BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

หลักสาเหตุ ๒.


หลักสาเหตุ

๒) การแปลความหมายความรู้ก่อนประสบการณ์ (The A Priori Interpretation)

คนจำนวนมากยึดถือว่าหลักสาเหตุมิใช่การเปิดเผยที่พิสูจน์ได้เชิงประจักษ์โดยประการทั้งปวงเท่านั้น แต่เป็นความจริงที่จำเป็นอย่างหนึ่ง ประการแรกที่เราบอกว่าเป็นหลักการ มันก็เป็นการบ่งบอกคล้ายกับเป็นกฎธรรมชาติทั่วไปบางอย่างเท่านั้น แต่เมื่อเราเริ่มต้นพิจารณามัน เราก็จะเห็นว่ามันมีความแตกต่างกันโดยแยกตัวออกไปจากกฎเชิงประจักษ์ เพราะมันเปิดโอกาสให้พิสูจน์เชิงประจักษ์ไม่ได้ เราจะตรวจสอบทรรศนะนี้กันต่อไป

ดังนั้น เราจะพูดเกี่ยวกับชนิดของเงื่อนไขและเหตุการณ์ภายในของมัน เงื่อนไขและเหตุการณ์แต่ละอย่างไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกันจริงๆ ความเหมือนกันเป็นเพียงการวางไว้ว่าเป็นชนิดเดียวกันเท่านั้น อย่างไรก็ตามตอนนี้เราจะอภิปรายเกี่ยวกับเงื่อนไขและเหตุการณ์ที่เหมือนกันให้หนักแน่นยิ่งขึ้น

มีอยู่สองอย่าง คือ เงื่อนไขกับกระบวนการหรือเหตุการณ์ที่เหมือนกันในเมื่อมันเหมือนกันจริงๆ อีกนัยหนึ่งเมื่อมันมีคุณสมบัติทุกอย่างอยู่ตามปรกติ คือคุณสมบัติทุกอย่างที่เข้ากันได้ด้วยเหตุการณ์สองอย่างที่แตกต่างไปจากอีกกลุ่มหนึ่ง เหตุการณ์สองอย่างซึ่งนำมาวางไว้ในครั้งเดียวกันและกำหนดไว้ในสถานที่เดียวกันจะมิใช่สองเหตุการณ์ เหตุการณ์เหล่านั้นจะยังคงเป็นสองเหตุการณ์ ถ้ามันเกิดในเวลาเดียวกันแต่ต่างสถานที่กัน หรือเกิดในสถานที่เดียวกันแต่เวลาแตกต่างกัน  

ดังนั้น เราจะต้องพูดว่าสองเหตุการณ์นั้นเหมือนกัน ถ้ามีคุณสมบัติทั้งหมดโดยรวมร่วมกับอีกเหตุการณ์หนึ่งในเรื่องสถานที่และเวลา ตอนนี้เราจะสมมติว่าเหตุการณ์สองอย่างเหมือนกันตามนัยนี้ เหตุการณ์เหมือนกันสองอย่างมีเงื่อนไขเชิงสาเหตุไม่เหมือนกันหรือ ? ไม่ใช่

นักความรู้ก่อนประสบการณ์ (Apriorist) เกี่ยวกับหลักสาเหตุได้บอกว่า ตามความเป็นไปได้แล้วสิ่งนี้ไม่สามารถเกิดขึ้น ถ้ามีความแตกต่างกันสองอย่างในเหตุการณ์นั้น (ถ้าว่ามันไม่เหมือนกัน) มันจะต้องมีเงื่อนไขซึ่งแตกต่างกันที่ทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้น เนื่องจากความแตกต่างกันของเหตุการณ์เหล่านั้น สมมติว่าเราอ้างถึงเงื่อนไขที่เหมือนกันสองอย่างคือ C1 และ C1 เหตุการณ์ที่เหมือนกันคือ E1 และ E1 เงื่อนไขที่ไม่เหมือนกันคือ C1และ C2 เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกันคือ E1และ E2 ครั้นแล้วก็จะมีกลุ่มความเป็นไปอยู่ ๔ ชุด คือ

๑)                 C1>E1  C1>E1

 ๒)               C1>E1  C2>E2

 ๓)               C1>E1  C2>E1

 ๔)               C1>E1  C1>E2          

ข้อแรก ข้อเสนอไม่ยุ่งยาก เงื่อนไขที่เหมือนกันทำให้เกิดเหตุการณ์เหมือนกัน แตกต่างจากข้อที่สองที่มีเงื่อนไขไม่เหมือนกันนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แม้ว่าข้อที่สามก็เป็นไปได้ที่จะยอมรับว่าเงื่อนไขที่ไม่เหมือนกันนำไปสู่เหตุการณ์ที่เหมือนกัน ข้อนี้เป็นความหลากหลายของสาเหตุเท่านั้น แต่ข้อที่สี่ยอมรับไม่ได้ว่าเงื่อนไขที่เหมือนกันนำไปสู่เหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน ถ้ามีความแตกต่างกันในผลแล้วก็จะมีความแตกต่างกันในเงื่อนไขที่นำไปสู่ผลเสมอ เราเคยพบข้อนี้หรือไม่ ?               

ในเชิงปฏิบัติเราไม่เคยพบเงื่อนไขที่เหมือนกันหรือเหตุการณ์ที่เหมือนกันอย่างแน่แท้ (สิ่งทั้งหลายแตกต่างกันทางใดทางหนึ่งเสมอ) เราเชื่อมั่นหลักการนี้เพราะว่าเราประสงค์จะเชื่อเท่านั้น ถ้าเราวางระบบให้เสียหายมากขึ้นโดยอ้างว่า ถ้ามีเงื่อนไขเหมือนกันแล้วเหตุการณ์ก็จะเหมือนกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถยืนยันได้ สิ่งนี้เป็นเพราะเหตุอะไร ? มิใช่เพราะว่าเราสังเกตเหตุการณ์ที่เหมือนกันหรือสังเกตเงื่อนไขทั้งหลายที่เหมือนกันซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์เหล่านั้น เราเพียงแต่สังเกตเหตุการณ์และเงื่อนไขของระดับต่างๆ ที่เหมือนกันเท่านั้น กล่าวได้ว่าเราเพียงแต่เชื่อมั่นว่า ถ้าเงื่อนไขเป็นสิ่งทีเหมือนกันจริงๆ แล้ว เหตุการณ์เหล่านั้นสามารถวกกลับมาได้อย่างไรเท่านั้น               

สมมติว่าเราปฏิบัติการทดลองสองครั้ง และพบว่ามีผลแตกต่างกันตามที่สังเกตได้จากเงื่อนไขที่เป็นอยู่ เพื่อความรู้ที่แท้จริงเราจะพูดอะไรได้ หรือว่าเราจะยกเลิกหลักสาเหตุ ? แม้ในรูปแบบที่ละเอียดอ่อน (เงื่อนไขเหมือนกันและเหตุการณ์ก็เหมือนกัน) เราจะพูดว่าสถานการณ์นี้เป็นการยกเว้น แต่สถานการณ์นี้เป็นหลักการทั่วไปหรือ ? เราจะไม่พูดอย่างนี้ เราจะค้นหาแนวทางบางอย่างเสมอเพื่อหลีกหนีปัญหานี้ เราจะพูดโดยเฉพาะเจาะจงได้อย่างไร ?               

มีเรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าคุณคิดว่ามีนาฬิกาสองเรือนในห้องเดียวกัน มีบรรยากาศเหมือนกัน ได้มีการผลิตและมีโครงสร้างเหมือนกัน และมีรายละเอียดอีกจำนวนมากที่เหมือนกัน ปรากฏว่าเรือนหนึ่งรักษาเวลาได้เที่ยงตรงแต่อีกเรือนเริ่มเดินเร็วกว่าปรกติ คุณจะอ้างว่ามีความแตกต่างกันบางอย่างในเงื่อนไขเชิงสาเหตุ และแล้วคุณจะพบมัน ซึ่งเป็นรายละเอียดบางอย่างที่คุณได้มองข้ามไปในครั้งก่อนๆ ด้วยกรณีนี้เราสามารถพูดได้ว่า แม้ปราศจากหลักฐานในอนาคต เหตุการณ์ E ที่แตกต่างกันจะต้องมีสาเหตุมาจากเงื่อนไข C ที่แตกต่างกัน เรามีข้อเท็จจริงทุกอย่างแล้วก็จะยืนยันได้ว่า ความแตกต่างกันของเหตุการณ์ E มีสาเหตุมาจากความแตกต่างกันในเงื่อนไข C         

เราไม่จำเป็นจะต้องยอมรับข้อยกเว้นบางอย่างของหลักการนี้ ถ้าเหตุการณ์ E สองอย่างกลับมาเป็นสิ่งแตกต่างกันและไม่สามารถค้นหาความแตกต่างกันในเงื่อนไข C แม้ว่าเราจะค้นคว้าครั้งแล้วครั้งเล่าและขยายการค้นคว้าเพิ่มขึ้นออกไปอีก แต่ก็ยังไม่พบความแตกต่างกันของเงื่อนไข C หลังจากนั้นแล้วเราจะยกเลิกหลักสาเหตุและยุติเรื่องนี้หรือ ? แม้ว่าเงื่อนไขจะเป็นสิ่งที่เหมือนกันแต่เหตุการณ์อาจมีความแตกต่างกันในบางครั้งหรือ ? ข้อนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เรายังคงรักษาคำพูดว่า มีความแตกต่างกันระหว่างเหตุการณ์ E สองอย่าง และขณะนี้มีบางสิ่งหรือสิ่งอื่นที่เป็นเหตุให้มีความแตกต่างกัน แม้ว่าจะผ่านไปแล้วเป็นล้านปีและการสืบค้นความแตกต่างนั้นจะยังไม่เปิดเผยออกมาก็ตาม               

ในทำนองเดียวกัน เมื่อเราไม่เชื่อว่าความเหมือนกันในเงื่อนไข C เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ ถ้าว่าเราไม่เคยพบเงื่อนไข C ที่เหมือนกันแล้วจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ว่าเหตุการณ์ E จะต้องเหมือนกัน ?

เด็กคนหนึ่งเดาะลูกบอลกระทบกำแพง รับลูกบอลที่กระดอนกับมาแล้วเดาะกลับไป ลูกบอลไม่เคยกระทบจุดเดิมบนกำแพงและไม่เคยกระดอนกลับมาหาเขาในแนวทางเดียวกันเลย เพราะความเร็วและระยะทางจะเป็นสิ่งที่แตกต่างกันเล็กน้อยในทุก ๆ ครั้งเสมอ แต่เราจะไม่เชื่อว่าถ้ามีโอกาสสองครั้งที่เงื่อนไขถูกสร้างขึ้นมาเหมือนกันทั้งความเร็ว ทิศทาง และจุดที่โยนขึ้นมา ฯลฯ ลูกบอลจะกระทบกำแพงจุดเดิม และกระดอนกลับมาในทิศทางเดียวกันจริงๆ หรือไม่ ?

ถ้าคุณสามารถทอดลูกเต๋าในคืนนี้ทำนองเดียวกันกับที่คุณได้ทอดไปเมื่อคืนก่อน ลูกเต๋าจะหยุดจุดเดียวกัน และเป็นการแน่นอนว่าเจ็ดครั้งที่เหมือนกันซึ่งคุณได้ทอดไปเมื่อคืนก่อนจะกลับมาอีกคราว บางแต้มที่กลับมาในคืนนี้ จะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพราะเงื่อนไขแตกต่างกันหรือ ? เงื่อนไขเป็นสิ่งที่ซับซ้อนมากซึ่งเราไม่สามารถมั่นใจได้ว่ามันจะเป็นอย่างเดียวกันในจำนวนการทอดสองครั้ง แต่ถ้าเกิดเหมือนกันจริงๆ แล้ว สิ่งเหมือนกันไม่ได้เกิดขึ้นเสมอหรือ ? 

เราจะป้องกันข้อโต้แย้งนี้อย่างไร

เราจะกลับไปยังกรณีเหตุการณ์ E เป็นสิ่งที่แตกต่างกัน แต่เงื่อนไข C ปรากฏเหมือนกัน ตอนนี้สมมติว่าเรามีกล้อง sub-microsoople eyes ซึ่งสามารถมองดูอะตอมของวัตถุที่เกี่ยวเนื่องกับเงื่อนไข C ไม่มีแง่มุมภายในของเงื่อนไข C ที่จะไม่อยู่ในสายตาของเรา แต่เหตุการณ์ E ยังคงแตกต่างกัน เราจะยังไม่ยกเลิกหลักสาเหตุอีกหรือ ?

ไม่ เราสามารถพูดได้ว่า เงื่อนไขทั้งหมดเหมือนกันในสองกรณี แต่ข้อเท็จจริงว่าเหตุการณ์ E แตกต่างกัน นั่นเป็นเพราะว่าเรารวมเงื่อนไขไว้ไม่เพียงพอ ยังมีองค์ประกอบบางอย่างที่ยังตรวจสอบไม่ได้ทั้งสองกรณีจนกระทั้งบัดนี้ และความแตกต่างกันนี้เนื่องจากความแตกต่างกันในเหตุการณ์ E ดังนั้น เราจะต้องตรวจสอบให้รอบคอบ ยังมีองค์ประกอบภายนอกอยู่อีก เราจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดลออเสียก่อน

สมมติว่าขณะนี้เราได้ทำเช่นนั้นแล้ว คือ เราตรวจสอบองค์ประกอบภายนอกทั่วๆ ไป แต่ก็ยังไม่พบความแตกต่างกัน ฉะนั้น เราจะต้องตรวจสอบภายนอกเข้ามายังจุดนี้ ถ้ามีองค์ประกอบอื่นๆ เราก็หวังว่าจะพบความแตกต่างกันที่จุดนี้ แต่เราก็ยังค้นไม่พบ เราปฏิบัติการกระบวนการนี้อย่างรอบคอบเต็มความสามารถแล้วแต่ก็ยังอธิบายไม่ได้

เราจะต้องหยุดการตรวจสอบวงจรเงื่อนไขขนาดใหญ่นี้ที่ไหน ? หรือว่าตลอดจักรวาลทีเดียว คุณไม่สามารถค้นหาจักรวาลในฐานะองค์รวมที่เป็นสถานะซึ่งขึ้นอยู่กับสองโอกาสที่เหมือนกันได้ อย่างน้อยที่สุดตัวคุณเองจะเป็นสิ่งแตกต่างกันในโอกาสที่สอง เพราะคุณจำได้ว่าจักรวาลนี้ได้คล้ายกันกับโอกาสครั้งก่อน

แต่เมื่อยกเว้นกรณีนี้ ถ้าสมมติว่าเป็นสถานะรวมของจักรวาล (รวมทั้งคุณด้วย) เป็นอย่างเดียวกันทั้งสองโอกาส และเหตุการณ์ที่ตามมาก็ยังไม่เหมือนกัน เราจะใช้กรณีนี้เป็นการยกเลิกหลักสาเหตุหรือ ? แม้ว่าเป็นอย่างนี้ คุณก็คงจะไม่ทำการยกเลิก มีสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน กล่าวคือ เหตุการณ์ที่วางไว้อยู่ในเวลาที่แตกต่างกัน ความแตกต่างกันนี้ไม่สามารถมีผลได้เลย เราสามารถยึดถือเป็นข้อเท็จจริงได้เสมอว่า เวลาที่ผ่านไปเป็นเพียงความเกี่ยวโยงเพื่อความแตกต่างกันเท่านั้น มิใช่อย่างอื่น (ถ้าเหตุการณ์สองอย่างถูกจิตนาการว่าเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน แต่มีสถานที่สองแห่งแตกต่างกัน ข้อคัดค้านบางอย่างเกี่ยวกับสถานที่ก็สามารถทำได้ ข้อเท็จจริงก็คือว่าภาวะของสถานที่ทั้งสองแตกต่างกัน หรือเงื่อนไขอื่นทั้งหมดเป็นสิ่งที่คล้ายกัน จะเป็นสิ่งที่ทำให้แตกต่างกันได้)

กรณีนี้มิใช่ประเด็นที่เคยเชื่อถือมา เพราะในการวางกฎทางวิทยาศาสตร์ กรณีนี้ไม่เคยถูกพบเพื่อจะนำสิ่งเช่นนั้นเข้ามาให้เป็นองค์ประกอบอย่างจำเป็นได้ เมื่อเหตุการณ์แตกต่างกัน ก็จะมีความแตกต่างกันบางอย่างที่ถูกค้นพบ (หรือสมมติว่ามีอยู่) ในเงื่อนไขในตัวเองเสมอ สิ่งอื่นเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ผ่านมาในเวลาเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีกรณีที่เป็นไปได้เชิงตรรกะที่องค์ประกอบของเวลาจะต้องได้รับการพิจารณาในการวางกฎ ตัวอย่างที่จินตนาการได้ก็คือ น้ำเดือด ๒๑๒ องศา ในปี ๑๙๖๘,... น้ำเดือด ๒๑๓ องศาในปี ๑๙๖๙ , ...และน้ำเดือด ๒๑๔ องศาในปี๑๙๗๐ และอะไรทำนองนั้น ข้อนี้มิใช่เป็นเพราะความแตกต่างกันของเงื่อนไขอื่นจากความเลื่อนลอยของเวลา แต่ข้อนี้จะเป็นสภาวะที่แปลกพิกลอย่างมากของเรื่องราวที่รับรองได้และเป็นการอัศจรรย์เกินไป เพราะเรารู้ว่าธรรมชาติไม่ได้ดำเนินการตามทำนองนี้ นักวิทยาศาสตร์จะไม่สนใจเรื่องนี้โดยการค้นคว้าเงื่อนไขที่บ่งบอกความแตกต่างกันอย่างอื่นทดแทนองค์ประกอบของเวลาในเรื่องจุดเดือดนี้ แต่ถ้ามีแรงไปกระทบกำแพง ถ้าว่าพวกเขาได้ยกเลิกหลักการหนึ่งหลักการใดแล้ว หลักสาเหตุหรือเวลาทำให้ไม่มีหลักการแตกต่างกันกัน พวกเขาจะบอกว่ามีข้อเท็จจริงว่าเวลาที่ล่วงเลยไปเป็นสาเหตุให้มีความแตกต่างกันระหว่าง E1,E2 แทนที่จะพูดว่า E1,E2 มีสิ่งที่แตกต่างกันได้ แม้ว่าจะไม่มีสาเหตุที่ทำให้แตกต่างกัน

ดังนั้น จึงดำเนินการต่อไปว่าเป็นไปได้ที่เราจะป้องกันหลักสาเหตุ โดยเราจะยึดถือเป็น a priori เราจะไม่วางมันไว้ในการทดลองเชิงประจักษ์ ก่อนหน้านี้เราค้นพบว่าเหตุการณ์ E ที่แตกต่างกัน เนื่องจากเงื่อนไข C เพียงแต่ว่าเราสังเกตมันได้หรือไม่เท่านั้น บางทีสิ่งเหล่านี้มีความแตกต่างกันในแนวทางบางอย่างที่เรารู้ไม่ได้ กล่าวคือ บางครั้งเราทำการวิจัยขุดค้นหลายๆ ปี ก็ยังค้นหาความแตกต่างของมันไม่ได้เลย บางครั้งเราก็ไม่เคยทำการค้นหามันเลย แต่เรายังเชื่อว่ามีข้อแตกต่างกันอยู่บางอย่าง แม้ว่าเราจะค้นมันพบหรือไม่ก็ตาม หรืออีกนัยหนึ่ง เงื่อนไขของเหตุการณ์ E จะต้องไม่แตกต่างกัน


 ชนิดของ Apriori ?

          ถ้าเราวางไว้ว่า หลักสาเหตุเป็น a priori แล้ว ก็จะมีคำถามตามมาว่า ความรู้ก่อนประสบการณ์มีอะไรบ้าง ?               

ก) เราสามารถแสดงว่าหลักสาเหตุเป็นวิเคราะห์ได้ เราจะไม่มีความยุ่งยากที่จะโน้มเอียงตัวเราเองว่าสามารถรู้ว่าความจริงเป็น a pirori แต่ดูเหมือนว่าหลักสาเหตุจะเป็นสังเคราะห์อย่างชัดเจนทีเดียว มโนทรรศน์ของเหตุการณ์ไม่มีวิธีที่เกี่ยวกับมโนทรรศน์ของสาเหตุ มโนภาพของเหตุการณ์เป็นเรื่องง่ายๆ ว่าเกี่ยวเนื่องกับบางสิ่งที่เกิดขึ้น บางคนวิ่งออกไปแล้วก็ยิงปืนขึ้น และอะไรทำนองนี้ ข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับมโนภาพของสิ่งที่เป็นสาเหตุของมัน หรือสิ่งที่มันไปเกี่ยวข้องด้วย ในจักรวาลที่สลับซับซ้อนสูงขึ้นไปในที่สิ่งซึ่งไม่มีรูปแบบที่เคยถูกค้นพบ ก็ยังคงมีเหตุการณ์เกิดขึ้น แต่มโนทรรศน์ของความเป็นสาเหตุจะต้องไม่เคยเกิดขึ้นได้ ถ้าประพจน์ว่า ผลทุกอย่างมีสาเหตุ ข้อนี้จะเป็นวิเคราะห์จริงๆ เพราะผลและสาเหตุเป็น คำสหสัมพันธ์ (correlative terms) และเหตุการณ์จะไม่เรียกว่าผล เว้นแต่จะมีสาเหตุ แต่หลักสาเหตุบอกว่าเหตุการณ์ทุกอย่างมีสาเหตุมาจากบางสิ่ง อีกนัยหนึ่ง เพิ่มเติมว่ามีเหตุการณ์หนึ่งเป็นผลของบางสิ่ง และข้อยืนยันนี้ก็เป็นสังเคราะห์อย่างชัดเจน               

 ข) ถ้าหลักสาเหตุเป็นสังเคราะห์ และ a priori ด้วย บางทีอย่างน้อยที่สุดเราก็มีกรณีของความจริงเชิงสังเคราะห์เป็น a priori ตามทรรศนะนี้ ความรู้ของเราเกี่ยวกับเหตุผลเฉพาะบางอย่าง (ตัวอย่างคือไข้หวัดมาจากความหนาวเย็น) มิใช่เป็นความรู้ก่อนประสบการณ์ แต่เป็นประจักษ์ แต่ประพจน์ทั่วไปว่า เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง (เราเคยค้นพบมันหรือไม่?) เป็สิ่งที่ถูกยึดถือว่าเป็นทั้งสังเคราะห์และเป็น a priori ที่รู้กันแล้ว               

เราได้พิจารณาความรู้ก่อนประสบการณ์เป็นสังเคราะห์ในเนื้อหาส่วนหนึ่งของบทที่๓ แล้ว การทำการพิจารณาบางอย่างให้แตกต่างกันออกไป หรือตรงกันข้ามกับมัน ก็จะนำมารวมไว้ที่นี้ด้วย และเราไม่จำเป็นจะต้องตั้งคำถามอีก แต่คนจำนวนน้อยเรียกหลักสาเหตุว่าเป็นสังเคราะห์ และ  a priori เนื่องจากเขารู้สึกว่ามันไม่เป็นประจักษ์และมิใช่ ประพจน์ซ้ำความ (tautology) อย่างใดอย่างหนึ่งเลย เขาอาจถูกทำให้ยอมรับการพิจารณาความเป็นไปได้อย่างอื่นก็ได้               

 ค) ข้อนี้อาจมิใช่กรณีของความรู้ทุกอย่าง เป็นแต่เพียงสมมติฐาน เราได้พิจารณาสมมติฐาน a priori มาแล้ว และบางทีหลักสาเหตุเป็นสิ่งหนึ่งของมัน หลังจากรู้มันเพื่อยึดถือความจริงทุกกรณี ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เราสมมติฐานง่ายๆ ว่ามันเป็นจริง เราปฏิเสธการรับรองความเป็นไปได้ของหลักฐานที่ขัดแย้งกัน ปราศจากการตรวจสอบต่อไป เราก็นำข้อเท็จจริงจำนวนมากของเหตุการณ์ E ที่มีข้อแตกต่างกันเมื่อพิสูจน์ว่าสาเหตุของ C มีความแตกต่างกันด้วย อันที่จริงความเห็นนี้คล้ายกันมากกับสมมติฐาน a priori         

ยังคงมีการแปลความหมายที่ยอมรับไม่ได้โดยปราศจากการไตร่ตรอง คือโดยความมั่นใจแล้วว่าสถานภาพไม่เป็นสิ่งหนึ่งในสิ่งที่เราปฏิเสธอย่างดื้อแพ่ง เพื่อการยอมรับการยกเว้นหลักการบางอย่าง ในแนวทางที่คนทั้งหลายปฏิเสธการยอมรับข้อความบางอย่างซึ่งสับสนด้วยความลำเอียงของพวกเขา เราจะต้องพูดว่าทุกอย่างไม่มีพื้นฐานเชิงประจักษ์ที่ดีพอเพื่อยอมรับหลักการนี้โดยวิธีการอื่นเลยหรือ ? และไม่มีหลักฐานบางอย่างสำหรับมันเลยหรือ ? การสังเกตเชิงประจักษ์ก็ไม่ได้นำเราไปสู่การกล่าวว่ามันมีอยู่ในประเด็นแรกมิใช่หรือ ? และไม่มีหลักการพิสูจน์ที่คู่ควรได้สำหรับมันในหลายๆ กรณี ซึ่งเรามีข้อยืนยันบางอย่างในกรณีที่เชื่อมั่นสิ่งนั้นเกินเลยขอบเขตออกไปซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้หรือ ? 

ความยุ่งยากทุกครั้งก่อนการแปลความหมาย               

ดังนั้น เราจะย้อนกลับไปยังทรรศนะเชิงประจักษ์ของหลักสาเหตุอีกครั้ง ก่อนที่จะกลับไปเรายังคงยึดถือไว้อีกครั้งว่า หลักการทั่วไปเชิงประจักษ์กับสิ่งที่วิทยาศาสตร์เสนอไว้โดยสาระสำคัญมีความแตกต่างกัน

ในหลักการทั่วไปเชิงประจักษ์ บางอย่างจะมีความเป็นไปได้ของสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้โดยตัวอย่างลักษณะเดียวกันเสมอ หรือไม่มีตัวอย่างทำนองเดียวกันเกิดขึ้นอย่างแน่นอนได้เลย มีข้อเท็จจริงว่า ถ้า A พลิกกลับว่าไม่ได้เป็น B แล้ว หลักการทั่วไปก็จะถูกยกเลิก และยังมีหัวข้อตัวอย่างอีกจำนวนมากที่ไม่มีหลักฐานว่าคนสังเกตได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นไปได้เสมอ แต่หลักสาเหตุไม่คล้ายกับกรณีนี้ ดูเหมือนว่าไม่มีความเป็นไปได้ที่จะปฏิเสธมันได้เลย

ข้อนี้มีความชัดเจนทีเดียว เราจะเปรียบเทียบก่อนว่า ปฏิบัติการหลักสาเหตุกับหลักทั่วไปของปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างไร สมมติว่านักเรียนคนหนึ่งที่ฉลาดมีรายงานเคมี (และเขาก็วางไว้โดยไม่ได้เจตนา) ว่าเมื่อเขาทดลองจุดหลอมเหลวของตะกั่วที่ทำไปนั้นแตกต่างจากสิ่งที่หนังสือเคมีบอกไว้ ครูของเขาปราศจากความวิตกทุกข์ร้อนเลย จะบอกว่าเขาทำผิด ครูจะไม่ยอมรับในขณะนั้นถึงข้อยกเว้นที่ยืนยันหลักทั่วไปนี้ ข้อนี้ไม่ได้เป็นสมมติฐาน a priori ที่ขึ้นอยู่กับส่วนของครูหรือ ? มิใช่

เพราะครูวางข้อยืนของเขาบนพื้นฐานเชิงประจักษ์ว่าทุกสิ่งทุกอย่างได้รับการพิจารณาไว้แล้ว ข้อนี้เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมากกว่าข้อที่นักเรียนทำผิดในการทดลองของเขาเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวที่ไม่เป็นไปตามที่หนังสือเคมีบอกไว้ นักเรียนได้พบข้อผิดพลาดมาก่อนแล้ว และจุดหลอมเหลวของตะกั่วก็เป็นบางสิ่งที่ถูกทดสอบเชิงประจักษ์มาตั้งหลายพันครั้ง เรามีแนวโน้มที่จะยกเลิกข้อยกเว้นที่ยืนยันออกไป เมื่อผิดพลาดได้ง่ายๆ เพราะเราได้รวบรวมหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากแล้วก็ได้สรุปไว้เป็นกฎ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นกฎเชิงประจักษ์ มีคนที่หัวใสได้ทดสอบและเก็บรายงานว่าจุดหลอมเหลวของตะกั่วแตกต่างจากสิ่งที่หนังสือบอกไว้จริงๆ แล้วได้มีการดำเนินการตรวจสอบขึ้นมา ถ้าการทดลองอันน่าเบื่อนี้ได้เป็นจริงอย่างที่นักเรียนอ้าง หลักการทั่วไปเกี่ยวกับจุดหลอมเหลวของตะกั่วก็จะถูกยกเลิก

ตอนนี้ มีกรณีอะไรเกี่ยวกับหลักสาเหตุบ้าง ? สิ่งที่เป็นเชิงประจักษ์อยู่ในแนวทางเดียวกันหรือ ? เป็นไปได้ว่าการสังเกตเชิงประจักษ์ที่เป็นเหตุให้เราวางสูตรหลักการไว้ครั้งแรกจะไม่เคยเกิดขึ้นแก่เราเลย แต่สิ่งเฉพาะมิใช่หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เราจะต้องยกเลิกมัน เราสามารถรักษาการยึดถืออันไม่ได้เรื่องได้ราวนี้ว่าเราได้พบมันในธรรมชาติ เรารู้ว่าการทำการสังเกตจักรวาลจะทำให้เรายกเลิกข้อความเชิงประจักษ์ทั่วไปได้ แต่เราจะทำการสังเกตจักรวาลอย่างไรที่ทำให้เรายกเลิกหลักสาเหตุได้ ? แน่นอนว่ามิใช่ทุกโอกาส ถ้าจักรวาลแตกต่างจากสิ่งที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้ มีอยู่เพียงสองสามรูปแบบหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ที่เป็นสิ่งค้นคว้าได้ในจักรวาล เราจะไม่คัดค้านว่าหลักการผิดพลาด แทนทีจะบอกว่า หลักการทั่วไปถูกปฏิเสธแล้วในขณะนี้ เราจะต้องบอกว่า เหตุการณ์ทั้งหลายยังคงมีสาเหตุ แต่เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะค้นหามันหลายๆ วันได้ เราจะไม่บอกว่าเหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกันเกิดขึ้นด้วยเงื่อนไขที่เหมือนกัน แต่บอกว่า เงื่อนไขแตกต่างกันหลายแนวทาง ซึ่งดูเหมือนว่าเราไม่สามารถกำหนดมันได้เลย อีกนัยหนึ่ง เราจะยึดถือว่าหลักสาเหตุมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร มิใช่สิ่งที่บอกว่าจักรวาลยุ่งเหยิงอย่างไร และมิใช่เป็นสิ่งที่พยายามอย่างไร้ความหวังของเราในการสืบค้นว่าสาเหตุผิดพลาดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #หลักสาเหตุ
หมายเลขบันทึก: 67653เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 17:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ดีจังเลยครับชอบอ่าน
  • ลองไปบันทึกท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ อาจารย์Beeman อาจารย์หมอ JJ อาจารย์ UMI (อยู่ ม.ทักษิณ ) นำทุกท่านเข้าแพลนเน็ตนะครับ
  • พอท่านเขียนท่านๆอื่นๆจะได้อ่าน
  • พอท่านอื่นๆเขียนท่านก็ได้อ่านครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ

เจริญพร จ้า

ซึ้งในน้ำใจของอาจารย์ครับ จะทำตามคำแนะนำ

ยังใช้ไม่ค่อยเป็นครับ  ตอนนี้คิดว่าจะค่อยๆ ทยอยงานบางอย่างที่มีอยู่ลงไปเรื่อยๆ นะครับ

เจริญพร จ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท