Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่


เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มนตรีของเทพศิรินทร์ ในฐานะประธาน Chira Academy และเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพร้อมด้วยคณะทำงานซึ่งเป็นผู้แทนนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์คือ คุณกฤช สินอุดมและนายสัตวแพทย์ กิจ สุนทรจัดโครงการ Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562 และ Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ และโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค
โดยมีครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่เข้าร่วมโครงการและมีคณะวิทยากรจาก Chira Academy และรุ่นพี่นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ให้ข้อเสนอแนะ

สรุป

Debsirin Coaching and Mentoring Day

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563

ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

กล่าวเปิดงาน โดย อาจารย์อัญชลี ขันธิกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป

โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

ยินดีต้อนรับคณะวิทยากรทุกท่านที่มาวันนี้ ท่านเดินทางมาไกล มาพุดคุยกับโรงเรียนและผู้ปกครองที่มาในวันนี้

การพูดคุยในวันนี้ ถือเป็น การรวบรวมความคิดของทุกท่านเพื่อนำมาสร้างและพัฒนาโรงเรียนของเรา

ขณะนี้ โรงเรียนของเราอยู่ในขั้นพัฒนาในเรื่องของการเรียน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมหรือสถานที่ที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งครูที่เข้ารับการอบรมส่วนหนึ่งก็ไปคุมสอบโอเน็ต และนักเรียนม.6 ก็ไปสอบทั้งหมด จะมีครูที่นี่อยู่ประมาณ 21 ท่าน

คิดว่า พลังของเราทุกคนที่มาในวันนี้ ก็มีความพร้อมที่จะรับในเรื่องของความรู้และกิจกรรมการดำเนินการวันนี้ จะมีความพร้อมทุกคน เพราะฉะนั้นความร่วมมือก็จะทำให้เกิดความสำเร็จในการทำงานวันนี้

ขอขอบพระคุณท่านวิทยากรวันนี้ ท่านมาพร้อมความรู้ ทีมงานหลายท่านมีคุณภาพจะนำพาโรงเรียนเราไปสู่ยุค 4.0

ในนามของโรงเรียน ก็ขอขอบพระคุณและยินดีต้อนรับท่านที่มาอบรมให้กับคณะครูและผุ้ปกครอง

การบรรยายเรื่อง การสร้างความเป็นเลิศและความดีกับการปรับตัวในยุคที่โลกเปลี่ยน ยุค 4.0

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มนตรีของเทพศิรินทร์และอดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์

โรงเรียนนี้สำคัญ อยู่ภาคเหนือ

ต้องขึ้นกับแรงบันดาลใจและการบริหารจัดการ จะทำให้กิจกรรมเป็นเลิศได้

มนตรีเทพศิรินทร์ ได้แก่ ท่านอรรถนิติ องคมนตรี ดร.ไชยวัฒน์ คุณประสารและอาจารย์จีระ

ปีนี้เทพศิรินทร์เป็นแชมป์จตุรมิตร ก่อนหน้านี้ อาจารย์จีระขอไปพบนักฟุตบอล นำเขาไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระธีรญาณมุนี

ถ้าเราทำอะไร ต้องทำให้ดีขึ้นทุกวัน

เคยนำอาจารย์ม.อ.มาพูดเรื่องวิทยาศาสตร์ 2 ครั้ง แต่วันนี้เป็นวันของเรา

วันนี้ต้องตั้งใจฟัง คิดตามไปด้วย

ต้องยึดหลัก 2R’s

ความจริง (Reality) ต้องทำให้การศึกษาดีขึ้น ปัจจุบันมี Disruption

ถ้าทำให้คนมีคุณภาพ ต้องทำให้เขาเป็นมืออาชีพ ผู้ปกครองต้องดูว่า เด็กเรียนแล้วได้อะไร บางทีเขาอาจจะไม่จำเป็นต้องเข้ามหาวิทยาลัยก็ได้

พวกเราเป็นพี่น้องกัน ต้องปรึกษาหารือกัน

ทำงานแล้วต้องทำให้สำเร็จ

ผู้ปกครองต้องถามว่า วันนี้ตนเองจะได้อะไร

ความจริงอีกข้อคือ จะปรับตัวอย่างไร (Relevance)

การเปลี่ยนแปลงเร็ว ความจริงอยู่ที่ไหน อีก 5 ปีข้างหน้า ความจริงเป็นอย่างไร

วีดิโอสมเด็จพระเทพศิรินทร์ทำให้เห็นทุนทางวัฒนธรรมไทย

การเรียนยุคใหม่ต้องมีสาระ วิธีการ (Learning how to learn หรือ Process)

4.0 หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทุกวัน จะจัดการอย่างไร

ผู้ปกครองนักเรียนที่นี่ไม่ได้ต่างจากผู้ปกครองที่กทม.

ทุกเรื่องที่เราทำจะมี Friends of Debsirin

การเรียนยุคใหม่ต้องสนใจสังคม เศรษฐกิจ การเมือง

การเรียนกับอาจารย์จีระมี 3 เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1.สาระ

2.วิธีการกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจเรียนแล้วไปประยุกต์กับความจริง เช่น การเรียนแต่ละคาบ ครูต้องให้เด็กถามคาบละ 10 นาที ไม่ต้องคิดว่า เด็กท้าทายครู

เราทำโครงการนี้แล้ว 2 ครั้ง ตอนครั้งที่ 2 อาจารย์จีระมีความสุขมาก

คุณหมอกิจเน้นให้พูดถึงผลที่เกิดขึ้นจริง

วันนี้จะแบ่ง 3 กลุ่มเลือกหัวข้อมาทำต่อ จะให้แต่ละกลุ่มเสนอโครงการใหม่ๆ เพื่อเป็นรูปธรรมต่อเนื่อง

หลังโครงการนี้ ควรคิดโครงการร้อยวัน

ช่วงแสดงความคิดเห็น

จากที่ฟังอาจารย์จีระมามีความเห็นเพิ่มเติมอย่างไร

กลุ่ม 1 ผู้ปกครอง

ในยุค 4.0 มีการเปลี่ยนแปลงเยอะมาก

ต้องพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพแล้วจะพัฒนาเด็กได้

เสาร์อาทิตย์ก็ถามว่า ลูกเรียนเป็นอย่างไรบ้าง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

HR Architecture เป็นเรื่องสำคัญ

ผู้ปกครองควรดูว่า ลูกใช้ Social Media เพื่ออะไร

กลุ่ม 2 ครู

ตอนนี้ เด็กคิดวิเคราะห์ไม่เป็น

ควรเพิ่มการปรับตัวของครู ครูยังสอนแบบเดิมคือ จำ ท่อง ให้เด็กแปลจาก Google

ครูต้องปรับกระบวนการสอนให้ทันโลก แต่ยาก

อยากฝากครูรุ่นใหม่ทำให้เด็กคิดเป็น ต้องเน้นสาระและกระบวนการ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตบมือให้อาจารย์หน่อย

ตอนอยู่ธรรมศาสตร์ ผมกล้าพูด ปะทะกับกระทรวงศึกษาธิการหลายครั้ง

ปัจจุบันนี้ ทุกคนเสนอความคิดแล้ว ทำอย่างไรจึงจะให้เกิดผลจริง

ในอนาคตควรมี Knowledge Camping ให้ครูเทพศิรินทร์ด้วย

เคยมีค่ายครูสอนภาษาอังกฤษ อาจารย์จีระกล่าวถึงการเรียนเรื่องเชคสเปียร์

ถ้าเรียนแล้ว แล้วนำความรู้ไปใช้ไม่ได้ ประเทศก็อยู่ไม่ได้

ปัญหาการพัฒนาการศึกษาคือระบบราชการ

ที่ MIT เสนอให้สาขาสังคมศาสตร์มีการวัดผลว่า ไปเปลี่ยนพฤติกรรม ครู นักเรียน ผู้ปกครองหรือไม่แล้วต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ขอชื่นชมที่คนโรงเรียนนี้

กลุ่ม 3 นักเรียน

เห็นด้วยกับดร.จีระ

เราไม่ควรติดตำรา ครูไม่ควรปิดกั้นให้ทำแค่กิจกรรมวิชาการ แต่ควรให้นักเรียนเป็นในสิ่งที่เขาอยากเรียน ควรให้นักกีฬาที่อยากเรียนวิทย์-คณิตได้เรียนด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรามารวบรวมปัญหาแล้วเทพศิรินทร์ทำงานร่วมกัน

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของเวียดนามเป็นนักวิชาการปริญญาเอก ทำงานเร็ว ฟังความคิดเห็นคนนอก

นักเรียนพูดถูกว่า โครงการที่ทำต่อจะต้องลงไปที่ครู ต้องมีการปรับทั้งสาระและ Mindset

สิ่งที่ยากที่สุดของมนุษย์คือ ทักษะการบริหารจัดการ soft skill การทำงานเป็นทีม ซึ่งไม่ได้สอนในกระทรวงศึกษาธิการ

ในอเมริกาและอังกฤษ ทุกวิชาผสมผสานกัน คนประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องมาจากสายวิทยาศาสตร์ก็ได้

ครูที่นี่ไม่จำเป็นต้องเก่งทุกเรื่อง อาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญภายนอกในเรื่องที่ไม่ชำนาญ

กลุ่ม 4 นักเรียน

อยากให้ผู้ปกครองเปิดโอกาสให้นักเรียนทำในสิ่งที่สนใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นักเรียนต้องทำในสิ่งที่ตนเองชอบ

ต้องมี Passion ความหลงใหลในสิ่งที่ตัวเองทำ

ปัญหาของไทยคือ ครูแนะแนว และการถูกกำหนดด้วยสาระต่างๆ

เด็กที่มาโครงการนี้มีแววดี

ทางโรงเรียนอาจจะ Co-working space อาจจะไปดูเทพศิรินทร์ พุแคที่ทำศูนย์จีนและญี่ปุ่น

ขอชมเชยคำถามนักเรียน

นักเรียนต้องปรึกษาทั้งครูและพ่อแม่ด้วย อยากให้พ่อแม่ปรับ Mindset ด้วย

กลุ่ม 5 นักเรียน ม.5/1

เรามาเพื่อเรียน แต่ครูมักโยนงานให้นักเรียนทำแล้ววัดผลด้วยการส่งการบ้านและการสอบ

อยากให้ครูตัดสินความสามารถของนักเรียนมากกว่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ครูและนักเรียนควรช่วยกันปรับวิธีการเรียนให้ดีขึ้น

ถ้าให้คะแนนกลุ่ม ก็ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม แล้วให้ครูเป็นที่ปรึกษา

กลุ่ม 6 ครู

โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ผู้ปกครองคาดหวังคุณภาพวิชาวิทย์ คณิต แต่คุณภาพพื้นฐานเด็กก่อนส่งเข้าเรียน ครูจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองบรรลุเป้าหมายนี้

ถ้าจะปรับการเรียนการสอน ต้องดูว่า ที่ครูโยนงานให้นักเรียน เด็กได้เรียนพื้นฐานมาหรือยัง

ภารกิจของครูที่สอนถูกรบกวนกับการส่งงานอื่น

ต้องปรับโครงสร้างการศึกษาแบบใหญ่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราอยากให้ทุกฝ่ายมาเข้าใจและคิดร่วมกัน

โรงเรียนนี้เล็ก แต่บรรยากาศวันนี้ดีกว่าโรงเรียนใหญ่

ไม่ได้แปลว่า เราจะแก้พื้นฐานไม่ได้

ที่คณะฟิสิกส์ มีศ.ดร. ถิรพัฒน์ วิลัยทอง อาจเชิญมาพูดให้เด็กฟัง

ครูและผู้ปกครองต้องปรับ Mindset ผู้ปกครองต้องไม่บ้าคลั่งให้ลูกเรียนแต่วิทย์-คณิต

เนื้อหาต่อ

อย่าหยุดการเรียนรู้

ตอนอายุ 20-35 ปี ความรู้จะเปลี่ยนมหาศาล

กรอบความคิดที่เติบโตได้ของนักเรียนโดยมีผู้ปกครองและครูร่วมด้วย  ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์เชียงใหม่

Fixed Mindset

Growth Mindset

1. ทำดีที่สุดแล้ว

2. ยากเกินไป

3. ฉันทำผิดพลาด

4. คะแนนเท่านี้ OK

5. ไม่เก่งวิชานี้

1. ยังทำได้ดีกว่านี้

2. น่าจะมีวิธีใหม่ๆหรือ

ที่จะทำเพิ่ม

3.โอกาสได้เรียนรู้

ความผิดพลาด

4. ยังทำได้ดีกว่านี้

5. ฉันจะพยายามวิชานี้มากขึ้น

ครูควรเอาใจใส่เด็กเรียนไม่เก่งมากขึ้น ควรถามไถ่นักเรียน บางคนมีปัญหาครอบครัวจึงไม่อยากเรียน

เวลาทำกิจกรรม นักเรียนที่เรียนไม่เก่งทำได้ดีเพราะรู้จักคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์

ผู้ปกครองไม่ควรเสียใจที่เด็กได้คะแนนปานกลาง เพราะเขายังพัฒนาไม่ถึงจุดนั้น

สิ่งสำคัญคือ ต้องให้เด็กมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

VDO การบรรยายเรื่อง สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และที่ปรึกษา Chira Academy

วัดเทพศิรินทร์สร้างโดยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นพระโอรสในรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

สถาบันกษัตริย์และรัฐบาลได้ร่วมกันสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศมากมาย ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาต่อเนื่องกันมา

รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศ ตอนนั้นไทยเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ในอาเซียนเพราะมีวิเทโศบายโอนอ่อนเรียนรู้วิทยากรจากฝรั่ง

รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย หอนาฬิกาแห่งแรกของสยาม สร้างเสร็จก่อนหอนาฬิกาบิ๊กเบน (สหราชอาณาจักร) 2 ปี

ทรงคำนวณเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ Bangkok Time ขึ้นใช้เองในสยาม (ใช้ก่อนมาตรฐานเวลากรีนิช 10 ปี) ทำโดยให้มหาดเล็กปักธูปและจดเวลาเป็น 10 ปีแล้วนำมาเฉลี่ย

รัชกาลที่ 4 ทรงอ่านหนังสือดาราศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษอยู่เสมอ

รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทย และผู้นำสยามยุคใหม่ทรงพิสูจน์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อ.หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปี

ท่านเชิญทูตชาติตะวันตกมาดูด้วย ทรงทำนายแม่นยำเพราะทรงใช้วิธีโหราศาสตร์ สารัมภ์ไทย สารัมภ์มอญและตำราอังกฤษ อเมริกันอีกหลายฉบับประกอบด้วยแล้วเสด็จสวรรคตด้วยโรคไข้ป่า

แสดงให้เห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ต้องหาความรู้หลากสาขามาประกอบการพิสูจน์

ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ Francis Chit (ฟรานซิส จิตร) ช่างภาพหลวงของไทย ถ่ายภาพสุริยุปราคาหว้ากอ

ประเทศไทยเคยมีกษัตริย์ครองราชย์คู่กัน 2 พระองค์ เช่น กรณีพระนเรศวร รัชกาลที่ 4

แสดงให้เห็นว่า การทำงานต้องอาศัยความหลากหลาย

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

Beijing Jiaotong University ของจีนให้ทุนเรียนวิศวกรรมระบบราง

ไม่มีใครสอบทุนนี้ได้เพราะระบบการศึกษา คนที่เรียนภาษาจีนคือสายศิลป์ เด็กสายวิทย์ไม่มีใครเรียนภาษาจีน จึงสอบไม่ได้

ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ไปเรียนภาษาจีนเป็นที่ 1 ในจีน แต่คนไทยเรียนเป็นที่ 2 ไม่มีใครเรียนสายวิทย์

สิ่งที่ชาติต้องการ การศึกษายังไม่ตอบสนองความต้องการของประเทศ

คนจีนรู้จักสมเด็จพระเทพในฐานะเป็นหลานสมเด็จพระเทพศิรินทร์ และรู้จักเทพศิรินทร์ในฐานะโรงเรียนที่ผลิตนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 5 คน

มีการอบรมครูภาษาจีนของเครือโรงเรียนเทพศิรินทร์ สร้างคอร์สทางอินเตอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สอนภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ทำไมต้องเรียนภาษาจีน

ไทยกับจีนเป็นเพื่อนกันมานาน

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เรามองจีนยากจน GDP จีนห่างกับสหรัฐถึง 15 เท่า

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ความแตกต่าง GDP จีนกับสหรัฐแค่ 58%

ความเจริญจีนแผ่ตามเส้นทางสายไหมเก่าและ one belt one road

จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดของไทย ทั้งส่งออกและนำเข้า

ดังนั้นนักเรียนต้องศึกษาสถานการณ์โลก

เมื่อเดือนที่แล้ว จีนกับอเมริกาบรรลุข้อตกลงการค้า เพราะอเมริกาส่งออกถั่วเหลืองไม่ได้ ส่วนหมูจีนก็ตายด้วยโรคไข้หวัดหมู ทรัมป์พยายามทำเรื่องนี้เพื่อหาเสียงให้ตัวเอง

ตั้งแต่อู่ฮั่นปิดเมือง หนังสือพิมพ์อเมริกาโจมตีจีน แต่จากประสบการณ์การทำงานในอู่ฮั่น ก็ให้ลูกน้องเช็คข่าว จึงพบว่า ข้อมูลไม่ตรงกับของจีน

ปัญหาคือข้อมูลจากสื่อมักถูกครอบงำโดยบางค่ายโดยเฉพาะสื่อตะวันตก

ไวรัสโคโรนาร้ายแรงกว่าเหตุการณ์ 11 กันยายน เพราะมีจำนวนคนตายมากกว่า

ไวรัสโคโรนาทำให้จีนต้องปิดเมือง แต่พัฒนาระบบการเรียนออนไลน์ให้นักศึกษาได้เรียนได้

เชียงใหม่ใกล้คลังยาของจีนคือ ยูนนาน อาจส่งเสริมให้นักเรียนเรียนชีววิทยาเป็นวิชาเลือกได้

ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์มีศูนย์วัฒนธรรมจีนเทพศิรินทร์

ปัจจัยความสำเร็จ ต้องมีความร่วมมือ 3 ฝ่าย นักเรียนคิด โรงเรียนทำ ผู้ปกครองสนับสนุน

ข้อเสนอแนะ

นักเรียนที่รู้ภาษาจีน เวลาที่แนะนำนักท่องเที่ยวจีน ควรแนะนำสิ่งที่ดีๆเกี่ยวกับประเทศไทย เช่น วัฒนธรรม โบราณสถาน ควรนำวัฒนธรรมมาเป็นจุดขายแบบเกาหลีใต้

สรุปผล Workshop นำเสนอโครงการกลุ่มเพื่อพัฒนาโรงเรียนเทพศิรินทร์เชียงใหม่           

คณะผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้แบ่งกันเป็น 3 กลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภทคือ ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ร่วมกันทำ workshop ตามกระบวนการ Learn-Share-Care กฎ Workshop 12 ข้อของศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เพื่อคิดค้นโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาโรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่ตามแนวทาง 3V’s คือ Value Added (สร้างมูลค่าเพิ่ม) Value Creation (สร้างคุณค่าใหม่) และValue Diversity (สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย) และได้ข้อสรุปดังนี้

กลุ่มวิชาการได้นำเสนอ 2 โครงการคือ

โครงการที่ 1 Active Learning

คุณกฤช สินอุดม ได้เสนอแนะแนวทางการดำเนินการคือ

-ให้นักเรียนเป็นผู้นำเสนอเนื้อหาความรู้ ส่วนครูให้ข้อเสนอแนะ โดยนักเรียนอาจจะไม่ได้ทำโจทย์แบบเดิม

-เปลี่ยน Mindset ของนักเรียนให้เข้าใจว่า ในโลกแห่งความเป็นจริง นักเรียนอาจจะไม่ได้เจอปัญหาแบบเดิม เพราะฉะนั้นจะต้องสามารถแก้ปัญหาใหม่ๆได้

-ครูต้องกล้าออกข้อสอบเรื่องที่ไม่ได้สอน

-นักเรียนต้องไม่โกรธครูที่ออกข้อสอบสิ่งที่ไม่เคยสอน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้เสนอแนะแนวทางการดำเนินการคือ

-ชนะเล็กๆ ดำเนินการเรื่อง Active Learning เป็นขั้นๆ

-3 ต. (ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง) Active Learning เรื่องภาษาต้องทำเดือนละวัน เช่น ใน 1 เดือนจะมีทั้งกิจกรรม English Day, Chinese Day และ Japanese Day อย่างละ 1 วันแล้วทำอย่างต่อเนื่อง

โครงการที่ 2 เปิดเสรีการเลือกชุมนุมกิจกรรม(โดยไม่ผูกติดกับแผนการเรียน)

นักเรียนเสนอความต้องการเลือกชุมนุมกิจกรรมตามความสนใจโดยไม่ถูกบังคับให้เลือก

ชุมนุมกิจกรรมที่กำหนดโดยแผนการเรียนเท่านั้น

ครูได้นำเสนอคำอธิบายคือ

-คณะกรรมการสถานศึกษามีมติให้เลือกชุมนุมกิจกรรมตามแผนการเรียน ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงให้สามารถเลือกได้โดยเสรี จะต้องมีการหารือกันใหม่

-ปัญหาคือ

-ถ้ามีการเลือกโดยเสรี บางชุมนุมจะไม่มีนักเรียน เช่น ภาษาต่างประเทศหรือวิทยาศาสตร์

-จะขาดนักเรียนที่มีความสามารถสูงพอที่จะส่งไปแข่งขันกับโรงเรียนอื่นๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้เสนอให้พบกันครึ่งทาง

คุณกฤช สินอุดม ได้เสนอให้แยกกิจกรรมชุมนุมจากงานกิจกรรมที่นักเรียนช่วยเหลือโรงเรียน

กลุ่มพฤติกรรมนักเรียนได้นำเสนอ 2 โครงการคือ

โครงการที่ 1 พัฒนาศักยภาพกรรมการนักเรียน

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนทำงานเป็นระบบ และรบกวนครูและนักเรียนกลุ่มอื่นๆน้อยลง

โครงการที่ 2 ส่งเสริมให้ครูเป็นแบบอย่างด้านประชาธิปไตย

กิจกรรมดำเนินการคือ ให้ครูร่วมลงคะแนนออกเสียงเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียนโดยคะแนนของครูมีอำนาจชี้ขาดเพื่อให้ได้คนมีคุณภาพมาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการนักเรียน

ครูนำเสนอสภาพปัจจุบันว่า ประธานนักเรียนเป็นนักเรียนม.5 เพราะนักเรียนม.6 มีภาระในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย

อาจารย์ไพโรจน์เสนอว่า นักเรียนควรเป็นผู้เลือกคณะกรรมการนักเรียนเอง

คุณกฤช สินอุดม เสนอว่า นักเรียนชั้นม.6 ไม่ควรคิดว่าจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างเดียวและทำอย่างอื่นไม่ได้ ส่วนเรื่องการเลือกตั้ง ครูควรสอนนักเรียนให้ใช้วิจารณญาณในการเลือกตั้งโดยอาจจะต้องให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย

กลุ่มพัฒนากายภาพได้นำเสนอ 2 โครงการคือ

โครงการที่ 1 ปรับปรุงระบบน้ำโรงเรียน

ปัญหาปัจจุบันคือ น้ำไม่เพียงพอและระบบน้ำในชุมชนเปิดปิดเป็นเวลา

สิ่งที่ดำเนินการไปแล้วคือ ของบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาขุดเจาะบ่อบาดาล แต่ทำแล้วน้ำไม่ขึ้นมา

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร เสนอแนะให้ขุดบ่ออย่างน้อย 1 ไร่ และมีผ้ายางปูก้นบ่อ

คุณกฤช สินอุดม เสนอว่า

-ควรมองน้ำทั้งระบบ ตอนที่ฝนตกก็ stock เก็บน้ำได้

-ควรนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมา reuse ใช้ในการเกษตร

โครงการที่ 2 โครงการจัดการขยะในโรงเรียน

สาเหตุของปัญหาคือ นักเรียนเพิ่มขึ้นและมีการซื้อของมากินในโรงเรียนมากขึ้น

ครูเสนอวิธีคือ ได้สอนวิธีการคัดแยกขยะให้นักเรียนทุกวันศุกร์ และตกลงกับเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ให้ถุงพลาสติกแก่นักเรียน

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร เสนอแนะให้ดำเนินการตามแบบประเทศจีนคือ ใช้ขยะถมที่ดินปรับภูมิทัศน์

ในส่วนขยะอินทรีย์ ควรใส่ลงในบ่อ Biogas ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีความชำนาญเรื่องนี้

ส่วนแบตเตอรี่ ก็ส่งให้อบต.กำจัด

กล่าวปิดงาน โดย อาจารย์อัญชลี ขันธิกุล รองผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารทั่วไป

โรงเรียนเทพศิรินทร์ เชียงใหม่

วันนี้รู้สึกอิ่มใจและมีความสุขที่ทุกคนได้ออกความเห็น สามารถนำไปปฏิบัติได้ ผู้ปกครอง ก็ได้เรียนจากลูก ผู้ปกครองก็รู้ว่า จะไม่พยายามยัดเยียดให้ลูกได้เรียนเยอะ แต่อยากให้ลูกได้เรียนตามความถนัด

โครงการกลุ่มก็มีประโยชน์ด้านบริหาร ทั้ง 3 กลุ่มที่ได้ทำกิจกรรมก็นับว่ามีประโยชน์พอจะนำไปพัฒนาโรงเรียนในปีการศึกษาต่อไป

ทั้ง 3 กลุ่มก็เป็นปัญหาที่สำคัญมาก จะแก้ไขดำเนินการต่อไปอย่างไร

วันนี้ท่านให้ข้อชี้แนะและเสนอแนะ ขอให้แต่ละกลุ่มส่งโครงงานนี้เพื่อนำเสนอต่อผู้อำนวยการ เราจะทำให้ดีที่สุด ทำตามพลังที่มีอยู่คือ ครู 20 กว่าคน และน้องๆคอยช่วยกันให้สำเร็จ

ในนามของโรงเรียน ขอขอบคุณวิทยากรมาเป็นกำลังใจและรวมพลังตั้งแต่เช้าจนถึงเวลานี้

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาพนิ่ง

Facebook live

Facebook1

Facebook2

รายการวิทยุ

บทความ1

บทความ2

หมายเลขบันทึก: 675805เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2020 00:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2020 05:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท