Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค


เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ องค์คณะมนตรีของเทพศิรินทร์ ในฐานะประธาน Chira Academy และเลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศพร้อมด้วยคณะทำงานซึ่งเป็นผู้แทนนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์คือ คุณกฤช สินอุดมและนายสัตวแพทย์ กิจ สุนทรจัดโครงการ Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562 และ Debsirin Coaching and Mentoring Day ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ โดยมีครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแคเข้าร่วมโครงการและมีคณะวิทยากรจาก Chira Academy และรุ่นพี่นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ให้ข้อเสนอแนะ

สรุป

Debsirin Coaching and Mentoring Day

วันที่ 12 มกราคม 2563

ณ ห้องโสต โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

กล่าวรายงาน โดย ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

เรียน    ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

  คณะผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

  ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้เกียรติมาร่วมงานการจัดกิจกรรม Debsirin Coaching and Mentoring Day ในวันนี้

          การจัดกิจกรรมนี้เกิดขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายเทพศิรินทร์ ด้วยความร่วมมือของโรงเรียนในเครือข่ายในการดำเนินการตามโครงการเทพเป็นหนึ่ง ได้จัดกิจกรรมค่ายพัฒนาผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ 2562 เมื่อวันที่ 17-20 ตุลาคม 2562

          กิจกรรมดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาด้านการเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับทั้งทางนักเรียน ผู้ปกครอง และครูซึ่งต้องเร่งแก้ไขและพัฒนาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับการอนุเคราะห์จาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ มนตรีเทพศิรินทร์ อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธาน Chira Academy คณะนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ และคณะทำงาน

          กิจกรรมครั้งนี้ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

          1. เพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างครู นักเรียนและผู้ปกครอง

          2. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานสู่การเป็นครูมืออาชีพ

          3. เพื่อให้โรงเรียนเทพศิรินทร์ทั้ง 10 แห่งดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน

          4. เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าสำหรับพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย

กิจกรรม Debsirin Coaching and Mentoring Day จัดขึ้นในวันที่ 12 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 92 คน ประกอบด้วย ครูจำนวน 30 คน นักเรียนจำนวน 32 คน และผู้ปกครองจำนวน 30 คน

ขอขอบพระคุณคณะทำงานที่จัดกิจกรรมในครั้งนี้ทุกท่าน

บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ขอเรียนเชิญผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค นายธนาพล จีรเดชภัทร์ ประธานในพิธีกล่าวเปิดกิจกรรม Debsirin Coaching and Mentoring Day

กล่าวเปิดงาน โดย นายธนาพล จีรเดชภัทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

เรียน    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร และ

คุณกฤช สินอุดม

ผู้ปกครองและครู รวมถึงนักเรียนทุกคน

          การศึกษาจะขับเคลื่อนไม่ได้ถ้าเราไม่มีส่วนร่วมในหลายฝ่าย (Stakeholders) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น การศึกษาจะประสบความสำเร็จได้ไม่ได้อยู่ที่ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือครู หรือผู้ปกครอง หรือนักเรียน แต่อยู่ที่ทั้งหมด ชุมชนก็เช่นเดียวกัน เพราะจะเห็นได้ว่า โรงเรียนเราใน 1 ปีที่ผ่านมามีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด เกิดจากความร่วมมือของทุกคน นี่แค่เพียง 1 ปี เราลองจำลองเหตุการณ์ข้างหน้า 2 ปี 3 ปี 4 ปีจากนี้ เรายังร่วมมือกันอยู่แบบนี้

          และสิ่งที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ เรื่องที่จะมาพูดคุยกันในวันนี้ ก็คือมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในประเทศ ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเราไม่เปลี่ยน Mindset หรือวิธีคิด Steve Jobs กล่าวว่า ถ้าคุณจะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่างบนโลกนี้  คุณต้องเปลี่ยนความคิดก่อน ดังนั้น 1 ปีที่ผ่านมา ทางเราก็พยายามขับเคลื่อนด้วยการเปลี่ยน Mindset ของครู ผู้ปกครองก็เช่นกัน ผมพยายามเปลี่ยน Mindset ของครูว่า ครูจะต้องพยายามรับผิดชอบ ต้องมี KPIs  ต้องมีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ ต้องมีการทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ผู้ปกครองก็เช่นเดียวกัน อย่าปล่อยให้เป็นภาระแก่ครูฝ่ายเดียว ผู้ปกครองก็ต้องมีส่วนร่วมโดยที่ติดตามว่า ลูกเรียนถึงไหน ได้เกรดอะไร ถามไถ่การบ้าน รวมถึงควบคุมกำกับการใช้เวลาของลูก ลูกๆถึงเวลาทำเวร ก็ต้องทำเวร ไม่ใช่เล่นโทรศัพท์มือถือ ต้องเข้าแถวให้เป็นระเบียบและเข้าห้องเรียน ต้องกำหนดเป้าหมายในการเรียนโดยตั้งเป้าว่า แต่ละเทอมอยากได้เกรดเฉลี่ยเท่าไร แล้วต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ เพราะอะไร ครูสอนไม่ดีหรือไม่ หรือเด็กไม่ตั้งใจ หรือพ่อแม่ไม่ค่อยดูแล

          วันนี้เป็นวันปฐมฤกษ์อย่างดียิ่ง วิทยากรเป็นมนตรีเทพศิรินทร์ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จระดับประเทศ อยากรบกวนเวลาผู้ปกครองขอให้อยู่เต็มเวลาจนถึง 5 โมงเย็น ท่านเองก็เสียสละเวลามาบรรยายให้ฟรี ครู ผู้ปกครองและนักเรียนจะได้รับประโยชน์คือ มาเปลี่ยน Mindset ไปสู่เป้าหมายด้วยกัน

          เป้าหมายในที่นี้ คือ การเรียน คุณภาพวิชาการต้องติด 1 ใน 3 ของจังหวัดสระบุรี เราจะนำโรงเรียนไปสู่จุดนั้นให้ได้ภายใต้การขับเคลื่อนของวิทยากรที่ทุท่านจะมีกระบวนการขับเคลื่อนไป แล้วก็จะมีการกำกับติดตาม ท่านวิทยากรเป็นห่วงและก็ตั้งใจทำงานจริง ท่านเมตตาเราอย่างยิ่ง

          ขอขอบคุณผู้ให้การสนับสนุนทุกท่าน ท่านวิทยากร ดร.จีระเป็นอย่างยิ่ง และนายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

ผมเคยไปจีนกับนายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร ได้ไปเปลี่ยน Mindset การศึกษาไปถึงไกลมาก นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทรเกษียณตั้งแต่อายุ 40 ปี เคยอยู่อเมริกาและทำงานซีพีหลายปี วันนี้ท่านก็มาเป็นทีมคณะทำงานที่จะขับเคลื่อน เรามีเป้าหมายที่จะพัฒนาด้านภาษาร่วมกัน เราจะเน้นภาษาอังกฤษและจีนให้เป็นที่แรกที่คนนึกถึงในสระบุรี

คุณกฤช สินอุดมดูแลโรงเรียนเรามาตลอดเสมอมา ให้คำปรึกษาออกแบบก่อสร้างอาคาร

วันนี้ ขอให้เป็นวันของการเริ่มต้น และติดตามเป็นระยะ

ขอให้ทุกคนช่วยกัน

ขออำนาจพระบารมีแห่งสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีดลบันดาลให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนประสบแต่ความสุข ความเจริญยิ่งขึ้นไป และขอให้กิจกรรมวันนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้

Learning Forum

หัวข้อ การสร้างความเป็นเลิศและความดีกับการปรับตัวในยุคที่โลกเปลี่ยน ยุค 4.0

โดย .ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมเพิ่งได้เป็นมนตรีเทพศิรินทร์ ซึ่งใน 130 ปีไม่เคยมีมาก่อน เป็นเหมือนคณะรัฐมนตรีเทพศิรินทร์

ในมนตรีเทพศิรินทร์ มีท่านอรรถนิติ ดร.ไชยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ คุณประสาน ตันประเสริฐด้วย

ตอนเป็นนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ผมนำเทพศิรินทร์เชียงใหม่และเทพศิรินทร์สมุทรปราการเข้ามาในเครือเทพศิรินทร์

วันนี้จะมาถ่ายทอดประสบการณ์ กิจกรรมแบบนี้ได้ทำแล้วที่สมุทรปราการ อาจจะต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆ

ไคเซ็นบอกว่า ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ผมเสนอให้ผู้ปกครองมาร่วมกิจกรรมด้วย

ตอนบ่ายจะให้ผู้เข้าร่วมโครงการถามคำถามผม

Coaching and Mentoring เราถามคำถามซึ่งกันและกัน

ท่านผู้อำนวยการส่งนักฟุตบอลไปช่วยจนชนะจตุรมิตร

ตอนที่ชนะเป็นแชมป์ร่วมจตุรมิตรสมัยผมอยู่ธรรมศาสตร์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว

Knowledge Camping เกิดเพราะผมและได้เชิญเพื่อนมาร่วมจัด แล้วจัดต่อเนื่องมาเกือบ 20 ปี

ใน Knowledge Camping ผมเคยตั้งโจทย์ให้เด็กเทพศิรินทร์คิดถึงอนาคตเทคโนโลยี

ขอให้นำสิ่งที่ได้ฟังไปคิดว่า กระทบครู ผู้ปกครองและนักเรียนอย่างไร

ตอนบ่ายจะแบ่งเหลือ 3 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่มถามคำถามผม โดยจะให้เวลากลุ่มละ 40 นาที

Mindset เราถูกกำหนดด้วยประวัติศาสตร์ ค่านิยมและครอบครัว แต่เมื่อโลกมันเปลี่ยน ถ้าไม่เปลี่ยน Mindset เราจะล้าสมัย

ปัญหาคือ เราถูกปกครองโดยกระทรวงศึกษาธิการ ผมเติมจากสิ่งที่ทุกคนมีฐานอยู่แล้ว คำสั่งของหลวงไม่จำเป็นต้องดีเสมอไป ยุคนี้ควรเป็นแบบปรึกษาหารือกัน คนในห้องนี้เป็นบุคคลสำคัญของประเทศ อย่าเป็นแบบสั่งการและควบคุม ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์พุแคเป็นคนรุ่นใหม่ เปิดกว้าง เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม

ผมจะเน้นการปรับหลักคิดเป็นส่วนใหญ่

What และ How ไม่ยาก แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือ Why ทำไมจึงไม่สำเร็จ ทำไมภาษาอังกฤษของคนไทยไม่เก่ง เป็นอุปสรรคที่ต้องเราชนะ

ผมประสบความสำเร็จเพราะทำงานต่อเนื่อง ทำงานแบบ 2R’s ความจริง การศึกษาคือความจริง ไม่ใช่สิ่งที่มีข้อสอบ ชีวิตเราต้องอยู่รอด ความจริงเปลี่ยนตลอดเวลา เลือกประเด็นปรับตัว Relevance ถ้าไม่เปลี่ยน Mindset เราก็ไม่อยู่รอด

หลังจากวันนี้ จะตอบแทนบุญคุณพลเอกประมาณ อดิเรกสารที่ให้โรงเรียนนี้มาอยู่ที่นี่

พอเข้ามาในโรงเรียน ผมก็อยากมาเรียน บรรยากาศการอยู่ที่นี่มีธรรมชาติ เปิดโล่ง ที่ดินมาก

ผมเริ่มต้นชีวิตทำงานด้วยการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 40 ปีที่แล้ว และเป็นผู้อำนวยการสถาบันทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งคนไม่เข้าใจ ทรัพยากรมนุษย์ถูกดูถูกมาก

เราต้องเอาใจใส่ทุนมนุษย์ ต้องลงทุนก่อน จึงจะได้ประโยชน์

แต่ละวันที่อาจารย์สอน ต้นทุนไม่ใช่ค่าไฟฟ้า ค่ากระดาษ เพราะฉะนั้น ผู้ปกครองต้องเสียเวลาแล้วให้ได้ประโยชน์คุ้มค่าจากการลงทุนด้านทุนมนุษย์

ผมได้ดีเพราะโรงเรียนเทพศิรินทร์สอนให้คิด เป็นพื้นฐานที่ดีทำให้ไปเรียนต่างประเทศได้ประสบความสำเร็จ

โรงเรียนนี้ไม่เป็นรองเทพศิรินทร์ใหญ่

ในฐานะที่เป็นมนตรี จะไปทุกโรงเรียน

ผมทำ Knowledge Camping หลายครั้งแล้ว มีลูกศิษย์ทั้งคนรวยและคนจน มีหลักการเหมือนกัน

ความเป็นเลิศของคนไม่มีความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวย

ทุนมนุษย์สไตล์ดร.จีระ

การที่คนเกิดมาจะได้รับอิทธิพลจากครอบครัว ผู้ปกครองต้องเอาใจใส่ลูกให้ดีตั้งแต่เกิด

ก่อนที่คนจะเข้าโรงเรียน ขั้นตอนในชีวิตต้องไม่ผิดพลาด คือ คนต้องได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม

เรื่องสุขภาพอนามัย คุณธรรม จริยธรรม ต้องสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพราะมีเรื่องไร้สาระในสื่อสังคมออนไลน์

เรื่องการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ถ้าพื้นฐานประถมศึกษาไม่ดี ก็ทำให้การศึกษาระดับอื่นๆไม่ดีตามไปด้วย

สมัยก่อนมองว่า คนเรียนมากจะต้องดีกว่าเรียนน้อย แต่สมัยนี้อยู่ที่ปัญญา ต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ข้อสอบควรฝึกให้ใช้ไหวพริบ

สื่อสังคมออนไลน์ ต้องใช้อย่างระมัดระวัง

การศึกษาต้องมีส่วนทำให้ครอบครัว โภชนาการ สุขภาพ คุณธรรมและสื่อสังคมออนไลน์เป็นไปตามคาดหวังไว้

ต้องสอนคนให้มีคุณภาพและจะมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์คือ เป็นคนดี มีภาวะผู้นำ จิตสาธารณะ คิดเป็นวิเคราะห์เป็น มีความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม คุณภาพทุนมนุษย์ ไม่หยุดการเรียนรู้ (มีวัฒนธรรมการเรียนรู้)

ถ้ามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กจะไม่ตกงาน

ต้องมองโลกตามความเป็นจริง สนใจในสิ่งที่เกิดขึ้น

สิ่งที่โรงเรียนทำ ไม่ได้ส่งคนแค่ไปทำงานในอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่หมายถึง มีความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก การศึกษาต้องทำให้มีความสามารถในการแข่งขัน ไม่ใช่แค่สอบผ่าน

ต้องสอนคนให้รู้จักประชาธิปไตย

การศึกษาดีจะแก้ปัญหาความยากจนได้ ถ้าสอนให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็นและไม่หยุดการเรียนรู้

ปัญหาคือ อาจารย์ปริญญาเอกไม่หาความรู้เพิ่มแต่นำเนื้อหาเก่ามาสอน

ผู้ปกครองควรให้เด็กได้คุยกันว่า อนาคตจะเป็นอะไร ถ้าโลกเปลี่ยนแปลง จะทำอย่างไร

ในอนาคต โรงเรียนต้องไม่ปล่อยคาร์บอนขึ้นไปในอากาศ อาจจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น

ตอนนี้ นักเรียนยังไม่ได้เข้าตลาดแรงงาน ถ้าเรียนแล้วเรียนรู้ตลอดชีวิต ก็แก้ปัญหาสังคมได้

ทฤษฎี 8K’s ผมเขียนมาเกือบ 20 ปีแล้ว อาจารย์อาจนำมาสอนได้ ถ้าอยากให้ทุนมนุษย์ดีขึ้น ต้องมีปัญญาคือ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น คนเรียนไม่เก่งไปแสวงหาปัญญาเมื่ออายุมากขึ้นแล้ว แล้วต้องคิดนอกกรอบด้วย

ต้องให้ความสำคัญเรื่องคุณธรรม จริยธรรม โรงเรียนนี้มีรากมาจากวัดเทพศิรินทร์ แต่กระทรวงศึกษาธิการนำคำว่า วัด ออก นพ.เสม พริ้งพวงแก้วให้นำคำว่า วัด กลับมาแต่กระทรวงศึกษาบอกว่า คำว่า วัดกับการศึกษาไม่เกี่ยวข้องกัน ควรไปกราบเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์ด้วย

นักเรียนควรมีความสุขในการเรียน อาจารย์ควรมีความสุขในการทำงาน ผู้ปกครองควรมีความสุขในการอยู่กับลูก ถ้ามีความสุขในการเรียน แม้หมดเวลาแล้วก็ไม่ต้องตกใจ

ต้องมีสังคมกว้าง มีแนวร่วมนอกโรงเรียน (Stakeholders) เช่น ชุมชน นักธุรกิจ นักเรียนเก่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ปกครองบางคนทำงานด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนอาจจะเชิญเข้ามาทำงานร่วมกัน

ทุนแห่งความยั่งยืน เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือ อย่าให้มีความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวย ต้องอยู่ได้ในระยะยาว ถามตัวเองว่า คำว่า ยั่งยืนของแต่ละคนคืออะไร

ความยั่งยืนของผมคือ ความรู้ต้องสดและทันสมัย สุขภาพต้องดี

อาจารย์ต้องระดมสมองกันข้ามศาสตร์ มีห้องเรียนรวมศิลปะและวิทยาศาสตร์บางคราว มีการสอนเป็นทีม และมีเวลาให้ผู้ปกครองมาประชุมกำหนดนโยบายในอนาคตร่วมกัน

สมเด็จพระเทพท่านทรงเน้นเรื่องเกษตรที่โรงเรียนตชด.

ยุคต่อไป เป็นยุคโลกาภิวัตน์

ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ครูวิทยาศาสตร์ต้องรู้จักพลิกแพลงและผู้ประกอบการ

ต้องมีข่าวสาร เปลี่ยนเป็นข้อมูล แล้วกลายเป็นความรู้

การใช้ Facebook เป็นการยกข้อมูลให้บริษัทแล้ว บริษัทนำข้อมูลไปขายโฆษณาและหาเสียง เช่น ทรัมป์ซื้อข้อมูล Cambridge Analytica แล้วยิงข้อมูลทรัมป์ให้เหมาะสมกับความต้องการผู้รับข่าวสาร

ครูควรสอนเด็กเกี่ยวกับการใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสาร

อุตสาหกรรมรถยนต์ทีใช้น้ำมันจะไม่รอด ในอนาคตจะต้องมีอุตสาหกรรมแบบใหม่เกิดขึ้น โรงเรียนต้องพยายามสอน เดือนหนึ่งต้องมีนักธุรกิจมาบรรยายคนหนึ่ง

อย่าใช้ชีวิตเครียด ทุนทางอารมณ์สำคัญมาก ปัจจุบันมีการฆ่าตัวตาย ครูต้องมีจิตวิทยาในการสอน ครูต้องถามนักเรียนที่นั่งหลังห้องว่า มีปัญหาอะไรหรือไม่ คนที่เรียนเก่งตอนมัธยม แต่เข้ามหาวิทยาลัยแล้วแผ่ว เพราะตกทุนแห่งความสุข แต่คนที่โดดเด่นในมหาวิทยาลัยคือเด็กต่างจังหวัด

ต้องทำอะไรใหม่ที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่ไม่จำเป็นต้องใหม่เอี่ยม

อาจารย์ชไวเส็ก บอกว่า โลกเราหลักๆ แล้วจะมีหลักคิด 2 แบบ คือ คนที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง (Growth Mindset) และคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Fixed Mindset)

ควรจะพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยร่วมมือกับคนอื่นๆ

ผู้ปกครองต้องอนุญาตให้เด็กทำสิ่งต่างๆก่อน  

ต้องทำให้คนเก่งรู้จักถ่อมตัว

ต้องกระตุ้นให้คนอยากเรียน แสดงความเห็น กล้าพูดในสิ่งที่ไม่มีใครพูดมาก่อน ต้องทำให้ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ใช้ความหลากลหายของความคิดมาเป็นหลัก

วิธีการสอนทำให้เกิด Growth Mindset คือ ต้องให้เด็กเอาชนะอุปสรรค ผู้ปกครองต้องไม่ทำการบ้านให้ลูก

Team Teaching มีประโยชน์มาก ต้องกระตุ้นให้เด็กเป็นเลิศด้วยวิธีการใหม่ๆ การจัดที่นั่งเรียนควรมีความยืดหยุ่นส่งเสริมให้ออกความเห็นได้

ควรเรียนรู้จากปัญหา บิดาอดีตนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กล่าวว่า ปีแรกๆที่เรียนแพทย์ อาจารย์จะให้นักเรียนถาม แต่จะไม่สอน

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

ดีใจที่ได้มีโอกาสมาที่นี่

รุ่นผมเคยนำพระรูปเจ้าคุณนร. มามอบให้โรงเรียน 3 ปีที่แล้ว

ผมเกษียณตั้งแต่อายุ 38 ปี แล้วคิดว่า จะกลับมาพัฒนาประเทศ

การศึกษาที่ตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงจะเป็นอุปสรรคในการพัฒนา

ผม กับท่านผอ.และคุณแหม่มไปจีนเนื่องจากมีอาจารย์จีนถือทุนมาให้โรงเรียนเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

ไม่มีเงื่อนไขต้องใช้ทุน ไม่มีใครสอบทุนนี้ได้เพราะระบบการศึกษา คนที่เรียนภาษาจีนคือสายศิลป์ เด็กสายวิทย์ไม่มีใครเรียนภาษาจีน จึงสอบไม่ได้

ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ไปเรียนภาษาจีนเป็นที่ 1 ในจีน แต่คนไทยเรียนเป็นที่ 2 ไม่มีใครเรียนสายวิทย์

สิ่งที่ชาติต้องการ การศึกษายังไม่ตอบสนองความต้องการของประเทศ

ผอ.ธนาพล ก็ได้ไปลงนามร่วมกับมหาวิทยาลัยจีน

คนจีนรู้จักสมเด็จพระเทพในฐานะเป็นหลานสมเด็จพระเทพศิรินทร์ และรู้จักเทพศิรินทร์ในฐานะโรงเรียนที่ผลิตนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 5 คน

มีประเทศศรีลังกาติดต่ออาจารย์นภาขอส่งนักเรียนมาเข้าค่าย

มีการอบรมครูภาษาจีนของเครือโรงเรียนเทพศิรินทร์ สร้างคอร์สทางอินเตอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สอนภาษาจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ทำไมต้องเรียนภาษาจีน

ไทยกับจีนเป็นเพื่อนกันมานาน

เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เรามองจีนยากจน GDP จีนห่างกับสหรัฐถึง 15 เท่า

เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ความแตกต่าง GDP จีนกับสหรัฐแค่ 58%

ความเจริญจีนแผ่ตามเส้นทางสายไหมเก่าและ one belt one road

ผอ.ธนาพล สร้างห้องเรียนญี่ปุ่น ซึ่งมีอิทธิพลสูง และมีทุนให้นักเรียนเรียนสายวิทยาศาสตร์

จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่สุดของไทย ทั้งส่งออกและนำเข้า

Beijing Jiaotong University ของจีนให้ทุนเรียนวิศวกรรมระบบราง

ผอ.ธนาพลเซ็น MOU กับ Tianjin University of Finance & Economics มีนักเรียนไปเข้าค่าย 3 สัปดาห์ กลับมาแล้วทุกคนพยายามหาทุนกลับไปเรียนที่จีน เขาชอบบรรยากาศการเรียนที่มีความมุ่งมั่น

เรามีการทำโครงการภาษาจีน Debsirin Chinese Comprehensive Course

มีการตั้งศูนย์วัฒนธรรมจีนเทพศิรินทร์

ตอนนี้มีการตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านภาษาและวัฒนธรรม

ความร่วมมือเทพศิรินทร์ทำเป็นเครือและกลุ่ม

ช่วงแสดงความคิดเห็น

คุณไว

ผมเรียนวัดพลับพลาชัย ใกล้เทพศิรินทร์

คนในโลกเรียน 3 เรื่องคืออะไร

อาจารย์คนที่ 1

แปลกใหม่ดี

คุณไว

ชีวิตคืออะไร

ผอ.

การเรียนรู้

คุณไว

ถ้าโลกนี้เป็นละคร ถ้าจะทำให้ทุกคนรักผม จะต้องเล่นบทไหน

ผอ.

บทพระ

คุณไว

ต้องเล่นทุกบทเพราะสังคมมีคนหลากหลาย

การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตนเองตลอดเวลา

ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่าวันนี้

VDO การบรรยายเรื่อง สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และที่ปรึกษา Chira Academy

วัดเทพศิรินทร์สร้างโดยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นพระโอรสในรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

สถาบันกษัตริย์และรัฐบาลได้ร่วมกันสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศมากมาย ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาต่อเนื่องกันมา

รัชกาลที่ 4 ทรงเป็นกษัตริย์ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ประเทศ ตอนนั้นไทยเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ในอาเซียนเพราะมีวิเทโศบายโอนอ่อนเรียนรู้วิทยากรจากฝรั่ง

รัชกาลที่ 4 ทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย หอนาฬิกาแห่งแรกของสยาม สร้างเสร็จก่อนหอนาฬิกาบิ๊กเบน (สหราชอาณาจักร) 2 ปี

ทรงคำนวณเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ Bangkok Time ขึ้นใช้เองในสยาม (ใช้ก่อนมาตรฐานเวลากรีนิช 10 ปี) ทำโดยให้มหาดเล็กปักธูปและจดเวลาเป็น 10 ปีแล้วนำมาเฉลี่ย

รัชกาลที่ 4 ทรงอ่านหนังสือดาราศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษอยู่เสมอ

รัชกาลที่ 4 พระบิดาแห่งดาราศาสตร์ไทย และผู้นำสยามยุคใหม่ทรงพิสูจน์สุริยุปราคาเต็มดวง ที่ อ.หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปี

ท่านเชิญทูตชาติตะวันตกมาดูด้วย ทรงทำนายแม่นยำเพราะทรงใช้วิธีโหราศาสตร์ สารัมภ์ไทย สารัมภ์มอญและตำราอังกฤษ อเมริกันอีกหลายฉบับประกอบด้วยแล้วเสด็จสวรรคตด้วยโรคไข้ป่า

แสดงให้เห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ต้องหาความรู้หลากสาขามาประกอบการพิสูจน์

ขุนสุนทรสาทิศลักษณ์ Francis Chit (ฟรานซิส จิตร) ช่างภาพหลวงของไทย ถ่ายภาพสุริยุปราคาหว้ากอ

ประเทศไทยเคยมีกษัตริย์ครองราชย์คู่กัน 2 พระองค์ เช่น กรณีพระนเรศวร รัชกาลที่ 4

แสดงให้เห็นว่า การทำงานต้องอาศัยความหลากหลาย

ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วน

สิ่งที่ควรทราบ

1.ที่นั่งในมหาวิทยาลัยมีมาก แต่ต้องศึกษาข้อมูลให้มาก

2.ค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้น

3.บางคนมีปัญหาคือ เรียนแล้วต้องออก เนื้อหาระดับมัธยมกับระดับมหาวิทยาลัยก็ต่างกัน สิ่งที่เรียนมาก็ใช้ไม่ได้ โดยเฉพาะศาสตร์ที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยี เด็กสอบเข้าวิศวะได้ แต่ตกวิชาหลัก

มหาวิทยาลัยต้องหนี พยายามทำให้อันดับโลกสูงขึ้น

นักเรียนควรดูพื้นฐานตัวเอง

4.ปัจจุบันนี้ หลายศาสตร์มีความข้ามศาสตร์ แพทย์ต้องบวกวิศวกรรม เทคนิคทางการแพทย์ต้องใช้คำตอบจากวิศวกรรม ภาพถ่าย MRI คุณภาพสูงบอกได้ว่า เป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ถึง 99%

5.การผ่าตัดศัลยกรรมเป็นการลอกเลียนแบบตามกันมา เช่น หมอพยายามผ่าตัดคนไทยให้หน้าเหมือนคนเกาหลี หมอต้องเรียนศิลปะจะได้ไม่ต้องลอกเลียนรูปแบบหน้าที่จะผ่าตัด

6.ผู้ปกครองสาธิตมศว.มาถามว่า ลูกอยากเรียนวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งนำแนวคิดวิศวกรรมไปจับกับสังคมศาสตร์และใช้คณิตศาสตร์มาวิเคราะห์  ควรนำคณิตศาสตร์ไปตอบโจทย์ทุนมนุษย์ จะได้คำตอบมากมาย อาจจะนำไปต่อยอดคิดค่าประกันชีวิต วิชานี้ทำให้ทราบว่า แต่ละช่วงวัยควรเก็บเงินเท่าไร และจะเกษียณต้องมีเงินเท่าไรจึงจะอยู่รอด

สาธิตมศว.จึงเปิดวิชา 20 สาขา

7.ผู้ปกครองต้องถามว่า เด็กชอบสิ่งที่เรียนหรือไม่ เพื่อดึงศักยภาพสมองออกมาเต็มที่

8.ครูแนะแนวควรเปิดกว้าง ไม่ควรเน้นตำรา เพราะมีหลายศาสตร์เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้เป็นวิชาชีพสำหรับอนาคต

9.เทคโนโลยีเปลี่ยนไปมากแล้ว ที่จีน ไม่ต้องหาหมอที่โรงพยาบาลแต่จะรักษาผ่านตู้ บอกอาการ สแกน QR code นำใบสั่งยาไปซื้อยา เป็นการใช้ระบบ AI การใช้ G5 ทำให้ VDO Conference กับหมอได้

10.ถ้าชนะ AI ไม่ได้ ก็จะตกงาน เช่น สิ่งที่ Robot ทำได้ ก็ใช้แทนมนุษย์

11.ผู้ปกครองต้องรับฟังเด็กแล้วคิดว่า จะช่วยเหลือเด็กได้อย่างไร ถ้าเขาเรียนในสิ่งที่ Robot ทำ เขาจะทำงานไม่ได้ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีคณะบริหารผู้ประกอบการ จะช่วยให้เด็กเป็นผู้ประกอบการได้

ผล Workshop 1

กลุ่ม 1 ครู

เรื่องที่หารือ

1.AI บนพื้นฐานจริยธรรม เด็กเรียนสร้างหุ่น เราพัฒนาได้ แต่เราลืมบนพื้นฐานจริยธรรม

ผมเคยวิเคราะห์ที่ค่าย Knowledge Camping ว่า จะพัฒนา AI บนพื้นฐานจริยธรรมที่ดีได้อย่างไร

โรงเรียนควรพัฒนาจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับ AI เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้

เรามีเครื่องมือแต่ยังขาดจริยธรรมนำไปใช้

2.ปัญหาสำคัญและเป็นจริงในปัจจุบัน คือ นักเรียนขาดแรงบันดาลใจในการมาเรียน ครูสังเกตนักเรียนในห้อง อยากให้เด็กเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่ตอนนี้เขาขาดจุดมุ่งหมาย มาเรียนเพื่ออะไร อยากให้ empower ตัวเอง

กลุ่ม 2 ผู้ปกครอง

สิ่งที่อยากฝาก

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนควรเป็นไปตามเทคโนโลยี 4.0 และควรพัฒนาคุณธรรมเด็กในการใช้เทคโนโลยี

พัฒนาครูให้เป็นมืออาชีพในการสอนที่แท้จริง

พัฒนาภาษา ให้มีกิจกรรมที่เป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น

ปัญหา

การสื่อสาร ทำงานในกลุ่ม มีสมาชิก 5 คนสื่อสารแล้วทำคนเดียวแต่ได้คะแนนเท่ากันทุกคน

เด็กสื่อสารสารจากโรงเรียนให้ผู้ปกครองเข้าใจไม่ตรงกัน

การจัดลำดับความสำคัญ วิชาใดควรทำก่อนหรือหลัง

กลุ่ม 3 นักเรียน

ควรลงลึกวิชาคอมพิวเตอร์ ตอนนี้ห้องเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์

เราจะเรียนอะไรจึงไม่โดน AI แทนที่

กลุ่ม 4 นักเรียน

มาตรฐานทรงผมโรงเรียนควรเป็นอย่างไร

ควรปรับความคิดคนในสังคม ค่าของคนไม่ได้วัดกันที่เกรดเฉลี่ย

กลุ่ม 5 ผู้ปกครอง

ทำไมเด็กยังคงต้องเรียนพิเศษ

อยากให้ครูสอนเทคนิคเหมือนติวเตอร์ เช่น เทคนิคการทำข้อสอบ

เด็กถูกเรียกไปทำกิจกรรม ทำให้เรียนไม่ทัน ต้องมาตามงานภายหลัง อยากให้อาจารย์ติดต่อสื่อสาร เด็กจะไม่ได้ต้องตามงาน อยากให้ครูเข้าใจ อยู่ที่การติดต่อของคุณครู

ความปลอดภัย เด็กไม่ใช้สะพานลอย แต่เดินใต้สะพานลอย มักรอรถตู้ติดถนน รถมาเร็ว ก็จะเกิดอุบัติเหตุ โรงเรียนควรกำหนดจุดรอรถให้เด็กปลอดภัย

กลุ่ม 6 ครู

ครูเรียนภาษาอังกฤษมาจึงพยายามผลักดัน มีการเพิ่มภาษาอังกฤษ จีน ญี่ปุ่นให้นักเรียน เพื่อให้ต่อยอดขอทุนไปเรียนต่อได้ ทำอย่างไรให้เด็กอยากเรียนภาษา จึงจัดให้เป็นวิชาเลือกในม.ต้น

ถ้านักเรียนรู้ตัวเองเร็ว มุ่งทางนั้น ทำให้ดี ก็ไปได้

คุณกฤช สินอุดม

เด็กต้องการสำเร็จรูป อยากทำข้อสอบได้ ไม่รู้ที่มาทฤษฎี เรียนในมหาวิทยาลัยแล้วไปต่อไม่ได้เพราะไม่มีพื้นฐาน

ถ้าเรียนพิเศษเพื่อทำข้อสอบ เข้ามหาวิทยาลัยแล้วรีไทร์

ต้องเรียนเพื่อเสริมความรู้ ไม่ควรปฏิเสธการเรียนในห้อง แม้ครูสอนในห้องที่ช้าและไม่สนุก

ผู้ปกครองต้องแนะว่า ทั้งเรียนพิเศษและเรียนในห้องต้องเสริมกัน

เรื่องแรงบันดาลใจ ต้องแนะนำในสิ่งที่เกิดในโลกยุคใหม่ เมื่อมี passion ก็มีพลังหาความรู้ได้มากกว่าเรียนกับครู

ทัศนคติต่อวิชาเรียน ทำอย่างไรจะมั่นใจว่าเรียนคณิตได้ บางคนคิดว่าตนโง่คณิตหนีไปเรียนศิลป์ภาษา แต่ไม่รู้ว่าจะนำไปทำอะไร

ต้องเชื่อมแนวการศึกษาและต่อยอดอาชีพในอนาคต

อาชีพในอนาคต จะเป็นการข้ามศาสตร์ มีคณะใหม่ๆเกิดขึ้น คณะนวัตกรรม จุฬา ให้เวลา 2 ชั่วโมง เขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และออกแบบบ้านต้นไม้ 6 แบบที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทำโจทย์คณิต จับคู่คำภาษาอังกฤษแล้วออกแบบคำใหม่ แต่ปัญหาคือ โรงเรียนมัธยมสอนแยกสาย ส่วนมหาวิทยาลัยก็ข้ามศาสตร์อย่างรวดเร็ว

วิชาซับซ้อนหลายมิติ ต้องปล่อยวางกฎระเบียบบ้าง แล้วเห็นแก่อนาคตของเด็กเมื่อไปเรียนในมหาวิทยาลัย

ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วน

แรงบันดาลใจสำคัญ มีเด็กถูกบังคับว่า ต้องเรียนหมอ ผมจึงไปเจรจากับพ่อแม่เขาให้ไปเรียนสิ่งที่เขาชอบ จึงให้ไปคัดเลือก เขียนโปรเจค เขาเรียนวิทย์เคมี ได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ผมแนะให้เขาสอบทุนพระเทพและเขาได้รับคัดเลือกจากพระเทพ เพื่อไปคุยกับนักวิทยาศาสตร์ที่ได้รางวัลโนเบล ตอนนี้เรียนปริญญาเอกที่นันยาง พระเทพสนใจโครงการปริญญาเอกเขาและขอดูแล็บ เขาทำสกัดใบชารักษาวัณโรคในปอด

แรงบันดาลใจขับเคลื่อนแรง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนนี้อาจารย์พงษ์ศักดิ์แนะนำมาให้สัมภาษณ์ออกโทรทัศน์ ถือเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

คนที่ได้รางวัลโนเบลมาพบกันเป็นประจำ พระเทพทราบว่า ถ้าส่งเด็กรุ่นใหม่เก่งวิทย์ ก็จะดี

ผอ.จัดการวิชาการได้ดี

ผมมีความสุขมาก แรงบันดาลใจมาจาก Knowledge Camping ครั้งล่าสุด มีครูทุกโรงเรียนไปพูด จึงได้ความคิดนำเด็ก ครู ผู้ปกครองมารวมกัน เป็นนวัตกรรมใหม่

ผู้ปกครองพูดถูกใจ ท่านเป็น stakeholders

World Economic Forum เน้นให้สนใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นำไปสู่ความยั่งยืนเป็น S-curve ของโลก

ขอชมเชย

วันนี้ วิทยากรตอบคำถามได้ดี

ทีมเก่งเป็นความสามารถของโรงเรียน

โรงเรียนต้องถ่ายทอดประสบการณ์ให้อาจารย์รุ่นใหม่ อาจารย์เหล่านี้อยากทำสิ่งต่างๆ แต่กลับมาทำงานวัฒนธรรมที่ไม่มีการ coaching and mentoring ก็ลำบาก

โค้ชคือการถามคำถาม มีคนหนึ่งบอกว่า เคยโค้ช CEO คนหนึ่ง เขาเก่งมากแต่อารมณ์ร้อน เคยไปบอกเขาว่า เขาอารมณ์ร้อน เขาบอกว่า ไม่ต้องไปสอนเขา โค้ชถามว่า ถ้าอารมณ์ร้อนแล้วผลประกอบการบริษัทไม่ดี จะเปลี่ยนใหม่

ควรแบ่งปันปัญหากันแล้วโค้ชร่วมกัน (Joint Coaching)

ผมชอบมาก กลุ่มที่ผมนั่งด้วยกล่าวถึงจริยธรรม

การเข้ากลุ่มเล็กเป็นการกระตุ้นให้คิด แต่อย่าคิดเหมือนกัน แล้วนำความหลากหลายมาเป็นพลัง

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร

ได้หารือกับผอ. เรื่องคุณธรรม จริยธรรมต้องเกี่ยวข้องกับวัย เข้าใจฮอร์โมนเด็ก เด็กเริ่มโตมีพฤติกรรมไม่เหมือนเด็ก จะใช้อารมณ์เพราะฮอร์โมน ต้องเริ่มปลูกฝังคุณธรรมก่อนเป็นหนุ่มเป็นสาว ต้องพัฒนากีฬาเป็นทางแก้ปัญหา

ครูมักสอนเด็กไม่เก่งไม่ได้เพราะไม่เข้าใจจิตวิทยา

ต้องมีนักจิตวิทยาวัยรุ่น

ถ้าพัฒนาคุณธรรมดี ตั้งแต่ม.ปลายก็ไปต่อได้

ปัญหาคือสถานศึกษาภูมิใจในความสำเร็จในอดีต ไม่ได้ดูคู่แข่ง

ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วน

ผู้ปกครองมักบังคับให้ลูกเรียนกวดวิชา เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยไม่รอด เนื้อหาแทบจะไม่ตรงกับมัธยม

เข้ามหาวิทยาลัยต้องมีของ วันนี้สพฐ.กับมหาวิทยาลัยห่างกันมาก

ผู้อำนวยการโรงเรียน

พยายามไม่เข้าไปนั่งฟัง เพื่อให้แต่ละกลุ่มเสนอความจริง

จะทำสำเร็จได้ ทุกคนมีส่วนผลักดัน

ต้องหาความสุขในงานก่อน

เรากำลังจะก้าวอย่างมั่นคง เด็กต้องมีวินัยก่อน และมีความอดทน วันนี้สำคัญที่ผู้ปกครอง

กระบวนการความคิดกำลังลงกลุ่มสาระ

เรามีการวางแผนล่วงหน้า แต่ละกลุ่มสาระจะได้หารือปัญหา

คุณกฤช สินอุดม

ประเด็น workshop ที่ได้เรื่องวิชาการ กิจกรรม ระเบียบวินัยโรงเรียน และการพัฒนาครู

ต้องมีวินัยในตัวเองก่อนเรียกร้องสิทธิ

ในตอนท้ายได้มีการแบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ซึ่งสมาชิกทุกกลุ่มประกอบด้วยบุคคลทั้ง 3 ฝ่ายคือ ครู ผู้ปกครองและนักเรียนทำ Workshop ร่วมกันในหัวข้อวิชาการ กิจกรรมโรงเรียนและการพัฒนาทุนมนุษย์ มีผลสรุปดังนี้

กลุ่ม 1

ด้านวิชาการ

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

1.นักเรียนเรียนภาษาต่างประเทศแต่ไม่ได้ฝึกพูดหรือใช้ภาษา

2.นักเรียนเรียนภาษาต่างประเทศในห้องเรียน แต่ไม่ได้ใช้ภาษานั้นในชีวิตประจำวัน กลับบ้านไปแล้วก็พูดภาษาไทยกับพ่อแม่

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

1.ค้นหาว่ามีอุปสรรคอะไร

2.ก้าวข้ามอุปสรรคและพยายามพัฒนาภาษาจีนและภาษาอังกฤษให้มากขึ้น

ด้านกิจกรรม

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

1.ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมการฝึกใช้ภาษา

2.กิจกรรมรบกวนเวลาเรียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

1.เลือกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียน

2.สร้างสมดุลการใช้เวลาในการเรียนและทำกิจกรรม

3.ควรมีการถ่ายวีดิโอการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถติดตามได้ในภายหลัง

รองผู้อำนวยการโรงเรียนเสนอแนะว่า

การทำกิจกรรมทำให้นักเรียนมีเครือข่ายและสังคมที่กว้างขึ้น และมีความรู้ที่หลากหลายมากขึ้น นักเรียนไม่ควรคิดว่า จะเสียการเรียน แต่เป็นการเพิ่มศักยภาพของตนเอง

ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

ครูไม่ได้รู้ภาษาอังกฤษทุกคำ ยิ่งปัจจุบันมีคำศัพท์ใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย

ครูแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองดังนี้

1.ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษใหม่ๆจากอินเตอร์เน็ต

2.ไปเข้ารับการฝึกอบรม

3.ทำงานให้กระทรวง ทำให้รู้จักคนมากมายและได้เรียนรู้จากคน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

1.ครูรุ่นใหม่จะหยุดการเรียนรู้ไม่ได้

2.ครูต้องสร้างแรงบันดาลในแก่นักเรียนและเป็น team teaching

3.ให้ครูอ่านบทความภาษาอังกฤษและวิเคราะห์ร่วมกัน

กลุ่ม 2

ด้านวิชาการ

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

1.นักเรียนเรียนสายวิทยาศาสตร์ แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องเรียนวิชาเลือกอื่นๆนอกสายวิทยาศาสตร์

2.เมื่อนักเรียนสายวิทยาศาสตร์ได้เรียนวิชาอื่นนอกสายวิทยาศาสตร์ ทำคะแนนในวิชาเหล่านั้นได้ไม่ดี มีผลให้เกรดเฉลี่ยลดลง

3.นักเรียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างอาชีพที่ต้องการจะเป็นในอนาคตคือ วิศวกรกับวิชานอกสายวิทยาศาสตร์

ครูเสนอแนะว่า การเรียนหลากหลายวิชาเป็นการเพิ่มโอกาสทางเดินในชีวิต

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

1.อย่าเน้นแค่ความรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ควรมองโลกในหลายมุม

2.ปัจจุบันนี้ โลกมีความเป็นสหวิทยาการ อาชีพหนึ่งต้องใช้ความรู้หลากหลายศาสตร์มาประกอบการทำงานให้สำเร็จ

3.ควรมองว่า วิชานอกสายวิทยาศาสตร์จะช่วยเติมเต็มศักยภาพที่นักเรียนขาด เช่น ดนตรีทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทรเสนอแนะว่า

1.ในการสอนวิชาเลือก ควรสอนแบบเป็นวิทยาศาสตร์ เช่น ให้นักเรียนเรียนวิชาเกษตรอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

2.นำวิชาเลือกมาเสริมการสอนวิชาหลัก เช่น สอนภาษาอังกฤษผ่านดนตรี

3.ครูต่างสาขากันควรร่วมมือกันสอน

คุณกฤช สินอุดมเสนอแนะว่า

1.นักเรียนควรเปลี่ยน Mindset ว่า อยากเป็นวิศวกรแล้วถามโรงเรียนว่า จะช่วยสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายนี้อย่างไร ถ้าโรงเรียนจัดวิชาที่ต้องการเรียนให้แล้ว ก็ควรจะยินดีมาเรียน

2.ทางโรงเรียนควรจัดให้นักเรียนได้ไปดูงานที่บริษัทต่างๆ มากขึ้น

ด้านกิจกรรม

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

เวลาทำงานกลุ่ม 5 คน มีคนทำไม่กี่คน คนที่ไม่ทำก็ได้คะแนน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

1.เวลาครูมอบหมายงาน ต้องเขียนให้ชัดว่า ใครทำอะไร ประธานมีหน้าที่แจกงาน

2.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม คิดไม่เหมือนกันทำให้เกิดความเป็นเลิศ

3.มีปัญหา ต้องรายงานให้ครูทราบ

4.ครูกำกับดูแลการทำงาน

5.ให้ทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม

6.คนที่เอาเปรียบคนอื่นควรเปลี่ยน Mindset เพราะจะไม่ได้เรียนรู้ เกิดผลเสียในระยะยาว

ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

นักเรียนเคยเรียนกับครูที่สอนโดยอ่านหนังสือให้นักเรียนฟังและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ซึ่งนักเรียนก็อ่านเองได้

นักเรียนเสนอแนะว่า

1.ชอบครูที่สอนวิธีคิดคำนวณได้ถูกต้องและเร็ว ตรงกับข้อสอบที่ออกและสามารถต่อยอดไปได้

2.ครูอาจนำหัวข้อที่กระทรวงกำหนดมาผสมผสานกับความรู้ภายนอกแล้วนำเสนอด้วยวิธีของตัวเอง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เสนอแนะว่า

ครูต้องมองให้กว้าง คิดนอกกรอบและสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนด้วยการสอนที่สนุก

ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วนเสนอแนะว่า

นักเรียนควรหาความรู้จาก Google ก่อนแล้วนำไปตั้งโจทย์ถามครู

กลุ่ม3

ด้านวิชาการ

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

1.ผู้ปกครองและนักเรียนต้องการพัฒนาความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย แต่ครูไม่รู้ว่า ควรจะมีของอะไรบ้าง

2.นักเรียนยังขาดความกล้าในการใช้ภาษาต่างประเทศ

คุณกฤช สินอุดมเสนอแนะว่า

1.นักเรียนต้องเปลี่ยน Mindset อย่าเรียนเพื่อสอบ แต่ต้องรู้ลึกและรู้จริง ขวนขวายหาความรู้เพื่อให้สามารถต่อยอดไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้

2.นักเรียนต้องค้นหาตัวเองให้เจอว่า อยากเป็นอะไร แล้วเก็บ Portfolio ให้เกี่ยวข้องกับคณะที่จะเข้าเรียน

3.พ่อแม่ช่วยเสริมสร้างทักษะที่ลูกขาด แต่ไม่ควรบังคับ

4.ครูทุกคนต้องช่วยกันดูแลนักเรียน อย่าพึ่งแต่ครูแนะแนว

5.ครูแนะแนวควรมีความรู้ที่ทันสมัยเพื่อแนะนำนักเรียนได้ เพราะมีคณะและอาชีพใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา

ผู้อำนวยการโรงเรียนเสนอแนะว่า

1.ควรเขียนบันทึกการอ่าน แล้วกำหนดเป้าหมายว่า อยากเป็นอะไรในอนาคต

2.ควรทำตามแบบรุ่นพี่เทพศิรินทร์ที่ไม่หยุดการเรียนรู้

ด้านกิจกรรม

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

1.นักเรียนต้องการให้โรงเรียนกำหนดมาตรฐานทรงผมของนักเรียนที่ชัดเจน เพราะนักเรียนแต่ละคนตัดผมออกมาคนละแบบ

2.นักเรียนไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างทรงผมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผู้อำนวยการโรงเรียนเสนอแนะว่า

นักเรียนควรเข้าใจว่า สิ่งที่ครูบอกเป็นความหวังดี ไม่ควรตะแบง

ด้านการพัฒนาทุนมนุษย์

ปัญหาที่เกิดจาก Fixed Mindset

ทางออกแบบ Growth Mindset

ผู้ปกครองต้องการให้โรงเรียนมีครูเจ้าของภาษามาสอน

ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวว่า ตอนนี้มีครูเจ้าของภาษามาสอนภาษาอังกฤษและจีนแล้ว แต่ยังไม่มีครูญี่ปุ่น

สรุปปิดท้าย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ช่องว่างระหว่างการเรียนและไปสู่ความสำเร็จในอนาคตเกิดทุกแห่ง วันนี้ลงลึกมาก จะพยายามช่วยกันหาเวลาผ่านผอ.เพื่อทำงานให้ดี

น้องๆสามารถช่วยเราได้ อยู่ที่ตัวบุคคล ถ้าเร่งให้เข้าสถานการณ์ที่เปลี่ยนเร็ว ทุกคนต้องร่วมมือกัน

สิ่งที่ทำเป็นการต่อเนื่องจาก Knowledge Camping

ดีใจที่เปิดประเด็น Mindset แล้วรู้ช่องว่างตนเองกับมหาวิทยาลัย

อาจจะไม่ต้องเรียนมหาวิทยาลัยแต่อาจะไปฝึกงาน startup ก็ได้

ในอนาคต ต้องไม่ใช้เวลาในห้องเรียนอย่างเดียว

อยากขอบคุณโรงเรียนและทีมงานผอ. ทำงานด้วยความเต็มใจ

สำหรับผู้ปกครองมองว่าเป็นของใหม่ที่ได้มาฟัง หลายท่านพูดได้ดี

ต้องยกย่องครูที่นี่ ภารกิจมีมาก

มาตรฐานนักเรียนไม่เป็นรองที่อื่น ต้องมีวินัยและความมุ่งมั่น

ขอขอบคุณทุกท่าน

กล่าวปิดงาน โดย นายธนาพล จีรเดชภัทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ พุแค

ขอขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นายสัตวแพทย์ กิจ สุนทร คุณกฤช สินอุดม ผศ.พงษ์ศักดิ์ กรรณล้วนและอาจารย์ไพโรจน์

วันนี้ผมได้รับธารน้ำใจจากหลายท่านเป็นอย่างดี นี่ก็คือสัญญาณที่ดีของโรงเรียนเรา ครูๆของเราทำงานกันอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่เพื่อลูกหลานของเรา เลี้ยงลูกของตนเองเป็นเรื่องปกติ แต่เลี้ยงลูกคนอื่นคือ เทวดา นางฟ้า ตอนนี้ ครูเหมือนเป็นเทวดา นางฟ้าของทุกคน ทุกคนต้องการให้ลูกหลานได้ดี เพราะฉะนั้นต้องรวมใจกัน

วันนี้ สุดท้ายแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ ต้องเปลี่ยน Mindset แล้วทุกอย่างจะเกิดขึ้นได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ นักเรียนที่มาวันนี้ น่าจะเข้าใจดีมากขึ้น ความหวังดีของพ่อแม่ ผอ. ครูและผู้ใหญ่หลายท่าน ก็ยอมรับมันไว้ และเชื่อว่า เราจะเติบโตเป็นพลเมืองดีของชาติต่อไปแน่นอน

ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมมือกัน วันนี้มีค่าแม้กระทั่งแม่บ้าน และคนที่อยู่เบื้องหลัง จิ๊กซอว์ทุกตัวสำคัญเท่ากันหมด คนเปิดห้อง คนทำความสะอาด คนขับรถ เขามาเพื่อเราทุกคน เพราะฉะนั้นทุกคนสำคัญเท่ากันหมด

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ

โปรดติดตามข่าวโครงการได้ที่ลิ้งค์นี้

ภาพ

Facebook Live

บทความ1

บทความ2

รายการโทรทัศน์

รายการวิทยุ1

รายการวิทยุ2

หมายเลขบันทึก: 674351เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2020 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2020 00:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท