KM อุปมา : โยนลูกบอล - ยังไม่มีนโยบาย (เลยยังไม่ทำ)


ระหว่างประมวลแบบสอบถามจากงานมหกรรมการจัดการจัดการความรู้แห่งชาติ  ครั้งที่ 3   อยู่ (ยังไม่เสร็จครับ)   ผมเจอคำตอบซ้ำๆ  จากหลายท่านที่ตอบว่า

"ยังไม่เคยทำ KM    เพราะยังไม่มีนโยบาย"

เลยทำให้ความคิดผมแล่นปรู๊ดไปจับกับคำอุปมาที่ได้มาเมื่อครั้งไปดูงาน  The Toyota Way   เรื่อง "การโยนลูกบอล"

ความหมายของคำ    ในตอนนั้นที่จับได้ก้อคือ   ทักษะการโยนลูกบอล  ซึ่งหมายถึง  ทักษะของคุณเอื้อ  หรือท่านผู้บริหาร  เป็นทักษะในการออกนโยบายที่จูงใจให้คนทำงาน  ลุกขึ้นมารับแล้วเอากลับไปทำ  อย่างเอาจริง เอาจัง

แต่กรณีที่ผมเจอในในแบบสอบถาม  หมายถึง  ยังไม่มีการโยนลูกบอลมา   เลยไม่มีการกระทำอะไร

ทำให้ผมย้อนนึกไปถึงเกมกีฬาอีกครั้ง    เคยเล่นฟุตบอล (หมายถึงเตะจริงๆครับ ไม่ได้พนันบอล)   ตอนเด็กๆ เวลาซ้อมฟุตบอล  ครูจะสอนว่า  "คนไหนที่ไม่ได้ครองบอล  อยู่ในขณะนั้น  เราก็ต้องหาทางวิ่งทำทางบอล"   นั่นก็หมายถึงว่า

ทุกคนในทีมต้องมีสติอยู่เสมอ    คนที่วิ่งเปิดทางบอลดีๆ  จะช่วยให้การโยนบอลง่ายขึ้น   ผ่านบอลได้ดีขึ้น   แล้วเกมจะพลิกมาที่ฝ่ายเราได้ง่ายขึ้น

กลับมาเทียบกับการทำงานอีกครั้ง   คนโยนบอล ก็คงประมาณผู้บริหาร  ตอนที่ลูกบอลอยู่ที่เท้าท่านในตอนนั้น   ก็คงจะมองหาตำแหน่งที่จะโยนบอลเหมือนกันว่าตรงไหนจะดีที่สุด   

ประเด็นอุปมาของผมจึงไม่ยึดอยู่กับ "การโยนบอล"  เพียงฝ่ายเดียว    แต่รวมไปถึงศาสตร์และศิลป์ของการ  "วิ่งเปิดทางบอล + การรับบอล"   รวมอยู่ด้วย

เลยอยากชวนกันคิดต่อว่าทำอย่างไรหนอ?   ให้การทำงาน เป็นเหมือนกับตอนที่เราอยู่ในเกมกีฬา   เรามีสมาธิกับมัน  จดจ่อกับมันขณะที่เราเล่น  และเรามักจะลืมเรื่องอื่นๆที่มากวนใจในดีในขณะนั้น   คนโยนบอลก็ฝึกโยนให้แม่น  อย่างเดวิด แบ๊คแคมส์  ที่ 70% แม่นเหมือนจับวาง  ส่วนทีมคนอื่นๆ ก็ช่วยกันฝึกทักษะการรับบอล  เลี้ยงบอล   และวิ่งทำทางบอล   และรวมถึงทักษะในการทำประตูด้วยนะครับ

เฮ้อ....คิดไปได้นะคนเรา

ว่าแล้วก็รีบเรียกสมาธิกลับมา   ตั้งหน้าประมวลแบบสอบถามต่อให้เสร็จ  เดี๋ยวส่งให้อ้อม (อุรพิณ) ไม่ทันพรุ่งนี้   โดนเป่าฟาวล์แน่ๆเลย  

 

หมายเลขบันทึก: 67926เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2006 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
เปรียบเทียบได้โดนมากครับ จะนำไปปฏิบัตินะครับ

แต่หากท่านๆ ไม่ได้นึกว่าต้องโยนบอลมา แต่เราวิ่งหาเปิดทางหรือหาตำแหน่งที่น่าจะเหมาะสม แต่ไม่เคยได้บอลเลย สุดท้ายเราอาจจะเหนื่อยและท้อและไม่อยากเล่นอีกเลย

หากผู้บริหารไม่ได้คิดแบบเพื่อนร่วมทีม แต่พกคุณอำนาจมาแทน ทีมก็แพ้แหงๆครับ 

หลักของเกมกีฬา ทุกคนในทีมสำคัญเท่าๆกันหมด ...และจงระลึกเสมอว่าคนที่ทำประตูได้นั้นเป็นบุคคลที่มีความสามารถ แต่คนที่ส่งบอลให้เพื่อนทำประตูได้นั้นมีความสามารถยิ่งกว่า

เพราะฉะนั้นหากเปรียบเทียบการทำงานกับกีฬาฟุตบอลก็สนุกดีนะครับ ทำให้ทุกคนระลึกเสมอว่าทุกคนเป็นส่วนสำคัญของทีม

และที่สำคัญเมื่อเป็นทีมเวิร์กแล้ว คงจะไม่มีนักกีฬาที่ฉายเดี่ยว (เก่งอยู่คนเดียว) เพราะคงทำให้ทีมไปไม่รอด แถมเพื่อนร่วมทีมก็คงเซ็งน่าดู ...เปรียบเทียบกับหลัก KM อีกทีหน้าที่ คุณเอื้อ คุณอำนวย คุณกิจ และคุณลิขิตก็มีส่วนสำคัญพอกัน ที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปได้ตามเป้าที่มุงหวังครับ.

 

                            ขอบคุณพี่ธวัชที่ชวนคิดครับ

     นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ได้ครับท่าน ทันครับผม เหมาะสมครับเจ้านาย" คือวิถีการทำงานของประชากรส่วนใหญ่ในหน่วยงานต่าง ๆ ของสยามประเทศ คือไม่สั่งไม่ทำ พอเวลาสั่งก็ไม่ทำอ้างว่าทำไม่ไดทำไม่เป็น ไม่รู้เรื่อง ยังไม่ได้trainในเรื่องนี้ ฯลฯ ๆๆๆๆๆ

    อุปมาเสมือนดั่งเล่นฟุตบอลล์แล้วไม่วิ่งหาลูก รอลูก รอคนใส่พานมาให้ มิหนำซ้ำพอได้ลูกแล้วแทนที่จะยิง กลับเตะโด่งส่งกลับยังผู้รักษาประตู (55555)

    ชนเผ่านี้มีความอยากเป็นสรณะ อยากได้ อยากทำ อยากเป็น หากตัดคำว่าอยากออกก็จะเหลือคำว่า "ได้ทำเป็น" แค่นี้แหละ KM ไม่ต้องรอนโยบายก็ทำได้ ง่ายนิดเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท