ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน
         เศรษฐกิจพอเพียง  แปลว่า  Sufficiency  Economy...คำว่า  Sufficiency  Economy  นี้  ไม่มีในตำราเศรษฐกิจจะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฏีใหม่... Sufficiency  Economy  นั้น ไม่มีในตำราเพราะหมายความว่าเรามีความคิดใหม่...และโดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะไปปรับปรุง หรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศและของโลกพัฒนาดีขึ้น 
              
พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  23  ธันวาคม  2542          
              
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงค์อยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง  โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์
         
              
ความพอเพียงหมายถึง  ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน
              และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซี่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชิวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
 
หมายเลขบันทึก: 67688เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 21:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การมองเศราฐกิจพอเพียงให้เข้าใจและนำไปใช้ได้ถูกต้อง  ควรมองเศรษบกิจพอเพียงเป็นวิธีการ วิธีคิดและวิถีชีวิต

ความพอประมาณและความมีเหตุผล เป็นวิธีคิด ว่าจะประมาณตนอย่างไร ภายใต้เหตุผลอะไรจึงจะเหมาะสม

ภูมิคุ้มกัน เป็นวิธีการเข้าสู่การพึ่งตนเอง โดยจะต้องมีเหตุผลและรู้จักการพอประมาณ

เป็นวิถีชีวิต เมื่อพประมาณ มีเหตุผล พึ่งตนเองได้ จะพัฒนาเป็นการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ สังคมร่มเย็น

เศรษฐกิจพอเพียงจึงจะเกิดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท