สัมมนา Human Talk’s Fan Seminar เรื่อง ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ในยุค Disruptive และ 4.0 (สู่กระบวนการ Chira Way)


สัมมนา Human Talk’s Fan Seminar เรื่อง

ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ในยุค Disruptive และ 4.0 (สู่กระบวนการ Chira Way)

วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562

ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคารปฏิบัติการออกอากาศ สำนักงาน อสมท. พระราม 9 กรุงเทพฯ

ความเป็นมาของโครงการ

ตามที่รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 6.00-7.00 น. ทาง FM 96.5 MHz. คลื่นความคิด (Thinking Radio) นั้น ผู้ฟังรายการหลายท่านได้ให้ความสนใจมีส่วนร่วมกับรายการในรูปแบบต่างๆ เช่น ซักถามประเด็นที่น่าสนใจด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในรายการต่อผู้ดำเนินรายการ รวมถึงให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่าสำหรับพัฒนาการดำเนินรายการต่อไปในอนาคต

เพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังและคณะผู้ดำเนินรายการ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ตามแนวทาง Chira Way อันจะมีประโยชน์ต่อด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ทางรายการวิทยุ Human Talk จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านร่วมเป็นเกียรติและแลกเปลี่ยนความรู้ในสัมมนา Human Talk’s Fan Seminar เรื่อง ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ในยุค Disruptive และ 4.0 ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 13.00-16.30 น. ณ สำนักงานอสมท. พระราม 9 กรุงเทพฯ

พิธีเปิด

โดย คุณฐิติรัตน์ พูนศิริชัยกิจ

ผู้อำนวยการฝ่ายคลื่นวิทยุ FM 96.5 MHz. อสมท.

ขอเล่าที่มา อาจารย์อยากจัดพบปะแฟนโดยให้ความรู้ทุนมนุษย์ วันนี้เป็นโครงการนำร่อง ถ้าคนสนใจก็อาจะทำเป็นโครงการที่ใหญ่ขึ้น

วันนี้เป็นงานสำหรับแฟนคลับอาจารย์จีระ ในอนาคตจะเปิดให้แฟนคลื่นวิทยุ 96.5 MHz.

ทุกท่านมาได้ความรู้แน่นอน

ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการมานั่งฟัง

วีดิทัศน์ Disruptive และ 4.0

โลก Disruptive World โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้บางสิ่งบางอย่างที่มีอยู่ล่มสลายหรือสิ่งที่มีอยู่เดิม หายไป ด้วยอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วจากการพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลกระทบมหาศาลและกระจายไปในหลายด้านในทั่วโลก เราจะสามารถทำความเข้าใจกับกระบวนการทำลายล้างและสร้างโอกาสในโลกใบใหม่นี้ได้อย่างไร เราจะมีกระบวนการและวิธีการแบบใดที่จะสร้างความสำเร็จในโลกใบนี้

ในวันที่ 28 กันยายน 2562 เวลา 13.00-16.00 น. รายการวิทยุ Human Talk ออกอากาศทุกวันอาทิตย์ เวลา 6.00 น. ทางคลื่นความคิด FM 96.5 MHz. มีกำหนดจัดสัมมนากระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ฟังและคณะผู้ดำเนินรายการพร้อมด้วยวิทยากรที่น่าสนใจมาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมสัมมนาถึงความสำคัญและแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุค Disruptive World พร้อมทำความเข้าใจถึงข้อดี ข้อเสีย โอกาส และความเสี่ยงของการใช้เทคโนโลยี AI กระบวนการและวิธีการบริหารจัดการเทคโนโลยีในโลกยุค Disruptive World อย่างมีธรรมาภิบาล การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเยาวชนรุ่นใหม่ การใช้กระบวนการแบบ Chira Way เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อนำไปปรับใช้และสร้างคุณค่าตอบโจทย์โลกยุค Disruptive World สู่แนวทางที่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมพัฒนาทุนมนุษย์ เยาวชนไทยรุ่นใหม่ สร้างสรรค์ความสำเร็จ นำพาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง

แม้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกจะมาในรูปแบบหรือสถานการณ์ใด จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆในโลกมากน้อยเพียงใด หากมนุษย์ในโลกมีศักยภาพและความพร้อมที่จะจัดการการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรู้เท่าทันและคำนึงถึงการสร้างผลประโยชน์ได้ในระยะยาวแล้ว การเปลี่ยนแปลงต่างๆนั้นจะนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างแท้จริง

Learning Forum  หัวข้อ ยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์ในยุค Disruptive และ 4.0

(สู่กระบวนการ Chira Way)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

และ ประธาน Chira Academy

พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ (กรณีศึกษาเรื่อง ธรรมาภิบาล)

เลขาธิการภาคีเครือข่ายธรรมาภิบาล

คุณกัลยาณี คงสมจิตร (กรณีศึกษาเรื่อง AI and HR)

ประธานกรรมการบริหาร บริษัททีเคเคคอร์ปเรชั่น จำกัด

คุณกฤช สินอุดม (กรณีศึกษาเรื่อง การเรียนรู้สู่ Chira Way)   

กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ ไอ เอ็มดีไซน์ จำกัด และคณะกรรมการ

สถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้า    และเทพศิรินทร์สมุทรปราการ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรรมการ มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศและที่ปรึกษา Chira Academy

อาจารย์วราพร ชูภักดี    วิทยากรจาก Chira Academy

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วันนี้ที่ทุกท่านได้มา คนไม่มากแต่อบอุ่น เท่าที่ทราบทุกท่านเป็นคนเก่งหลายองค์กร บางคนเป็นภาคประชาชน บางท่านมาจากต่างจังหวัดเป็นผู้นำท้องถิ่น อาจารย์จีระไปทำงานให้หลาย sector เช่น การท่องเที่ยว การศึกษา

วันนี้เหมือนงานชุมนุมศิษย์เก่า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

แขก 3 ท่านด้านซ้ายผมเคารพรัก อยากให้ทุกท่านได้ฟัง อยากให้ได้แลกเปลี่ยนกัน

คุณวราพรทำงานกับผมตั้งแต่ปี 2 คุณพิชญ์ภูรีก็เคยทำงานเนชั่น

อยากให้เห็นว่า สิ่งที่ผมมีความสามารถมาจากหลักคิดผมมาจากที่อาจารย์ป๋วยส่งผมไปเรียนปริญญาเอก

คลื่นนี้ให้เกียรติผมออกอากาศมาเกิน 20 ปี ผมนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ประสบการณ์ของผม มาวิเคราะห์ทำให้ผู้ฟังได้รับทราบ reality

แฟนรายการเป็นหัวใจสำคัญของผม หลายคนเป็นลูกศิษย์ วิทยากรจะพูดสั้นๆ ไม่ต้องกังวลข้อมูล

เราควรผนึกกำลังร่วมกันเพื่อให้ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง ดำเนินการให้สำเร็จเสริมงานรัฐบาล

ผมชนะเล็กๆและทำต่อเนื่อง ผมชื่นชมท่านที่มาวันนี้ แม้เราไม่มีงบให้ก็ตาม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องที่สำคัญมากและจะเป็นเครื่องมือ เรื่อง Disruption กว้างมาก ได้เรียนรู้เรื่องกว้างๆจากอาจารย์จีระมาก

ทางคณะทำงานให้ทุกท่านเป็นเครือข่ายทางไลน์ อาจทำโครงการร่วมกันในอนาคตได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

หลังจากวันนี้ ผมจะสร้าง network ให้เป็นระบบมากขึ้น ผมมีประสบการณ์เรื่องคนมากมาย ได้เปรียบคือการเอาชนะอุปสรรค เพราะเรื่องคนเปลี่ยนยาก ปลูกมนุษย์ตลอดชีวิต

รัชกาลที่ 9 ทำเรื่องคุณธรรมจริยธรรม

ผมมองทรัพยากรมนุษย์สูง แต่คนไทยมองว่า เงินและตลาดสำคัญกว่า

คุณพารณบอกว่า คนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุด เปรียบเทียบไทยกับสิงคโปร์ สิงคโปร์สนใจเรื่องคน ตอนนี้สิงคโปร์มีทรัพยากร 9 เท่าของไทย

ผมเป็นนักเศรษฐศาสตร์แต่เข้ามาสาขา HR ได้เพราะ Gary Becker วิเคราะห์เรื่องทุนมนุษย์ก็พบว่า คนแบบบิล เกตส์แม้ไม่ได้เรียนต่อก็มีทุนทางปัญญา

ผมชื่นชมพลเอกกิตติศักดิ์เพราะท่านเอาจริงเรื่องธรรมาภิบาล

ปัญหาคนที่ทำงานด้านทุนมนุษย์ในไทยคือ

1.การมีกฎระเบียบมาก คนที่ทำอยู่ที่กฤษฎีกามาก

2.คนมักทำงาน Routine

สิ่งที่ควรทำคือ

1.ต้องทำงานนอกกรอบ

2.ต้องมองคนทุกช่วงอายุ

3.ต้องมองความร่วมมือกัน

4.ขอฝากกระทรวงแรงงานดูแลคนอายุ 30-35 ปีด้วย

ในยุค Disruption ทุกอย่างเปลี่ยนมาก ต้องมี lifelong learning ให้ทันเหตุการณ์

ผมสนใจ 2R’s Xi Jinping บอกว่า ต้องรู้จริงว่า disruption คืออะไร แล้วถามว่า จะจัดการอย่างไร คนไทยรู้แต่จัดการไม่ได้เพราะติดกฎระเบียบมาก สำนักงบประมาณจำกัดค่าตอบแทนวิทยากรทำให้ไม่สามารถได้คนเก่งมาสอน เมืองไทยมีคนโกงมาก เห็นได้จากนักการเมืองในอดีต

วันนี้จะกระตุ้นให้คิด เรียนสนุก ปะทะกันทางปัญญา จบไปแล้วควรคิดต่อ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผมมีลูกศิษย์ตั้งแต่ปริญญาเอกจนถึงชาวบ้าน มีผู้นำชุมชนเรียนกับผม ผมสอนเขาด้วยความหวังดี

ผมเคยเป็นประธานคณะทำงานเอเปก ได้พบกูรูดังในโลก แล้วก็เชิญออกรายการทีวีมีรายละเอียดในยูทูป

ผมสะสมประสบการณ์ ปรึกษาเรื่อง Disruption กับผู้เชี่ยวชาญ ผมอยากจะทำวิจัย

Peter Senge ทำเรื่อง Fifth Discipline บอกว่า ในการทำให้คนอยากเรียน ก็ต้องปล่อยให้เรียนเหมือนทำไมเด็กอยากหัดเดิน ต้องสนุกในการเรียนรู้

เราต้องอยู่ในโลก Disruption ต้องช่วยกันหารือ สิ่งที่อยากทำคือระดับชุมชน หลายท่านอาจทำในระดับ

ราชการ เยาวชน ผมอยากลดความเหลื่อมล้ำให้มากที่สุด

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กรอบเรื่องคนของอาจารย์จีระทำ 3 เรื่อง

1.HRD พัฒนาทุนมนุษย์ เป็นการขึ้นมาอีกระดับของทรัพยากรมนุษย์ คนนำมาใช้เป็นทุนได้ อาจารย์จีระกล่าวถึงคุณพารณ มองว่า คนเป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด การเป็นทุนมนุษย์ต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

2.เก็บเกี่ยว HRM บริหารคน เพื่อให้เป็นประโยชน์

3.การทำให้สำเร็จสำคัญสุด Execution ก้าวข้ามอุปสรรค

เครื่องมือที่ใช้ตลอด

1.ต้องร่วมมือกัน ระหว่างภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น วิชาการ

2.ชนะเล็กๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้สะสมแนวคิดและถ่ายทอดในการสอนที่มหาวิทยาลัย ตอนเป็นประธานเอเปกก็ได้คุย หลักแบบนี้ก็เป็นภูมิปัญญาคนไทย เรื่องคนต้องสัมพันธ์กับบริบทสังคมไทย

ยุคต่อไป อาจจะมีข้อสรุปที่เกิดขึ้น โดยมีวิทยุเป็นจุดเริ่มต้น พรุ่งนี้อาจจะออกอากาศข้อสรุปสัมมนาวันนี้ เราจะช่วยกันคิดและทำ

อาจารย์วราพร ชูภักดี

จากหัวข้อ การวางยุทธศาสตร์ทุนมนุษย์กับโลก Disruption

Chira Way ช่วยคนในยุคนี้อย่างไร

คนต้องปรับตัว

อาจารย์จีระได้เขียน 8K’s 5K’s เปรียบเทียบ 10 ทักษะ World Economic Forum เรายังขาดทักษะอะไร

แต่ละหน่วยอาจจะช่วยเติมเต็มช่องว่างได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทุนมนุษย์เป็นแม่ ส่วนอีก 7 ทุนเป็นลูก

อาจารย์วราพร ชูภักดี

อาจารย์จีระได้แนะนำแนวทางเอาชนะ AI ให้เป็นจุดแข็ง และทำให้อยู่ร่วมกับ AI ได้สมบูรณ์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนเราต้องทำงานอย่างมีความสุข ต้องเริ่มด้วยการแบ่งปันจะได้ไม่เครียด

อาจารย์วราพร ชูภักดี

HR Architecture แสดงให้เห็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพคนตั้งแต่เกิด ต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ต้องให้ความสำคัญโภชนาการ ครอบครัวมีอิทธิพล เหมือนๆปัจจัยอื่นๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องสื่อสำคัญ คนเก่งแต่โกงมีมาก น่าเป็นห่วง

Social media คนซื้อข้อมูล Facebook แล้วชนะเลือกตั้งได้

กรมกิจการเด็กควรช่วยดูเยาวชนเมื่อโตขึ้นแล้ว บางคนจะตกงานเพราะ AI

การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำคัญ อย่าเน้นแค่ทักษะ ปัญหาคือ คนไทยเรียนเพื่อสอบ

อาจารย์วราพร ชูภักดี

คนอยู่ในวัยเรียน โรงเรียนต้องสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เช่น คุณธรรม คิดเป็น คิดสร้างสรรค์ ภาวะผู้นำ อาจนำ 8K’s 5K’s เป็นแนวทาง

ด้าน Demand side องค์กรต้องดูแลคนต่อจากภาคการศึกษา

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จบจากโรงเรียนก็ต้องปลูกคนอีก บางทีผู้ประกอบการก็ไม่ปลูก ไปใช้ AI ทำงานคนจึงตกงาน

ผู้สูงอายุยังทำงานได้ เช่น ในญี่ปุ่นถือว่า ไม่แก่ แต่คนไทยเกษียณแล้วตายทันที

HR Architecture แสดงว่า ทุนมนุษย์ช่วยเรื่องต่างๆในสังคม แต่คนไทยให้ความสำคัญเรื่องคนน้อยเพราะคนเป็นเรื่องบริหารยาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องนี้เป็นเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ มี Demand-Supply

เรื่องนี้อาจารย์จีระเขียนมานานแล้ว มีการปรับตลอด แต่โครงสร้างเรื่องคนไม่เปลี่ยน มีตั้งแต่เกิดจนตาย เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์

คนเกษียณแล้วก็ยังมีไฟ เข้าไปสอนชุมชนได้

โลกนี้ ถ้าเศรษฐกิจไม่ดี คนไม่ฟัง

ต้องเข้าใจเศรษฐศาสตร์

อาจารย์วราพร ชูภักดี

กระบวนการ Chira Way ต้องมองภาพใหญ่จากสังคมแล้วกระทบต่อองค์กร จะยั่งยืนกว่า HR Architecture สำรวจทิศทางสังคม 8K’s 5K’s ปลูกทุนมนุษย์ แต่ต้องมีวิธีการเรียนรู้ มีบรรยากาศ ทุกเรื่องที่นำมาวิเคราะห์ต้องมองความจริงและตรงประเด็น ต้องให้ความสำคัญแรงบันดาลใจ ให้ทุกคนแสดงศักยภาพเต็มที่ เราพัฒนาตนเองเพื่อสังคมด้วย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้พัฒนาผู้นำกฟผ.มา 15 รุ่น พัฒนาหมอ คณบดี ได้พัฒนาคนของข่าวกรอง ทำงานเป็นทีม กระตุ้นให้คนคิด อ่านหนังสือแล้วแลกเปลี่ยนความรู้

ถ้าชุมชนได้รับการกระตุ้น ก็มีความเป็นเลิศ คนที่ชุมพรที่เรียนกับผมก็ได้รับรางวัล

ต้องกระตุ้นคนระดับล่างด้วย

อาจารย์วราพร ชูภักดี

Learn, share, care เรียนรู้ร่วมกัน care กัน

ต้องให้ความสำคัญ execution วัดคุณค่าแต่ละกิจกรรมผ่าน 3V’s ได้มูลค่าเพิ่ม คุณค่าใหม่และคุณค่าจากความหลากหลาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีกรอบปลูก เก็บเกี่ยว ทำให้สำเร็จ

เรียนรู้ตลอดชีวิตสำคัญมาก ทำให้สำเร็จได้อย่างไร ต้องเรียนร่วมกัน เรียนรู้คนอื่น จูงกันไปด้วยกัน

Chira Way นักศึกษาปริญญาเอกมีศัพท์บัญญัติให้อาจารย์คือ Learn, share, care เรียนรู้แล้วต้องฟังคนอื่น

ต้องเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ มองความจริง ทุกคนชุมชนเรียนรู้แล้วเข้าใจร่วมกัน Disruption ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว

อาจารย์จีระบอกว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทำโดยใช้ 4L’s มีวิธีเรียนรู้ นั่งเป็นกลุ่มปะทะกันทางปัญญาถือเป็นโอกาสการเรียนรู้ การเรียนรู้ต้องมีกระบวนการแล้วต้องทำให้สำเร็จ เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขยายไปสู่ระดับสังคมการเรียนรู้ ทำให้มีพลังเดินไปด้วยกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ทฤษฎีผมเสริม AI ให้คนมีความสามารถมากขึ้น

1.ทำงานแล้วมีความสุข

2.เคารพคนอื่น

3.ยกย่องศักดิ์ศรีคน

4.ไปด้วยกัน

มหาวิทยาลัยระดับโลกเน้น Interpersonal skill ต้องลงทุนเทคนิคและ Intangible ไปด้วยกัน

พลเอก ดร.กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ

ขอขอบคุณอาจารย์จีระ ผมติดตามอาจารย์มานาน ได้พบอาจารย์ครั้งล่าสุดที่โรงละครแห่งชาติ

ผมขับเคลื่อนธรรมาภิบาล วันนี้เป็นโอกาสดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รัชกาลที่ 9 ทรงได้รับรางวัล UN ทรงคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ท่านทรงใช้ทศพิศราชธรรมตลอดรัชกาล

สำนักนายรัฐมนตรีออกแบนเนอร์ส่งเสริมธรรมาภิบาล

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงธรรมาภิบาล 3 ครั้ง แล้วท่านศึกษาเรียนรู้ กลับมาเน้นหลักธรรมาภิบาล 6 ประการอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 ดังนี้

1.หลักคุณธรรม

2.หลักนิติธรรม

3.หลักความโปร่งใส

4.หลักการมีส่วนร่วม

5.หลักความรับผิดชอบ

6.หลักความคุ้มค่า

ผมสังเคราะห์องค์ความรู้ในการกำจัดทุจริตในวงราชการ ตอนที่ทำงานก็พบปัญหาทุจริตในวงราชการ ผมลาออกจากราชการตั้งภาคีเครือข่ายต้านทุจริต

ปี 2556 ทำวิจัยพบว่า ต้องมีองค์กรธรรมาภิบาล

รัชกาลที่ 9 ให้ยุทธศาสตร์คือ เข้าใจ เข้าถึงและพัฒนา

ผมจึงมาศึกษาต่อยอดเรื่องธรรมาภิบาล พบดัชนี้ชี้วัดความโปร่งใส ประเทศไทยสอบตก

สมัยก่อนที่โกงกัน ก็ตั้งเป็นงบประมาณขาดดุลแทน บางครั้งมีการโกงเชิงนโยบาย

แม้มีองค์กรต่อต้านทุจริต ทุจริตก็ยังไม่ลด

ปัญหาคือ ไทยลอกธรรมาภิบาลจากฝรั่ง สิ่งสำคัญคือ คนต้องมีคุณธรรมก่อน

เศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย

2 เงื่อนไข คุณธรรมนำความรู้

3 ห่วง ภูมิคุ้มกันนำ แล้วจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมได้

รัชกาลที่ 9 นำไปสอนเกษตรกรเป็นทฤษฎีใหม่

เศรษฐกิจพอเพียงแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง ธรรมาภิบาลเป็นทางออกสังคมไทย

ปัญหาคือ ประเทศไทยพูดอย่างทำอย่าง นำคนติดคุกมาเป็นส.ว. รัฐมนตรี

วันนี้ถึงเวลาที่คนไทยต้องลุกขึ้นมารวมตัวเป็นเครือข่ายธรรมาภิบาล อย่ารอรัฐบาลทำ

ทุกคนมีธรรมาภิบาลร่วมกันและสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง ธรรมาภิบาลเป็นวัคซีนของสังคม

ผมปักธงธรรมาภิบาลได้ 19 จังหวัด รณรงค์ธรรมาภิบาลเป็นจิตวิญญาณ

ประเทศไทยต้องทำธรรมาภิบาลแล้วนำไปสอนในกัมพูชาและลาว

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้เห็นยุทธศาสตร์ทำเครือข่ายธรรมาภิบาล ไม่เดินคนเดียว ต้องเข้าหาผู้ใหญ่

ท่านพูดเรื่องความโปร่งใส ประชาชนทุกคนเป็นสื่อมวลชน ต้องปลูกฝังเด็กๆ เล่าเรื่องแบบเต็มๆ

ความปั่นป่วนทางเทคโนโลยีดิจิตอลมีอิทธิพลต่อชีวิตคน

คุณกัลยาณี คงสมจิตร

วันนี้ดีใจมาก รู้จักอาจารย์จีระจากการไปร่วมงานนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ที่พัทยา ทางโรงเรียนให้ไปร่วมทำงานแข่งขันหุ่นยนต์

โครงการนี้อาจารย์จีระร่วมพิธีเปิด ผู้ริเริ่มโครงการคือ ลูกชายดิฉันซึ่งแข่งขันหุ่นยนต์ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนปัจจุบันอายุ 16 ปี เขาบอกว่า “อยากให้โมเดลการสอนใหม่ๆไม่ใช่การสอนให้ความรู้ แต่คือสอนให้เด็กอยากได้ความรู้เป็นของตนเอง” หมายความว่า เวลาที่เด็กอยากมีความรู้เป็นของตนเอง คือ เวลาที่เขาทำงาน เขาจะรู้สึกว่าเขาทำงาน แต่เป็นอีกหนึ่งก้าวที่เดินเข้าใกล้ความฝันของเขา คำกล่าวนี้สะท้อนว่า เป็นเรื่องทุนมนุษย์

ลูกชายดิฉันได้เคยเรียนโรงเรียนดรุณสิกขาลัยที่สอนโดยนำโครงงานมาบูรณาการ สอนวิชาตามความสนใจของเด็ก

สมัยนี้ คนรุ่นใหม่คิดจะทำอะไรเพื่อโลก ลูกชายมองว่า แข่งหุ่นยนต์แล้วไม่มี Impact ต่อสังคม ทำให้แม่ลุกนั่งคิดกัน ทำให้ได้อุปนายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ท่านสนับสนุน Hardware อยากได้ content ใหม่จึงร่วมมือกับดิฉัน ขอบคุณผู้ใหญ่ของสมาคม

ดิฉันให้ลูกมีส่วนร่วมเข้าโครงการ อยากให้นักเรียนด้อยโอกาส แต่มีคนสมัครมามากทั่วไทย เราให้โอกาสแก่เด็ก นำเรื่องการเขียน coding สำคัญมากเป็นการคิดแบบ Logical Thinking เป็นการสร้าง Mindmap ให้สมอง สร้างแต่เด็กจะดีมาก

โครงการนี้ใช้ไปประมาณ 1 ล้านบาท เราไม่ใช่มหาเศรษฐี เราก็คิดทำบุญเรื่องการศึกษา มีทางเทพศิรินทร์ช่วยสนับสนุนงบให้

ดร.สุวิทย์ มาในพิธีปิด ท่านดูคู่มือการสอน เราทำให้เห็นว่า มีเด็กเทพศิรินทร์ 9 มาเรียน coding 6 ชั่วโมงทำหุ่นยนต์ได้จริง เป็นหุ่นเตะฟุตบอล

รางวัลที่ 4 เป็นโรงเรียนจากอำนาจเจริญ เด็กไม่มีความรู้มาก่อน เด็กเรียนวันเสาร์ แข่งวันอาทิตย์ เด็กกลายเป็นฮีโร่ สำหรับโรงเรียนนี้ เราประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายที่มีเพื่อให้เข้าถึงทุกที่ ส่งไปพระวัดป่าอีสานแล้วส่งให้พ่อแม่นักเรียน เด็กบอกครูว่าจะไปแข่ง วันที่ไปต้องหารค่ารถตู้กับอีกโรงเรียน

รางวัลที่ 2 โรงเรียนหญิงล้วน เขามองว่า ผู้หญิงก็ทำได้ ทำงานร่วมกันแบบ Learn, share, care ได้ที่ 2 ชนะเด็กเทพศิรินทร์ชายล้วน

ทุกอย่างเป็นศีลเสมอกันดึงดูดกัน ดิฉันมีโครงการต่อยอดกับ MCOT ด้วย

ปัจจุบันนี้ รัฐบาลจีนประกาศยุทธศาสตร์ Made in China 2025 (MIC 2025) เป็นเปลี่ยนจากโรงงานผลิตโลกเป็นศูนย์ผลิตนวัตกรรมแห่งโลก จีนจดสิทธิบัตรมากที่สุดในโลก ให้งบวิทย์มากที่สุด กระทรวงพัฒนามนุษย์และประกันสังคมของจีนมีก่อนตั้งพรรคคอมมิวนิสต์ เขาประกาศว่า มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น 13 อาชีพที่รัฐบาลและเอกชนต้องการมากดังนี้

1.วิศวกรด้าน AI

2.วิศวกรด้าน Big Data

3.วิศวกรด้าน IOT

4.วิศวกรด้าน Cloud Computing

5.ผู้จัดการด้าน Digital Platform (Digitalization Manager)

6.นักออกแบบโมเดล

7.ผู้ประกอบการด้าน E-sport ได้แก่ ผู้จัดงาน Producer ผู้อำนวยการ

8.นักเล่นเกมส์ E-sport

9.นักขับโดรน

10.นักวิเคราะห์ Data

11.ผู้ติดตั้งระบบ IOT

12.ผู้ควบคุมระบบหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม

13.ช่างดูแลรักษาระบบหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม

ดิฉันจะทำโครงการร่วมกับ MCOT จัดการแข่งขัน League ของ E-sport คือ ต้องมีเวทีให้คนเก่งได้แสดงความสามารถ League เป็นการรวบรวมคนเก่งมาอยู่ด้วยกัน แล้วก็แข่งหุ่นยนต์

Digital Transformation Process

1.Digitization คือ เปลี่ยนกระดาษเป็น Digital

2.Digitalization คือ เปลี่ยน Process เป็น Digital

3.Digital Transformation คือ ประโยชน์จาก Digital ในการเพิ่มกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาด

ตอนนี้ บริษัท TKK Corporation เราเป็น Smart Enterprise มีการเปลี่ยนมาก ทำธุรกิจด้วยตนเอง ต้องเปลี่ยนแปลงธุรกิจตนเองตลอดเวลา มิฉะนั้นจะอยู่ไม่ได้ เราเป็นบริษัทไทยแห่งแรกที่ได้รับการยอมรับจากต่างชาติ

ประเทศไทยขาดแคลนผู้ควบคุมระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติและช่างดูแลระบบ

ความฝันกับลูกดิฉันตรงกัน เราจุดประกายให้เขา Learn how to learn

ขอบคุณที่อาจารย์ให้โอกาส share

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากการฟัง ได้เห็นยุทธศาสตร์

1.ยุทธศาสตร์เยาวชน วิชาชีพอนาคต

2.นำ AI และทุนมนุษย์มาใช้ทำงานเป็นเครือข่ายแล้วสร้าง Impact ต้องจับมือกันเป็นองค์คณะแล้วทำให้สำเร็จ

การร่วมมือกับคนที่เหมาะสมทำให้งานสำเร็จ

สิ่งที่ลูกชายวิทยากรพูด บอกว่า อยากให้เด็กมีความรู้เป็นของตนเอง เด็กอยากโดดเด่น อยากให้คำนี้ไปปรับใช้

อยากให้นำความรู้บวกเป็นสิ่งใหม่เกิดเป็นความรู้ของตนเอง

คุณกฤช สินอุดม

ขอบคุณอาจารย์จีระที่ให้เกียรติ

ผมได้รับความรู้และเป็นลูกศิษย์อาจารย์จีระเป็นเวลา 21 ปีแล้ว เรามีเครือข่ายเทพศิรินทร์เชื่อมโยงกัน

ผมส่งเสริมภาคปฏิบัติและเน้นภาคเยาวชน

กระทรวงศึกษาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระบบ เราพยายามปฏิรูปการศึกษามาก แต่ยังไม่ไปถึงไหน

วิธีของอาจารย์จีระสามารถนำไปทำให้เกิดผลได้ทันที

สมาคมเทพศิรินทร์จึงมีกิจกรรมนำแนว chira way ไปพัฒนาเยาวชนเทพศิรินทร์

เทพศิรินทร์พูดถึงการเลิกระบบการเรียนแบ่งสายมานานแล้ว อยากให้เด็กทุกคนได้รู้กว้าง รู้สาขาเดียวจะเป็นปัญหาในอนาคต

Knowledge Camp เชื่อมโยงศาสตร์ต่างๆเข้าหากัน สรร้างรูปแบบการเรียน นำนักเรียนเทพศิรินทร์มาร่วมจัดกิจกรรม 4 วัน จัดรูปแบบจากชั้นเรียนเดิม ไม่ใช่เรื่องในตำราเรียน แต่เป็นเรื่องที่เด็กมัธยมในโลกควรรู้ในอนาคต และได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เป็นผู้ใหญ่ในประเทศและเทพศิรินทร์

อาจารย์จีระเชื่อมโยงพี่น้องเทพศิรินทร์มาแบ่งปันประสบการณ์

เด็กม.5 ฟังแล้วเข้าใจดี และเราให้เขากำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า วาด Mindmap แสดงให้เห็น เด็กคิดได้ดีกว่าผู้ใหญ่หลายเรื่อง เขามีข้อจำกัดด้านกรอบน้อย แล้วกระบวนการนำไปพัฒนาต่อยอดได้ มีโค้ชให้คำแนะนำและพัฒนาแนวคิดต่อไป เด็กทั่วประเทศมาแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทำให้ได้โอกาสสร้างชุมชนสังคมการเรียนรู้ ทุกคนเป็นเครือข่ายโตมาด้วยกัน นักเรียนเล่านี้ยังติดต่อผ่านกลุ่มกัน แล้วก็ขยายผลออกไป เราเป็นสมาชิกมูลนิธิเราจะเป็นคนดี

2 ปีที่แล้ว เราจัดกิจกรรมขยายไปสู่เยาวชนอาเซียน+จีน โดยเด็กมัธยมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้รู้ว่า ประเทศต่างๆเรียนอะไร แล้วก็มีความรู้เชื่อมโยงกัน เด็กเหล่านั้นเขาก็ยังติดต่อกันอยู่ เด็กสื่อสารข่าวถึงกันก่อนสื่อออกข่าว เด็กลาวก็มาเรียนที่จุฬาฯ

เครือข่ายเหล่านี้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน แม้กลุ่มนี้จะเล็ก แต่มีคุณค่าและกระตุ้นให้สังคมสนใจ เด็กเหล่านี้โตขึ้นมาเป็นวิทยากรเจ้าหน้าที่จัดกิจกรรมให้รุ่นน้อง เครือข่ายกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ หลายที่นำไปทำ แล้วแต่มีปัญหาความต่อเนื่อง กระทรวงศึกษาทำปีเดียวแล้วเลิก บางกลุ่มขาดการสร้างความเชื่อมโยงต่อ

กระบวนการเรียนคือ ให้ดูหนัง อ่านหนังสือแล้วแลกเปลี่ยนกัน หาความรู้ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องรอครูสอน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

คุณกฤชมีความรู้ความสามารถ มีวิชาชีพระดับเจ้าของบริษัทเป็นโซ่ข้อกลางดีมาก พูดถึงเพื่อนร่วมงาน Role Model

อาจารย์จีระสอนภาวะผู้นำ บอกว่า คนถือธงนำก็เป็นผู้นำ

โซ่ข้อกลางต้องเก่งและประสาน ถือเป็นคนสำคัญ

อาจารย์จีระให้เด็กเทพศิรินทร์ 9 ทำ Workshop เรื่องผู้นำต้นแบบ ให้เด็กออกความเห็นโดยเสรี

มีเด็กคนหนึ่งบอกว่า ชอบผู้นำเยอรมัน Merkel เพราะเขาเป็นเด็กที่มีพ่อแม่เป็นผู้อพยพ Merkel เป็นผู้นำที่เปิดรับผู้อพยพ

นอกจากภาวะผู้นำ ต้องมีแบรนด์ตนเอง ต้องปลูกฝังให้ลูกหลานเป็น Top list

ช่วงแสดงความคิดเห็น

คนที่ 1 คุณอริยเมตตาชัย เอกปฐวินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวลล์ดัน โปรดักส์ จำกัด

หัวข้อสัมมนาวันนี้ ตรงกับที่ผมคิดมาหลายปี ตอนนี้มีคำพูด คนไทยไม่แพ้ใครในโลก นวัตกรรมของไทยมีระดับเพชรเต็มประเทศ

เรามีเยาวชนรุ่นใหม่ วัยรุ่นเป็นนวัตกรรมใหม่ ต้องเจียรนัยให้เหมาะสมแล้วจะไม่แพ้ใครในโลก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ผมได้ปะทะกับคนเก่งตั้งแต่หนุ่ม

คนไทยทำอะไรได้มากแต่ไม่เคยผนึกกำลังร่วมกัน บางครั้งอิจฉากัน ไม่อยากให้คนอื่นได้ดี นี่เป็นปัญหาวัฒนธรรมไทย

ยุคเรา วันนี้มี Diversity ทางความคิด

คนที่ 2 ว่าที่ร้อยตรีหญิงจิรนันท์ แสงทอง นักพัฒนาสังคม กรมกิจการเด็กและเยาวชน

จากที่คุณกัลยาณีบอก ยังมีคนให้โอกาสเราทำงาน

ทุนมนุษย์อาจไม่เท่ากัน บางคนไม่ทีทุนแต่อยากเรียน เด็กอยากทำแต่ผู้ใหญ่ห้าม แต่โลกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เด็กสนใจการเมืองมากขึ้นเพราะกระทบเรา เด็กรู้ทุกอย่างว่า ผู้ใหญ่ทำอะไรและต้องการอะไร เราต้องการสะท้อนให้ผู้ใหญ่เห็น

คนที่ 3 คุณปิยธิดา คำน้อย คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

จากการทำงานกับเด็กในพื้นที่ แต่ละแห่งแตกต่างกันมาก มีความเหลื่อมล้ำการศึกษา

ดิฉันโตมาจากชุมชนเล็กนอกเมืองไม่มีโอกาส เด็กต่างจังหวัดอยากทำหุ่นยนต์แต่ไม่มีโอกาส บางครั้งเราอยากทำแต่ไม่มีโอกาสและต้นทุน

สภาเด็กเกิดมาเป็นกระบอกเสียงสะท้อนปัญหาเด็กและเยาวชน เด็กต้องการการพัฒนาจากผู้ใหญ่

เด็กและเยาวชนต้องการโอกาสและเวทีแสดงทักษะเพื่อการโตขึ้น

คนที่ 4 คุณณัตฐพงษ์ มูลวงษ์

ผมประทับใจอาจารย์และอยากเรียนรู้เพิ่มเติม วันนี้มีความหลากหลายมาก

คนที่ 5 คุณแสงจันทร์ แก้วประทุมรัศมี ผู้อำนวยการกองมาตรฐานและกำกับความปลอดภัยนักท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ได้พบอาจารย์จีระมาหลายปีแล้ว แต่ได้มาสัมมนาแบบนี้เป็นครั้งแรก

เรื่อง Disruptive ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ไม่ว่าเทคโนโลยีเปลี่ยน สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือทุนมนุษย์ในตัวเรา การเปลี่ยนแปลงไม่มีอะไรที่เราสู้ไม่ได้ คนสำเร็จเพราะสู้จนชนะ สิ่งต่างๆต้องสั่งสมจากทุนในตัวเขา


สิ่งที่เรียนรู้วันนี้ เห็นว่า มีคนมาหลากหลายมาก ทุกคนมีเหมือนกันคือ เรียนรู้ตลอดชีวิต ย้อนกลับไปทุนมนุษย์แต่ละคนสั่งสมพฤติกรรมใฝ่รู้

ขอบคุณที่ได้เชิญให้มาในวันนี้

Workshop & Q&A สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปปรับใช้กับตนเองและองค์การ

กลุ่ม 1 นำเสนอโดย คุณรมณา ชาญชัยวรชัย รองผู้จัดการแผนกบริหารค่าจ้าง บมจ.ธนูลักษณ์

1.วิเคราะห์ 3 ประเด็นจาก Disruptive และ 4.0 ที่กระทบต่อท่าน พร้อมอธิบายเหตุผลและวิธีการปรับตัว

เป็นเรื่องเทคโนโลยี ต้องมีความเร็วในการทำงานและธุรกิจมากขึ้น ทำงานออนไลน์มากขึ้น

ข้อดี คือ เกิดความคล่องตัวเรื่องบริหารจัดการ แต่ต้องตอบสนองลูกค้าเร็วขึ้น

ข้อเสียมีดังนี้

   1.ถูกคัดลอกผลงานได้ง่ายขึ้น

   2.ธุรกิจที่ปรับตัวไม่ได้ก็หายไป

   3.มีความเร่งรีบทำงานมากขึ้น

   4.การเล่นโทรศัพท์มือถือมากเกินไปทำให้สุขภาพเสีย สมาธิสั้น เวลาที่คนพบปะสังสรรค์กัน ก็คุยผ่านไลน์แม้จะอยู่ตรงหน้ากัน

   5.ข้อมูลเชิงลึกมีน้อย อ่านแล้วไม่วิเคราะห์แล้วส่งต่อทันที

2.จากสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ จะนำเรื่องใดไปปรับใช้ เพราะเหตุใด เลือก 3 เรื่องที่สนใจและอยากทำต่อ

    1.Paperless ใช้กระดาษน้อยลง ที่บริษัทมีการอนุมัติลางานผ่านแอพมือถือที่ทางบริษัทพัฒนาเอง

    2.การทำงานบุคคลหรืองานอื่นได้มีการทำ Google Form ให้คนออกความเห็นทางอินเตอร์เน็ต แต่บางคนไม่เก่งเทคโนโลยีก็ทำงานลำบาก

    3.การจัดการปัญหาเทคนิค เช่น ขัดข้อง ข้อมูลหาย ต้องหาวิธีจัดเก็บข้อมูล

3.เรื่องที่ประทับใจ 3 เรื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมวันนี้

   1.มีวิทยากรและผู้เข้าร่วมหลายวัย ได้มุมมองมากมาย

   2.ได้เครือข่าย

   3.เห็นตัวอย่างที่ดีที่ทำให้สังคม เช่น Robot เทพศิรินทร์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กลุ่มนี้มีคุณค่า โดยเฉพาะที่จะทำอะไรต่อ หลังจากนี้ เราจะรวมตัวกัน วิทยุจะเป็นศูนย์กลางของเรา

กลุ่ม 2 นำเสนอโดย คุณธรรมเจริญสุ บุญมาสำเร็จโชคดี ที่ปรึกษาการบริหารจัดการ Smart City

HR & Business Development Executive

1.วิเคราะห์ 3 ประเด็นจาก Disruptive และ 4.0 ที่กระทบต่อท่าน พร้อมอธิบายเหตุผลและวิธีการปรับตัว

เห็นด้วยกับกลุ่ม 1 ขอเสริมดังนี้

   1.ทุนมนุษย์แตกต่างกัน ต้องรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยี ประหยัด พอเพียง เหมาะสม ใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป อย่าดูเฉพาะธุรกิจอื่น แต่ต้องดูธุรกิจของตนเองว่า ควรจะใช้เทคโนโลยีประเภทใดจึงจะเหมาะสม

   2.ต้องตั้งทีมไปศึกษาข้อดีและข้อเสียการใช้เทคโนโลยี

2.จากสิ่งที่เรียนรู้วันนี้ จะนำเรื่องใดไปปรับใช้ เพราะเหตุใด เลือก 3 เรื่องที่สนใจและอยากทำต่อ

   1.เนื่องจากสังคมไม่ค่อยคุยกัน ไม่มีความใกล้ชิดกัน เข้าใจกันน้อยลง ต้องมีกิจกรรมเสริม

   2.ต้องเข้าใจความต้องการของเยาวชน เติมเต็มเขา เช่น อาจไปเรียนรู้ E-sport จากลูก ให้เด็กทุกคนได้ทำงานที่เขาชอบ รักและสนุก

   3.เราต้องใช้ทุนมนุษย์ที่เรียนรู้ตลอดชีวิตและรู้เท่าทันมาเสริมให้คนสุขมากและทุกข์น้อย ต้องมีแผนชีวิต ต้องปรับตัวตลอดชีวิต

3.เรื่องที่ประทับใจ 3 เรื่องจากการเข้าร่วมกิจกรรมวันนี้

   1. อยากให้ตั้งเครือข่ายขับเคลื่อน ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน

   2. เราจะสร้างทีมขับเคลื่อนเดือนหน้า

   3. ผมสอน Smart people to smart family การจัดการตัวเอง การตัดสินใจสู่ Mindset และยินดีเป็นวิทยากร

กลุ่ม 3 นำเสนอโดย คุณปิยธิดา คำน้อย คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่

    สมาชิกในกลุ่มท่านหนึ่งบอกว่า จากที่ได้เรียนรู้มา พบปัญหาคือ

    1.คนไทยยังไม่ได้เก่งพอที่จะกล้าวิเคราะห์และลงลึกในสิ่งเป็นการวิเคราะห์ที่ชัดเจน

    2.ขาดความร่วมมือและการถ่ายทอด ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

    วิธีการแก้ไขปัญหา

    1.ต้องใช้หลักธรรมาภิบาลให้พัฒนาสังคมไปในทางที่ถูกต้อง

    2.ต้องพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ควบคู่กันไป ต้องเน้นคุณธรรมและความร่วมมือไม่ให้สังคมเอาเปรียบซึ่งกันและกัน ต้องแก้ไขจากตนเองแล้วขยายไปสอนในครอบครัว สู่สังคมวงกว้างขึ้น แล้วจะเป็นสังคมที่ดี

    3.การให้โอกาสคน การที่คนจะโตขึ้นมาเป็นบัวพ้นน้ำ ก็จะต้องการปุ๋ยที่เป็นโอกาสและน้ำที่เป็นพลังสำคัญในการสร้างให้คนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติ เรื่องเด็กและเยาวชน ก็ควรให้โอกาส ชี้นำแต่ให้เขาคิดและทำเอง


ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

พูดดีแล้ว สุดยอด

เราจะเริ่มอย่างไร ทำต่อเนื่องอย่างไร

อุปสรรคคือ สภาเด็กเป็นเรื่องดีแต่อยู่ใต้กระทรวงอยู่ พรรคราชการเป็นเรื่องน่ากลัว เป็นการเมืองที่ไม่ใช่เพื่อประชาชน

ผมเป็นภาคประชาสังคม ประเทศสแกนดิเนเวียมีภาคประชาสังคม มาก เป็นใครก็ได้ที่หวังดีต่อประเทศ ปัญหาคือ ข้าราชการถูกจำกัดโดยกฎหมาย

สิ่งที่จะเริ่มต้นวันนี้ เป็นการเริ่มต้นแบบเล็กๆ แต่ทำต่อเนื่อง เช่น ผมไปชุมชนหลายๆครั้ง

โครงการเทพศิรินทร์สำเร็จเพราะทำต่อเนื่อง 15 ปี

คนไทยไม่ใช่ไม่เก่ง แต่ไม่ได้รับโอกาส ต้องให้โอกาสให้คนได้คิดลึกๆ

กลุ่ม 4 นำเสนอโดย คุณ นิวัฒน์

วันนี้ได้ความรู้ เรื่องทรัพยากรมนุษย์ ภาคเอกชนให้ความสำคัญเพราะขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า

ภาคเอกชนขึ้นกับประเภทธุรกิจ โลกที่เปลี่ยนแปลงไป มีข้อบังคับในการออกแบบสถาปัตย์มาก มีกฎหมายก่อสร้าง บางอาชีพอาจถูกปลดออกจากงานทำให้มีปัญหาต่อสังคม

คนต้องเรียนรู้เทคโนโลยีตามกระแสให้ทัน Automation ต้องพัฒนาให้ทัน

ผู้ประกอบการต้องให้โอกาสการเรียนรู้แก่ลูกน้อง การเรียนรู้ต้องมาจากการทำงานและเรียนเพิ่มเติม

ประทับพี่ๆและอาจารย์ท่านมาแบ่งปันประสบการณ์ให้ทราบ

คุณกัลยาณี คงสมจิตร

ได้คุยกับคุณกฤชเกี่ยวกับการทำงานต่อว่า เด็กที่ไม่ได้รางวัลจะทำอย่างไร จึงบอกว่า ได้ไปพบรมช.กระทรวงศึกษาหารือเกี่ยวกับโครงการนี้ กลัวปัญหาพรรคราชการ องครักษ์พิทักษ์รัฐมนตรีถามว่า ทำเพื่อหวังประโยชน์อะไร จึงตอบว่า สิ่งที่ทำเป็นการสร้างพลัง เราทำด้วยใจ

เราการเขวออกนอกเส้นทางทีละน้อย แล้วจะขยายผลได้ออกได้เป็นวงกว้างมากขึ้น

ถ้าเราทำเรื่องการศึกษา เป็นการให้โอกาส ทุกคนต้องได้โอกาส เคยให้โอกาสเด็กปวส. จนเขามีโอกาสเป็น supervisor ชอบที่น้องพูดว่า บัวจะพ้นน้ำได้ต้องได้โอกาสคือปุ๋ยและน้ำที่ดี

ยินดีช่วยทุกๆท่าน ได้มีโอกาสเรียนรู้จากทุกท่าน เป็นการเติมพลังให้กัน

คุณกฤช สินอุดม

ทุกเรื่องที่เราคุยกันเป็นเรื่องที่ดีเราตั้งใจจะทำร่วมกันให้เกิดขึ้น

เรามีเป้าหมายหลักเพื่อให้เยาวชนมีพื้นฐานที่ดีขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า

เด็กวัย 0-3 ขวบถูกยกให้กระทวงสาธารณสุขดูแลสุขภาพ จึงไม่มีใครดูแลการพัฒนาการเรียนรู้ นี่เป็นความผิดพลาด

เรื่องเหล่านี้เรามีแนวร่วม อาจจะต้องสร้างกระบวนการที่ต่อเนื่องและมี Impact ต่อสังคมมากขึ้น เพื่อให้ก้าวหน้าและพัฒนาและเห็นผลในวงกว้างมากขึ้น เราต้องจับมือร่วมกันในหลายมิติพร้อมกัน เพราะ Disruptive เข้ามาในทุกด้าน

นี่เป็นจุดเริ่มต้นสร้างเครือข่ายที่ไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าเริ่มทำแล้ว ก็จะเอื้อกันได้ทุกเรื่อง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตลอดวงจรชีวิตอยู่ใน HR Architecture

ด้คุยกับคุณกฤชและคุณกัลยาณีทำให้ทราบทราบว่า มีเด็กเสียเปรียบมากเป็นหมื่นๆคน ขาดเรื่องการศึกษาและสุขภาพด้วย

ทุกอย่างพัฒนาเป็นขั้นๆไป พื้นฐานต้องดีก่อนจึงพัฒนาขั้นต่อไปได้

ปัญหาคือ ประเทศไทยมีคนฉลาดแต่ไม่ได้เรียนเพราะจน บางครั้งความฉลาดถูกทำลายเพราะขาดโอกาส

ทุก Generation ต้องทำงานร่วมกัน บางคนอาจจะต้องการหลักสูตรที่จะเรียนรู้

สิ่งสำคัญคือ

1.อย่าพึ่งราชการมากเกินไป

2.การแลกเปลี่ยนความเห็น Learn, share, care

3.วินัย

อาจารย์วราพร ชูภักดี

เราอยากเห็นว่าจะทำอะไรต่อ อาจจะเริ่มจากชนะเล็กๆจากตนเอง บทบาทแต่ละช่วงวัยต้องทำอะไร พัฒนาคนด้านใดได้บ้าง ภาครัฐสำคัญมากต้องช่วยพัฒนาองค์กรให้สมดุล

ขอฝาก chira Way เพราะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

าจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

จากการลงพื้นที่ คนในชุมชนคิดเป็นวิเคราะห์เป็น แต่เราไม่เจอเพราะไม่ลงไปฟังคนในชุมชน

การให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องใส่หัวข้อให้วิเคราะห์ ก่อนวิเคราะห์ ต้องให้องค์ความรู้ก่อน แต่ไม่ได้ตีกรอบความคิด

ทฤษฎี 3 วงกลมมีบริบทมีเรื่องความปั่นป่วนด้าน Disruption ต้องสร้างนวัตกรรมให้ได้

วงกลมที่ 1 context เช่น นโยบายรัฐ องค์กร ชุมชน ครอบครัว ภาครัฐต้องเข้าใจ Disruption จะได้ลงทุนได้เหมาะสม

วงกลมที่ 2 competency ผู้ใหญ่จะใส่ทักษะอะไรให้เด็ก ประสบการณ์ผู้ใหญ่มีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก อย่ารอรัฐบาล ต้องลงมือทำในชุมชนเอง ถ้ามีคนนำ ก็ต้องพร้อมเป็นโซ่ข้อกลาง

วงกลมที่ 3 แรงจูงใจ ทำให้คนอยากทำงานร่วมกันเต็มกำลัง โดยอยู่บนพื้นฐานทฤษฎี HRDS

1.มีความสุขร่วมกัน

2.เคารพนับถือ ไว้เนื้อเชื่อใจ

3.เกียรติศักดิ์ศรี เป็นความโดดเด่นซ่อนในแต่ละคน ฟังคนอื่นพูด

4.ความยั่งยืน รัชกาลที่ 9 สอนว่า ทำแล้วทำอีก ทำแล้วต้องดีขึ้น แล้วทำต่อเนื่อง จึงจะยั่งยืน

ทฤษฎี 3 วงกลม สามารถนำไปปรับใช้กับครอบครัวได้   

รายการวิทยุ

บทความ

หมายเลขบันทึก: 669641เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2019 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ตุลาคม 2019 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท