ตอนที่ 3-2 กระบวนการพัฒนาโมเดลสมรรถนะ (Competency Model Development) (ต่อ)


สมรรถนะสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตอนที่ 3-2 (ต่อ)

(Competency-Based Approach to Human Resource Development)

ดร.ชัชรินทร์  ชวนวัน ข้าราชการบำนาญ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา, 2562

......................................................

ส่วนที่ 3-2  กระบวนการพัฒนาโมเดลสมรรถนะ (Competency Model Development) (ต่อ)

    จากการตอนที่ 3-1 และ3-2 ที่ผ่านมา เสนอแนวคิดและหลักการทั่วไปและกระบวนการพัฒนาโมเดลความสามารถ (Developing Competency Model) เบื้องต้น คงทำให้ผู้สนใจทราบว่าจะนำความสามารถมาสู่การสร้างโมเดลความสามารถอย่างไร ในตอนที่ 32 (ต่อ) จะเสนอเรื่อง การกำหนดองค์ประกอบของโมเดลความสามารถซึ่งมีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจพอสมควร

ตอนที่ 3-2 (ต่อ) เนื่องจากมีผู้ขอทราบความสามารถตามโมเดลความสามารถครูและบุคลากรทางการศึกษา (Teachers  and  Educational Personnels Competency Model) ดังกล่าว จึงขอสนองตอบลูกค้าสักนิด ครับ .

            สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ได้กำหนดโมเดลความสามารถครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้น ตั้งแต่ปี 2531 เพื่อเป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้ความสามารถเพื่อการพัฒนาบุคคลของหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ  ประกอบด้วยโมเดลความสามารถ 4  กลุ่มตำแหน่ง  ดังนี้

          1.โมเดลความสามารถครู  (Teacher Competency Model)

          2.โมเดลความสามารถผู้บริหารสถานศึกษา  (Principal Competency Model)

          3.โมเดลความสามารถผู้บริหารการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

             (Director of Educational Service Area Office Competency Model)

          4.โมเดลความสามารถศึกษานิเทศก์ (Supervisor Competency Model)

                 Sanghi (2007, p. 176)  ยกตัวอย่าง โมเดลความสามารถสำหรับหัวหน้าทรัพยากรบุคคล (Competency Model for HR Head)  ประกอบด้วยความสามารถ 11 รายการ ได้แก่ 1. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)  2. ความตระหนักต่อธุรกิจ (Business  Acumen) 3. การสร้างความสัมพันธ์และเครือข่าย (Relationship Building and Networking) 4. ภาวะผู้นำและการพัฒนาทีม (Team Leadership and Development) 5.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Orientation) 6.การเป็นผู้เปี่ยมด้วยบารมี (Impact and Influence) 7.การติดต่อสื่อสาร (Communication)  8. ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Personal Effectiveness) 9.การมุ่งเน้นลูกค้าภายใน (Internal Customer Orientation) 10. ความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Expertise) 11. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leadership)

                 โมเดลความสามารถสำหรับผู้บริหารทรัพยากรบุคคล (Competency Model for HR Executive)  ประกอบด้วย (1) ลูกค้าภายใน (Internal Customer),(2) ความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource Expertise),(3) ทีมงาน (Teamwork) ,(4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Orientation),(5) การติดต่อสื่อสาร (Communication),(6) ประสิทธิภาพส่วนบุคคล  (Personal Effectiveness)

                  การพัฒนาโมเดลความสามารถ ส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการ 2   วิธี  คือ  

                 1.วิธี The single-job competency model   เป็นการกำหนดโมเดลความสามารถสำหรับงานเดี่ยวซึ่งเป็นแนวทางที่ใช้กันส่วนใหญ่ซึ่งดำเนินการครั้งเดียวถือว่าสมบูรณ์ ต่อจากนั้นทำการวิเคราะห์ความสามารถที่ประกอบด้วยจำนวน 10-20 ทักษะหรือคุณลักษณะพร้อมกับกำหนดนิยามและรายการพฤติกรรมเฉพาะเพื่ออธิบายสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานกระทำและวิธีที่จะประสบความสำเร็จตามผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ    

                 2.วิธี  The “one-size-fits-all” competency  model  เป็นการกำหนดโมเดลความสามารถแบบกว้างๆที่ใช้ได้ครอบคลุมกับงานทั้งหมด การดำเนินการตามแนวทางนี้มีจุดดี คือ ความสามารถแต่ละรายการจะสอดคล้องกับภารกิจและค่านิยมของกลุ่มงานและกิจกรรมสำคัญขององค์การและจะประยุกต์ใช้สำหรับบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์การซึ่งมีกรอบการอธิบายพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ บุคลากรทั้งหมดในกลุ่มจะใช้กรอบความสามารถในการพัฒนาและประเมินเหมือนกัน 

            โดยสรุป ไม่ว่าองค์กรจะเลือกวิธีการกำหนดโมเดลความสามารถแบบใดก็ตาม ส่วนใหญ่จะกำหนดขั้นตอนการกำหนดโมเดลความสามารถ 3 ขั้นตอนหลักๆ คือ

             ระยะที่ 1 (Phase I)   เป็นขั้นตอนการได้มาซึ่งความสามารถ (Acquisition of Competency)

             ระยะที่ 2 (Phase II)   เป็นชั้นการกำหนดองค์ประกอบความสามารถ (Competencies  Component)

             ระยะที่ 3 (Phase III) เป็นขั้นการตรวจสอบโมเดลความสามารถ (Competency Model Validation)

ทั้ง 3  ระยะ  ปรากฏการดำเนินงานตาม (ดูแผนภูมิ)

             ผู้เสนอจะเน้นตั้งแต่ขั้นตอนระยะที่ 2 และ 3  ซึ่งเป็นการกำหนดองค์ประกอบของโมเดลความสามารถส่วนต่างๆ ที่มีรายละเอียดการดำเนินงานค่อนข้างมาก

โครงสร้างและองค์ประกอบโมเดลความสามารถ

            จากความหมายของ โมเดลความสามารถคือ  การนำความสามารถที่ได้มาจากขั้นแรก (Acquisition) มาจัดรวมเข้าด้วยกันเป็นหมวดหมู่ เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดประสิทธิผลตามบทบาทขององค์การและหรือเพื่อการใช้เป็นเครื่องมือการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านต่างๆ โมเดลความสามารถจะมีโครงสร้างและองค์ประกอบ ได้แก่

องค์ประกอบความสามารถ  (Competency component)

                   องค์ประกอบความสามารถ หมายถึง  ความสามารถรายการหนึ่งๆ จะมีส่วนประกอบ สำคัญ 5 ส่วน คือ

                   1. ประเภทความสามารถหรือกลุ่มความสามารถ (category, competencies cluster)            

                   2. ชื่อความสามารถ (competency name หรือ title)

                   3. นิยามความสามารถ (definition หรือ detail definition) 

                   4. ระดับความสามารถ (proficiency level, competency level) 

                   5. ตัวชี้วัดความสามารถ หรือ คำอธิบายพฤติกรรมความสามารถ (competency behavior indicator หรือ key behaviors)

บทวิเคราะห์

               โมเดลความสามารถของแต่ละกลุ่มบุคคลหรือกลุ่มตำแหน่งอาจมีความแตกต่างกันในโครงสร้าง และองค์ประกอบของความสามารถดังกล่าวมาแล้ว (อาจเรียกว่าแตกต่างกันในรายละเอียด) ซึ่งโมเดลความสามารถทั่วๆไปประกอบด้วย กลุ่มความสามารถ, ความสามารถย่อยในกลุ่ม และองค์ประกอบในแต่ละความสามารถประกอบด้วย ชื่อความสามารถ,นิยามความสามารถ, และพฤติกรรมความสามารถ แต่บางโมเดลความสามารถที่มีความละเอียดมากจะมีองค์ประกอบของแต่ละความสามารถประกอบด้วย ชื่อความสามารถ,นิยามความสามารถระดับความสามารถ,นิยามระดับ,รายการพฤติกรรมบ่งชี้ความสามารถ และอื่นๆ บางองค์กร ก็จัดทำรายละเอียดโมเดลความสามารถถึงขั้นที่เรียกว่า พจนานุกรมความสามารถ (Competency Dictionary) ที่อาจแบ่งออกเป็น พจนานุกรมความสามารถเชิงพฤติกรรม และพจนานุกรมความสามารถเชิงเทคนิค หรือจัดเป็นรูปแบบอื่นๆ (ดูตัวอย่างหลายๆแหล่ง)

                แต่ละองค์ประกอบของโมเดลความสามารถที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องมีการเขียนรายละเอียด ที่เรียกว่า การเขียนข้อความสมรรถนะ (Writing Competency Statement) ซึ่งมีหลักการเขียนเชิงวิชาการต้องเขียนตามข้อกำหนดและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

หมายเหตุ  รายละเอียดในไฟล์แนบ

20200118102751.pdf

หมายเลขบันทึก: 674519เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2020 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2020 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท