มหากาพย์ทหาภารตะ : เคล็ดลับการ "ทำลูก" อย่างไรให้ออกมาหน้าตาดี !


มหากาพย์ทหาภารตะ : เคล็ดลับการ "ทำลูก" อย่างไรให้ออกมาหน้าตาดี !

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วในดินแดนภารตะอินตะระเดีย มีเจ้าหญิงสององค์ชื่อ อัมพิกาและอัมพาลิกา เป็นธิดาของราชาแห่งแคว้นกาสี (แท้จริงลูกสาวบ้านนี้มี 3 องค์) เมื่อทั้งสองถึงวัยเจริญพันธุ์ พ่อจึงจัดพิธีสยมพรเลือกคู่ แต่กลับถูกอิทธิพลมืดของ ภีษมะ บุตรแห่งพระแม่คงคาแห่งเมืองหัสตินาปุระทำให้นางทั้งสองให้แต่งงานกับ วิจิตรวีรยะ น้องชายต่างมารดาของภีษมะเอง เพื่อจะได้มีบุตรไว้สืบวงศ์ของตน เนื่องจากภีษมะไม่สามารถมีบุตรได้เพราะปฏิญาณตนกับพ่อของตนเองไว้

ในคืนส่งตัว วิจิตรวีรยะคงตื่นเต้นดีใจเกินเหตุกับการได้เมียสาววัยขบเผาะถึงสองคนพร้อมกัน หรืออาจจะหักโหมมากไปกับการประกอบกามกิจแบบชาย 1 หญิง 2 (3 some) จนหัวใจวายก็ไม่ทราบได้ แต่งงานได้คืนเดียว วิจิตรวีรยะก็สิ้นพระชนม์ นางสัตยวดี มารดาของ จิตรวีรยะ ก็กลัวว่าจะไม่มีบุตรมาสืบสกุล จึงตัดสินใจอันเชิญฤๅษีวยาสผู้ทรงฤทธิ์มาประกอบพิธีนิโยคหรือการทำให้มีลูกกับนางทั้งสองผู้กำพร้าผัว แต่การนิโยคของฤาษีนั้นหาใช่การมีเพศสัมพันธ์ไม่ เป็นเพียงแค่การแตะตัวเท่านั้น แตะแล้วท้องป่องทันที แต่อย่าลืมว่า ความที่เป็นฤาษีอยู่ในดงในป่านั้นน้ำท่าไม่อาบ เสื้อผ้าไม่ได้เปลี่ยน หรือบางทีอาจจะเอาขี้เถ้าจากศพมาทาตัวด้วย แน่นอนว่ากลิ่นกายของฤาษีนั้นจึงเหม็นสาบจนทนไม่ไหว

ดังนั้นในขณะทำพิธีนิโยคกับนางอัมพิกา นางก็กลั้นใจหลับตาปี๋ไม่กล้าแม้แต่มองหน้า ลูกที่เกิดออกมานามว่า ธฤตราษฎร์ จึงกลายเป็นคนตาบอด ต้นวงศ์ของเการพ

ส่วนนางอัมพาลิกา ในขณะประกอบพิธีนิโยค นางก็ทนกับกลิ่นกายของฤาษีไม่ไหวเช่นกัน แต่นางก็ยังใจกล้าที่จะกล้ามอง แต่ในขณะมอง ร่างกายนางสั่นเทากลัวจนตัวซีดขาวเลยทีเดียว ดังนั้นลูกที่เกิดออกมานามว่า ปาณฑุ จึงมีกายที่ขาวเผือก ต้นวงศ์ของปาณฑพ

เวลาผ่านไปเนิ่นนานตระกูลเการพกับปาณฑพก็รบกันในสงครามสิบสี่วัน ตายเป็นสิบล้านคนเลยทีเดียว

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าเวลาที่จะ "ทำลูก" ก็ให้ตั้งใจลืมหูลืมตาเวลาประกอบการกิจด้วย จ้องตากันไปทำกันไป เปิดไฟให้มันสว่าง ๆ หน่อย เปิดม่านบ้าง ออกไปทำที่ระเบียงบ้าง เวลาจะสั่นก็ให้สั่นสู้ไม่ใช่สั่นกลัว ลูกจะได้ออกมาหน้าตาดีผิวพรรณดี นะจ๊ะ

@วาทิน ศานติ์ สันติ

หมายเลขบันทึก: 671833เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2019 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2019 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท