ทศพิธราชธรรม ธรรมในการปกครอง ในหลวงท่านเป็นนักคิด ถ้าต้องการจะทำให้งานสำเร็จ นักปกครองทุกคนต้องมีทศพิธราชธรรม ท่านต้องมีหลักธรรม 10 อย่างในการปกครองก็คือ


การนำหลักทศพิธราชธรรมของในหลวงมาใช้

๑. การให้ : ท่านเคยให้ไหม ยิ่งให้ยิ่งได้ มันเป็นนามธรรมก็จริง แต่ผมยิ่งให้ก็ยิ่งได้ ให้ลองทดลองดู ตลอดชีวิตผมยิ่งได้ยิ่งได้ตลอดโดยที่เราไม่คาดคิด เพราะเราให้ นั่งแท็กซี่ไม่เคยจ่ายเงินค่าแท็กซี่เท่ากับราคามิตเตอร์ ตัดผมก็ไม่ได้ให้เงินเท่ากับค่าบริการตัดผม ราคาอาหารก็ไม่เคยให้เงินเท่ากับราคาอาหาร ผมถือวิถีการให้ ตามที่ในหลวงบอกว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้” แล้วผมก็มีความสุขทุกครั้งที่ให้ ผมเชื่อว่าเงินมันต่อเงิน ให้ไปแล้วในที่สุดเราจะได้มา โดยที่เราไม่คาดคิด ลุกเอกเป็นคนไม่ห้วงวิชา เช่น Powepoint เวลาลูกศิษย์ใครมาขอ save ลุงเอกก็จะ save ให้หมด อาจารย์บางคนไปขอ save เขาจะไม่ให้เลย เขาถือว่าเป็นสิทธิทางปัญญาอะไรของเขา แต่ลุงเอกให้ เพราะลุงเอกถือว่าให้เพื่อประเทศชาติเราจะได้เจริญก้าวหน้า เราแบ่งปันกัน การแบ่งปันกันก็ถือเป็นวิถีแห่งเศรษฐกิจพอเพียง การให้ที่ในหลวงท่านพูด เป็นวิถีของความพอเพียง

๒. รักษาศีล ๕ : ผมเป็นคนหนึ่งที่ทำไม่ได้ครบ แต่ถ้าใครทำได้ครบถือว่าเป็นสิ่งที่ดีแก่ชีวิต ศีล ๕ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ เมตตา ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ดื่มเหล้า ผมเป็นคนไม่ได้ดื่ม…ทุกวัน แต่ว่าก็ดื่มเบียร์บ้างเป็นบางเวลา

๓. บริจาค : บริจาคไปเถอะ อย่าคิดว่าบริจาคแล้วจะต้องได้ผลตอบแทน แต่บริจาคแล้วสิ่งที่ได้มากคือ จิตใจเรา แล้วใจมีความสุข ผมไม่เคยเหนื่อยและไม่เคยปฏิเสธ ไม่เคยเกี่ยงด้วยว่าจะให้ผมพูดเรื่องอะไร บรรยายเรื่องอะไร อยากจะให้บรรยายเรื่องอะไรก็บอกมาละกัน คือเราไม่คิดถึงประโยชน์ส่วนตน ชีวิตเราจะลำบากก็ไม่คิด ก็จะไปหมดแล้วแต่ว่าใครจะเชิญมา

๔. ความซื่อตรง ความเที่ยงธรรม : บางครั้งความซื่อตรงเรายืดเอาไว้เป็นสิ่งที่ดี แต่สังคมไทยมักจะมีตัวแฝงซึ่งความไม่ซื่อตรงอยู่โดยที่ตัวเราเองและก็ไม่รู้ แต่ผมเชื่อแน่ว่าเราไม่ใช่เป็นคนที่จะดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มนุษย์จะเป็นอย่างนี้คือ ลูกน้องคนที่ส่งมาอยู่กับผม เป็นลูกน้องที่แย่ที่สุดในองค์กรมาอยู่กับผม แต่ผมรัก ผมใช้ความดีของเขา ๕ เปอร์เซ็นต์ ผมไม่ใช้ความเลวร้ายของเขา ๙๕ เปอร์เซ็นต์ แต่มีบางคนตามที่ท่าน ว.วัชรเมธี พูดว่าชอบเอามือไปจิ้มแอปเปิ้ลที่มันเน่าที่เป็นรูเล็กๆ คุณก็อย่าไปจิ้มตรงที่มันเน่า คุณก็เลือกตรงเนื้อที่มีประโยชน์แล้วนำไปใช้ เพราะฉะนั้นความซื่อตรงจะมีอยู่ในทุกคนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะมีขนาดไหนเท่านั้นเอง

๕. ความสุภาพอ่อนโยน : ลุงเอกถูกว่าบ่อยๆ ว่าทำไมถึงไม่ทำแบบทหาร ทำให้เด็ดขาด ลงโทษแบบหนัก คือลุงเอกทำไม่ได้เพราะไม่ได้เป็นอย่างนั้น

๖. ความเพียร ใครที่เคยอ่านหนังสือเรื่อง ๗ Habit เขาบอกว่าให้ลับขวานของตัวเองให้คมอยู่เสมอ คำว่า “ลับขวาน” หมายความว่า ทำปัญญาให้เฉียบแหลมโดยการศึกษาอยู่เสมอ เมื่อถึงเวลาต้องใช้ปัญญาก็สามารถใช้ได้ทันที เปรียบเสมือนขวาน เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้ขวานตัดต้นไม้ก็สามารถใช้ได้ทันที ไม่ใช่พอจะใช้ขวานตัดต้นไม้ก็ค่อยมาลับสักทีหนึ่ง จะทำงานอะไรค่อยมาเรียนสักทีหนึ่ง ไม่ใช่อย่างนั้น เราจะต้องเก็บปัญญาความรู้ไว้ตลอด

๗. ระงับความโกรธ คนเราไม่มีใครที่ไม่เคยโกรธตลอดชีวิต เพียงแต่เราต้องระงับให้เป็น ผมเคยโกรธก็โกรธมาก พอมาคิดทีหลังเรานี่ก็เสี่ยงเหมือนกัน ลูกน้องทุกคนแต่ก่อนทุกคนก็ต้องถือปืนเหมือนกับเราหมดเลยเวลาออกชายแดน แล้วเวลาเราโกรธเราโมโหก็ใส่ลูกน้อง เรามาคิดทีหลังจากที่เราอาวุโสมากแล้วว่า ถ้าเกิดเขาไม่รักเรา เขาไม่เชื่อใจ ไม่มั่นใจในตัวเรา เขาฆ่าเราตายไปนานแล้ว แต่เพราะเขารักเราเขาถึงได้ไม่ทำกับเราอย่างนั้น เพราะฉะนั้นการระงับความโกรธเป็นสิ่งที่ดี ผมมีประสบการณ์บางครั้งผมคิดว่าคนๆ นี้เกลียด เพราะเคยได้ยินเพื่อนพูดว่า คนนี้ว่าผม แต่พอผมได้คุยกับคุยกับคนนี้จริงๆ คนนี้ไม่ได้เป็นอย่างที่เราได้ยินมาเลย ท่านเคยไหม ผมใช้วิธีการทิ้งเวลาไว้ พอทิ้งเวลาไว้มันดีกับเรา ถ้าเราพูดตั้งแต่วันนั้นเราคงไปไหนแล้วก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นผมใช้ตรงนี้ ใช้โดยที่ผมไม่รู้ตัว

๘. ไม่เบียดเบียน เราต้องไม่เบียดเบียนกับลูกน้อง แล้วข้าราชการเขาห้ามรับของขวัญจากใครก็ตามที่มีมูลค่ามาก ถ้าเกิดบริษัทไหนเขาเอาของมาให้เรา เอารถยนต์มาให้คัน เรารับไม่ได้นะ เพราะถ้ามูลค่าเกิน ๓๐๐๐ บาท ผมเคยไปกระทรวงการคลังแล้วเขาชี้แจงว่า คนในกระทรวงการคลังเขามีระเบียบของเขาว่า เมื่อตัวเองไปเป็นที่ปรึกษา ซึ่งเขาจะเป็นที่ปรึกษาได้ไม่เกิด ๓ ที่ ไปเป็นที่ปรึกษาแล้วได้ค่าตอบแทนมาแล้วจะต้องแบ่งค่าตอบแทนเท่านี้เปอร์เซ็นต์ให้กับกองกลาง เขาเขียนไว้ในระเบียบเลย หรือถ้าหากได้รับของที่มูลค่ามากกว่า ๓๐๐๐ บาทต้องตัดแบ่งกระจายให้กับคนอื่น ความเบียดเบียนเป็นสิ่งสำคัญเราต้องไม่เบียดเบียนโดยเฉพาะคนที่ด้อยกว่า

๙. ความอดทน ขันติ การทำงานต้องมีความอดทนในการทำงานหนึ่งๆ ให้สำเร็จ

๑๐. หนักแน่นในธรรมและความถูกต้อง คำว่า “ธรรมะ” แปลว่าอะไร ท่านพุทธทาสบอกว่า “ธรรมะ คือธรรมชาติ ธรรมชาติ คือความดี” ถ้าเผื่อใครทำตัวเป็นธรรมชาติและเป็นความดี เมื่อไหร่ที่เราทำตัวฝืนธรรมชาติ เมื่อไหร่เราทุกข์ใจ นั่นแหละเราทำตัวฝืนธรรมชาติ ท่านเป็นผู้บริหารท่านเคยด่าลูกน้องไหม หรือถ้าเป็นลูกน้องเคยด่าเจ้านายไหม การด่าว่าลูกน้องอย่าด่าว่าเกินกว่าหนึ่งคน ทำไมทราบไหมครับ ที่เกิดกว่าหนึ่งคน คนเหล่านั้นเขาจะเกลียดท่านทั้งหมด เพราะวันหนึ่งเขาอาจจะเป็นผู้ถูกด่าประจานเหมือนเช่นที่ท่านด่าคนนี้ เพราะฉะนั้นหากจะว่าลูกน้องจะต้องเรียกมาคุยสองต่อสองคนไหนที่ไม่ดี แต่ถ้าจะชมลูกน้องต้องอย่าน้อยกว่าหนึ่งคน ยิ่งมากๆ ยิ่งดี แถมให้กระดาษ A4 ด้วยยิ่งดีใหญ่เลย แต่บางคนก็ไม่ให้คำชมกับลูกน้อง แม้แต่ชมด้วยปากก็ไม่เคยชมลูกน้อง ทั้งๆ ที่มันไม่ได้เสียอะไรเลย ให้กระดาษ A4 ใบหนึ่งชมเชยให้ลูกน้องบางคนก็ไม่เคยทำ

หมายเลขบันทึก: 676101เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2020 19:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2020 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณลุงเอกที่มาเล่าเรื่องดีดีให้อ่านนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท