บริหารความสับสน ซับซ้อน โดย Dave Snowden


หลัก Physics ง่ายๆ ใช้กับ บริหาร "ใจ" ไม่ได้ง่ายๆ

"We've had a hundred years of management science and management consultancy based on Newtonian physics and Taylorist principles. A lot of good things like process reengineering and quality management happened by applying machine metaphors to the firm. The trouble is that when you move on to trying to manage areas such as knowledge, learning and strategy you are moving into a completely different frame - a system which is inherently complex. At that point you have to completely rethink management methods." -- Dave Snowden

เราใช้หลักการบริหารแบบ แข็งทื่อ  มานานแล้ว 

คราวนี้  มาจับ LO&KM ต้องคิดใหม่ ทำใหม่

เป็นการบริหาร ความสับสน  Complexity management

คำสำคัญ (Tags): #complexitymanagement#davesnowden
หมายเลขบันทึก: 67136เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2006 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อาจารย์กรุณาเพิ่มรายละเอียดบ้างก็จะเป็นพระคุณต่อผู้ที่ภาษาต่างประเทศไม่แข็งแรงค่ะ

 We've had a hundred years of management science and management consultancy based on Newtonian physics and Taylorist principles.

เราศึกษา วิทญาศาสตร์การบริหาร และ การปรึกษาด้านการบริหารมานัยเป็นร้อยๆปี  โดยการยึดหลักฟิสิกส์แบบนิวตัน  และ หลักการของ เทเลอร์

(คือ input --> process-->output    เห็นคนเป็น เครื่องจักร   ฯลฯ  แนวคิดแบบนี้ มีมาตั้งแต่ วิศวกร ครองเมือง   ตั้งแต่ ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม   รถจักรไอน้ำ ฯลฯ    คนยุคนั้น มองแบบ "แยกส่วน"  เป็น วิศวกร นักวิทยาศาตร์   ที่ยึด วิทยาศาสตร์  เป็นพระเจ้า   คนกลุ่มนี้  จะ ไม่ค่อยเข้าใจจิตวิทยา  อย่างพวกผม  วิศวกร   ก็จะเชื่อมั่น ใน อะไรที่เห็นๆ ที่จับต้องได้  ฯลฯ  

 

พวกเราบางคน  ยกพวกตีกัน กินเหล้า เที่ยวนารี ฯลฯ  แบบโฉดๆ และ สอนรุ่นน้องกันต่อๆมา  อย่างน่าละอาย   เพราะ  ไม่แยกแยะ  ความเป็นคน เครื่องจักร  จึงเป็นคน ดื้อๆ ดื้อเงียบ  ฯลฯ  เมื่อ คนแบบนี้  มาบริหารองค์กร  ก็จะดูโหดๆ  ไม่เข้าใจ อารมณ์ของคน  เป็น คุณ "อำนาจ")  

A lot of good things like process reengineering and quality management happened by applying machine metaphors to the firm.

สิ่งดีๆ มากมาย เช่น การปรับรื้อองค์กร   การบริหารคุณภาพ  ได้เกิดขึ้ร โดย ประยุกต์แนวคิดแบบเครื่องจักรเข้าไปในองค์กร

(มอง ทุกอย่างแบบ 1 + 1 = 2  หรือ คิดแบบ ถ้า input แบบนี้   กระบวนการแบบนี้  ผลต้องแบบนี้   หรือ ทำอะไรให้เร็วที่สุด  ไวที่สุด  just in time  ลดต้นทุน  ลดขั้นตอน   ของเสียเป็นศูนย์   กำไรมากมาย  ใช้คนให้เต็มประสิทธิภาพ  ไม่มี Over time  ฯลฯ  คือ จะ เอาแต่ Best results  ด้าน Financial เท่านั้น

คนแบบนี้ไม่เข้าใจ  ชีวิตครอบครัว น้ำใจ  คนเราก็เบื่อกันได้   ฯลฯ  คนแบบนี้  เห็นได้ทั่วไปในโรงงานทั้งหลาย

เพียงเพื่อจะให้ได้กำไร   พวกเขาสามารถ เอาเงินฟาดหัวได้   สามารถทำลายสิ่งแวดล้อมได้  ฯลฯ

พวกเขาจะใช้ Quick fix solutions 

พวกเขาไม่มีใจ   

อยากให้ดู  หนังเรื่อง Gung Ho จะเห็น ความเป็น "อมนุษย์"  ของผูบริหารญี่ปุ่น 

 

 

 

The trouble is that when you move on to trying to manage areas such as knowledge, learning and strategy you are moving into a completely different frame - a system which is inherently complex. At that point you have to completely rethink management methods

ปัญหา ก็คือว่า  เมื่อคุณ (คนที่ติดสันดาน วิทยาศาสตร์ วิศวกร  แบบตรงๆ แบบจับต้องได้ ....แบบไม่เห็น "ใจ"คน ....  แบบงานมาก่อนครอบครัว....   แบบ"คนงานตายไม่ว่า ต้องทำเป้าได้" ฯลฯ) หันมาจับเรื่อง  การบริหาร "ความรู้"  การเรียนรู้ และ ยุทธศาสตร์    คุณกำลังเข้ามาสู่เรื่องที่ "แตกต่าง"กันโดยสิ้นเชิง กับเรื่องที่คุณทำมาก่อน   คุณกำลังมายุ่งกับเรื่องที่ สับซ้อนอย่างฝังแน่น ( จาก 1 + 1 = 2  มาเป็นอะไร ที่ ไม่ใช่ 2  อาจจะเป็น อะไรก็ได้   หรือ ไม่บวกก็ได้  หรือ ไม่ต้องตอบก็ได้  ฯลฯ)

ณ จุดนี้เอง  คุณต้องเปลี่ยนวิธีการบริหาร  คุณต้องหัด" คิดใหม่อย่างสิ้นเชิง"

(คนที่เรียนมาทาง สายเทคโนโย   เรียนมาแบบแยกส่วนอย่างการศึกษาไทย ฯลฯ   จะเป็นการยากมากที่เขา จะเข้าใจ  ศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับใจ   กับอะไรที่ซับซ้อน  อธิบายไมได้  ทำนายไม่ได้   ฯลฯ อย่าง LO & KM)

 

เรียน ดร อัจฉรา

ผมแปลแบบ ด้วยความเข้าใจ  ผิดพลาดอะไรขออภัยด้วย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท