สรุปจากการอ่านเรื่อง "วิทยาศาสตร์ข้อมูลในชั้นเรียน"


         สรุปสาระสำคัญ “วิทยาศาสตร์ข้อมูลในชั้นเรียน” ซึ่งเกิดจากการอ่านเอกสารออนไลน์ของศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้(Innovative Leaders centre of Curriculum and Learning) เรียกย่อๆว่า  LCCL ที่ทำให้เราเรียนรู้ได้ด้วยตนเองในประเด็นทางการศึกษาที่เราสนใจโดยเริ่มต้นสมัครเป็นสมาชิก แล้วปฎิบัติการเรียนรู้ได้เลยค่ะ ทำให้ครูนกตั้งเป้าหมายปี 2563 ว่าจะอ่านเอกสารไปเรื่อยๆ อย่างน้อยเดือนละ 1 เรื่อง แล้วสรุปสาระสำคัญพร้อมกับได้สัมฤทธิบัตร  ซึ่งเรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้คือ วิทยาศาสตร์ข้อมูลในชั้นเรียน  ที่จะทำให้เรามีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการชั้นเรียน หลายเรื่องเป็นเรื่องปกติที่ครูทำ ครูใช้ในห้องเรียน และอีกหลายเรื่องที่เราทำเพิ่มเติมจากเดิมจะส่งผลให้เรามีข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการดูแลนักเรียนยุค 5G

หากครูเปลี่ยนห้องเรียน


  สิ่งสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้ “วิทยาศาสตร์ข้อมูลในชั้นเรียน” คือ วิทยาศาสตร์ข้อมูล(Data Science) บทบาทของครูแบบนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และกระบวนการของวิทยาศาสตร์ข้อมูล สามารถสรุปได้ดังนี้
          วิทยาศาสตร์ข้อมูลในชั้นเรียน (Data Science in the classroom)  คือเรื่องที่ครูดำเนินการต่างๆเกี่ยวกับข้อมูลของนักเรียนอาจจะเป็นประวัติของนักเรียน จุดเด่น จุดต้องพัฒนา ความรู้พื้นฐานหรือความต้องการในการเรียนรู้ของนักเรียน  ตลอดจนสไตล์การเรียนของนักเรียน(Learning Style) ที่มีหลากหลาย นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์จนสามารถนำไปออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนได้  ทั้งนี้จะต้องเริ่มจากการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล  การทำความเข้าใจเชิงลึกกับข้อมูล  จะทำให้ครูรูจักนักเรียนได้อย่างแท้จริงและนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
          แนวทางการพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ที่สามารถเพิ่มผลิตผลของการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางดังนี้
          -  ตั้งคำถาม(ตนเอง)  ก่อนจะจัดการเรียนการสอน หรือระหว่างการจัดการเรียนการสอนต้องถามว่า ข้อมูลอะไรที่จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของเรา
         -   แสวงหาข้อมูล  เมื่อได้ประเด็นคำถามก็ต้องแสวงหาข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ เช่น แบบบันทึกประวัติของนักเรียน  แบบวิเคราะห์รูปแบบสไตล์การเรียนรู้
          -  วิเคราะห์ข้อมูล  จากข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อให้นำมาใช้ประโยชน์ได้ในการจัดการเรียนการสอน
          -  ทำความเข้าใจเชิงลึกในข้อมูล  เป็นการเชื่อมโยงไปสู่การสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนเป็นรายบุคคล
          -  ใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ให้สอดคล้องและเหมาะกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ
          -  แสวงหาข้อมูลความสำเร็จของการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาต่อยอดในสิ่งที่เป็นจุดแข็ง หรือปรับปรุงในสิ่งที่เป็นจุดอ่อน
          -  สื่อสารข้อมูลผลการเรียนไปยังนักเรียน ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ เสริมพลังการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เป็นการเสริมแรงที่เหมาะสมกับนักเรียนเป็นรายบุคคล
            แนวทางการเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของครูถือเป็นทักษะสำคัญที่มีประโยชน์มากสำหรับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียนได้ ทั้งตอบสนองธรรมชาติของนักเรียนเป็นรายบุคคล  ครูจึงต้องพัฒนาหรือปรับแนวทางที่เคยปฏิบัติให้มีระบบมากขึ้น เพื่อที่จะได้ข้อมูลของนักเรียนที่มีคุณภาพ และเป็นข้อมูลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

เอกสารฉบับเต็มอ่านได้ที่นี่ค่ะ http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Data%20science_1572442584.pdf

หมายเลขบันทึก: 674161เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2020 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2020 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท