เหตุผลปฏิสัมพันธ์ คือ สื่อสารเวลา ผ่อนคลายอารมณ์ สื่อสารบทเรียน


ขอบคุณน้องๆปีสองที่มีความตั้งใจเรียนรู้การสื่อสารให้เหตุผลภายในตัวเองครับ จากภาพคือ Social Emotional Learning by reasoning occupational engagement and modifying environment ใช้ group dynamics เกิดการฝึกทักษะเห็นอกเห็นใจเพื่อน จากรูปแรกจนถึงรูปก่อนปิดกลุ่ม

เป้าหมายทางกิจกรรมบำบัดศึกษา (Purposefulness) คือ เพิ่มกระบวนการเรียนรู้สังคมอารมณ์อย่างลื่นไหลหรือจิตจดจ่อมีสติรู้ทันและมีสัมปชัญญะคิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้พอเหมาะ - มีภาวะผู้นำตามธรรมชาติให้กล้าคิดดี กล้าพูดดี กล้าทำดี เรียก SELF ซึ่งอ.ป๊อปขอใช้ Conditional Reasoning จากกรอบอ้างอิงจิตวิทยาเชิงบวกผสมผสานการเรียนรู้ตลอดชีวิต ใช้คำย่อให้จดจำง่าย คือ Social Emotional Learning Flow 

ผู้เรียน (People & Community) คือ นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 2 จำนวน 34 ท่าน กำลังเรียนการให้เหตุผลเชิงปฏิสัมพันธ์ หรือ Interactive Reasoning ประกอบด้วย การสื่อสารระหว่างคน-สิ่งแวดล้อมให้มีความสัมพันธ์ (บริบทชุมชนนักปฏิบัติ) ผ่านกิจกรรมการดำเนินชีวิตด้าน Social Participation (One Occupation) ให้เกิดกิจกรรม (Activity) เฉพาะเจาะจง คือ Social Engagement กับ Modifying Occupation & Environment (Expected to Support) ด้วยงาน (Task) ที่ประกอบด้วย 4 อย่างๆ ละ 5 นาที ตามลำดับกระบวนการจากง่าย คุ้นเคย สู่ ท้าทายเรียนรู้ใหม่ ได้แก่ สื่อสารสร้างกำลังใจ ความไว้ใจ ความมั่นใจ และความรู้ 

วัตถุประสงค์ย่อย อ้างอิงกรอบ Ecological Human Performance (EHP) เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการสื่อสาร Occupational Performance Coaching Model (OPC) เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมทางสัมคมที่เอื้อต่อการแสดงบทบาทผู้นำกลุ่ม และ Model of Human Occupation (MOHO) เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมภายในรายบุคคลให้เปิดใจยอมรับและกล้าแสดงความรู้สึก ความรู้คิด ความเห็นอกเห็นใจ และความเอาใจเขามาใส่ใจเรา รวมเป็น Conditional Reasoning 

ประโยชน์และความหมาย/ความสำคัญทางกิจกรรมบำบัด (Meaningfulness) คือ คาดว่าจะเสริมสร้างสุขภาพด้วยการทำงานเป็นทีมกลุ่มพลวัติ (Cooperative group dynamics - One Occupational Engagement) และฝึกฝนทักษะตัวเองให้มีความสามารถจัดการและป้องกันภาวะเครียด (Mastery/Skills of Coping with Stress (one ability in real-life situations) แล้วค่อยๆ ถอดบทเรียนนำไปเรียนรู้ในชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคลได้ (Transfer of Learning - Occupations: want/need to do in everyday activities

ต่อไปนี้คือ การให้เหตุผลเชิงกระบวนการดังต่อไปนี้ตามลำดับภาพที่เกิดขึ้นจริง (Procedural Reasoning) ได้แก่  

  1. การเสนอชื่อผู้นำ 5 คน (สัดส่วน ผู้นำ 1 คนต่อเพื่อน 6 คน) ระดมวางแผนกิจกรรมภายใน 5 นาที

2. ผู้นำ 1 ใน 5 คน เริ่มเปิดกลุ่มสร้างสัมพันธภาพ แต่เมื่อประเมินความต้องการของสมาชิกกลุ่ม พบว่า "ตำแหน่งผู้นำควรกระจายเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ให้รอบวง และมีการนั่งแทนการยืนเพื่อให้เกิดภาษากาย การสบตา การใช้น้ำเสียง ได้เกิดอารมณ์ร่วมกันของกลุ่มมากขึ้น

3. Master of Ceremony (MC) โดยอ.ป๊อป สะท้อนกลับแบบชี้แนะ (Prompting Feedback) แนวทางการจัดกระบวนการกลุ่มที่ผู้เรียนเคยฝึกปฏิบัติให้เข้าสู่กลุ่มสื่อสารพลวัติมีอารมณ์ร่วมแรงร่วมใจมากขึ้น โดยแยกผู้นำพร้อมผู้ช่วยอีก 2 ท่าน กระจายเป็น 4 ตำแหน่งหัว ท้าย บน ล่าง ของวงรี อีกกลุ่ม (ผู้นำ ผู้ช่วย ผู้สังเกตการณ์เท่าจำนวนผู้นำทั้งหมด และผู้กำกับเวลา) ให้ประชุมนอกห้องว่าจะสังเกตแล้วสะท้อนกลับชื่นชม-ชี้นำย้ำการรับรู้สึก (Sensory & Perceptual Cues)-ชี้แนะ อย่างไรก่อนปิดกลุ่ม โดยไม่จำกัดเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

4. ผู้นำคน 1-2-3 จัดกิจกรรมรวม 3 งานตามลำดับ เช่น การแนะนำชื่อ การบอกอารมณ์ในปัจจุบันขณะ การพูดกระซิบส่งกำลังใจ การพูดส่งชื่อทักทายข้ามตำแหน่งที่นั่ง การหายใจผ่อนคลาย การพูดให้กำลังใจเพื่อนรอบวง MC และกลุ่มสังเกตการณ์บันทึก 3 เหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์ที่ประทับใจเกินความคาดหมาย เหตุการณ์ที่ควรพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และเหตุการณ์ชี้แนะแบบคาดการณ์ว่า ถ้านำไปใช้กับกลุ่มอื่น/บริบทอื่น เราจะเพิ่มทักษะอะไรอย่างไร 

5. ผู้นำคนที่ 4 ให้ความรู้เชิงสาธิตและกระตุ้นพร้อมผู้ช่วยด้วยน้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ จังหวะการเคลื่อนไหวที่ดีต่อใจ

6. ด้วยการให้ความรู้สู่การปฏิบัติไปพร้อมๆ กันทำให้เห็นความพร้อมและความร่วมมือเป็นธรรมชาติมากขึ้น

7. กลุ่มสังเกตการณ์เกิดการปฏิบัติไปพร้อมๆกับเพื่อนในวง เกิดอารมณ์ร่วมและความรู้ความเข้าใจในกระบวนกลุ่มพลวัติเป็นหนึ่งเดียว

8. ยิ่งทำให้สังเกต "ภาวะผู้นำตามธรรมชาติ สามารถบันทึกศักยภาพ (ความสุขความสามารถ) อย่างเงียบๆ ในแต่ละบุคคลได้"

9. ลึกกว่านั้น "เราสามารถเห็นอารมณ์สุข ทุกข์ เฉย จากภาษากายที่ซ่อนอยู่บนสีหน้าท่าทางที่แสดงความอ่อนล้าได้ชัดเจน" จึงทำให้อ.ป๊อป ต้องสาธิตเปลี่ยนบทบาทจาก MC เป็นผู้นำกลุ่มให้เกิด Mature Group คือ มีวุฒิภาวะยกระดับ Purposeful Tasks สู่ Meaningful Activities (Occupations - Social Support Participation & Emotional Engagement) ให้เกิดจิตจดจ่ออย่างมีสติสัมปชัญญะมากขึ้นทันที (รู้ทันรู้จริงภายในการเปิดใจยอมรับและเรียนรู้สมรรถนะแห่งตนเอง - Therapeutic Use of Self-Conscious & Self-Efficacy สเกล 1-10 มากขึ้น)  

ในภาพนี้ใช้ Sensory Cue วางรูปภาพความฝันทางจิตวิทยาหลากหลาย ผู้ที่มีภาพในมือให้ถือไปแสดงบทบาทในกลุ่มย่อย เช่น ผู้เรียนที่มีภาพสี ให้ออกมานำเพื่อนๆ ขยับร่างกายให้ผ่อนคลายจากความเครียดในใจ

10. แยกวงหนึ่งกับผู้เรียนที่มีภาพเศร้า มาเล่าเรื่องเศร้าในความคิดของตนเอง จากสมาชิกกลุ่มที่ยังไม่มีบทบาทผู้นำกลุ่มก่อนหน้า ให้มีบทบาทเป็นผู้เล่าเรื่อง มีผู้ฟังร่วมรับฟังอย่างเห็นอกเห็นใจพร้อมสะท้อนความรู้สึกเอาใจเขามาใส่ใจเรา

11. อีกวงก็เช่นเดียวกับข้อ 10 แต่วงเล็กกว่า แม้ว่าจะมีการระบายความเศร้าด้วยน้ำตา ก็ให้เป็นไปตามธรรมชาติ ให้น้ำตาไหลออกมาจนหยุด (ฝึกอดทน อดกลั้น ยับยั้งอารมณ์เศร้าด้วยตนเอง จาก Sympathy to Empathy Skill) พร้อมผู้นำ อ.ป๊อป ช่วยใช้เทคนิคการผ่อนคลายจิตใต้สำนึก (Metacognitive/Subconscious Relaxation) 

12. เพิ่มการรับรู้และการเรียนรู้อารมณ์บวกความรักความเมตตาเป็นกลุ่มใหญ่ ให้พูดเปิดใจด้วยความเป็นเพื่อนที่รักกัน มีอะไรที่ไม่เคยบอกกันก็ฝึกกล้าที่จะบอกเพื่อน โดยใช้ 5 ข. คือ ขอบคุณ ขอโทษ ขออภัย ขออนุญาต ขอร้อง (ขอความร่วมมือ)

13. เกิดการเคลือนไหวของกลุ่มเป็นผู้นำตามธรรมชาติ (ไร้ผู้นำกลุ่ม ปรับจาก Semistuctued to Unstructured Group Dynamics) ทั้งผู้เรียนที่กำลังออกจาก Safe Zone ผู้เรียนที่มีความเป็นผู้นำวุฒิภาวะดี เกิด Learning/Challenging Zone สวมกอดให้กำลังใจเพื่อน 

14. เกิดตำแหน่งของพลังงาน อารมณ์ และความคิดยืดหยุ่นต่อกัน ทำให้เกิดกลุ่มทีมงานย่อยเพื่อเรียนรู้ได้ดีขึ้นถึง 4 วง มีการประเมินผลลัพธ์จัดกลุ่มย่อยอีก 2 วงเล็กในวงใหญ่ รวม 8 ทีม ตามสเกลคะแนนสมรรถนะความเป็นผู้นำตามธรรมชาติ กล้าคิดดี กล้าพูดดี กล้าทำดี คละกันอย่างสมดุลตามเป้าหมายและความหมายของกิจกรรมบำบัดสร้างความสุขในวันนี้ รวมใช้เวลาทั้งสิ้นในห้องเรียน 3 ชม.ครึ่ง ด้วยความขอบพระคุณบทเรียนดีงามนี้

หมายเลขบันทึก: 672981เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2019 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2019 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท