ยุคปฏิวัติการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด


เราไม่อาจรอให้ปัญหาท่วมหัว และควรอาศัยวิกฤติสร้างโอกาส ผู้คนกำลังปรับตัว เพื่อความอยู่รอด...

         ในขณะที่ผู้เขียนกำลังเพลิดเพลินกับการเก็บผลผลิต พืชผักผลไม้ ในสวน ส่งถึงมือผู้บริโภค แบบอยู่-เหลือ จากชนบทสู่เมือง (กักตัวอย่างมีความสุข) ต้องสะดุดกึกกับคำถาม คุณมีแผนอย่างไร ?ต่อไป บริบท คือ วิกฤตการณ์โควิดบางลงนั่นเอง แต่ส่งผลกระทบต่อทุกด้านไปแล้ว คล้ายบังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง...

         หลังจากพักสมองกับการครุ่นคิดเรื่องหนักๆไประยะเวลาหนึ่ง ( แต่บริหารกำลังร่างกายเต็มที่จากการเก็บมังคุด และแปรรูปผลไม้)  ผู้เขียนได้ทบทวนเรื่องราวเหตุการณ์ ระหว่างเก็บผักช่วงเช้า...ยุทธวิธีเดียวที่เป็นจุดเริ่มต้น องการคลี่คลายปม เงื่อน พันธนาการต่างๆในประเทศนี้ อย่างง่าย และรวดเร็วที่สุด คือ ปฏิวัติการเรียนรู้เพื่ออยู่รอด กับทุกระดับคน เด็กๆมีการเรียนรู้ที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอดในปัจจุบันและอนาคตแบบหนึ่ง  ผู้ประกอบอาชีพสายงานต่างๆก็ต้องมีการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอดในอาชีพนั้น หรือเปลี่ยนอาชีพ 

การเปลี่ยนแปลงรอบตัว ที่สัมผัสได้มีมากมาย...

  • การค้าขายไม่จำเป็นต้องเกิดที่ตลาดห้างร้าน แต่เกิดขึ้นได้ทุกที่ จากการติดต่อสื่อสาร และพึงพอใจระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย สามารถนัดรับส่งสินค้าหรือบริการได้ทุกสถานที่ทุกเวลาที่สะดวกต่อกัน
    • พนักงานโรงแรมลูกค้าผลไม้ บอกผู้เขียน ว่า ถ้าไม่ติดผ่อนรถยนต์ เขาจะทำสวนฯ และรู้สึกประทับใจเมื่อได้มาเหยียบสวนโบราณแบบนี้
    • ผู้เขียนได้สัมผัส การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด การย้ายถิ่นฐานและเริ่มทำธุรกิจการค้าอาชีพใหม่ๆ อดีตครูบาอาจารย์ที่ผันตนเองมาค้าขาย มีพื้นฐานความรู้ ทำให้เข้าใจเรื่องการเลือกใช้บริการขนส่ง ได้ง่ายกว่า แม่ค้าธรรมดาในตลาด (ยุคนี้ควรมีความรู้การคำนวณมิติ น้ำหนัก ราคา  และฝึกการบรรจุหีบห่อ)
    • ผู้เขียนได้พูดคุยกับคุณป้าเจ้าของร้านก๋วยเตี๋ยวโบราณแสนอร่อย เธอติดตามข่าวสารตลอดเวลา และปฏิบัติตามกฎหมาย  เธอบอกว่า จะไม่ทำฉากกั้นที่โต๊ะ เพิ่มความยุ่งยาก ถ้าลูกค้าไม่นั่งสองคนต่อโต๊ะ หรือซื้อกลับบ้าน ก็ไม่ต้องซื้อ เธอจะได้ไม่เหนื่อยมาก เธอไม่เดือดร้อน เรื่องยอดขาย ผู้เขียนเข้าใจว่า ในมุมมองของเธอ การทำฉากกั้นเป็นเรื่องใหญ่
    • การแบ่งปัน การให้ ในรูปแบบต่างๆ มีให้เห็นทั่วไป
    • การแก่งแย่ง ความละโมบ การขาดหิริโอตัปปะ ศีลธรรม ก็เห็นได้ชัดเจน เช่นกัน
    • ผู้ที่มีโลกทัศน์กว้างไกล ย่อมเกิดวิสัยทัศน์ ไม่หยุดนิ่ง รอคอย แต่สร้างสรรค์ผลงานผ่านช่องทางเทคโนโลยี ก็สามารถขายสินค้าบริการได้
    • นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ในโรงพยาบาล สถานที่ให้บริการต่างๆ มีให้เห็น
    • แม้แต่วันหยุดราชการที่มีการเลื่อนออกไป ประชาชนยังสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านหน้าจอเพื่อจัดวันหยุด ประเทศเล็กลงเหมือนบริษัทฯ

             ผู้ที่ยังตกยุคโควิด ก็คาดหวัง รอคอย ทุกสิ่งจะกลับมาเหมือนเดิม  ร้องขอการช่วยเหลือ แต่อาจมีกำลังใจถดถอยลงทุกวัน เพราะทำแบบเดิมๆ ก็อาจค้าขายไม่ได้อีกต่อไป

    การถกเถียงกันแทบทุกประเด็น เล็กน้อย ในเรื่องการเปิดเรียน ของเยาวชน ยังเกิดขึ้น และอาจมีต่อไปเรื่อย

    การจ่ายเงินเยียวยาจากภาครัฐ ที่ถูกเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียม อาจไม่จบเรื่องอย่างง่าย

    นี่เพียงเป็นเพียงส่วนหนึ่ง...  เราไม่อาจรอให้ปัญหาท่วมหัว และควรอาศัยวิกฤติสร้างโอกาส ผู้คนกำลังปรับตัว เพื่อความอยู่รอด... 

    หมายเลขบันทึก: 677777เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2020 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2020 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท