การสังเคราะ์ผลงานวิจัยประเภท Meta R2R 63


การสังเคราะ์ผลงานวิจัยประเภท Meta R2R

(Content Synthesis Meta R2R)

ผลงาน R2R ประจำปี 2563 (กลุ่ม Meta R2R) มีผู้ส่งเข้าร่วมทั้งหมด 71 ผลงาน เข้าสู่กระบวนการพิจารณาใน 3 ประเด็น ดังนี้ ขั้นที่ 1 พิจารณาว่า ผลงานนั้นเข้าข่าย R2R และ Meta R2R หรือไม่ โดยอาศัยเกณฑ์ 4 ข้อของ R2R คือ 1) โจทย์วิจัยได้มาจากปัญหาในการทำงานประจำ 2) ผลลัพธ์งานวิจัยเน้นที่ผู้รับบริการ 3) การวิจัยดำเนินการโดยผู้ปฏิบัติงานประจำ (คนหน้างาน) 4) ได้นำผลงานวิจัยกลับไปพัฒนางานและขยายผลไปยังหน่วยงานอื่น และเกณฑ์ในการพิจารณาผลงานที่มีลักษณะเป็น Meta R2R คือ

1. เป็นการเช่ือมโยงของผลงานวิจัยR2Rที่เกิดขึ้นอย่างน้อย2ผลงานข้ึนไป

2. เป็นผลงานวิจัย R2R ท่ีตอบโจทย์ Issue based หรือ Area based

3. ในแต่ละเรื่องเป็นนักวิจัยกลุ่มเดิม (Core Team) หรืออาจมีเพิ่มเข้ามา แต่นักวิจัยหลักกลุ่มเดิมเป็นคล้ายผู้เดินเรื่องทําให้เห็น Transformation เกิดขึ้นทั้งในนักวิจัยและประเด็นที่ทําวิจัย

4. มี scale อยู่ 2 ระดับ คือ ระดับในองค์กร หรือระดับระหว่างองค์กร/สหสาขาวิชาชีพ

ขั้นที่ 2 พิจารณาผลงานที่เป็น R2R ในด้านระเบียบวิธีวิจัย (ความครบถ้วนและคุณภาพของบทคัดย่อ) ใน 10 หัวข้อต่อไปนี้ 1) อธิบายปัญหาหน้างาน 2) ขนาดและขอบเขตปัญหาได้ชัดเจน 3) เขียน knowledge gap หรือ research question ได้ชัดเจน 4) วัตถุประสงค์การวิจัยสอดคล้องกับปัญหาและวิธีแก้ปัญหา 5) วิธีการศึกษาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 6) ระบุ study design ชัดเจน 7) ประชากรกลุ่มตัวอย่างและการคัดเลือกขนาดตัวอย่างเหมาะสมกับรูปแบบการวิจัย 8) ผลการศึกษาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาให้ข้อมูลที่เพียงพอทั้งด้านข้อมูลจริงและสถิติ 9) เลือกใช้สถิติได้เหมาะสม/การวิเคราะห์ข้อมูลถูกต้อง 10) บทสรุปการศึกษา ขั้นที่ 3 พิจารณาเลือกผลงานที่มีความโดดเด่นและเขียนบทคัดย่อได้ครบถ้วน 

มีผลงานผ่านเข้าสู่การพิจารณารอบที่สอง จำนวน 21 ผลงาน โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณาในรอบที่สอง ดังนี้ 1. กระบวนการสร้างผลงานวิจัย  2. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อผู้ป่วย /ผู้ปฏิบัติงาน/หน่วยงาน/องค์กร 3. ระดับการนำไปใช้ประโยชน์ 4. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ผลงาน R2R ดีเด่นรวมทั้งสิ้น 7 ผลงาน

จากงานวิจัยทั้งหมดของ Meta R2R ส่วนใหญ่ทำการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น รองลงมาเป็นกลุ่มดูแลต่อเนื่องที่บ้าน และการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย และเป็นที่น่าสังเกต คือ มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่โควิด-19 นับเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมด ลักษณะงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาระบบหรือแนวทางของการดูแลผู้ป่วย มีการเชื่อมโยงกับสหสาขาวิชาชีพ และภาคีเครือข่ายในชุมชน สะท้อนถึงการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผลงานวิจัย R2R ดีเด่น 7 เรื่อง มีลักษณะที่โดดเด่น ดังนี้

1. สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในบริบทโรงพยาบาลชุมชนและนำไปเป็นโมเดลปรับใช้ในแต่ละพื้นที่ได้

2. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ทารกแรกเกิดที่มีภาวะวิกฤต เป็น Birth Asphyxia สะท้อนให้เห็นถึงระบบ Fast Track และมาตรฐาน ส่งผลทำให้การดูแล และการรักษาดีขึ้น มีการนำระบบ one stop service มาใช้ส่งผลให้เข้าถึงระบบบริการที่รวดเร็ว

3. การพัฒนาระบบเชิงบูรณาการการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของการขับเคลื่อนระบบสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

4. งานวิจัยเชิงระบบที่มีการเชื่อมโยงถึง Standard ของ HA เห็นหลายมิติ รูปแบบงานวิจัยชัดและการวิเคราะห์ปัญหาเป็นตัวอย่างที่ดี 

5. เป็นงานวิจัยในระบบ EMS ที่ทำเริ่มจากระดับชุมชน จนต่อยอดมาที่หน่วยงาน และทำให้เกิดการใช้งานและมีผลลัพธ์ในทางคลินิกที่ดีขึ้น

6. เป็นการศึกษาวิจัยในกลุ่มโรคหายากในผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย สามารถเป็นโมเดลต้นแบบ มีหลักฐานชัดเจนว่า ทาง สปสช. นำไปใช้ต่อในโรงพยาบาลอื่น/ เป็นตัวอย่าง Best Practice ให้คนอยากทำการเผยแพร่ผลงานระดับประเทศ

7. เป็นตัวอย่างของงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ชัดเจน /เป็นงานวิจัยระดับชุมชนที่มีการติดตามต่อเนื่อง/ มีความยากเรื่องเป็นพื้นที่ที่มีหลายชาติพันธ์ุวรรณนา /พยายามให้คนเข้าถึงสิทธิ์การรักษาของเขา / เขียนและเรียบเรียงงานวิจัยเชิงคุณภาพได้ดี

อ้างอิง http://www.r2rthailand.org/new...


คำสำคัญ (Tags): #meta r2r#r2r
หมายเลขบันทึก: 681060เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2020 14:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2020 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท