สัมมนาด้วยรักและมิตรภาพเพื่อเป็นเกียรติในวาระครบ 60 ปี โชคชัย สุทธาเวศ


ความเป็นมา

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2562  คณะลูกศิษย์ และกัลยาณมิตรของอาจารย์โชคชัย สุทธาเวศ ได้ร่วมจัดงานสัมมนา “ด้วยรักและมิตรภาพเพื่อเป็นเกียรติในวาระ 60 ปี โชคชัย สุทธาเวศ” ณ ห้องประชุม อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ในประเด็น การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและผลงานวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่ก้าวหน้าและอริยรัฐ นำถกโดย ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง และร่วมถกโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวิชาการหลายท่าน ได้แก่ รศ.ดร.โกวิทย์ กังศนันท์ ศ.พิเศษอาบ นคะจัด  ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ศ.พิศิษฐ์จำเนียร จวงตระกูล รศ.ดร.ขัตติยา กรรณสูต และ ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในหัวข้อดังกล่าวเข้าร่วมฟังสัมมนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงแนวทางที่จะพัฒนาสังคมก้าวหน้าสู่อริยรัฐร่วมกัน

.ดร.บุญทัน ดอกไธสง

พวกเราเป็นญาติพี่น้องที่ต้องหลั่งเลือดและน้ำตาบนถนนราชดำเนินซึ่งเชื่อมโยงประชาชนกับองค์กรรัฐ

วันนี้เป็นวันสำคัญของดร.โชคชัย สุทธาเวศ ซึ่งเป็นนักศึกษานิด้าและเยอรมนีเหมือนอาจารย์จำเนียร

วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ได้มาร่วมอภิปรายกับผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน

ขณะนี้โลกกำลังเข้าสู่ยุค 4th Industrial Revolution เป็น 5G ไปแล้ว

ยุคนี้เน้น Empower to people มอบอำนาจให้ประชาชน ปัญหาตอนนี้คือ อำนาจรวมศูนย์

ควรนำความรู้และประสบการณ์จากมหาวิทยาลัยไปสู่การปฏิบัติผ่านกระบวนการ ซึ่งวันนี้เป็นการรวมกระบวนการคิดที่เจริญที่สุดของประเทศ

หวังว่า อาจารย์โชคชัยจะทำหน้าที่รับใช้ประชาชนต่อไป ค่าของคนควรอยู่ที่มวลมหาประชาชนที่เสียสละ

สภาต้องมาจากประชาชน

เราทำงานในฐานะลูกศิษย์พระพุทธเจ้า คือ คิดว่า ทำงานเพื่อประชาชนเป็นหลัก เรามองว่า ควรออกไปดูชุมชน

เราต้องบอกประชาชนว่า ต้องการให้ประชาชนได้รับ the second democracy ควรจะพูดความจริงกับประชาชน

อย่าให้นายทุนซื้ออำนาจเข้ามา มิฉะนั้นจะไม่เป็นการตอบสนองประชาชน

1.ประชาธิปไตยใหม่จะปลุกประชาชนให้ตื่น รับรู้ แก้สถานการณ์ ต้องนำประชาธิปไตยไปสร้างชาติ

2.ประชาชนต้องการ Integrity ต้องการการพึ่งพาซึ่งกันและกัน Interdependency ประชาธิปไตยปกป้องสถาบันต่างๆ ให้อยู่รอด

3.ประชาชนต้องการคนมีนวัตกรรม ตัดสินใจแบบมีจริยธรรม กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง

4.ประชาชนต้องการความโปร่งใส ไม่โกงรัฐ Roosevelt และ Voltaire กล่าวว่า กฎหมายไม่เป็นธรรม เป็นทรราชควรจะมีนักกฎหมายที่ปฏิบติตามกฎหมาย

5.ในยุคใหม่ คนไม่ต้องการรัฐบาลตัวตลก แต่ต้องการผู้นำที่เฉลียวฉลาดแบบ Macron และสีจิ้นผิงที่สุขุมและทำงานเพื่อชาติ

ดร.โชคชัย สุทธาเวศยังคงต้องทำงานต่ออีก 30 ปี ขอถามว่า พวก 14 ตุลาอยู่ที่ไหน และจะทำอะไรให้ชาติ

ประเทศไทยควรเป็นแบบ Second Democracy

สิ่งสำคัญคือ

1.เข้าใจหลักชีวิต ไม่เบียดเบียน เคารพสิทธิมนุษยชน ไม่ฆ่ากัน

2.ไม่ลักทรัพย์ ถือเป็นหลักเศรษฐกิจ ไม่ลักของหลวง ไม่ทุจริต ไม่โกง

3.หลักครอบครัว บอกลูกหลานให้เข้าใจประชาธิปไตย ครอบครัวเข้มแข็งนำไปสู่สังคมที่เข้มแข็ง

4.หลักสังคม ไม่โกหก เราต้องรู้ว่า ทำเพื่อประชาชน ประชาชนต้องร่วมรู้และใช้อำนาจ ต้องยอมรับความจริงว่า สิ่งที่อยู่กับเราไม่ใช่ของเรา ต้องทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นมากๆ

5.หลักสุขภาพ ไม่กิน ไม่สูบ ไม่ดื่ม คนฝรั่งเศสกล่าวว่า ถ้าต้องการอายุยืน ต้องผอม (Stay skinny)

ดร.ทรงวุฒิ ชนะภัย

สิ่งที่อาจารย์บุญทันบอกคือ ต้องยึดศีล 5 เป็นหลัก ท่านกล่าวถึงนโยบายสาธารณะ โดยต้องมีกลุ่มประชาชน มองภาพรวมเศรษฐศาสตร์ มองแรงงานและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

รศ.ดร.โกวิทย์ กังศนันท์

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์โชคชัยที่ได้มาอยู่ในที่ที่มีจิตวิญญาณการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยให้สังคมก้าวหน้าไปรับใช้มนุษย์

ขอชื่นชมอาจารย์บุญทันที่ชี้ว่า ประเทศไทยวิกฤติด้านใด และระดมความคิดจากหลายภาคส่วนเพื่อปูพื้นไปสู่อนาคต

ผมและอาจารย์โชคชัยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมานาน ได้รู้จักอาจารย์โชคชัยตั้งแต่สอนที่นิด้า และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันมากในขบวนการแรงงาน

สังคมไทยต้องให้ความสำคัญต่อประเทศให้มาก และแรงงานก็มีความสำคัญทำให้สังคมไปสู่ความก้าวหน้า

ผมเคารพอาจารย์โชคชัยในด้านต่อไปนี้

1.ด้านอุดมการณ์สูง อาจารย์โชคชัยคลุกคลีกับแรงงาน มีความอดทน เชื่อมั่นในอุดมการณ์  ทำให้อาจารย์โชคชัยได้รับการยกย่อง มี Commitment และอุดมการณ์ นอกจากนี้ มีอาจารย์ชาวเยอรมันมาสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และช่วยร่างหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และนิด้า ทำให้สังคมไทยได้เรียนรู้การพัฒนาสังคม โดยเฉพาะกระบวนการแรงงาน ทำให้ผมสนิทกับอาจารย์โชคชัย

2.ด้านความจริงใจและการเคารพฐานะมิตรสหาย พยายามลงเรือลำเดียวกันไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

วันนี้ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นผู้ร่วมอภิปราย

ในเอกสารประกอบการสัมมนา ผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เรามักกล่าวถึงความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ ตลอดระยะเวลาการพัฒนาประเทศไทยในรอบ 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีความเหลื่อมล้ำที่ลึกและกว้างมาก

Public Governance ธรรมาภิบาลภาครัฐเป็นประเด็นสำคัญของสัมมนาวันนี้ ตอนนี้ เรามองข้ามแนวคิดสำคัญคือ Public Governance เรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและผลประโยชน์

Public Governance จะเน้นหลักการความจำเป็นที่เปลี่ยนแปลงสังคมไทยเดิมที่ถูกครอบงำโดยอำนาจของกลุ่มทุนและผลประโยชน์ ถ้ามองธรรมาภิบาลต้องเน้นการกระจายอำนาจ ประชาชนต้องมีสิทธิปกครองตนเองมากขึ้น

ผมทำวิจัยนี้มี 4 ขั้นตอน

1.Rural Development Research การอยู่ชนบทและโครงการต่างๆจะได้ทราบว่า มีความล้าหลังในการพัฒนาอย่างไร และจะพัฒนาให้ยั่งยืนได้อย่างไร พบว่า การพัฒนาชนบทมักถูกครอบงำโดยระบบราชการที่มีแผนครอบวิธีคิดของชุมชน สิทธิในชนบท ควรพัฒนาหน่วยราชการเพื่อให้สังคมก้าวหน้า

ที่กระทรวงเกษตรมีการทำวิจัย พบว่า ประเทศไทยพัฒนาอุตสาหกรรมมาโดยตลอด มองข้ามเรื่องสังคมเกษตร แล้วสังคมเกษตรจะปรับตัวอย่างไร

อีก 2 ปี มีการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงเกษตร ปรากฏว่า นักการเมืองรับเรื่องแรงงาน แต่ไม่พัฒนาทิศทางกระทวงเกษตร ถือว่า เป็นบทเรียนสำคัญของประเทศไทย

จากบทเรียน ก็ได้ไปทำงานนโยบายให้กพ. กพร. ช่วยงานคณะกรรมการกระจายอำนาจ ถ้าเปลี่ยนแปลงนโยบาย การขับเคลื่อนสังคมจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชน

เวลาคนไทยไปต่างประเทศ มองเห็นความมั่นคงในชีวิต แตกต่างจากประเทศไทย ไม่เรียกร้องเรื่องคุณภาพชีวิต คนไทยจึงขาดความมั่นคงในชีวิต อยู่ในความเสี่ยง

จากการที่ช่วยงานกพ และกพร. ทำแล้วไม่ได้รับการตอบสนองจากภาคกรเมือง ผมมีบทบาทวิพากษ์สังคมมากกว่าขับเคลื่อนสังคม

รัฐต้องทำงานแบบคนดูแลและเป็นนายท้ายด้วยมากกว่าทำทุกอย่าง

ราชการกลายเป็นพรรคใหญ่ในประเทศ  ฉุดรั้งประชาธิปไตยไม่ให้ก้าวหน้า

ในเรื่องการปฏิรูประบบราชการ สถานภาพ พ.ร.บ.ไม่มีการปฏิรูป กองทัพมีคนมาก ไม่มีการจำกัดขนาดกองทัพ คณะทำงานที่ดูแล Judicial Review ก็ดูว่า กฎหมายใดควรมีการปรับปรุงเรื่องใด แต่ก็ทำได้น้อย

2.การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง Public Governance นั้นล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม

3.การสร้าง Network รัฐไม่กระจายอำนาจและไม่ทำงานเป็นเครือข่าย

4.สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน อมาตยา เซนกล่าวว่า แม้มีกฎหมายดี แต่ไม่สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้ประชาชน โอกาสเกิดความเท่าเทียมในสังคมจะมีน้อย

ต้องวิจัยหาทางออกให้สังคมเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ศ.พิเศษอาบ นคะจัด 

สิ่งสำคัญคือ ต้องมีประชาธิปไตยในบ้าน

มนุษย์ต้องมีมนุษยธรรมคือ ศีล 5

คนเราไม่มีการเกษียณ มีงานตลอด ต้องดูแลตนเองให้ดี

ในมรรค 8 มีข้อสัมมาอาชีวะ ต้องดูแลร่างกายให้ดี อย่าผอมอย่างเดียว

ในด้านการเมือง เปลี่ยนรัฐบาลดีกว่ารัฐประหาร ถือเป็นหลักการของโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

โอกาสแบบนี้มีไม่บ่อยนัก

อาจารย์โชคชัยได้เคยทำงานอยู่กับอาจารย์นิคม จันทรวิทุร ตอนที่อาจารย์นิคมมาช่วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำกฎหมายประกันสังคม  ตอนนั้นอาจารย์โชคชัยยังไม่ได้เรียนปริญญาเอก

ตอนหลัง อาจารย์โชคชัยเชิญผมไปบรรยายที่มูลนิธินิคม จันทรวิทุร และช่วยงานที่มหาวิทยาลัยมหิดล

กว่าที่จะออกกฎหมายประกันสังคมได้ ก็ต้องต่อสู้มาก  นายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วย

ผมประทับใจอาจารย์โชคชัย

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์โกวิทย์ว่า สิ่งที่ควรแก้ไขคือ ความสำคัญของพรรคราชการ เพราะโตเกินไปแล้วก็ไปร่วมมือกับนายทุนใหญ่ ควรลดบทบาทความสำคัญลงเพราะฮั้วการเมือง

สมัยรองนายกรัฐมนตรีสุนทร หงส์ลดารมภ์ งบประเทศมี 8 พันล้าน แต่ปัจจุบัน งบประเทศมี 3 ล้านล้าน

เกิด Inflation ภาครัฐ และเกิดความโลภจากทุนนิยมสามานย์

ตอนนี้ คนรวย  50 ล้าน ก็ไม่ถือว่า รวยแล้ว

อย่าปล่อยให้ความโลภออกสื่อ

เห็นด้วยกับอาจารย์โกวิทย์และอาจารย์บุญทันว่า เราต้องช่วยกัน พวกเราต้องรวมตัวกันและเข้าไปปฏิรูป

ควรเป็นประชาสังคม (Civil Society) แบบสแกนดิเนเวียที่มีงบดูแลองค์กรอิสระ

โครงการต่างๆควรผนึกกำลังกันทำเป็นเครือข่าย

ประชารัฐพลาดเพราะผนึกกำลังกับแค่ภาคเอกชน

ประเทศไทยต้องมีนักวิชาการที่มีความรู้จริงด้านการพัฒนาชนบท

ทุกอย่างที่ทำ ต้องยึดหลัก 2 อย่างคือ ต่อเนื่องและเน้นความจริง

อีกสิ่งที่ควรทำคือปรับ Mindset นำข้าราชการที่ดีมาเป็นตัวอย่าง

กพ.และสำนักนายกรัฐมนตรีให้ผมฝึกข้าราชการเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

การพัฒนาทุนมนุษย์ต้องทำทุกจุด

เอกสารของผมตอบโจทย์อาจารย์โชคชัยคืออริยรัฐ ประเทศไทยต้องไปในทางที่ดีขึ้น ช่วงแรกที่ผมทำเราเข้าจากเกษตรไปสู่อุตสาหกรรมยุคแรก rural urban มีการลงทุน คุณสถาพรเถียงผม ถ้าให้ tax incentive น่าจะมีสัญญา transfer technologyวันนี้ระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมไทยเราไม่ได้เพิ่มทักษะคนมันเป็นทัศนคติต้องปรับตัวมาก ไม่ได้ขาดคนมีความสามารถแต่กระทรวงศึกษารวมศูนย์เงินอยู่ในสพฐ. ประเทศไทยเจอปัญหาตอนที่ควร transfer เทคโนโลยีเราก็ไม่ได้ทำ จีนฉลาดต่อรองเป็น

ถ้าเราไม่มีสุขภาพดี ก็อยู่ไม่ได้ ต้องรวมพลังให้ทุนมนุษย์เรากระจายไปต่างจังหวัด ให้คนได้โอกาสมาช่วยงานรัฐ ต้องมีงบ ถ้าช่วยกันได้วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการรวมพลังกัน

ผมไปพบคุณหญิงกัลยา เจอปัญหาระบบราชการทำอะไรไม่ได้หลายอย่าง

ผมเคยปรึกษาปูนซิเมนต์ไทย พบคุณพารณ ท่านบอกว่า อย่ามองคนเป็นแค่ปัจจัยการผลิต แต่ต้องเชื่อว่า คนสำคัญกว่าอย่างอื่น ผมเชื่อตลอด

วันนี้เราต้องร่วมมือกัน

ขอชื่นชมความกตัญญูของอาจารย์โชคชัย

ผมได้ดีเพราะอาจารย์นิคมให้เกียรติ

ดร.ทรงวุฒิ ชนะภัย

เราต้องมี

Skill

Knowledge

Attitude

Opportunity

ต้องเน้นความต่อเนื่องและความจริง

ความร่วมมือทุกคนเชื่อมโยงกับอาจารย์บุญทันในเรื่องความเป็นประชาธิปไตย

ศ.พิศิษฐ์จำเนียร จวงตระกูล

ผมและอาจารย์โชคชัยรู้จักกันมานาน ทำงานร่วมกันหลายอย่าง เช่น วิจัย ปัจจุบันก็ยังประสานกันโดยเฉพาะด้านการศึกษา ผมโชคดีสุด ทั้ง 3 ท่านที่พูดก็เป็นกระบวนการที่ผ่านมา ผมก็ผูกติดกับกระบวนการเหล่านั้นผมเคยเป็นชาวนา กรรมกร 5 บาท โตขึ้นเป็นผู้บริหารทำงานบริษัทข้ามชาติและเรียนด้วย

ประเด็นสำคัญคือความเหลื่อมล้ำผม ผ่านความเหลื่อมล้ำมา

1. แรงงาน ผมมาจากแรงงาน ผมก็เป็นตัวแทนสภาที่ปรึกษา ทำประกันสังคม รับใช้อาจารย์นิคมด้วย คนคิดว่า ผมอยู่ฝั่งนายจ้างเนื่องจาก background มาจากแรงงาน เข้ากับสหภาพลูกจ้างและนายจ้างได้ ประสานทุกฝ่ายเข้าหากัน

2. ประเด็น

2.1 แรงงานคือ การเมือง แรงงานขาดการเมืองไม่ได้ ขบวนการแรงงานตอนหลังแทบไม่ได้ยิน

สหภาพแรงงานเป็นรากฐานประชาธิปไตย มีการบริหารโดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก

ขณะนี้สหภาพถูกจำกัดการเคลื่อนไหว เช่น บริบทการเมือง บริบทโลกเปลี่ยนอาจทำได้หลายอย่างวิธีเดิม ต้องเปลี่ยนแปลง ผมเสนอ 12 กลยุทธ์ในเอกสารประกอบการสัมมนา อยากให้ผู้นำแรงงานมีบทบาทการเมืองมากขึ้น เราจะผ่านพรรคการเมือง นำความรู้จากของจริงไปสู่การแก้ปัญหาและปรับกฎหมาย

พรรคแรงงานจำเป็นต่อประเทศไทยต้องรื้อฟื้นสานต่อสร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมีบทบาทในสังคมมากขึ้น

2.2 ผมเข้าสู่วงวิชาการประมาณ 10 ปี ทำงานจากรากหญ้า เป็นคนงาน 5 บาทขึ้นเป็นผู้บริหาร ผมเข้าใจทุกฝ่าย ผมเป็นผู้ประสานทุกฝ่ายและองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ต้องมีการวิจัย ผมทำวิจัยเชิงปริมาณตลอด ผมทำงานกับอาจารย์จีระที่สถาบันทรัพยากรมนุษย์ ต้องสร้างสมดุล วิจัยเราเน้นเชิงปริมาณมากเกินไป ปัญหาคือ เน้นทฤษฎีต่างชาติ นักวิจัยตั้งคำถามและตอบเองและขอคำตอบจากประชาชน ผมไม่เชื่อว่า เป็นคำตอบ แต่เป็นแค่คำตอบของนักวิจัย ควรเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดึงความรู้ Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge แล้วทดสอบวิจัยเชิงปริมาณ นำปราชญ์ชาวบ้านแต่ละชุมชนมาให้นักศึกษาปริญญาเอกขุดความรู้แล้วจะได้ความรู้ของไทยนำความรู้มาแก้ปัญหา

2.3 Advocacy ผมอยู่แรงงาน พบว่า มีความเหลื่อมล้ำ ต้องมีตัวแทน อัยการ นักวิจัยมาตีแผ่สิ่งเหล่านี้ เราต้องปรับ Paradigm มาลดความเหลื่อมล้ำ ทำเป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ

2.4 Participatory ในเรื่อง Action Research ควรใช้ Pragmatic Paradigm เชิงปฏิบัติควบคู่กันไป เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้ไทยก้าวหน้า ไม่ควรใช้วิจัยแบบเดิม

2.5 ผมเคยวิเคราะห์ไว้ในหนังสือ The Strike เราเดินตามตะวันตก ตอนนี้ตะวันตกหันมาหาตะวันออก แต่เรายังตามเขา ในอนาคต ตะวันตกจะมาสอนภูมิปัญญาตะวันออกแก่เรา เราควรหยุดตามแล้วเริ่มใหม่ เราจะนำหน้าเขา

แรงงานและเกษตรกรไม่มีตัวแทนผ่านนักวิชาการและงานวิจัยเพื่อนำชีวิตพวกเขามาตีแผ่แก้ปัญหา

สหภาพต้องปรับตัวมากรูปแบบอาจเป็น E-trade Union อาจเป็น Virtual Strike เช่นใน IBM

อยากให้กระบวนการแรงงาน Active อีก

รศ.ดร.ขัตติยา กรรณสูต

รู้จักอาจารย์โชคชัยย้อนหลังมา 30 ปี ปอเต็กตึ้งทาบทามดิฉันไปเปิดหลักสูตรปริญญาที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเราพยายามหาทีมงานที่ตั้งใจจริง เราประกาศรับสมัครอาจารย์ มีคณะกรรมการเลือกอาจารย์ ที่เขาประทับใจมากที่สุด คือ อาจารย์โชคชัย พูดช้าสุด ชัดสุด น้อยสุด แสดงว่า เป็นคนคิดก่อนพูด ต้องการครูที่ตั้งใจถ่ายทอด

ส่วนแรก ความเป็นครูของอาจารย์โชคชัย

ส่วนที่ 2 ความเป็นนักขับเคลื่อนของอาจารย์โชคชัย

ก่อนขับเคลื่อนต้องทำการศึกษาวิจัยก่อน

ตอนแรก อาจารย์โชคชัยได้รับเลือกเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวสอนเรื่องสวัสดิการแรงงานและนโยบายสาธารณะรวมถึงผู้เปราะบางในสังคม

อาจารย์โชคชัยได้รับเชิญให้สอนเรื่องการพิทักษ์สิทธิผู้ใช้แรงงานเพราะเป็นผู้รู้จริง

เรามีเป้าหมายร่วมกันคือ ยึดนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง

ลักษณะการทำงาน มีนักเรียนไม่มากเรียนปริญญาโทและปริญญาเอก ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทำให้ศึกษาตัวลูกศิษย์ได้ชัดขึ้น

ใช้หลัก 4C ในการสอน

1. Critical Thinking and Problem Solving อาจารย์โชคชัยใช้มาก ต้องสอน มีคะแนนเป็นสัดส่วนมากที่สุด

2. Creativity เชื่อมโยงนวัตกรรม ใช้มาก สอนนักศึกษาคิดนอกกรอบ สอนให้ศิษย์คิดล้างครู อาจารย์โชคชัยทำได้ดีมาก ครูก็มีคุณธรรมปลูกฝังลูกศิษย์ ฟูมฟักให้ลูกศิษย์โต

3. Communication ตอนนั้นเทคโนโลยียังไม่ทันสมัย เราใช้ระบบ Face-to-face คุยกันซึ่งหน้าทำให้ได้เรียนรู้หลายอย่างสมัยนี้ต้องเปลี่ยนไปมาก

4. Collaboration ความร่วมมือสองทาง ทั้งให้และรับในทุกเรื่องที่ทำได้ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนต้องให้ความร่วมมือกับผู้อื่น อาจารย์โชคชัยประสบความสำเร็จด้านความเป็นครูมาก ต่อมาก็ได้ไปทำงานที่มหาวิทยาลัยมหิดล

ส่วนที่ 2 อาจารย์โชคชัยคือนักขับเคลื่อนสังคมโดยใช้งานวิจัย ทุกวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี อาจารย์โชคชัยถือธงนำสหภาพ สมาพันธ์แรงงานไม่สนใจว่ารัฐจะชอบหรือไม่และเรื่องนี้ก็ไม่น่าจะหมดไปจากตัวท่าน

ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ

รู้จักอาจารย์โชคชัยผ่านอาจารย์นิคม หลายคนมีโอกาสร่วมงานและปะทะกันทางความคิดกับท่านโดยมีอาจารย์นิคมเป็นจุดเชื่อมท่านเป็นอดีตอธิบดีกรมแรงงานอุทิศตัวให้เกิดสวัสดิการสังคมในประเทศเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ผมเป็นหนึ่งในผู้นำนักศึกษาที่ร่วมผลักดันประกันสังคมช่วงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์และพลเอกชาติชาย ชุณหะวันจึงรู้จักอาจารย์โชคชัย อาจารย์นิคม อาจารย์แล อาจารย์ณรงค์ เพชรประเสริฐที่เป็นจุดเชื่อมสัมพันธ์การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาการเปลี่ยนแปลงสังคมทำให้สังคมก้าวหน้า

3 ปีที่แล้วผมทำวิจัยร่วมกับอาจารย์โชคชัยประเมินผลเงินทดแทน

โจทย์ในอนาคตสำคัญ สวัสดิการเผชิญปัญหา เช่น ความยั่งยืนประกันสังคมและสวัสดิการสังคม ข้อจำกัดฐานะการคลังและความจำเป็นมากขึ้นในการจัดสวัสดิการและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ความพร้อมของประเทศไทยควรจะเป็นระดับเดียวกับมาเลเซีย เกาหลีใต้และญี่ปุ่นมานานแล้วถ้าประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

บทความผมเล่มนี้พูดถึงอาจารย์โชคชัย

ดรปรีดีผลักดันเค้าโครงเศรษฐกิจหรือแผนเศรษฐกิจที่เป็นรูปร่างในประเทศไทยยุคใหม่แต่ถูกแรงต้านจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมหลายเรื่อง แต่ก็ได้ทำในปัจจุบัน เช่น การปฏิรูปที่ดิน ภาษีที่ดิน ระบบประกันสังคมสอดคล้องกับการที่เสนอว่า รัฐเสนอให้ประชาชนมีรายได้ขั้นต่ำ วันนี้เรามีปัญหาการจัดเก็บภาษีโดยเฉพาะไม่สามารถเก็บภาษีจากธุรกรรมออนไลน์และเป็นเรื่องที่จะเก็บมากขึ้น

ช่วงแสดงความคิดเห็น

คนที่ 1 ประสิทธิ์ อดีตกรรมการสหภาพแรงงานกฟผ.

ขอขอบคุณผู้ดำเนินรายการและวิทยากรเรามีผู้เชี่ยวชาญมาพูดต่อยอดโอกาสแบบนี้หายากแต่ละคนมีประสบการณ์มาก

แล้วก็ที่เราพูดถึงประกันสังคม ผมก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่างประกันสังคมฝ่ายแรงงานก็ประสบความสำเร็จรุ่นพลเอกชาติชาย

เวทีนี้ดร.บุญทันพูดว่า เป็นเวทีที่มีความหมาย มีกระบวนการประชาธิปไตยที่ประชาชนสละชีวิต

การพูดของวิทยากรทุกท่านชี้ว่า การสร้างประชาธิปไตยเชื่อมโยงกับทุกส่วน

ผมมีประสบการณ์ ถ้าถ่ายทอดงานนี้สร้างสำนึกให้สังคมก็จะดี

ที่อาจารย์จีระพูด เวลาพรรคราชการ เขามีบทบาทจากรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตย เช่นเลือกตั้ง 4 ปีตามกำหนด บทบาทพรรคราชการก็จะลดถ้าเป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ข้าราชการเป็นกลไกของรัฐบาล

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

อันนั้นเป็นไปได้ ประชาธิปไตยต้องใช้เวลาและเงิน คนที่เข้ามามีปัญหาความไม่โปร่งใส คนกลางต้องช่วยกัน ถ้าเราหากลุ่มดีๆเป็นตัวอย่าง อาจทำปฐมนิเทศให้คนมีคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง

ระดับสูงมักมี Connection เช่น วปอ.

ถ้าไม่มีแรงกดดันเพิ่ม อาจจะกลายเป็นแหล่งหาเงิน ตอนนี้คอรัปชั่นเป็นนโยบาย อาจารย์จำเนียรอาจนําวิจัยปรับ mindset คนรุ่นใหม่ที่ทำงานราชการให้เข้าใจตนเอง สร้างแรงบันดาลใจ คิดถึงความจริง ต้องมีตัวเสริม

สแกนดิเนเวียให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

คนที่ 1 ประสิทธิ์ อดีตกรรมการสหภาพแรงงานกฟผ.

ผมมีส่วนร่วมกิจกรรมกับอาจารย์โชคชัยมานาน ผมมีส่วนร่วมขับเคลื่อนขบวนการแรงงานและการเมืองได้เรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

หลังจาก 60 ปีไป อาจารย์โชคชัยก็ต้องถือธงต่อ ท่านยังทำประโยชน์ได้อีกมาก

รศ.ดร.โกวิทย์ กังศนันท์

พรรคราชการต้องไปดู Weber ต้นคิดราชการ เขากังวลว่า การโตของราชการอยู่บนสังคมก้าวหน้า การโตของราชการมีอำนาจแล้วริดรอนสิทธิ์จากประชาธิปไตย การเติบโตของระบบราชการเป็นที่กังวล ประเทศที่ก้าวหน้าเป็นประเทศที่กระจายอำนาจท้องถิ่นมากขึ้น

ต้องทบทวนอำนาจราชการว่า มีปัญหาวิกฤติหรือไม่ ชีวิต การเมืองมีการเปลี่ยนแปลงจากการเลือกตั้ง

ราชการมีแต่สะสมอำนาจคอรัปชั่น เล่นพวก ทำให้ประเทศไทยถูกครอบโดยราชการ อำนาจรวมศูนย์ยากที่จะลดเพราะเป็นการตัดงบและทรัพยากร เป็นวาระแห่งชาติต้องกระจายอำนาจให้ประชาชนมาตรวจสอบราชการมากขึ้น

ขอฝากให้ทำวิจัยการกระจายอำนาจราชการให้เป็นอำนาจสังคมมากขึ้น

คนที่สอง คุณโกวิท อดีตทูตแรงงาน

ผมเป็นเพื่อนร่วมสมัยของอาจารย์โชคชัย ติดตามงานมาตลอด

สัปดาห์ที่แล้วไปเวียดนาม เห็นป้ายว่า ILO เป็นสปอนเซอร์ เน้นความเป็นธรรมในสังคม เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 1919 แล้วเติม Decent Work ยังมีช่องว่างไม่กล้าไปไหน เป็นห่วงอาจารย์โชคชัยยังจะต้องพบกับความท้าทายอีกมาก อาจารย์โชคชัยพยายามหาทางแก้ไข ปริญญาเอกของท่านเน้นระบบแรงงานทางสายกลาง ระบบราชการไม่เอื้อให้เปลี่ยนแปลง

ราชการวางกติกาแต่เป็นหน่วยที่ช้าที่สุดในการนำการเปลี่ยนแปลง

ปัญหาคือ ไปลอกอนุสัญญาระหว่างประเทศแบบฉาบฉวยเน้นแต่ social security ไม่มองว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง ILO เน้น Individual

เริ่มศตวรรษใหม่ มี Disruption มากเข้ามาเกี่ยวข้อง มีคนบอกว่า 20 ปีที่แล้วจะมี Digital Gap เราจะเจอสิ่งท้าทายได้อีกมาก unpredictable ขอฝากนักวิจัยรุ่นใหม่ทบทวนอีก 100 ปีก็พูดเรื่องความยั่งยืนอีก

คนที่ 3 ดร.อดิเรก วัชรพัฒนากุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ได้ keyword คือ civil society และสหภาพแรงงาน

สังคมขาดที่พึ่งและขาดหนักขึ้น คนรอดูว่า จะเกิดอะไรขึ้น ขาดคนแสดงบทบาท

ตอนเด็ก พ่อแม่เป็นที่พึ่งเราได้ โตขึ้นมา พ่อแม่ก็พึ่งไม่ได้

กรณีมีเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ทำให้กระบวนการมีปัญหา แม้มีอุดมการณ์ ก็เจ็บตัวเอง

สังคมจะพึ่งอะไรถ้าพึ่งราชการไม่ได้

civil society อาจเป็นที่พึ่งให้ได้แต่จะเป็นระบบอะไร

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

ผมได้เคยคิดเรื่องประกันสังคม civil society

รัฐบาลต้องคิดอยู่แล้ว ผมไม่มีตำแหน่ง ถ้าผมมีบทบาทช่วยเปลี่ยนแปลงประเทศ อาจจัดแบบนี้ทุกสัปดาห์ได้ประสบการณ์สะสม

เพื่อยกย่องอาจารย์โชคชัย เราประสานกันได้แล้ว ผมอาจจะตั้งกลุ่มเป็นกลุ่มเล็กๆ การวิจัยต่อก็ทำได้แต่ต้องเน้น action มากขึ้น แล้วต้องแก้งานจึงสำเร็จ วันนี้ต้องสอนให้เด็กแก้ปัญหาเป็น 2R’s ผมอยากสร้างคุณประโยชน์ในสิ่งที่ผมทำ อาจไปสู่ action ที่ทำงานร่วมกัน

นักศึกษาปริญญาเอกต้องออกไปลงชุมชนให้มากขึ้น

คนที่ 3 ดร.อดิเรก วัชรพัฒนากุล อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

จุดที่ทำให้สหภาพเกิดลำบากเพราะรัฐบาลควบคุม คนมีบทบาทสำคัญก็อาจถูกลิดรอนอำนาจ ที่พึ่งของสหภาพคืออะไร

ศ.พิศิษฐ์จำเนียร จวงตระกูล

ผมได้เขียนไว้ในเอกสารสัมมนาแล้วครอบคลุมทุกด้าน

สหภาพปัจจุบันอยู่แบบเดิมไม่ได้อาจเป็น E-trade union ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เปลี่ยนวิธีการรับใช้สมาชิก

Social enterprise เป็นแนวทาง

ผมสัมภาษณ์อาจารย์ไพสิฐตอนปริญญาเอก อาจารย์ไพสิฐมีความสำคัญด้านแรงงานพยายามจะเปลี่ยนแปลงสภาที่ปรึกษาฯ เป็นสถาบันแรงงานต้องปรับ paradigm เพราะถูก disrupt

มีจุดสำคัญ 2 จุด

1. เป็น bottom-up ล่างขึ้นบน ลด gap

2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วม สหภาพก็เป็นแบบนี้ แล้วต้องมีเอเย่นเชื่อมต่อ ผมเขียน 10 network ใน Union เชิงปริมาณ แต่เชิงคุณภาพ ลงพื้นที่เข้าหาคน Reality เริ่มจากการมีส่วนร่วมแบบกลุ่มเล็กๆ

รศ.ดร.โกวิทย์ กังศนันท์

เราจะพึ่งใคร

ระบบธรรมาภิบาลต้องพึ่งตนเอง พื้นที่สังคมเริ่มจัดสรรให้สมดุลมากขึ้น สังคมธรรมาภิบาลเน้นความสมดุลรัฐบาล ตลาด civil society

ชุมชนไม่มีอำนาจ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมกำหนดทิศทางนโยบาย เราถูกแบ่งแยกแล้วปกครองทำให้อำนาจรัฐเข้มแข็ง

Civil society ต้อง Liberate และปกครองตนเอง

กทม.ถูกปกครองโดยผู้รับเหมาสร้างหมู่บ้านไว้ การปกครองเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ไม่เห็นในระดับชุมชนที่ใหญ่ขึ้น ต้องสร้างชุมชนเข้มแข็งและปกครองตนเองได้ ต้องร่วมกันสร้างนโยบาย Co-creation มีส่วนร่วมตรวจสอบ ซึ่งตรงนี้ประเทศไทยขาด

ศ.พิเศษอาบ นคะจัด 

นับถืออาจารย์โชคชัยที่ไม่เอาความโง่เป็นระเบียบในการดำเนินชีวิตเพราะทำคุณประโยชน์แก่สังคม

คนที่เอาความโง่เป็นระเบียบคือคนที่ทำตามแบบเดิม

ประเทศไทยขาดการประเมินผลการใช้งบประมาณ

คนที่ 3 คุณวัฒนา เอี่ยมบำรุง

ระบบเสรีนิยมใหม่มีปัญหา

ขณะที่เราพูด ประเทศไทยก็มีช่องว่างที่กว้างขึ้นมีทุนต่างประเทศเข้ามาสร้างช่องว่างมากขึ้น จะถึงจุดอันตรายจุดไหน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ 

เป็นการลงทุนมนุษย์

นายกรัฐมนตรีประยุทธ์มีองค์กรอิสระ ตั้งกองทุนไปเช็คเด็กยากจนแต่สมองดีให้ทุนเรียน STEM

ถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็จะมีคนมีความสามารถ เราต้องอุดหนุนคนจนให้เขาได้เรียนได้มากกว่าเดิม

ภาษีปีหน้า คนที่มีบ้านเกิน 50 ล้านต้องเสียภาษีมากขึ้น

รศ.ดร.ขัตติยา กรรณสูต

อาจารย์โชคชัยคงถือธงนำตลอด

ต้องการกระจายคนถือธงให้กว้างขวางทั่วประเทศ อาจถ่ายทอดความรู้ให้กว้างขวาง

ถึงเวลาที่ที่รวมพลังกันได้

อาจารย์โชคชัย

ในนามของผู้ที่เป็นเจ้าของโอกาสคือการครบอายุ 60 ปีก็ต้องขอขอบพระคุณคณะวิทยากรทุกท่าน ครูบาอาจารย์ของผมด้วยและเป็นมิตรร่วมทำงานด้วยถือว่ามีคุณค่าทุกท่าน ได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเรา

โดยส่วนรวมแล้วก็สิ่งที่ท่านให้ช่วยทำต่อไปจะขอนำไปพิจารณาว่าจะไหวไหม ท่านอาจารย์ขัตติยากรุณาให้เกียรติผมถือธงนำการเคลื่อนไหวด้านแรงงาน ท่านยกตัวอย่างเดือนพฤษภาคมของทุกปี ท่านพูดไปในเชิงอุปมาอุปไมยแต่ผู้นำแรงงานหลายท่านบางปีอาจไม่เห็นผมเลย  เราใช้ช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีจัดกิจกรรมเชิงปัญญาขึ้นทุกครั้งที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการระดมสมองเป็นการนำทางความคิดให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมพี่จะต้องทำต่อไปแล้วก็กระจายให้มากขึ้นในยุคสังคมดิจิตอล

หัวข้ออริยรัฐเป็นเรื่องที่สูงเป็นคำทางพุทธด้วย จะเป็นรัฐที่มีความเป็นพิเศษ ทุกคนร่วมกันสร้างสรรค์สังคม แม้จะมีความขัดแย้งแต่ไม่ถึงขั้นทำลายล้างกัน แต่เราปรับเปลี่ยนเข้าหากันจนสังคมลงตัว

ขณะนี้เราอยู่ประชารัฐ อย่างน้อยก็มีสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นหัวใจสำคัญคือการทำให้ประชาชนได้รับการสนับสนุน แม้มีนโยบายสาธารณะแต่ก็ไม่เพียงพอ มีหลายคนเรียกร้องสวัสดิการรัฐหรือรัฐสวัสดิการเป็นอีกขั้นหนึ่งที่ก้าวข้ามไปมากกว่าประชารัฐ ประชารัฐนำความคิดและสวัสดิการมาใช้บางส่วน รัฐสวัสดิการกว้างขวางกว่านั้น แรงงานต้องมีผลิตภัณฑ์ที่สูงจึงจะมีเงินมากพอที่จะมาทำรัฐสวัสดิการ ถ้าเราไม่มีตรงนั้นสวัสดิการแห่งรัฐก็จะตั้งอยู่ได้ไม่นานแล้วก็กลายเป็นรัฐสังคมสงเคราะห์ในที่สุด

ขั้นต่อไปที่สูงขึ้นกว่าของรัฐสวัสดิการเรียกว่า อุดมรัฐ เหมือนที่เพลโตให้ความหมายว่า เป็นรัฐที่มีความอุดมสมบูรณ์ อุดมรัฐเป็นมากกว่าสาธารณรัฐ Republic

เราอาจจะต้องเรียนรู้จากต่างประเทศให้มากขึ้น บรูไนเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่เป็นประชาธิปไตยช่วงสั้นๆเมื่ออังกฤษออกไป แล้วก็ไปไม่รอด

อีกที่หนึ่งก็คือ มาเลเซียมีระบบกษัตริย์หมุนเวียนกันตามตัวแทนของรัฐย่อยๆ

สิงคโปร์เป็นสาธารณรัฐที่ก้าวหน้าที่มีระบบการจัดการดัดแบบใหม่สถาบันมีการเปลี่ยนแปลง

เราจะต้องศึกษาภูมิปัญญาไทยให้เข้าใจชัดเจนแต่เราก็ต้องศึกษาประเทศอื่นๆคู่กันไป

ผมได้ไปถามเรื่อง ระบบราชการจากศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กว่า ความคิดของ Max Weber ที่ยังมีประโยชน์ต่อทุกวันนี้มีอะไรบ้างที่ชาวยุโรปยังคลั่งไคล้และใช้อยู่ ท่านตอบว่า ความนิยมชมชอบระบบราชการแบบ Max Weber ได้หายไปมากแล้ว แต่สิ่งที่เขาพยายามจะทำก็คือเป็น New Weberianism คือ Max Weber ใหม่ แสดงว่า มีการปรับตัวของแนวคิด และสิ่งที่เขาต้องการจะสร้างสรรค์สังคมในยุโรปคือ เป็นรัฐแบบใหม่ที่ระบบราชการมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง ระบบราชการใกล้ชิดประชาชน การสร้างภูมิปัญญาแห่ง Max Weber ก็คือ จะต้องเข้าถึงข้อเท็จจริง ลงไปเห็นของจริง อยู่กับปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

เขายังยืนยันว่า การวิจัยเปรียบเทียบระหว่างสังคมเป็นเรื่องสำคัญเพราะจะช่วยสร้างทฤษฎีช่วยสร้างวิจัยที่ขาดการเปรียบเทียบระหว่างสังคมหรือระหว่างประเทศ

Max weber ได้วิจัยว่าจิตวิญญาณโปรแตสแตนท์กับจิตวิญญาณทุนนิยมไม่เหมือนกัน

เรื่องการพึ่งตนเอง อาจารย์โกวิทย์เฉลยว่า เราพึ่งใครไม่ได้ องค์การของประชาชน civil society มันจำเป็นต้องรวมตัวกัน มีอำนาจต่อรองต่อรัฐและต่อรองกันเองเหมือนสหภาพแรงงานต่อรองกับนายจ้าง สหกรณ์ต่อรองกับผู้ขาย  สมาคมต่อรองกับรัฐ การรวมตัวขององค์กรประชาชนและการมีอำนาจต่อรองได้เป็นเรื่องสำคัญ

หลักการทางสายกลางของพุทธศาสนาเป็นเรื่องสำคัญ ในตะวันตกก็มีหลักทางสายกลางด้วยก็นำมาร่วมกันได้ ทางสายกลางคือการแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดคือคู่ขัดแย้งมีอยู่ เพราะฉะนั้นการที่เราจะหาทางออกร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างของอาจารย์จำเนียรอาจจะคล้ายกันว่า เราถึงจุดที่อยากเห็นความเป็นเอกภาพของนายจ้างกับลูกจ้างสหภาพแรงงานกับฝ่ายทุนร่วมมือกันได้อยู่ร่วมกันได้ แล้วมันทำให้สังคมก้าวหน้าไม่ใช่ต่างฝ่ายต่างสั่งทำลายล้างการแล้วก็กลายเป็นสังคมแบบคอมมิวนิสต์ไป

หรือไม่ก็กลายเป็นสังคมนิยมจัดจนกระทั่งต่างคนต่างไม่สามารถที่จะตกลงกันได้ ดังนั้นการที่เราทำให้คนมีเอกภาพความขัดแย้งได้และทำให้สังคมเคลื่อนไหวไปข้างหน้าน่าจะเป็นไปได้มากขึ้น

ยกตัวอย่างเรามีสถานประกอบการที่ต้องผลิตสินค้าและบริการให้ประชาชน เป็นเป้าหมายร่วมระหว่างทุนกับแรงงานก็คือ ประดิษฐ์รถที่ผู้บริโภคปรารถนาเป็นคุณภาพสินค้าที่ดีที่สุดทุกคนมีความร่วมมือตรงนั้น ทำให้ผลผลิตดี แรงงานมีส่วนร่วม จำเป็นต้องมีเป้าหมายร่วมจึงจะแก้ความขัดแย้งได้ เราก็ต้องกลับมามองเมืองไทยในภาพรวมว่า ประชาธิปไตยของเราที่แท้จริงมันเป็นเรื่องที่แข่งขันที่จะต้องช่วยกันสร้าง เป็นประชาธิปไตยที่กินได้ เข้าถึงสถานประกอบการในชุมชนรวมทั้งในครอบครัว ควรมีการถกเถียงแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างประชาธิปไตยในครอบครัว มีมิตรภาพความรักและครอบครัวที่เข้มแข็งก็คือโจทย์ในอนาคตของผมและครอบครัวด้วย

ขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่ให้ความหวังว่าผมจะทำงานต่อไปในการเป็นธงนำหรือกระจายธงมากขึ้น ผมก็ยินดีที่จะทำอย่างนั้น ขณะเดียวกันก็ต้อง balance ความสำเร็จในครอบครัวด้วยเป็นโจทย์ที่ยากไม่น้อย

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อ่านด้วยที่พูดถึงเรื่องการอย่าเอาเปรียบผู้หญิง จะต้องดูแลครอบครัวให้ดี

สุดท้ายขอขอบคุณนักศึกษาที่ช่วยกันจัดงานนี้จนบรรลุความสำเร็จแล้วก็มีการถ่ายทอดทาง Facebook นักศึกษาก็ช่วยกันออกค่าใช้จ่าย รู้สึกซาบซึ้ง

วันนี้ก็ได้ข้อคิดว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต ไม่อยากให้งานนี้จบไปเฉยๆแต่อยากให้มีการขับเคลื่อนต่อไปเราอาจจะเป็นเครือข่ายเสริมสร้างอริยะรัฐหรือเครือข่ายอะไรที่เป็นพลังทางสังคม ขอกราบเรียนเชิญคณะวิทยากรทุกท่านให้เป็นที่ปรึกษาให้กับพวกเราซึ่งผมก็อยากจะทำงานร่วมกับพวกท่านสายที่ผมได้ดูแลและมีกำลังใจที่จะร่วมงานต่อไป

รายการโทรทัศน์

รายการวิทยุ

บทความ

Facebook Live 1

Facebook Live 2

หมายเลขบันทึก: 670188เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2019 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2019 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท