Competency และการนำไปใช้ประโยชน์


ผมเคยเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับสมรรถนะไว้นานมาก ปัจจุบันเกษียณแล้วและได้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง Competency ไว้พอสมควร จึงนำมาเสนอเพื่อผู้สนใจได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เนื้อหาประกอบด้วย

        1.Competency และแนวคิดเชิงทฤษฎี

        2.การได้มาซึ่ง Competency หรือ การกำหนดกรอบความสามารถ (Competency Framework)

        3.การสร้างโมเดลสมรรถนะ (Competency Model)

        4.การใช้ประโยชน์จาก Competency Model)

       5.การวิจัยที่เกี่ยวกับสมรรถนะ


ตอนที่ 1 Competency
และแนวคิดเชิงทฤษฎี
บทนำ-
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะ

ความเป็นมาของสมรรถนะ (Competency)โดยสังเขป

             ความสามารถมีต้นกำเนิดมาจากคำว่า 'competentia' ในภาษาละติน

            ค.ศ.1920  Frederick  Taylor  บิดาด้านวิทยาศาสตร์การจัดการ  มีคำกล่าวว่า “ A primary concern of management was employees’ individual differences.”
             ค.ศ.1954  John Flanagan (1954, อ้างถึงใน David D.Dubois,2004) สร้างหลักเกณฑ์และเทคนิคการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์เหตุการณ์สำคัญเพื่อตรวจสอบทักษะบุคคลเข้าทำงาน ชื่อว่า Critical  Incident Technique (CIT) แต่ขณะนั้นยังไม่ได้ใช้ศัพท์คำว่า Competency

              ค.ศ.1959  Robert White (1959, อ้างถึงใน David D.Dubois,2004) กำหนดคุณลักษณะบุคคลขึ้น เรียกว่า “ Competence”  

              ต่อมา McLagan, Richard Boyatzis, Signe Spencer และ David Ulrich ได้พัฒนาแนวคิดของ "ความสามารถ (concept of ―competencies) เพื่อการอยู่รอดและความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนขององค์กร
             ค.ศ.1973 David McClelland ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Harvard  ได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งสมรรถนะ (Father of Competencies) เป็นผู้คิดค้นคำว่า Competency  ขึ้น  และให้ความหมาย Competency ไว้ว่า (“ Competency is a basic personal characteristic  that are determining factors for acting successfully in a job or situation”)
              ค.ศ.1993 Spencer and Spencer  ได้ขยายความหมายและอธิบายคำว่า สมรรถนะ ว่า เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของส่วนบุคคลที่เป็นสาเหตุให้เกิดประสิทธิผลหรือผลงานที่ดีในงานหรือสถานการณ์ (a competency as "an underlying characteristic of an individual that is causally related to criterion-referenced effective and/or superior performance in a job or situation)
             นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดสมรรถนะ จากบุคคลที่มีชื่อเสียงอีกมาก เช่น George  Klemp, Richard Boyatzis ,David D. Dubois and Rothwell ,C.K. Prahalad และGary Hamel ,Flannery, Hofrichter, and Platten ,Daniel Goleman ,Militello  and  Schwalberg  

              สำหรับประเทศไทยได้มีการนำแนวความคิดสมรรถนะ มาใช้โดย สำนักงานก.พ. ได้ว่าจ้างบริษัท Hay Group เป็นที่ปรึกษาในการประยุกต์แนวความคิดนี้มาใช้ในการพัฒนาข้าราชการพลเรือน ในระยะแรกได้ทดลองนำแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยยึดหลักสมรรถนะ (competency -based human resource development) มาใช้ในระบบการสรรหาผู้บริหารระดับสูง(SES)  และกำหนดสมรรถนะของข้าราชการในระบบราชการไทย

              ผู้สนใจ ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมจากแนวคิดสมรรถนะ หรือความสามารถ จากแหล่งข้อมูลดังกล่าว จะทำให้มีความเข้าใจในแนวคิดและความหมายของสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์ มากยิ่งขึ้น  ซึ่งในครั้งต่อๆไป จะนำเสนอในประเด็นสำคัญๆ ที่ให้หัวข้อไว้ข้างต้น.

             

20191219154348.pdf

คำสำคัญ (Tags): #Competency Concept
หมายเลขบันทึก: 673823เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2019 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2021 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท