โค้ชกิจกรรมบำบัดฝึกอย่างไร


บันทึกนี้เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจจากกัลยาณมิตรมากกว่า 220 ท่านที่ให้คำแนะนำบทเรียนออนไลน์เพื่อประชาชนไทยจะได้เรียนรู้ "กิจกรรมบำบัดเพื่อความสุข (สงบ)" โดยเฉพาะพี่แมวและทีมงานที่ช่วยเหลือเผยแพร่ความรู้กิจกรรมบำบัดจิตสังคมได้ดีงามตลอดมา ทำให้ผมอยากบันทึกว่า "บนโลกใบนี้มีโค้ชนักกิจกรรมบำบัดใช้สื่อออนไลน์อย่างไรบ้าง"

ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผมกำลังเขียนตำราเพื่อขอรศ.และมีบทหนึ่งที่พูดเรื่อง "โค้ชกิจกรรมบำบัด" แต่ก็ยังสืบค้นข้อมูลไม่ชัดเจนนัก 

เมื่่ออาทิตย์ก่อน หลังจากพานักศึกษาฝึกปฏิบัติการกระบวนการกลุ่มพลวัติ ณ มูลนิธิเด็กพร้อมอาจารย์แนน ดร.สุธินันท์ จันทร โชคดีที่อาจารย์ได้แนะนำ Occupational Performance Coaching (OPC) Model ทำให้ผมได้ค้นคว้าจนเห็นศักยภาพของทีมงานนักกิจกรรมบำบัดที่ได้พัฒนางานวิจัยและกำลังจะทำบทเรียนออนไลน์กลางปีหน้านี้ คลิกเรียนรู้กระบวนการ OPC Model to Workshop ที่นี่

เมื่อวานผมได้แรงบันดาลใจจากอาจารย์จูลและทีม KM ของคณะกายภาพบำบัด ให้ยกระดับบทเรียนออนไลน์จากเดิมที่สอนรายวิขากิจกรรมบำบัดจิตสังคมแก่นศ.มา 4 ปีแล้ว จนได้รางวัลจากการประกวดมหกรรมคุณภาพชนะเลิศด้านการศึกษาของคณะฯ และได้รับเชิญนำเสนอรอบแรก 1 ใน 5 ผลงาน (ผ่านเข้ารอบจากการพิจารณาบทความทั้งหมด 9 ผลงาน) แต่ไม่ติด 1 ใน 4 ของผลงานที่ได้รับรางวัล Innovative Teaching Award ของม.มหิดล  ทำให้ผมได้รับบทเรียนที่ว่า "ไม่มีอะไรที่ทำให้เราทำได้สำเร็จสมหวังทุกอย่าง...บางเรื่องยังรอการพัฒนาไปเรื่อยๆ"  ผมเลยทำการโหวตของประชานิยมถึงบทเรียนออนไลน์กิจกรรมบำบัดศึกษาเพื่อประชาชน ด้วยความขอบพระคุณพี่น้องเพื่อน 230 ท่านได้สะท้อนชื่อดีต่อใจและเสนอข้อคิดลงเอยที่ชื่อ "กิจกรรมบำบัดสร้างความสุข"

ผมจึงใช้เนื้อหาในบทเรียนออนไลน์เดิมที่มีสาธิตกระบวนการสื่อสารเชิงบวก ได้แก่ การรับฟังโดยไม่ตัดสินคิดลบ การตั้งคำถามโดยรับรู้สึกถึงคุณค่าความดีมีสุขภายในคู่สนทนา และการสร้างแรงบันดาลใจให้คู่สนทนาเกิดความคิดยืดหยุ่น มีการฝึกจัดการอารมณ์ให้มั่นคง และมีการวางแผนแก้ปัญหาชีวิตที่ได้รับผลกระทบต่อความสุขความสามารถในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตจนไม่บรรลุเป้าหมาย เช่น ไม่มีงานทำ เบื่อไม่มีอะไรทำ เศร้าไม่อยากทำอะไร  

ในต่างประเทศ นักกิจกรรมบำบัดเริ่มสนใจพัฒนาทักษะการบำบัดด้วยการรู้คิดเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 ระดับ ได้แก่ 

  1. ระดับเบื้องต้น เนื้อหาออนไลน์ 1 วันขั้นแนะนำ (Evidence Based Practice + 5Ws) หรือ 2 วันปฏิบัติการกับผู้รับบริการอาสาสมัครจริงวัยรุ่น 13-19 ปี วัยผู้ใหญ่ 20-64 ปี และวัยสูงอายุ 65 ปี  รับสมัครนักกิจกรรมบำบัดที่มีประสบการณ์ 0-2 ปี ในคลินิกสุขภาพจิต การบำบัดฟื้นฟูด้านความรู้ความเข้าใจ ระบบประสาท ระบบประสาทกล้ามเนื้อ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อ สุขภาพกายทั่วไป และการฟื้นฟูสมรรถภาพการประกอบอาชีพ จำนวนไม่เกิน 30 คน พร้อมสาธิต Four Bubble + CBT Conceptual Model, Coping cards, the Thought Record, Activity Scheduling และ CBT group process Vs Individual with chronic pain
  2. ระดับกลาง ให้ทำการบ้านกับเคสส่งเป็นคลิปพร้อม OPC Fidelity Measure 80% ขึ้นไป
  3. ระดับสูง CBT + OPC ใน Depression, Anxiety, Personality & Challenging Behaviors, Schizophrenia และ Teaching & Learning Supervision 
หมายเลขบันทึก: 672953เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2019 11:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2019 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท