จะแบนคลอร์ไพริฟอสทั้งที ก็ควรเอาญาติๆ ของมันไปด้วย


ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ คือ จะแบนเฉพาะ คลอร์ไพริฟอส หรือว่าจะแบนสารเคมีในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ที่คลอร์ไพริฟอส สังกัดอยู่ในสารเคมีมีพิษกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งนั่นหมายถึงจะมีสารเคมีกำจัดแมลงอีกหลายยี่ห้อ ที่คุ้นหูชาวบ้าน อาจจะโดนหางเลขในครั้งนี้ไปด้วยอีกเยอะเลย

ช่วงนี้มีข่าวการแบนสารพิษ 3 ชนิด คือ

          คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos)
  เป็นชื่อทางการค้าโดยตรง และอื่นๆ  

          พาราคว็อท  (Paraquat)  รู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า "กรัมม็อกโซน" (Grammoxone) และอื่นๆ 

          ไกลโฟเสต  (Glyphosate)  รู้จักในชื่อทางการค้าว่า "ราวด์อัพ" (Roundup) และอื่นๆ


เลยคิดว่า ประชาชนน่าจะได้ทำความรู้จักกับสารเคมีที่มีพิษเหล่านี้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า "สารพิษ"

ว่าทำไมจึงจำเป็นต้อง แบน ออกจากระบบการใช้ในวงการเกษตร และ 


ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจ คือ จะแบนเฉพาะ คลอร์ไพริฟอส 

หรือว่าจะแบนสารเคมีในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ที่คลอร์ไพริฟอส สังกัดอยู่ในสารเคมีมีพิษกลุ่มนี้ด้วย

ซึ่งนั่นหมายถึงจะมีสารเคมีกำจัดแมลงอีกหลายยี่ห้อ ที่คุ้นหูชาวบ้าน อาจจะโดนหางเลขในครั้งนี้ไปด้วยอีกเยอะเลย

รับรองได้ว่า หากแวะไปร้านขายเคมีการเกษตร จะพบว่า เชลตั้งสินค้าเคมี มันโล่งไปเลยล่ะ


คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) 

          เป็นวัตถุมีพิษทางการเกษตร เป็นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช ในกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate compound) 

รูปแบบส่วนใหญ่ของสารในกลุ่มนี้ เป็นสารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ  มีพิษรุนแรง ใช้กำจัดแมลงได้ดี 

สารพิษพวกนี้จะมีผลต่อระดับความดันโลหิต มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ เอนไซม์ โคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase)

ในเลือด แบบถาวร  หากได้รับสารในกลุ่มนี้เข้าไปจะวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นตะคริว หากได้รับในปริมาณมากจะส่งผลให้หยุดหายใจ

ตัวอย่างสารพิษจำพวกนี้ ได้แก่ คอลร์ไพริฟอส, คาร์บาริล, คาร์โบฟูเรน, ไบกอน และอื่น ๆ


พิษตกค้างของคลอร์ไพริฟอส :

          คลอร์ไพริฟอสมีค่า LD50 เท่ากับ 97-276   ซึ่งจัดอยู่ในระดับ 2 


คำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร :

แมลงที่แนะนำให้ใช้ :

- หนอนเจาะสมอฝ้าย 

- เสี้ยนดิน 

- เพลี้ยอ่อน 

- เพลี้ยจักจั่น 

- ด้วงงวงมันเทศ 

- ผีเสื้อข้าวเปลือก 

- ด้วงงวงข้าว 

- ด้วงงวงข้าวโพด 

- มอดแป้ง 

- มอดสยาม 

- หนอนเจาะลำต้น 

- หนอนเจาะฝัก 

- หนอนหน้าแมว 

- หนอนร่านโพนีตา 

- แมลงดำหนาม และ

- ด้วงงวงในกล้วย 


พืชที่แนะนำให้ใช้ : 

- ถั่วเหลือง 

- ถั่วลิสง 

- มันเทศ 

- ข้าวเปลือกที่ใช้ทำพันธุ์ 

- นุ่น 

- ปาล์มน้ำมัน 

- มะพร้าว และ 

- กล้วย 

พืชผัก และ ผลไม้ :

**ไม่แนะนำให้ใช้กับ พืชผัก และผลไม้


การปฏิบัติตน เมื่อต้องใช้สารคลอร์ไพริฟอส 

ตามหลักเกณฑ์ของการป้องกันอันตรายจากสารเคมีทางการเกษตร 

- สวมถุงมือ

- สวมหน้ากาก 

- แต่งกายรัดกุม 

- ฉีดพ่นเหนือลม 

- ระวังไม่ให้สารเคมีเข้าตา จมูก และปาก 

- ชำระล้างร่างกายให้สะอาดทุกครั้งหลังการใช้สารดังกล่าว 

- ห้ามคนหรือสัตว์เข้าไปในบริเวณที่ใช้สารอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

 

ความเป็นพิษ : 

          ความเป็นพิษกับ ปลา ระมัดระวังการชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ 

          ความเป็นพิษกับ ผึ้ง  ห้ามใช้ในระยะที่พืชมีดอกกำลังบาน 

          ความเป็นพิษกับ ตัวห่ำ และ ตัวเบียน  ต้องใช้อย่างระมัดระวัง


สำหรับระยะปลอดภัยหลังการใช้สาร : 

          ต้องเว้นระยะเวลาก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังพ่นสารครั้งสุดท้าย 7 - 14 วัน เป็นอย่างน้อย

อันตรายในอาหาร :

อาการพิษทั่วไป 

          การตกค้างของสารเคมีชนิดนี้ เป็นอันตรายต่ออาหาร ประเภทอันตรายทางเคมี 

เมื่อได้รับทั้งทางปาก ผิวหนัง และสูดดม จะมีอาการคลื่นไส้ วิงเวียนอ่อนเพลีย 

กล้ามเนื้อหดตัว เป็นหย่อมๆ แน่นหน้าอก อาเจียน ท้องเดิน ตาพร่า น้ำลายออกมากกว่าปกติ 

อาการพิษรุนแรง 

          จะหมดสติ น้ำลายฟูมปาก อุจจาระ ปัสสาวะราด หายใจลำบาก และหยุดหายใจ

MRLs  ระดับสารพิษตกค้างในอาหาร ที่ห้ามเกินกำหนด

อาหาร                    MLRs (mg/kg)

กระเจี๊ยบเขียว                 0.1

กล้วย                             2

ข้าว                              0.1

เงาะ                             0.5

ถั่วลิสง                          0.5

ถั่วเหลือง                       0.05

ถั่วเหลืองฝักสด               0.1

ผลปาล์มน้ำมัน                0.05

พริก                              0.5

มะพร้าว                         0.05

มันเทศ                          0.05

ลำไย                            0.5

ลิ้นจี่                             0.5

หอมหัวใหญ่                   0.2

หอมแดง                        0.2

เนื้อวัว กระบือ แกะ           1 (ไขมัน)

เครื่องในโค กระบือ แกะ    0.01

เนื้อหมู                          0.02 (ไขมัน)

เครื่องในสุกร                  0.01

เนื้อสัตว์ปีก                    0.01 (ไขมัน)

เครื่องในสัตว์ปีก              0.01

ไข่                                0.01

น้ำนม                            0.02


Reference

ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นิธิยา รัตนาปนนท์

พิษวิทยา

ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา สารเคมีกำจัดแมลง 

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 

หมายเลขบันทึก: 670290เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2019 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2019 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท