110 การจัดการความประทับใจ (Impression Management) กับการรับการประเมินคุณภาพการศึกษา


สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.)  มีความประสงค์ให้สถานศึกษาเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการประเมินไว้ 19 ข้อที่เห็นบ่อยและอยากให้มีการเปลี่ยนแปลงในการเตรียมการและรับการประเมิน ดังนี้

  1. 1. การเกณฑ์นักเรียน ครู และคนเฒ่าคนแก่ มาตั้งแถวยืนต้อนรับตั้งแต่หน้าประตูโรงเรียน
  2. 2. การจัดขบวน การจัดวงดนตรี และการแสดงต่าง ๆ เพื่อแห่แหนผู้ประเมินตั้งแต่หน้ารั้วโรงเรียน
  3. 3. การตั้งแถวให้นักเรียนโบกธง โบกมือ ปรบมือรัว ๆ ชูมือจากหน้าประตูโรงเรียน
  4. 4. การลงทุนสูงกับการจัดเตรียมพวงมาลัยหรือเตรียมดอกไม้ไว้ติดอกเสื้อผู้ประเมิน
  5. 5. การจัดทำป้ายไวนิลหรือป้ายต้อนรับใหญ่โตที่เป็นการลงทุนสูงเพื่อรับการประเมิน

6.    การเสียค่าใช้จ่ายไปกับการจัดทำป้ายชื่อผู้ประเมิน เช่น ไม้สักแกะสลัก หินอ่อนแกะสลัก ฯลฯ

7.    การลงทุนกับการเช่าชุดการแสดงและการแต่งตัวหรือแต่งหน้าให้นักเรียนแสดงเพียงไม่กี่นาที

8.    การปลุกให้นักเรียนตื่นแต่ไก่โห่เพื่อมาคอยต้อนรับและแสดงให้ผู้ประเมินรับชม

9.    การจัดซุ้มดอกไม้ มุมดอกไม้ หรือแจกันดอกไม้ไว้ประดับตกแต่งที่เกินความจำเป็น

10.  การเสียเงินและเสียเวลากับการซื้อผ้ามาผูกโบว์หรือจับกลีบเป็นริ้วแถว ไว้ประดับหน้ำห้องประชุม

11.  การจัดเตรียมพรมแดงหรือจัดทำทางเท้าเป็นกรณีพิเศษให้ผู้ประเมินเดินในระหว่างการประเมิน

12.  การจัดเตรียมนักเรียนไว้คอยเดินกางร่มให้ผู้ประเมินระหว่างการประเมิน

13.  การจัดเตรียมนักเรียนไว้คอยเดินประกบ แนะนำ หรือคอยเดินจูงมือผู้ประเมิน

14.  การจัดฐานกิจกรรมต่าง ๆ แสดงต่อหน้าผู้ประเมินที่นอกเหนือจากกิจกรรมปกติของโรงเรียน

15.  การจัดสำรับอาหารที่หรูหรำและราคาแพงซึ่งสร้างภาระให้กับโรงเรียน

16.  การเตรียมการแบบหามรุ่งหามค่ำ ไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพื่อรับกำรประเมินเพียงไม่กี่วัน

17.  การให้นักเรียนบางคนหยุดเรียนหรือครูบางคนหยุดงานในวันที่มีการประเมิน

18.  การเตรียมของขวัญหรือของที่ระลึกที่มีราคาแพงไว้แสดงความขอบคุณผู้ประเมิน

19.  การให้เอกสิทธิ์บางอย่างกับผู้ประเมิน และยกย่องจนคล้ายจะเป็นสมมุติเทพ

  คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจาก สมศ. จะลงพื้นที่เพื่อการตรวจประเมินไม่เกิน 3 วันตามบริบทของสถานศึกษาโดยโรงเรียนขนาดเล็กหรือขนาดกลาง จะลงพื้นที่ไม่เกิน 2 วัน ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่หรือขนาดใหญ่พิเศษ จะลงพื้นที่ไม่เกิน 3 วัน โรงเรียนก็ควรต้องคำนึงถึงและพิจารณาว่าทั้ง 19 วัฒนธรรมการประเมินที่ สมศ.อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนจะได้ดำเนินการอย่างไร แต่โดยความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าทุกระดับการประเมิน จเสียเวลาไปกับการแนะนำโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้องที่มาต้อนรับและให้ข้อมูลประกอบการสัมภาษณ์ ก็หมดไปเกือบครึ่งวันแล้ว การประชุมสรุปผลการประเมินและนำเสนอรายงานการประเมินด้วยวาจาก็จะเสียเวลาไปอีกเกือบครึ่งวัน แล้วจะเหลือเวลาให้กับคณะกรรมการประเมินให้ครบถ้วนตามมาตรฐานและประเด็นพิจารณา ดังนั้นจึงเห็นว่า “การจัดการความประทับใจ” (Impression Management) จึงมีความจำเป็นตามบริบทของไทย ซึ่งบางรายการอาจมีความขัดแย้งกับ 19 วัฒนธรรมการประเมินที่ สมศ.อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง จึงเป็นสิ่งที่โรงเรียนต้องพิจารณาและนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมบริบทของโรงเรียน จึงขอนำเสนอการจัดการความประทับใจเพื่อรับการประกันคุณภาพการศึกษา ภายนอกดังนี้

ก่อนการประเมิน  เมื่อ สมศ.ประกาศรายชื่อโรงเรียนและผู้ประเมินเรียบร้อยแล้ว ก่อนการประเมิน   ผู้ประเมินจะโทรประสานงานเพื่อขอกำหนดวันเข้าประเมินจากทางโรงเรียน และโรงเรียนควรดำเนินการดังนี้

  1. โรงเรียนควรมอบหมายให้ครูท่านใดท่านหนึ่งเป็นผู้ประสานงานกับคณะผู้ประเมิน ตลอดจนการ

อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดการประเมิน ผู้ประเมินส่วนใหญ่จะมาจากต่างจังหวัด ผู้ประสานงานของโรงเรียนอาจต้องประสานในเรื่องของที่พัก การเดินทาง และอาหารเช้า เพื่อแสดงน้ำใจของเจ้าบ้าน ซึ่ง          ผู้ประเมินก็จะรู้สึกประทับใจที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี แต่โดยความเป็นจริงแล้วผู้ประเมินก็จะไม่รบกวนโรงเรียนอยู่แล้ว 

2.  หาภาพถ่ายของผู้ประเมินไว้สำหรับการทำป้าย “ยินดีต้อนรับ” อาจไม่ต้องทำป้ายไวนิล แต่ควร

    ทำเป็น Presentation ยินดีต้อนรับพร้อมประกอบด้วยภาพของผู้ประเมิน ซึ่งปัจจุบันหาได้อย่างง่ายดาย โดยอาจค้นหาภาพโดยใช้ Google Search หรือจาก  Facebook เป็นต้น

    3. หาข้อมูลและประวัติของผู้ประเมินเพื่อให้ “รู้เขารู้เรา”

    4. การเตรียมคนเพื่อการประเมิน ดังนี้

    4.1 ครูและบุคลากรของโรงเรียนทุกคนต้องมีความรู้ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกประเด็นพิจารณา

      ทุกมาตรฐานและตามที่โรงเรียนได้เขียนไว้ในรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self – Assessment Report : SAR)

      4.2 เตรียมตัวนักเรียนให้พร้อมรับการประเมินในเรื่องมารยาท การทักทาย การปฏิบัติกิจกรรม

        การเตรียมผู้แทนนักเรียนเพื่อการสัมภาษณ์ และ.......ที่เกี่ยวข้อง       

        4.3 เชิญคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้แทนศิษย์เก่า ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรปกครองส่วน

          ท้องถิ่น และผู้แทนชุมชน และ.........มาให้การต้อนรับและให้ข้อมูลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการสัมภาษณ์

          4.4 เตรียมลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบการร้านค้าในโรงเรียนและชุมชนรอบ

            โรงเรียนให้ทราบว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีผู้ประเมินเข้ามาประเมินโรงเรียนและอาจมาสัมภาษณ์ขอข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนด้วย

            5. การจัดเตรียมสถานที่

            5.1 ความสะอาดของสถานที่โดยทั่วไป

            5.2 สถานที่จอดรถของคณะกรรมการประเมิน

            5.3 สถานที่จัดแสดงผลงานของโรงเรียน แม้ว่าโดยหลักการผู้ประเมินจะไม่ดูเอกสาร แต่ถ้าสัมภาษณ์แล้วยังมีข้อสงสัย คณะกรรมการก็จะขอดูร่องรอย เอกสาร หลักฐาน ดังนั้นเอกสารอะไรที่ต้องมี ต้องมี

            เอกสารกำหนดค่าเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีความสำคัญ ต้องเตรียมไว้ทั้งสองประการ

            5.4 การจัดนิเทศต่าง ๆ หน้าห้องเรียนและห้องต่าง ๆ ควรเป็นปัจจุบัน

            6. การจัดทำ VTR  โรงเรียนควรจัดทำ VTR ใหม่ตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

              ระหว่างการประเมิน

              1. การแต่งกายของครูในแต่ละวันที่จะแสดงให้เห็นถึงความพร้อมเพรียงซึ่งจะนำไปใช้ตอบใน

              มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ

              2.จัดทำการหนดการประเมิน

              3. พิธีกรและพิธีการจะใช้ครูหรือนักเรียน มีการแสดงของนักเรียนเพื่อการต้อนรับหรือไม่ ถ้ามีควร

                เป็นกิจกรรมที่สามารถใช้ในการประเมินได้ด้วยตามประเด็นพิจารณาในมาตรฐานที่ 1 ด้านคุณภาพผู้เรียน

                4. การกำหนดครูสำหรับการให้ข้อมูลในแต่ละมาตรฐานทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับ

                  ปฐมวัย

                  5. จัดสถานที่สำหรับการสัมภาษณ์ในแต่ละมาตรฐาน อาจใช้ห้องเดียวกันถ้าเป็นห้องที่มีพื้นที่ หรือ

                    แยกเป็นห้องย่อย ๆ ตามความเหมาะสม

                    6. การเสริฟอาหารว่าง เครื่องดื่มและอาหารกลางวัน ควรให้นักเรียนเป็นผู้เสริฟดีกว่าใช้ครู แต่

                      ผู้เรียนก็ควรได้รับการฝึกเป็นอย่างดีมาก่อน

                      7. การถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เสร็จแล้วอาจบันทึกลง C.D. หรือ Handy Drive มอบให้

                        คณะกรรมการในวันสุดท้ายของการประเมิน

                        8. ครูทุกคนต้องเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับใช้ประกอบการสอนในวันประเมินด้วย ทั้งนี้ครู

                          ควรสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ตามวันนั้น ๆ 

                          9. ในช่วงของการประเมินด้วยวาจา หากโรงเรียนเห็นว่ามีเรื่องใดที่ไม่เห็นด้วย ก็ให้ทักท้วงโดยไม่

                            ปล่อยให้ผ่านไป

                            10. ถ้าโรงเรียนจะมอบของที่ระลึกให้กับคณะกรรมการก็ควรเป็นของที่มีมูลค่าไม่มาก หรืออาจใช้

                              ผลผลิตที่เป็นผลงานของนักเรียนแทน ทั้งนี้ไม่ควรมอบในที่ประชุมและงดการถ่ายภาพ

                              หลังการประเมิน

                              1. หลังการประเมินไปแล้วระยะหนึ่ง สมศ.จะส่งร่างงานผลการประเมินมาให้โรงเรียนลงนามรับรอง

                              ดังนั้นก่อนการลงนามรับรอง ให้โรงเรียนอ่านอย่างละเอียด หากพบว่ามีข้อความประการใดที่ไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ก็ให้ประสานเพื่อขอให้ปรับแก้ไขข้อมูลให้เป็นไปข้อเท็จจริง ทั้งนี้โรงเรียนต้องแนบเอกสารหลักฐานประกอบชี้แจงไปด้วย เมื่อได้รับการปรับแก้จนเป็นที่พอใจแล้ว ก็ให้ลงนามรับรองและส่งรายงานคืน สมศ. แล้วรอการประกาศผลอย่างเป็นทางการจาก สมศ.

                              2.  โรงเรียนประเมินผู้ประเมินภายนอกทุกคนตามแบบ QC100

                                การจัดการความประทับใจกับการรับการประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถสรุปเป็น “5ส” ดังนี้

                                1. เสนอหน้า ; ต้องรู้จักการนำเสนอผลงานให้โดดเด่น
                                2. สร้างภาพ : นำเสนอผลงานให้ถูกกลุ่มเป้าหมาย
                                3. สอพลอ : ให้การเอาใจใส่ ดูแล ตอบคำถามดี ๆ
                                4. ใส่ไฟ : สร้างความรู้สึกเพื่อให้กรรมการให้คะแนนกับโรงเรียน
                                5. ส่งส่วย : จัดอาหารว่าง อาหารกลางวันตามสมควร

                                ข้อเสนอแนะเหล่านี้โรงเรียนสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน

                                หมายเลขบันทึก: 677089เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2020 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2020 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


                                ความเห็น (0)

                                ไม่มีความเห็น

                                พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
                                ClassStart
                                ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
                                ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
                                ClassStart Books
                                โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท