การตรวจสอบค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


โอกาสพัฒนา มีทุกวัน แต่ละวัน ถอดบทเรียนชีวิต เปลี่ยนเป็นโอกาสพัฒนา ต่อไปได้นะ ครับ

ในปัจจุบันมีการนำเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography ; CT) มาใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาโรคกันอย่างแพร่หลาย การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจที่มีการฉายรังสีเอกซ์อย่างต่อเนื่องและใช้รังสีในปริมาณที่สูงกว่าการถ่ายภาพรังสีทั่วไป (general x-ray) 

ดังนั้น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบคุณภาพหรือประเมินคุณภาพตามระยะเวลาที่กำหนดหรือหลังจากการซ่อมแซม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เครื่องที่ใช้งานอยู่นั้น มีคุณภาพดี เหมาะสำหรับกับการนำไปใช้ในการตรวจวินิจฉัย

ซึ่งต่อไปนี้ จะกล่าวถึงขั้นตอน วิธีการการตรวจสอบคุณภาพตามแนวทางของ วิทยาลัยรังสีวิทยาของอเมริกัน(American College of Radiology ; ACR 2017 Computed Tomography) และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องข้อปฏิบัติการควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัย พ.ศ.2550

การตรวจสอบค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินค่าตัวเลขซีทีของน้ำและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากหุ่นจำลองน้ำ

ประเภทการตรวจสอบ ประจำวัน

อุปกรณ์

1. หุ่นจำลองน้ำ จากบริษัทผู้ผลิต

2. เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ที่ใช้งาน



วิธีการดำเนินการ

1. ก่อนการตรวจสอบ ควรทำ Tube warm หรือ Air calibration

2. ติดตั้งและจัดวางหุ่นจำลองน้ำ ณ จุดกึ่งกลางแกนตรี ให้อยู่ในระดับและระนาบที่เหมาะสม (โดยใช้เครื่องวัดระดับน้ำ ช่วยตรวจสอบในระหว่างการจัดวางหุ่นจำลอง)

3. ทำการสแกนหุ่นจำลอง เริ่มด้วย

3.1 สแกน ภาพบอกตำแหน่ง (Scout image, Surview หรือ Topogram) เพื่อใช้กำหนดตำแหน่งในการสแกนภาพตัดขวาง

3.2 สแกน ตรงกลางหุ่นจำลองน้ำ โดยใช้โปรโตคอล (protocol) การสแกนตามที่บริษัทกำหนด  (หรือที่หน่วยงานใช้บ่อย) ควรสแกนทั้ง axial และ helical mode (ถ้าทำได้) กรณีต้องการเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานของหน่วยงาน อาจทำการสแกนเพิ่ม โดยการเปลี่ยนขนาด ของ slice thickness เช่น 1, 2, 5, 10 mm เป็นต้น


เกณฑ์ที่พิจารณา

1. เมื่อได้ภาพตัดขวางซีทีของหุ่นจำลองน้ำแล้ว ให้เลือกไอคอน ROI รูปวงกลม ขนาดประมาณ 400 mm2 นำมาวางที่ตำแหน่งจุดกึ่งกลางของภาพหุ่นจำลองน้ำ    แล้วบันทึกค่าเฉลี่ยตัวเลขเลขซีทีและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. ค่าเฉลี่ยตัวเลขซีทีที่ได้ เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ควรมีค่าที่แตกต่างไม่เกิน 0+3 HU (ACR 2017) (ถ้าใช้ ACR phantom กำหนดอยู่ในช่วง 0+5 หรือ 0+7 เนื่องจากชนิดของน้ำที่อยู่ในแบบจำลอง และเทคนิคของเครื่องที่ใช้งานมีความแตกต่างกัน) 0+4 HU (กรมวิทย์ฯ 2550)

3. ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตัวเลขซีทีน้ำที่ได้ ใช้เป็นตัวแทนบ่งบอกสัญญาณรบกวน (noise) ในการประเมิน มีคำแนะนำให้รวบรวมข้อมูลจากการประเมิน จำนวน 10 วัน (หรือมากกว่า) (ACR 2017) โดยนำค่าที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อเก็บค่าที่ได้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้น ต่อไป

4. หากพบว่า ค่าที่ได้มีค่าเกินเกณฑ์ที่กำหนด ควรทำการทดสอบซ้ำอีกครั้ง ถ้าค่ายังเกินเกณฑ์ ควรพิจารณาทำการ calibration หรือ ให้ช่างผีรับผิดชอบ ตรวจสอบหรือปรับแก้ไข

หากเก็บข้อมูล การตรวจสอบ ประเมินคุณภาพด้วยวิธีการนี้ อย่างต่อเนื่อง

สามารถนำข้อมูลมาศึกษา

นำไปสู่การทำงานประจำในรูปแบบงานวิจัย ได้นะครับ

ตัวอย่าง



โอกาสพัฒนา มีทุกวัน

แต่ละวัน ถอดบทเรียนชีวิต เปลี่ยนเป็นโอกาสพัฒนา ต่อไปได้นะ ครับ


หมายเลขบันทึก: 677616เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020 11:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท