เจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาด้วยสถานการณ์จำลอง


เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นความรู้สึกของนักศึกษาที่มีทัศนคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ในด้านเรียนการสอน เนื้อหา และ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนหลังจากการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สะท้อนลักษณะความเป็นนักวิทยาศาสตร์ เจตคติต่อวิทยาศาสตร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังในตัวผู้เรียน ประกอบด้วยเจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้ และเจตคติที่เกิดจากความรู้สึก ทำให้เกิดเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องมีการสืบเสาะหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ให้ประสบผลสำเร็จ เช่น ชอบทำการทดลองหรือสำรวจตรวจสอบ ตกลงใจอย่างมีเหตุผล เชื่อว่าทุกปัญหามีคำตอบ ช่างสงสัย ยอมรับกระบวนทัศน์ เต็มใจที่จะเปลี่ยนความคิดเห็น เคารพต่อความจริง กระหายความรู้ ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนทาง ชะลอการตัดสินใจ ความสามารถในการแยกมโนทัศน์พื้นฐานออกจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่สำคัญ ยอมรับข้อมูลเชิงปริมาณ และซาบซึ้งในคณิตศาสตร์ในฐานะที่เป็นภาษาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ การยอมรับข้อจำกัดของมนุษย์ ความสนใจใฝ่เรียนรู้หรือความอยากรู้อยากเห็น ความเพียรพยายาม ความละเอียด รอบคอบ ความซื่อสัตย์ ความใจกว้างและ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น โดยจัดกิจกรรมให้หลากหลายส่งเสริมการคิดขั้นสูง เน้นการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้คล้ายกับกระบวนการศึกษา ค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์ ให้ผู้เรียนเป็นผู้คิดและลงมือปฏิบัติใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ใน การสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหา เป็นต้น จากการศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาด้วยสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ พบว่า ระดับเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาด้วยสถานการณ์จำลองแบบมีปฏิสัมพันอยู่ในระดับมากทุกข้อ ลำดับแรก คือ ด้านประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ รองลงมา ด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความสนใจทางวิทยาศาสตร์ และด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ตามลำดับ โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเพศชายและเพศหญิง มีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ภาพรวม ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ และ ด้านประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ แตกต่างกัน โดยนักศึกษาเพศชายมีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์มากกว่าเพศหญิง ส่วนนักศึกษาที่สาขาวิชาต่างกันมีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แตกต่างกัน โดยนักศึกษาสาขาสถิติประยุกต์ มีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สูงกว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ มีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สูงกว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ และ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ชั้นปี 3 แตกต่างกับ ชั้นปี1 และ ชั้นปี 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาชั้นปี 3 มีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สูงกว่า ชั้นปี 1 และ ชั้นปี 2 ทั้งนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาผลการเรียนชายและผลการเรียนหญิง มีเจตคติทางการเรียนวิทยาศาสตร์ นักศึกษา โดยภาพรวม ด้านการใช้โปรแกรมทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ด้านความสนใจทางวิทยาศาสตร์ และ ด้านประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ ไม่แตกต่างกัน ที่นัยสำคัญทางสถิติ .05

หมายเลขบันทึก: 677554เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2020 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท