การคัดกรองหรือ Triage


การคัดกรองหรือ Triage

ในความหมายเชิงวิชาการ คือ การจำแนกผู้ป่วยตามลำดับความเร่งด่วนที่ต้องการรักษา 

หรืออาจกล่าวได้ว่า "เป็นการมองหาภาวะคุกคามของชีวิต และประเมินภาวะเสี่ยงต่างๆ อย่างรวดเร็ว ก่อนตัดสินใจจำแนก และส่งผู้ป่วยไปรับการรักษายังพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป"

"การคัดกรอง...ทำโดยคน ที่ต้องมีความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ร่วมกับการใช้เครื่องมือ...เช่น Triage Checklist"

ในการ Triage ความไวและความแม่นยำ เป็นเรื่องสำคัญมาก ... เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

Overall assessment ควรประกอบด้วย

  • ถามอาการสำคัญ
  • ประเมินลักษณะโดยทั่วไป
  • ประเมิน ABCD และ PMO 

[ A= Airway, B=Breathing,C=Circulation,D=Disability]

[P=Pain, M=Mental problem, O=Ocular problem]

ในสถานบริการใครควรจะทำบทบาทนี้...

ยิ่งถ้าคนทำมีความรู้ มีความประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ ยิ่งจะส่งผลให้ผู้มารับบริการได้เข้าถึงระบบบริการที่ถูกต้อง และรวดเร็ว ถือว่า เป็นคุณภาพของหน่วยบริการนั้นๆ

Triage ...แล้วค่อยส่งไปซักประวัติประเมินอาการอย่างละเอียดต่อไป ในหน่วยบริการที่เหมาะสม

จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยใช้บริการในระบบโรงพยาบาลใหญ่ๆ ที่มีการพัฒนาคุณภาพ หากเราเป็นผู้ป่วยรายใหม่ที่เดินเข้าไปในโรงพยาบาลนั้นๆ จะผ่านการคัดกรอง ไปสู่กระบวนการซักประวัติ และตรวจ จากนั้นก็ค่อยเข้าไปสู่ระบบการรักษาที่เหมาะสมตามอาการที่เจ็บป่วย 

ถ้าเราทำได้ทั้งหน่วยบริการเล็กๆ ไปจนถึงหน่วยบริการใหญ่ๆ ...โอกาสที่ประชาชนจะได้รับการช่วยเหลือบำบัดรักษาจะมีคุณภาพมากๆ 

และจากประสบการณ์ที่ทำหน้างานที่ ARI Clinic มันมีคำศัพท์ที่เราจะเริ่มคุ้นเคยกันบ้างแล้ว เช่น ARI หรือ Acute Respiratory infection หมายถึง โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจตั้งแต่ช่องจมูกถึงถุงลมในปอด มีอาการไม่เกิน 4 สัปดาห์ 

สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้คือ เรื่องการคัดกรองเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของเคส PUI ซึ่ง PUI นี้ย่อมาจาก Patient Under Investigation หมายถึงผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค COVID-19  ซึ่งก็คือคนที่มีอาการและประวัติเสี่ยงต้องได้รับการตรวจหาเชื้อ และอาการของ URI หรือ Upper respiratory infection (URI) หมายถึง โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้น คือ เริ่มตั้งแต่จมูกจนถึงกล่องเสียง และ LRI : Lower respiratory infection หมายถึง โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนล่าง คือ เริ่มตั้งแต่ส่วนบนของหลอดลมไปจนถึงถุงลมในปอด

เลยลองสรุปตามตารางภาพ

แต่จากการทำงานตั้งแต่ 17 มีนาคมถึงปัจจุบัน (15 กรกฎาคม) ก็ยังพบว่าในการคัดกรองหรือ Triage ยังมี error เกิดขึ้นในเชิงระบบ จาก Knowledge gap ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องศึกษา วิจัย และนำไปสู่การพัฒนาในเชิงระบบอีกต่อไป

ตอนนี้เริ่มลงมือศึกษาวิจัยประเด็นนี้อยู่ค่ะ

#Noteความคิด

15-07-63

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r#ARI Clinic
หมายเลขบันทึก: 678788เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2020 11:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

Yes “การคัดกรอง…ทำโดยคน ที่ต้องมีความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ร่วมกับการใช้เครื่องมือ…เช่น Triage Checklist” in theory, but what really happens in practice?

More often than not ‘decisions’ are made by ‘reception nurses’ (for simple reasons like ‘experienced doctors are busy’ or ‘the patient is making too much fuss’). Perhaps one day triage reception robots will do this job and schedule certain (preset) treatment (bed, equipment, nurses, doctors, …) at the same time.

Anyone has a plan to do Masters or PhD on Intelligence Hospital Admission?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท