แนะนำหนังสือ สังคมพหุลักษณ์ การผสมผสานอัตลักษณ์และความเชื่อ


#รักการอ่าน

แนะนำหนังสือ สังคมพหุลักษณ์ การผสมผสานอัตลักษณ์และความเชื่อ

โดย วาทิน ศานติ์ สันติ (1-7-2560)

มามหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรีทีไรก็อดเข้าศูนย์หนังสือจุฬาเพื่อหาหนังสืออ่านไม่ได้เลย แม้จะมีหนังสือจ่อคิวอ่านหลายสิบเล่มในชั้นวางที่ห้องก็ตามที วันนี้เลย "จัด" หนังสือรวมบทความไทยคดีศึกษา "สังคมพหุลักษณ์ การผสมผสานอัตลักษณ์และความเชื่อ" ราคา 150 บาท มีบทความที่น่าสนใจเช่น

จารึกปราสาทตาพรหม : ความสำพันธ์ระหว่างขนบจารึกสดุดีกษัตริย์ กับการสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดย นิพัทธ์ แย้มเดช

ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของอาศรมแก้วกู่ จังหวัดหนองคาย โดย เชิดชาย บุตดี

"พระรอดหลวง - เวียงเหี้ยง" : พุทธศิลป์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นชุมชนโบราณบ้านสันป่าหนาด อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดย ว่าที่ร้อยตรี ดร. ชาญคณิต อาวรณ์

ลัทธิบูชาเจ้าแม่กวนอิมในสังคมไทย โดย ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์

เป็นต้น

ภาพรวมของหนังสือ เป็นการอธิบายสังคมพหุลักษณ์ ผ่านวัฒนธรรม ภาษา อัตลักษณ์ ศิลปะ และความเชื่อ ที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่นของดินแดนประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจชี้ชัดหรือกำหนดลงไปได้ว่าเป็นของชนชาติหนึ่งชนชาติใด แต่สิ่งเหล่านี้ได้เกิดขึ้น ผ่านการผสมผสานสิ่งต่าง ๆ จนลงตัว กลายเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่หรือสังคมนั้น ๆ อย่างแนบสนิท ดังนั้นการศึกษาพหุลักษณ์วัฒนธรรมจึงเป็นการพยายามทำความเข้าใจวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมของประเทศไทย และของประเทศของเพื่อนบ้าน เพื่อลดความอคติ หรือมายาคติ ที่ป็นกำแพงสูงหนาขวางกั้นอย่างเช่นในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 676187เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2020 19:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2020 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท