ผู้ไม่เห็นด้วยชาวไทยกำลังค่อยๆสูญหายไป และครอบครัวกำลังต่อสู้เพื่อหาคำตอบ


อย่างน้อยนักวิจารณ์ระบอบทหารและสถาบันกษัตริย์ 9 คน กำลังถูกลักพาตัวในขณะที่เดินทางออกนอกประเทศ และเจ้าหน้าที่ไทยกำลังเพิกเฉยต่อคำถามที่เกี่ยวกับการลักพาตัว แหล่งข่าวมาจากครอบครัว

กรุงเทพฯ---ผู้ไม่เห็นด้วยชาวไทย 3 คนที่ลี้ภัยอยู่ในลาวกำลังขาดการติดต่อเป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาเมื่อปีที่แล้ว มีศพ 2 ศพปรากฏขึ้นที่ชายฝั่งแม่โขง แขนขาถูกมัดรวมกัน และท้องถูกยัดด้วยคอนกรีต

นักกิจกรรมอีก 3 คนที่ลี้ภัยไปอยู่ในเวียดนามไม่ปรากฏตัวมาปีกว่าแล้ว ตั้งแต่พวกเขาถูกส่งมาให้อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ไทย โดยรัฐบาลเวียดนาม ตามสนธิสัญญาทางการเมือง

เดือนนี้ วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นนักกิจกรรมประชาธิปไตยลี้ภัยในกัมพูชา ถูกมัดแล้วจับยัดไปรถยนต์สีดำพร้อมชายที่มีอาวุธ ตามคำกล่าวของพยาน คำสุดท้าย ที่เขาโทรศัพท์คุยกับพี่สาวคือ “หายไม่ออก”

พวกที่ลี้ภัยทั้งหมดเกิดขึ้นหลังจากการรัฐประหารในปี 2014 จะมี 2 สิ่งอยู่ร่วมกันคือ พวกเขาวิจารณ์สถาบันที่ทรงอำนาจมากที่สุด นั่นคือระบอบทหารและสถาบันกษัตริย์ ต่อมาพวกเขาก็สูญหายไป

จากข้อมูลของกลุ่มสิทธิมนุษยชน อย่างน้อยมีนักวิจารณ์ 9 คนสูญหาไปตลอด 2 ปีมานี้ มันเป็นการสูญหายที่เป็นระบบเดียวกัน นั่นคือสาธารณชนไทยมีความยากลำบากที่จะไม่รับรู้ ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายเอาผิดทางอาญากับคนที่เห็นต่าง และการประกาศสภาวะฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของของโคโรนาไวรัส

Nuttha Magattana ที่เป็นนักกิจกรรมประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ กล่าวว่า “ผู้คนตระหนักรู้ร่วมกันว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นในประเทศ สิ่งนี้ควรเป็นประเด็นที่ประชาชนจะตั้งคำถามกับเจ้าหน้าที่ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น: ทำไมคนดีๆจึงถูกลักพาตัว?”

ในขณะที่ประชาชนที่กำลังสวมใส่หน้ากากรวมตัวกันไปทั้งประเทศไทยเพื่อร่วมรำลึกวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี 1932 ที่สิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีหลายคนแสดงภาพวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์

เมื่อต้นเดือน อดีตนางงามได้แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนที่ต้องการจะรู้ชะตากรรม

Maria Poonlertlarp ที่เป็นอดีตนางงามจักรวาลเขียนในอินสตาแกรมว่า  “ฉันยืนอยู่ข้างเดียวกับคนที่ต้องการจะพูดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งผิด และเราต้องการคำตอบ”

ถึงแม้ว่ามันจะมีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นเขตร้อนที่เหมาะกับการท่องเที่ยว แต่ประเทศไทยยังคงวนเวียนกับประวัติศาสตร์ของการรัฐประหาร, คว่ำการเลือกตั้ง, และมีผู้ประท้วงตามถนนที่โหดร้าย การหายไปแบบถูกบังคับ (forcible disappearance) ซึ่งเป็นเทคติกในประเทศแถวอาร์เจนตินา หรือชีลี กำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ที่มีใหม่มากขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

กลุ่มจับตาเรื่องสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า “ตั้งแต่การรัฐประหารเดือนพฤษภาคม ปี 2014 เจ้าหน้าที่ไทยได้ไล่จับเพื่อจับกุมนักกิจกรรมประชาธิปไตย ที่ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน”

โดยที่ไม่มีความชัดเจนในกรณีต่างๆ ญาติๆของพวกเขาตกอยู่ในความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างเหลืออด

Sitanan Satsaksit ที่เป็นพี่สาวของวันเฉลิม กล่าวว่า “เราไม่รู้ว่าเขายังอยู่หรือตายไปแล้ว และเราไม่รู้เรื่องอะไรทั้งหมดเกี่ยวกับตัวเขาเลย”

วันเฉลิม อายุ 37 ปี เป็นเด็กชนบทภาคอีสาน ที่เป็นที่รับรู้กันว่าเป็นไม้เบื่อไม้เมากับชนชั้นสูง เขาเคยเป็นประธานนักเรียน หลังจากเรียนจบวิทยาลัยแล้ว เขาเป็นกลุ่มประชาสังคมสีเขียว

สำหรับการเลือกตั้งในศตวรรษที่ 21 คนไทยโดยส่วนใหญ่จะเลือกพรรคที่มีแนวคิดแบบประชานิยม แต่การรัฐประหารปี 2014 ได้ทำให้พวกนักกิจกรรมกระจายไปลี้ภัยแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วันเฉลิมลี้ภัยไป 6 ปี เพราะเขาต้องไปเข้าค่ายปรับทัศนคติ ที่จัดขึ้น ณ ค่ายทหาร เพราะเขามีทัศนคติทางลบกับการรัฐประหาร คนเป็นพันต้องเข้าค่าย และบางคนใช้เวลา 1 อาทิตย์

ช่วง 2-3 ปีแรก เขาแทบจะไม่ติดต่อกับญาติพี่น้อง เพราะกังวลกับความปลอดภัยและตัวของเขาเอง พี่สาวเขากล่าว ต่อมาเขาคิดว่าสมควรทำอะไรในเชิงวิจารณ์ได้แล้ว เขาจึงเริ่มโพสต์การวิจารณ์รัฐบาลทหารทางสื่อสังคมออนไลน์

หนึ่งวันก่อนการหายตัวในวันที่ 4 มิ.ย. วันเฉลิมได้วิจารณ์ประยุทธ์ จันทโอชา นายกฯ ที่เป็นคนจัดการการรัฐประหารเมื่อรอบที่แล้ว

คุณ Sitanan กำลังถือสายคุยกับเขา ตอนออกไปซื้ออาหารในกรุงพนมเปญ ที่เป็นเมืองหลวงของกัมพูชา ทันใดนั้น เธอได้ยินเสียงของชายชาวเขมร และได้ยินเสียงปัง ปัง ปัง

เธอกล่าวว่า “ฉันได้ยินทั้งหมด”

ในฐานะที่เป็นลูกจ้างในตลาดแห่งนั้น แต่ที่ไม่เปิดเผยชื่อ เพราะกลัวความผิด กล่าวว่า เธอเห็นวันเฉลิมเกือบทุกวัน ก่อนวันถูกลักพาตัว เธอเห็นรถยนต์สีดำมาด้อมๆมองๆแถวร้าน

เธอยังกล่าวอีกว่าวันเฉลิมถูกรุมล้อมและถูกมัดขึ้นรถยนต์

คนรอบข้างพร้อมจะช่วยเหลือ แต่ชายเหล่านั้นมีอาวุธ

Jeremy Laurence ที่เป็นผู้จัดการด้านสื่อขององค์กรสิทธิมนุษยชนในเจนีวา กล่าวว่า “รากลัวเรื่องความปลอดภัย และการหายไปของเขาในพนมเปญเป็นการหายไปแบบถูกบังคับ”

ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวว่า สภาผู้แทนได้ติดต่อกัมพูชาเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้

Chhay Kimkhorun ที่เป็นโฆษกของกรมตำรวจ กล่าวว่า รัฐบาลกรุงพนมแปญไม่ได้สั่งให้จับวันเฉลิม ตำรวจสวบสวนกล่าวว่า อคนที่ลี้ภัยชาวไทยไม่ได้อยู่ในตึกหลังนั้น แต่เพื่อนๆและเพื่อนร่วมงานกล่าวตรงกันข้ามกัน Chhay Kimkhorun กล่าวว่า เจ้าของตึกบอกว่าไม่รู้จักวันเฉลิม และทะเบียนของรถยนต์สีดำเป็นของปลอม

เขายังกล่าวอีกว่าระยะเวลาของวันเฉลิมที่อยู่ในกัมพูชาหมดไปตั้ง 3 ปี

เขายังกล่าวอีกว่า “หากเขาอยู่ในกัมพูชาจริง สิ่งนั้นก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย”

กัมพูชาถูกปกครองด้วยระบอบเผด็จการมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึงทุบทำลายฝ่ายตรงข้าม, จองจำฝ่ายค้าน, และนักกิจกรรมด้วย

เมื่อพูดถึงประเทศไทย ข่าวของการลักพาตัววันเฉลิมถูกกระจายจากนักกิจกรรมประชาธิปไตยจนไปสู่สาธารณชนในวงกว้าง ในประเทศไทยที่มีกฎหมายอย่าง พรบ.คอมพิวเตอร์ และการหมิ่นกษัตริย์ ทำให้การพูดเรื่องนี้อาจถูกจับได้ ดังนั้นหลายคนจึงนิ่งเงียบ

Praya Lundberg ที่เป็นนางแบบและนักแสดงหญิงชาวไทย และได้เป็นทูตของผู้ลี้ภัยแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้เขียนในอินสตราแกรมว่า “สถานการณ์นี้มีความอ่อนไหวและซับซ้อน”

เธอเขียนว่า “ฉันสนับสนุนสันติ และไม่สนับสนุนเรื่องทางการเมือง” และกล่าวเสริมว่าในกรณีนี้ “ไม่ใช่การต่อสู้ของฉัน”

ตัวแทนองค์การสหประชาชาติผู้ลี้ภัยในเจนีวากล่าวว่าจะไม่มีการให้คำวิจารณ์ในเรื่องปัจเจก

แต่คนอื่นๆ เช่น อดีตนางงามจักรวาลกลับแสดงการเป็นห่วง นักกฎหมายฝ่ายค้านกำลังจะทบทวนร่างการทำทารุณกรรมและการหายไปโดยการบังคับ เมื่อปลายปีที่แล้ว ร่างได้ถูกดอง และรอให้เจ้าหน้าที่ทบทวน

อย่างไรก็ตาม คนที่ต่อสู้ในนามวันเฉลิมกำลังดูความพยายามของพวกเขา

Rangsiman Rome ที่ทำหน้าที่คณะกรรมการกฎหมายของสภาผู้แทนกล่าวว่า “ไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด เพราะตำรวจไม่ได้สอบถามพยานและการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุยังไม่มี”

Kanya Theerawut ที่เป็นแม่ของ สยาม ธีราวุฒิ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สูญหายในเวียดนามเมื่อปีที่แล้ว ได้เขียนจดหมายแล้วจดหมายเล่าไปที่ตำรวจไทย, รัฐบาลไทย, และเจ้าหน้าที่เวียดนาม แต่ไม่มีข่าวคืบหน้า

เธอกล่าวว่า “ทุกๆคนพูดเหมือนกันว่า ไม่มีหลักฐาน ฉันยังคงไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหน แต่ฉันยังคงเฝ้าคอย”

ในกรุงเทพฯ Ms. Sitanan ที่เป็นพี่สาวของวันเฉลิม ต้องระมัดระวังคนแปลกหน้า ที่มาด้อมๆมองๆแถวบ้าน เธอไม่เคยไปไหนมาไหนคนเดียว ประมาณ 2 ปีกว่าแล้ว ที่นักกิจกรรมชาวไทยถูกทำร้ายโดยคนแปลกหน้า

สำหรับครอบครัวของวันเฉลิม พี่สาวยังคงรีรอการจัดงานศพ

เธอกล่าวว่า “ความหวังของเราหดหายลงทุกวัน แต่หากไม่มีสิ่งใดยืนยันว่าเขาเสียชีวิตแล้ว เราในฐานะครอบครัวยืนยันว่ายังมีโอกาส”

 แปลและเรียบเรียงจาก

Hannah Beech. Thai Dissidents Are Disappearing, and Families Are Fighting for Answers

https://www.nytimes.com/2020/06/26/world/asia/thailand-dissidents-disappeared-military.html

หมายเลขบันทึก: 679718เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2020 18:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2020 18:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท