทำธุรกิจเพื่อสังคม (เป็นต้นแบบให้ที่อื่น ๆ )

ดอยตุง ธุรกิจที่สร้างด้วยใจ
วิสัยทัศน์ : ธุรกิจดอยตุงเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับสังคม

พันธกิจ : แก้ปัญหาและพัฒนาแตกต่างอย่างสร้างสรรค์

1. Business with a Heart พัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

2. Profit with Purpose สร้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจร

3. Incubate Leaders for the future สร้างผู้นำและเจ้าของกิจการที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

นโยบาย : 1. ธุรกิจสีเขียว 2.การพัฒนาบุคลากรและชุมชน

- บริหารองค์กรเลี้ยงตนเอง

- มีรายได้

- เป็นต้นแบบการพัฒนาให้พื้นที่อื่น

- ดอยตุงธุรกิจที่สร้างด้วยใจ

- พาทำ การสอนที่ดีที่สุดคือ นำทำ พาทำ  ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา เราเป็นคนเริ่มทำ ทุกอย่างถ้าตัวเองรับผิดชอบ และทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

- ถ้าเราไม่ทำก่อน ชุมชนจะเชื่อเราหรือไม่ เช่น ถ้าเราคัดแยกขยะดีจะไม่มีขยะต้องทิ้ง จะขายได้หมด ทำประโยชน์ได้หมด

- การใช้พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน

- Uncycling Product

- ธุรกิจอย่างยั่งยืน

- การพัฒนาทางกาย ทางใจ และสติปัญญา

- ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เมื่อชาวบ้านได้รับโอกาส เขาจะสร้างแบรนด์ของเขาเอง แบรนด์ชุมชน

- มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงไม่ได้ทำแค่ดอยตุง ทำร่วมกับชุมชนอื่น ๆ นอกจากดอยตุง เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม

- การพัฒนาผู้นำดอยตุงรุ่นใหม่ เป็นคนดี และเก่งด้วยจะเยี่ยม

- ดอยตุงไม่ได้ทำทุกอย่าง มีผิด มีถูก แต่มีผิดและเป็นบทเรียนได้

- ปลูกป่า ปลูกเสริม ให้มีความหลากหลาย

- การสื่อสารสำคัญ การสื่อสารมีหลากหลาย มีหลายช่องทาง

- การปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก ให้ธรรมชาติปลูกเอง (แต่ไปส่งเสริมอาชีพ : ชาน้ำมันและการส่งเสริมปศุสัตว์)

- โครงการขยายผลไปต่างประเทศ ทุกคนมีส่วนร่วม  3 ส่วน  ประกอบด้วย รัฐบาลกลาง ผู้นำท้องถิ่น ชาวบ้าน

- ดอยตุง เป็นมหาวิทยาลัยมีชีวิต เป็นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ทำอะไรเพื่อให้เห็นอะไรต้องคุยกับชาวบ้าน มีข้อมูลที่ต้องร่วมกัน

- ค่ายเด็กเมือง เรียนรู้ชีวิตที่แท้จริงคืออะไร

- ห้องเรียนธรรมชาติ ให้เรียนรู้ไป

คำถาม การตลาด มูลนิธิฯ ยังทำให้อยู่หรือไม่

ตอบยังทำอยู่


วันที่ 28 สิงหาคม 2563

** ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับชาวบ้านและการลงพื้นที่จริง

นายถนอม ใจการ ผู้จัดการฝ่ายภาคสนามอาวุโส

          แชร์ประสบการณ์  ปัญหาของนักพัฒนาในการลงพื้นที่เอาอะไรจริงช่วยชาวบ้าน

1. ข้อมูลจริง – ตาดู หูฟัง จะได้ข้อมูลจริง คนเราไม่ว่าจะจบปริญญาตรี โท เอก การเห็นปัญหาพร้อมกัน ทางแก้ไม่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่อยากแบ่งปันคือการวิเคราะห์ปัญหาของเราที่เห็น อาทิ สมเด็จย่าฯ ลงมาพื้นที่ ท่านทรงหาประเด็นร่วม  ท่านบอกว่าปัญหาของดอยตุงที่ต้องได้รับการแก้ไขคือความยากจน เริ่มจากปากท้องก่อน ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องดิน เราต้องลงพื้นที่และหาประเด็นร่วมให้เจอ มีบางพื้นที่ที่อยู่ในป่า คนไม่สามารถอยู่ได้เนื่องจากป่าไม้ไม่ให้เขาอยู่ เขาต้องต่อสู้ เราจะทำอย่างไรให้เขาอยู่กับป่าให้ได้  เพราะคนที่จะไปพัฒนาต้องชี้ให้ชาวบ้านเห็นปัญหาในการจัดการกับป่า การรุกล้ำป่าจะอยู่ไม่ได้ คนกลุ่มนี้จึงทำแผนที่ไม่ให้รุกป่า และปลูกพืชเศรษฐกิจ ทำน้อยแต่ให้มูลค่าสูง สรุปคือเราต้องหาประเด็นร่วมให้ได้

          ชุมชนที่นี่เป็นชุมชนพื้นราบที่หนีไปอยู่ดอยสะเก็ด สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนมีการพัฒนาเป็น Home Stay มีชุมชนพัฒนาไปกระตุ้นให้ได้

          การช่วยชาวบ้านต้องได้ข้อมูลจริง จากตาดู หูฟัง และกระตุ้นให้เขาแก้ปัญหาจากปัญหาจริง ๆ

         

นายพงษ์ศักดิ์ อภิสวัสดิ์สุนทร ผู้จัดการส่วนพัฒนาสังคม

          ชุมชนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปแบบดอยตุงการจัดการที่ดีมีหลายแบบ ตรวจเช็คได้ว่าผิดพลาดตรงไหนเพื่อสร้างความเข้าใจตรงกัน

          อีกหมู่บ้านหนึ่งที่นับถือหลายศาสนา มีวันหนึ่งที่คนไปตัดหญ้าบริเวณประตูผี ประตูศักดิ์สิทธิ์ จะเอาคนที่กระทำผิดมาว่ากัน บางที่ศรัทธา เคารพอยู่ ก็ให้แต่ละที่ออกความเห็นว่าต้องการว่าแบบไหน ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักพัฒนาต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้ด้วย อีกเรื่องคือเวลาของ กฟผ. กับ ชาวบ้านต้องตรงกัน การตรงต่อเวลา ถ้าเป็นผู้นำ เวลาคุมไม่ได้ ก็น่าจะจบ

          การสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เราจะทำเป็นสิ่งจำเป็นมาก  เรื่องที่เราไม่เคยทำอาจกลัวความเสียหายกับองค์กร

          ถ้าเราเป็นนักพัฒนาต้องกินง่าย อยู่ง่าย นอนง่าย เราต้องเรียนรู้ความหมายว่าหมายถึงอะไร อย่างเช่นหัวหน้าว้า คุยภาษาจีน และเมียนมาร์ พอสื่อสารคุยกันได้

          คุณชาย ม.ร.ว.ดิศนัดดา เคยรับสั่งว่าว้าที่มาก่อสร้างกับเรา ให้เลี้ยงข้าวไปเลย ถ้าเราบอกให้กิน ให้กินเต็มที่เราต้องรับหน้า จุดที่ไม่มีใครไปเป็นจุดที่ยาก

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1 ผู้ว่าการฯ กรศิษฎ์ ภัคโชตานนท์ ถามว่าถ้านายอำเภอเชิญไปทานข้าว มีหัวเดียวจะทำอย่างไร

ตอบว้าบอกต้องมี 3 หัว ก็จะ 3 หัว

2. การไปก่อสร้างทำอะไร

ตอบ ว้าอยู่ตรงนั้นและปลูกฝิ่น ย้ายมาอยู่แนวตะเข็บชายแดนไทย-เมียนมาร์ เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ขอมาบอกว่าถ้าไม่ใช่มูลนิธิฯ แม่ฟ้าหลวงจะไม่เอา

3.ดร.จีระ  เสริมว่า เราเปิดประเด็นแม่ฟ้าหลวงกับต่างประเทศ ถูกมองว่าเป็นรูปแบบพื้นที่สูงในประเทศไทย ที่คุณพงษ์ศักดิ์พูดทำให้ ดร.จีระ ภูมิใจ  มูลนิธิฯ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถ้าถูกเผยแพร่ไปที่กว้างขึ้นจะเป็นประโยชน์  ท่านชาย ม.ร.ว. ดิศนัดดาเป็นที่ยอมรับของ UN เป็นแบรนด์ของมูลนิธิฯ ที่ไปช่วยสังคม หวังว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีโครงการใหม่กระเด้งออกมา อนาคตข้างหน้า EGAT ต้องมีการเชื่อมโยงกับต่างประเทศมากขึ้น เพราะเราไปสร้างสันติภาพให้เขา แต่น่าเสียดายที่คนไทยมองไม่ออก

ตอบโครงการฯที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ทำนั้นแท้จริงไม่ได้เพราะอยากไป แต่ต่างประเทศมาดูงาน เขามองว่าหลักการใช้ได้ เขาขออนุญาตในหลวงฯ ให้ไป ในหลวงฯ ดูว่าใครถนัดเรื่องนี้ เลยเลือกมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ไป แต่ไปนามของประเทศไทย คุณชายดิศนัดดา สอนเสมอว่า ทำดีอย่าเอาหน้า การไปด้วยเหตุผลเหล่านี้เป็นหลัก อย่าง อัฟกานิสถาน เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย UN ขอให้มูลนิธิฯ ไปในนามประเทศไทยเช่นเดียวกัน  เพราะว่าเราทำจริง จะถามอะไรในเวทีโลก  เราไปด้วยคนที่อยู่ในพื้นที่จริง ๆ เพราะถามอย่างไหน เขาก็ตอบได้หมด เพราะเขาเป็นคนทำงาน ดังนั้นโครงการอื่น ๆ เขาขอให้มูลนิธิฯ  ไปเพราะเห็นว่ามีประสบการณ์  แต่การไปทำจะแตกต่างตามบริบทของพื้นที่ อาทิ ดอยตุงเลี้ยงหมูดำ อัฟกานิสถานเลี้ยงแกะ อินโดนีเซียเลี้ยงแพะ

4. เวลาพูดเรื่องศาสตร์พระราชา หลายคนเข้าใจว่าเป็นคอนเซปต์ เราไม่รู้ว่าลงพื้นที่มีอุปสรรคอะไรบ้าง

ดร.จีระ เสริมว่า ต้องให้เขาเข้าใจก่อนว่าที่ไม่เมียนมา ไปเพื่ออะไร  และมีความสัมพันธ์ระดับหนึ่ง ถ้าปลูกฝังจะทำให้ กฟผ. มีแบรนด์เป็นที่ยอมรับ ในรุ่นนี้ความร่วมมือกับ ตปท. สำคัญ กรณีแบบนี้คนไทยไม่ค่อยรู้ อย่างอัฟกานิสถานถือว่าหินมาก การที่มูลนิธิฯ เข้าไปถือว่าเสี่ยงมาก แต่ก็ทำได้ดี

ตอบ เราทำงานร่วมกับ GIZ ทำงานกับประเทศที่เปรู โคลัมเบีย รับคณะหนึ่ง 2 อาทิตย์ การมาดูงานต่าง ๆ เป็น Partner กันระหว่างประเทศไทยกับ GIZ เราจะมีฝ่าย International ที่บอกว่ามี

5. ผู้ว่าฯ กรศิษฎ์ ถามว่าการร่วมมือกันแต่ละที่มีปัญหาหรือไม่อย่างไร

ตอบต้องมีการร่วมมือกับหลายส่วน การลงพื้นที่ ก่อนลงต้องเตรียมข้อมูล หาปัญหาก่อนว่ามีปัญหาอะไร และจะเอาอะไรแก้ปัญหาตรงนั้น สิ่งที่เข้าไปมีข้อตกลงกับรัฐบาล การลงในพื้นที่ ลงคนละบทบาท ต้องการพัฒนาคนให้รู้เรื่องการเกษตรให้รอด การดูพันธุ์สัตว์ จะทำอย่างไร เป็นต้น

          การเกษตร เขาทำไม่เป็นต้องทำในแบบวิถีชีวิตของเขา เรามีองค์ความรู้มากน้อยแค่ไหน ถ้าจะให้เขาเชื่อมั่นเราจะทำอย่างไร

          มี UN สัมภาษณ์เรา ทำไมมูลนิธิฯ ช่วยคนจนและไม่ช่วยคนรวย  แม่ฟ้าหลวงฯ จะช่วยคนจนเป็นอันดับแรก เพราะคนจนคิดว่ากลัวเอาเปรียบคนอื่น เราอย่าทิ้งคนกลุ่มนี้ เราต้องหาทางดึงคนกลุ่มนี้มาเป็นอันดับแรก เมื่อเขาได้ใจ เราจะขยับเรื่องไหนได้หมด ถ้าเขาศรัทธา เขาก็พร้อมจะทำอะไรก็ได้ เมื่อชาวบ้านศรัทธา เขาจะปกป้องและดูแลเรา

          คุณพงษ์ศักดิ์ เสริมว่าเรื่องข้อมูล Database ตั้งแต่เริ่มต้น การจัดระเบียบค่อนข้างเข้มงวด การพัฒนาจะยั่งยืน

          การตั้งกลุ่มวิสาหกิจดอยตุงเป็นวิสาหกิจที่แชร์เป็นหลัก ยกระดับเพื่อให้เขาไปต่อข้างหน้าได้ จุดไหนที่มีปัญหา สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาต่อไป 

          ถ้าเราเสียสละและไม่เลือกชนเผ่าจะดีมาก

          ความเป็นระเบียบการคุยและการสร้างความเข้าใจ ภาษาการสื่อสาร  การมองคนแตกต่างกัน เราต้องปรับกระบวนทัศน์ การให้โอกาสได้อะไร

          เราจะเรียกคนที่ติดยาและชนะการบำบัดว่าอาสาทำดี

          การเดินเข้าพื้นที่ต้องมีตัวต่อ มีหน่วยงานภาครัฐ มีการพาดูงาน ถ้าไม่มีคนนำเดินเข้าไปจะเหมือนคนแปลกหน้า

          กระบวนการสร้างความเข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจชาวบ้านก่อน ค่อยมาปรับ

6. ทำอย่างไรให้เขาไปต่อกับเรา

ตอบ ถ้าเรามองที่ประโยชน์ที่ชาวบ้านได้รับ อย่างไรเขาก็ต้องทำ อย่างไรเขาก็สำเร็จ มีผลสะท้อนกลับอย่างไร เพราะพอได้ผลครั้งหนึ่ง ก็จะเกิดพลัง

7. การหาแนวร่วมจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน

ตอบ     หลัก ๆ จะเชิญทุกหมู่บ้านที่ควบคุมดูแล มามีส่วนร่วมรับฟัง เราจะขอหารือว่ามีโครงการฯแบบนี้ใครจะขอ ทุกคนจะได้ประโยชน์  มีอำนาจ มีพ่อหลวงที่คนเชื่อฟัง แล้วคุยทีเดียว มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์  เข้าใจเขา เข้าใจเรา คิดกิจกรรม เป้าหมายต้องการสิ่งแวดล้อม ต้องการน้ำ ป่าไม่ให้เขาไปบุกรุก แต่อย่าเพิ่งกำหนดว่าเขาทำอย่างนี้อย่างนั้น

ขอให้ประสานลงพื้นที่นัดหมาย เราต้องเริ่มจากพัฒนาให้เขาอยู่รอด ให้ชาวบ้านได้ประโยชน์และเป็นของส่วนรวม จะทำให้การพัฒนาเร็วขึ้น

Data Base เบื้องต้นคุณชายรู้หมดว่าใครเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้นำ เป็นผู้นำศาสนา แต่บางจุดไม่ได้เก็บข้อมูลเต็มอาจไม่ทั้งหมด แต่ท้ายสุดแม่ฟ้าหลวงใช้ประชาคม 80% เห็นด้วยถึงทำ ใครจะเอาก็ยกมือและทำ โอกาสที่ไปถึงเส้นชัยจะมาก ใช้ทฤษฎีช่างตัดผม หลายหัวดีกว่าหัวเดียว

การร่วมแสดงความคิดเห็นฯ

คุณพิพัฒน์ จิตรนำทรัพย์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ เคยเรียนเรื่องระบบนิเวศธุรกิจ ที่ต่างประเทศเหมือนหลักการนี้ แต่เป็นกระดาษ  แต่วันนี้เจอประสบการณ์จริง เป็นผลหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การกระทำอะไรสิ่งแรกที่ต้องทำต้องมีผลเชิงข้อมูลให้ได้ ข้อมูลไหนเท็จ หรือจริง เพื่อเข้าใจปัญหา ใช้แนวร่วมและองค์ความรู้ในหน่วยงาน กฟผ.ต้องแสวงหาพันธมิตรในเรื่องสังคม สิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นข้อเท็จจริง ให้ทราบโดยทั่วกัน พยายามเข้าใจปัญหาในหลักสูตร รับทราบปัญหาของชุมชน หากลุ่มคนหรือแนวร่วมที่จะเข้าไปรับทราบปัญหาหรือได้รับการยอมรับ สร้างศรัทธา และความเชื่อที่เชื่อว่าสิ่งที่เอาให้เขาเป็นประโยชน์สำหรับเขา สิ่งที่เขาต้องทำมองประโยชน์ของประเทศ ต้องสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน และนำมาถึงจุดการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ได้

เริ่มต้นจากส่วนเล็ก ๆ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเอง พอมีปัญหาก็จะพูดคุยกัน บางคนมีกรอบต้องเข้าใจเขาว่าทำไมมีกรอบ ต้องมีเป้าหมายที่ต้องเกิดในการใช้อะไรบางอย่างที่อาศัยความรู้สึกร่วมมากกว่าประโยชน์ของฝ่ายแต่เป็นภาพรวมของประเทศชาติ

คุณถาวร ไทยยานันท์

โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เป็นความมหัศจรรย์ ที่ไม่ใช่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แต่เป็นโครงการที่ได้วางระบบเป็น Model ให้เราไปประยุกต์ใช้ได้ ผู้นำต้องมีจิตใจ และจริงจัง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างตรงจุดและทันทีทันใดให้ได้ ต้องหาจุดพิชิตให้ได้ว่าชาวบ้านอะไรให้ได้ที่แท้จริง แล้วชาวบ้านจะเชื่อใจเรา ลำดับถัดมาคือเรื่องพืชเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีเจ้าของ และนำสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ศาสตร์พระราชาแท้จริงก็คือการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา

ผู้ว่าการฯ กรศิษฏ์ ภัคโชตานนท์

สิ่งที่เกิดขึ้น แทนที่ชาวบ้านจะกวักมือเรียก ทำไมไม่มีใครอยากได้เรา ทั้ง ๆ ที่เราเป็นคนสร้างอะไรเต็มไปหมด เราทำอย่างนี้ได้อย่างไร อย่างการสร้างโรงไฟฟ้าภาคใต้ ความน่าสนใจคือทำไมไม่มียุทธศาสตร์ภาคใต้ เราเคยเข้าไปร่วมวิถีของชาวภาคใต้หรือไม่ เช่นประมง ภาพเราคือ เมื่อเข้าไปปุ๊บที่นี่เจริญแน่ ที่อื่นเรามีการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ดี เราชอบพูดว่าเดี๋ยวจะไปขอดูงานโรงไฟฟ้าแต่ถ้าอยากไปเที่ยวโรงไฟฟ้าต่างกันหรือไม่ สิ่งที่อยากเห็นคือโรงไฟฟ้าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวได้ด้วย และจุดกระบี่ โรงไฟฟ้าจะเป็นจุดที่ดีมาก ทำไมเราไม่ทำให้เหมือนการท่องเที่ยวที่ดี

เวลาออกแบบโรงไฟฟ้าต้องใช้การอกแบบของสถาปนิกและนักพัฒนาสังคม

ทำไมโซล่าร์ต้องมีแต่โซลาร์ เป็นองค์ประกอบสวย ๆ มีแต่คนอยากเข้าไป เราพูดถึงความยั่งยืนในศาสตร์พระราชาหมายถึงอะไร  ออกไปจะมีคนทำหรือไม่ จะเชื่อมกันระหว่าง Generation อย่างไร วิถีเดิมกับวิถีใหม่จะเชื่อมกันอย่างไร จะสร้างเด็กรุ่นใหม่อย่างไรให้ยั่งยืนต่อไปได้ ชอบศูนย์เด็กเล็ก

พูดจนให้ชินติดหู ติดปาก และต้องแสดงให้เห็นวิธีการด้วย อย่างศาสตร์พระราชาถ้าเข้าใจอย่างลึกซึ้งไม่ใช่ท่องจะนำไปใช้ได้ดีมาก

ศาสตร์พระราชาเป็นปรัชญา แต่วิธีการทำให้สำเร็จคือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา สามารถ Approach ได้ การเข้าถึงคิออะไร

สิ่งที่พยายามทำคือสายงานโรงไฟฟ้า สิ่งที่ไม่ได้ทำคือการเอาองค์ความรู้เก็บไว้เป็นระบบ มีการตั้งทีมวิชาการ คำว่าแกล้งดินคืออะไร ปรับดินคืออะไร การจัดการน้ำปลูกอินทรีย์กับปุ๋ยคืออะไร

กฟผ. ทำชีววิถี เราไม่ค่อยสนใจเรื่องความยั่งยืนหรือพอเพียงเท่าไหร่นัก อย่าง กฟผ.ไม่เคยสำรวจว่าถ้าขายปลาส้มอยู่ได้หรือไม่ ท้ายสุดต้องกลับมาที่การสร้างภูมิคุ้มกัน

การทำประชาคม การทำงานกับชุมชนใช้อำนาจไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องเห็นร่วมกัน เราต้องเข้าใจว่าอะไรคือเรื่องสำคัญ

ถ้าตลาดหยุด เราจะรักษาไม่ได้ เราต้องดูแลตลาด เพราะถ้าแบรนด์ดอยตุงเสีย จะเสียถึงกาแฟ ปัจจัยความยั่งยืนมีไม่เหมือนกัน

การเชิญชุมชนมาขายของ คำถามคือ เราช่วยเหลือเขาจริงหรือไม่ แต่เราไม่ได้เคยถามเขาจริง ๆ ว่าเขามีความสุขหรือไม่

เราซื้อของเพราะอยากช่วย หรือสงสารเขาเมื่อไหร่ คือการทำร้ายเขา ต้องเปลี่ยน Mindset เพราะไม่ใช่ตลาดที่แท้จริง เราจะสามารถจัดการได้ เอาเขามาขายของ เอาพ่อค้ามาพบผู้ผลิต

ถ้าเอาสิทธิพิเศษมาทำมาหากิน เท่ากับการนอนตาย เป็นการทำลายความเข้มแข็งของชุมชน เป็นมรดกที่ล้ำค่า

คนที่ได้รับสิทธิพิเศษ วันหนึ่งล่มสลายหลายคนแล้ว สงสารรัฐวิสาหกิจที่เป็นแบบนี้ เพราะเมื่อวันนึงถูกสังคมเปลี่ยนวิธีคิด เช่น ถ้ามองว่าเป็นเรื่องสาธารณะ คนที่ได้รับสิทธิพิเศษจะล้มและไปไม่รอดเลย

กฟผ.อยู่ได้ และที่เหลือไปอยู่กับกลุ่มผลประโยชน์ เน้นการสู้ด้วยกฎหมาย และถ้าได้เมื่อไหร่คุณจะนำไปใช้ เราทำได้ดีกว่าเขา ทำได้เมื่อไหร่ ค่าไฟต้องถูกและมั่นคง แต่ต้องทำ ไม่เช่นนั้นจะไม่ยั่งยืน แต่จะอยู่ได้เมื่ออยู่เหนือกว่าเขา

สิ่งสำคัญคือได้แรงบันดาลใจและไปต่อ ได้จากการดูงานประมาณ 20% แต่ล้ำค่าในการลงมือทำ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทำต่อเนื่องมา 16 ปี ในช่วงหลัง มีให้ทำศาสตร์พระราชา และไปดูงานที่เขื่อนสิรินธรด้วย เป็นครั้งแรกที่ได้มาพร้อมกับท่านกรศิษฏ์ ในโลกความเป็นจริงบางอย่างที่คาดไว้อาจไม่สำเร็จ ในนาม กฟผ. เมื่อกลับไป ระดับ Brain และความสามารถเมื่อกลับไปวัฒนธรรมเดิม เมื่อพูดเป็นSilo Mindset เอาแนวศาสตร์พระราชากลับมาค้นหาตัวเอง ทำแบบ Step by step เป้าหมายคือ Sustainability ท่านต้องทิ้งมรดกให้คนรุ่นหลัง EGAT ต้องไม่เป็นแบบองค์กรโทรศัพท์ หรือ CATT ทุกคนที่มาเรียนท่านต้องมี Leadership เพราะ Leader ไม่ได้มีคนเดียว อุปสรรคมีมาก มาคราวนี้น่าจะค้นหาตัวเองว่าความเข้าใจศาสตร์พระราชา แต่ความลึกซึ้ง ศาสตร์พระราชากับ กฟผ. จะหยิบตรงไหนเข้ามาเช่นเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม

ให้ระวังเรื่องความคิดที่ว่าการเป็นองค์กรใหญ่และสำเร็จในอดีต ขอยกตัวอย่างเคยไปศึกษาดูงานชุมพร กฟผ.เอารถคันใหญ่ไป ชาวบ้านไม่เข้าใจในความยิ่งใหญ่ ให้เปลี่ยนความคิดเป็น Action Plan ให้มีการทำงานต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง เมื่อมีความล้มเหลว ก็ให้ยืนหยัด เอาความเจ็บปวด (Pain) มาเป็นจุดให้เราอยู่รอดและก้าวต่อไป เอา Networking และ Teamwork มาผสมผสานกัน

สิ่งที่ได้วันนี้คือ Management Skill กับ Soft Skill อยู่ในส่วนตัวของคุณ สร้างวัฒนธรรมในการบริการชาวบ้าน

สิ่งที่ชอบท่าน กรศิษฏ์ คือตัว C  คือ Change แต่มีอีกตัวคือ Crisis เช่นเรื่องการเมือง กลับไปให้มีพฤติกรรม 3 อย่าง

1. มองลูกน้อง ให้เกียรติลูกน้อง Empower สอนเขา วันหนึ่งเขาจะขึ้นมา

2. บริหารเจ้านายให้ดี

3.. บริหาร Stakeholder คิดถึง Stakeholder อาทิ นักการเมือง

เคยเสนอให้ EGAT มี วปอ. ครึ่งหนึ่งเอาคน EGAT มาเรียน อีกครึ่งเป็นคนข้างนอก ต้องพยายามรู้จักไว้ ไม่เช่นนั้นค่าเจรจาต่อรองจะแพง

หมายเลขบันทึก: 681203เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2020 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2020 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท