100 ระบบสารสนเทศกับการประกันคุณภาพ รอบสี่


ปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่งประการหนึ่งในการบริหารและการจัดการของสถานศึกษาก็คือการบริหารและจัดการเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา ยิ่งสถานศึกษามีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด สถานศึกษาก็ยิ่งจะมีข้อมูลและสารสนเทศมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การที่สถานศึกษามีข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์ รวดเร็ว เป็นปัจจุบัน น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับความต้องการ เข้าถึงได้ง่าย แต่โดยสภาพความเป็นจริงของสถานศึกษา สถานศึกษามีข้อมูลอยู่มากมายแต่แต่ไม่ได้ถูกนำมาจัดกระทำให้เป็นสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการบริหารและการจัดการ ประกอบการกับการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาของสถานศึกษา รอบสี่ สถานศึกษาก็ต้องนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศประกอบการประเมินในทุกมาตรฐานเพื่อที่จะบอกถึงการมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของการดำเนินการในเรื่องนั้น ซึ่งความต่อเนื่องหมายถึงเรื่องนั้นมีการพัฒนาในทางดีขึ้นอย่างน้อย ๒ – ๓ ปี คำว่าพัฒนาการต่อเนื่อง “๒ – ๓ ปี” การที่สถานศึกษาจะนำเสนอข้อมูลความต่อเนื่อง ๒ ปี สถานศึกษาจะต้องนำเสนอข้อมูลย้อนหลัง ๓ ปี แต่หากสถานศึกษาจะนำเสนอข้อมูลความต่อเนื่อง ๓ ปี สถานศึกษาจะต้องนำเสนอข้อมูลย้อนหลัง ๔ ปี และเพื่อให้สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ของ สมศ. ที่มีการประเมินจำแนกตามระดับชั้นสำหรับคุณภาพของเด็กและคุณภาพของผู้เรียนในมาตรฐานที่ ๑ ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าการประเมินในมาตรฐานที่ ๑ ซึ่งเป็นการประเมินเกี่ยวกับคุณภาพเด็กและคุณภาพผู้เรียน และในมาตรฐานที่ ๓ เป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งข้อมูลสารสนเทศทั้งมาตรฐานที่ ๑ และมาตรฐานที่ ๓ จะเป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ “จำนวนเด็ก ผู้เรียน และครู” ซึ่งจะต้องเป็น “คน” และประมวลผลออกมาเป็น “ร้อยละ” ส่วนมาตรฐานที่ ๒ เกี่ยวกับกระบวนการบริหารและการจัดการ ผลที่ได้จะออกมาเป็น “ระดับคุณภาพ” แล้วสารสนเทศที่สถานศึกษาจะต้องเตรียมจัดทำไว้สำหรับการนำเสนอในการประกันคุณภาพ รอบสี่ สถานศึกษาจะต้องจัดเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

ข้อมูลและสารสนเทศที่สถานศึกษาจะต้องจัดเตรียมไว้สำหรับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสี่ ประกอบไปด้วยข้อมูลสารสนเทศสำหรับระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รายละเอียดดังนี้

ระดับการศึกษาปฐมวัย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพเด็ก ประกอบด้วย

๑. มีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ เป็นต้นได้แก่

    ๑.๑ เด็กมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

    ๑.๒ เด็กเคลื่อนไหว ร่างกายคล่องแคล่ว ทรงตัวได้ดี

    ๑.๓ เด็กใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี

    ๑.๔ เด็กดูแลรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตนและปฏิบัติจนเป็นนิสัย

    ๑.๕ เด็กปฏิบัติตนตามข้อตกลง เกี่ยวกับความปลอดภัย

    ๑.๖ เด็กหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อโรค สิ่งเสพติด

๒. มีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุม และแสดงออกทางอารมณ์ได้ โดยจัดให้มีข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับประเด็นต่อไปนี้ เป็นต้นได้แก่

   ๒.๑ เด็กร่าเริงแจ่มใส แสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เหมาะสม 

   ๒.๒ รู้จักยับยั้งชั่งใจ อดทนในการรอคอย

   ๒.๓ เด็กยอมรับและพอใจในความสามารถและผลงานของตนเองและผู้อื่น

   ๒.๔ เด็กมีจิตสำนึกและค่านิยมที่ดี

   ๒.๕ เด็กมีความมั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงออก

   ๒.๖ เด็กช่วยเหลือแบ่งปัน

   ๒.๗ เด็กชื่นชมและมีความสุขกับศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว

๓. มีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเอง และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

   ๓.๑ เด็กช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน 

   ๓.๒ เด็กมีวินัยในตนเอง ประหยัดและพอเพียง

   ๓.๓ เด็กมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในและนอกห้องเรียน

   ๓.๔ เด็กมีมารยาทตามวัฒนธรรมไทย เช่น การไหว้ การยิ้ม ทักทาย และมีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่

   ๓.๕ เด็กยอมรับหรือเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล เช่น ความคิด พฤติกรรม พื้นฐานครอบครัว เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม

   ๓.๖ เด็กเล่น และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ แก้ไขข้อขัดแย้ง โดยปราศจากการใช้ความรุนแรง

๔. มีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้

   ๔.๑ เด็กสนทนาโต้ตอบ และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ

   ๔.๒ เด็กตั้งคำถามในสิ่งที่ตนเองสนใจหรือสงสัย และพยายามค้นหาคำตอบ

   ๔.๓ เด็กอ่านนิทาน และเล่าเรื่องที่ตนเองอ่านได้เหมาะสมกับวัย

   ๔.๔ เด็กมีความสามารถในการคิดรวบยอด

   ๔.๕ เด็กคิดแก้ปัญหา และสามารถตัดสินใจในเรื่องง่าย ๆ ได้

   ๔.๖ เด็กสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่น งานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ เป็นต้น

   ๔.๗ เด็กมีการคิดเชิงเหตุผลทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ

๑. มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

   ๑.๑ มีหลักสูตรครอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น

   ๑.๒ มีหลักสูตรสถานศึกษาที่ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

   ๑.๓ ออกแบบการจัดประสบการณ์ที่เตรียมความพร้อมและไม่เร่งรัดวิชาการ

   ๑.๔ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็กปกติและกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

   ๑.๕ เน้นการเรียนรู้ผ่านการเล่นและการลงมือปฏิบัติ สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของครอบครัว ชุมชนและท้องถิ่น

๒. จัดครูให้เพียงพอกับชั้นเรียน

   ๒.๑ สถานศึกษาจัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนปฐมวัย

   ๒.๒ สถานศึกษาจัดครูที่จบการศึกษาปฐมวัยหรือผ่านการอบรมการศึกษาปฐมวัยอย่างพอเพียงกับชั้นเรียน

      ๓. ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์

   ๓.๑ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบหลักสูตรสถานศึกษา

   ๓.๒ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีทักษะในการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็ก

   ๓.๓ พัฒนาครูและบุคลากรให้ใช้ประสบการณ์สำคัญ ในการออกแบบการจัดกิจกรรม

   ๓.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีการสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล

   ๓.๕ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และครอบครัว

๔. จัดสภาพแวดล้อมและสื่อเพื่อการเรียนรู้ อย่างปลอดภัยและเพียงพอ

   ๔.๑ สถานศึกษาจัดภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่คำนึงถึงความปลอดภัย

   ๔.๒ สถานศึกษาจัดภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและกลุ่ม

   ๔.๓ สถานศึกษาจัดภาพแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมให้เกิดการเล่นแบบร่วมมือร่วมใจ

   ๔.๔ สถานศึกษาจัดให้มีมุมประสบการณ์หลากหลาย มีสื่อการเรียนรู้ เช่น ของเล่น หนังสือนิทาน สื่อจากธรรมชาติ สื่อสำหรับเด็กมุด ลอด ปีนป่าย สื่อเทคโนโลยี สื่อเพื่อการสืบเสาะหาความรู้

๕. ให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์

๕.๑ สถานศึกษาอำนวยความสะดวก และให้บริการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู

๕.๒ สถานศึกษาอำนวยความสะดวก และให้บริการวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์และพัฒนาครู

          ๖ มีระบบบริหารคุณภาพที่เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

๖.๑ สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย และอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด

๖.๒ สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดรับกับมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด

๖.๓ สถานศึกษาดำเนินการตามแผนที่สถานศึกษากำหนด

๖.๔ สถานศึกษามีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในสถานศึกษา

๖.๕ สถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินงานทั้งระดับบุคคลบุคคลและระดับสถานศึกษา

๖.๖ สถานศึกษามีการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเองประจำปี

๖.๗ สถานศึกษามีการนำผลการประเมินไปปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา โดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

๖.๘ สถานศึกษาจัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด

มาตรฐานที่ ๓ การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ

๑. จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลเต็มศักยภาพ

   ๑.๑ ครูวิเคราะห์ข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล

   ๑.๒ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตรสถานศึกษา

   ๑.๓ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้านทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

          ๒ สร้างโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เล่นและปฏิบัติอย่างมีความสุข

   ๒.๑ ครูจัดประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม ให้เด็กมีโอกาสเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ

   ๒.๒ ครูจัดประสบการณ์ที่ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล หลากหลายรูปแบบจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

   ๒.๓ ครูจัดประสบการณ์ที่เด็กได้เลือกเล่น เรียนรู้ ลงมือ กระทำ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

๓. จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

   ๓.๑ ครูจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย

   ๓.๒ ครูจัดห้องเรียนให้มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก พื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และการจัดกิจกรรม

   ๓.๓ ครูจัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่น ป้ายนิเทศ การดูแลต้นไม้ เป็นต้น

   ๓.๔ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับช่วงอายุ ระยะความสนใจ และวิถีการเรียนรู้ของเด็ก เช่น กล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ สำหรับการเรียนรู้กลุ่มย่อย

   ๓.๕ ครูใช้สื่อของเล่นที่กระตุ้นให้เด็กคิดและหาคำตอบ

๔. ประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงและนำผลการประเมินพัฒนาการเด็กไปปรับปรุงการจัดประสบการณ์และพัฒนาเด็ก

   ๔.๑ ครูประเมินพัฒนาการเด็กจากกิจกรรมและกิจวัตรประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย ไม่ใช้แบบทดสอบ

   ๔.๒ ครูวิเคราะห์ผลการประเมินพัฒนาการเด็กโดยผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม

   ๔.๓ ครูนำผลการประเมินที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพเด็ก และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ

   ๔.๔ ครูนำผลการประเมินที่ได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดประสบการณ์ที่มีประสิทธิภาพ

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน ๒๑ ประเด็นพิจารณา

มาตรฐานที่  ๑  คุณภาพของผู้เรียน

๑.๑  ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน

๑.๑.๑  มีความสามารถในการอ่าน  การเขียน  การสื่อสารและการคิดคำนวณ

๑.๑.๒  มีความสามารถในการวิเคราะห์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ  อภิปราย  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น  และแก้ปัญหา

๑.๑.๓  มีความสามารในการสร้างนวัตกรรม

๑.๑.๔  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  และการสื่อสาร

๑.๑.๕  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา

      ผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน (Reading Test : RT)

      ผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test : NT)

      ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Education Test : O-NET)

      ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตร 8

๑.๑.๖  มีความรู้  ทักษะพื้นฐานและเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ

๑.๒  คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

                ๑.๒.๑ การมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด

๑.๒.๑.๑ ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม ตามที่สถานศึกษากำหนด

๑.๒.๑.๒ ผู้เรียนมีพฤติกรรมเคารพในกฎกติกา ตามที่สถานศึกษากำหนด 

๑.๒.๑.๓ ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีค่านิยม และจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนด และมีคุณภาพอยู่ในระดับดีขึ้นไป

๑.๒.๒ ความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย

         ๑.๒.๒.๑ ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย

๑.๒.๒.๒ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย

               ๑.๒.๓ การยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย

๑.๒.๓.๑ ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย

๑.๒.๓.๒) ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา

๑.๒.๓.๓ ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่าง ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี

               ๑.๒.๔ มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม

     ๑.๒.๔.๑ ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

     ๑.๒.๔.๒ ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

     ๑.๒.๔.๓ ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่น ไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ 

๑. มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน

๒.๑ สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

๒.๒ สถานศึกษากำหนด วิสัยทัศน์ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

๒.๓ สถานศึกษากำหนดพันธกิจ ไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

๒. มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา

   ๒.๑ สถานศึกษาสามารถวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี/แผนการใช้งบประมาณประจำปี 

   ๒.๒ สถานศึกษามีการนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง จริงจัง 

๒.๓ สถานศึกษามีการ ติดตามตรวจสอบประเมินผล และปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

   ๒.๔ สถานศึกษามีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

๒.๕ สถานศึกษามีระบบการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของครู

๒.๖ สถานศึกษามีการนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

๒.๗ ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา

๓. ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษา และทุกกลุ่มเป้าหมาย

๓.๑ สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร ที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

 ๓.๒ สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับ กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย

๔. พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

 ๔.๑ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

 ๔.๒ สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน

๕. จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

 ๕.๑ สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายในห้องเรียน ที่เอื้อต่อการจัด
การเรียนรู้ และมีความปลอดภัย

 ๕.๒ สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพภายนอกห้องเรียน ที่เอื้อต่อการจัด
การเรียนรู้ และมีความปลอดภัย

 ๕.๓ สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย

๖. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้

             ๖.๑ สถานศึกษาจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

   ๖.๒ สถานศึกษาจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

๑. จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

    ๑.๑ ครูจัดทำโครงสร้างรายวิชาในรายวิชาที่รับผิดชอบตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา

    ๑.๒ ครูออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริง

    ๑.๓ ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิด และการฝึกปฏิบัติให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะแสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ และนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จริง

    ๑.๔ ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็น และต้องการความช่วยเหลือพิเศษ และนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือความต้องการจำเป็นจริง

๒. ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้

    ๒.๑ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย

    ๒.๒ ครูใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ตามความเหมาะสมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้

    ๒.๓ ครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ตามความเหมาะสม

๓. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก

    ๓.๑ ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

   ๓.๒ ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

๔. ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

    ๔.๑ ครูมีการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผลที่เหมาะสมกับจุดประสงค์การเรียนรู้

    ๔.๒ ครูมีการวัดและประเมินผลระหว่างเรียน หลังจากจัดการเรียนรู้จบในแต่ละหน่วย เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินผลการเรียน โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผลที่เหมาะสมกับตัวชี้วัดในแต่ละหน่วย

    ๔.๓ ครูมีการวัดและประเมินผลตัวชี้วัดทุกตัว หลังจากจัดการเรียนรู้จบในแต่ละตัวชี้วัด เพื่อนำผลการประเมินไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนและตัดสินผลการเรียน โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผลที่เหมาะสมกับตัวชี้วัดในแต่ละตัว

    ๔.๔ ครูมีการวัดและประเมินผลการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน  เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผลที่เหมาะสมกับแต่ละระดับชั้น

    ๔.๕ ครูมีการวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อนำผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและเกณฑ์การประเมินผลที่เหมาะสมกับแต่ละระดับชั้น

๕. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

   ๕.๑ ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

   ๕.๒ ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ข้อมูลสะท้อนเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

ลองออกแบบการเก็บข้อมูลและออกแบบสารสนเทศดูครับ

หมายเลขบันทึก: 674623เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2020 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มกราคม 2020 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท