การดำเนินงานของศูนย์สุขภาพชุมชนกับการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษาศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองไผ่ 6 ซ.ประชาร่วมใจ ระยะที่ 1


จันทรา แทนสุโพธิ์
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

ผลการวิจัย พบว่า
- นโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ โดยให้เจ้าหน้าที่มีบทบาทในการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนนั้น มุมมองของประชาชนยังเห็นว่า การสร้างสุขภาพนั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็นแบะไม่ใช่ภาระหลักของประชาชน และยังมองว่าสุขภาพเป็นภาระหลักของแพทย์ พยาบาล ที่ต้องดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยหรือต้องการความช่วยเหลือ

- ศูนย์สุขภาพชุมชนในความหมายของประชาชน คือ สถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการด้านการรักษาและดูแลสุขภาพของ ประชาชนในชุมชน และมีแพทย์ พยาบาลมาอยู่ประจำเพื่อตรวจรักษา รวมถึงการให้บริการด้านการรักษาต่างๆ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลโดยคาดหวังว่า เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการตรวจรักษาเช่นเดียวกับโรงพยาบาลแม่ข่าย แต่เป็นบริการที่สะดวก รวดเร็ว และมีขั้นตอนการให้บริการต่างๆน้อยกว่า รวมถึงการเอาใจใส่และมีน้ำใจของเจ้าหน้าที่ด้วย

- กิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนที่สำคัญและเร่งด่วนที่รัฐควรจะเข้ามาส่งเสริม คือ เรื่องเศรษฐกิจ การกินการอยู่และปากท้องของประชาชน และเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพควรเป็นเรื่องรอง จากข้อค้นพบข้างต้น จะเห็นได้ว่า รูปแบบการดำเนินงานของศูนย์สุขภาพชุมชน ที่พึงประสงค์ของรัฐ ยังมีความแตกต่างกับความคิดเห็นและการรับรู้ของประชาชน อันมีผลต่อการดำเนินงานของศูนย์สุขภาพชุมชน ฉะนั้น เสียงจากประชาชนจึงเป็นสิ่งที่รัฐควรพิจารณา เพื่อปรับนโยบายและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนต่อไป



จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 66809เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 22:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท