เรื่องแจ้งให้ทราบในการประชุม กบร.บ้านตาก 12/2549(2)


พัฒนาระบบบริหารใช้TQA,พัฒนาระบบบริการใช้TQM(HA) พัฒนาคนใช้KM

หากมองย้อนถึงทิศทางของการใช้เครื่องมือในการพัฒนาและการทำงานของโรงพยาบาลบ้านตากที่ผมนำเข้ามาจะเห็นว่า เราพยายามจัดระบบการบริหารจัดการโดยผมใช้ความรู้จากนิด้า ต่อมาเราพบว่าสามารถใช้ระบบบริหารจากTQA/MBNQA และเราได้พัฒนาระบบบริการโดยใช้แนวคิดของTQMผ่านทางมาตรฐานHA ทำให้เราวางระบบบริการได้ดี แต่เราก็มีบ่นว่าพอผิดพลาดอะไรๆก็โทษแต่ระบบ หลายๆครั้งเราก็พบว่าระบบวางไว้ดีแล้วแต่คนเราไม่ทำ พอเราไม่ลงโทษก็ไม่ปรับปรุงแก้ไข ตอนนี้เราพบแล้วว่าการแก้ปัญหาเรื่องคนนั้นไม่ใช่การลงโทษ แต่เราสามารถใช้เครื่องมือตัวหนึ่งในการพัฒนาคนของเราได้ก็คือการจัดการความรู้ หรือKMนั่นเอง KM จึงไม่ใช้เครื่องมือที่ใช้กันตื้นๆแต่สามารถใช้สร้างความสัมพันธ์ ความรักความสามัคคีในหน่วยงานและพัฒนาคนให้สอดคล้องกับระบบบริหารและระบบบริการที่เราวางไว้ได้ด้วยการปลดปล่อยศักยภาพที่แท้จริงในตัวเขาออกมาโดยผ่านการใช้KM Tools ที่เหมาะสม

ในการพัฒนาที่ผ่านมาเราใช้แนวคิดTQM 8 ข้อ ซึ่งมีข้อหนึ่งก็คือเรื่องเน้นถึงความเป็นมนุษย์(Humanity) ซึ่งได้พยายามเน้นมานานแล้ว ร่วมกับการพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวคิดTHM ที่มี 9 ข้อโดยข้อสุดท้ายกล่าวถึงSustainability ซึ่งจะต้องใช้ตัวแบบสำคัญตัวหนึ่งคือตัวแบบรวบ(โรงเรียน-วัด-บ้าน) เพื่อระดมทีมงานที่เป็นสหสาขาวิชาชีพสร้างสุข (ครู-หมอ-พ่อ-พระ) มาช่วยกันแก้ไขภาวะภูมิคุ้มกันทางสังคมบกพร่องหรือ(Social Immunodeficiency syndrome : SIDS) โดยร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมหรือภูมิสังคม 3 ประการสำคัญคือความรู้ ความรัก ความอดทน ซึ่งพบว่าความรู้ที่ใช้ได้จริง ต้องสร้างจากการใช้การจัดการความรู้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีหรือเกิดความรักขึ้นด้วยส่วนความรักก็ใช้การจัดการความรักโดยเปลี่ยนความเชื่อ ไปสู่ความเชื่อมั่น ไปสู่ศรัทธา จนเกิดความรักตามแนวทางของมหายานหรือใช้การเรียนรู้แบบMind based Learning ตามแนวทางไตรสิกขาหรือศีล-สมาธิ-ปัญญา จนเกิดความรักแท้จริงในใจและเกิดการหยั่งรู้หรือปัญญาญาณขึ้นมา หากเกิดความรู้หรือความรักตามแนวทางนี้แล้วก็จะเกิดความอดทนตามมา ส่งผลให้เกิดภูมิคุ้มกันทางสังคม เกิดสุขภาวะทางสังคมซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของสุขภาวะแบบองค์รวมคือร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณหรือเชาว์ปัญญา

ที่นำมาเล่าให้ฟังนี้ เพื่อจะให้พวกเราได้เห็นความเชื่อมโยงหรือบูรณาการของการพัฒนาโรงพยาบาลและสุขภาพของชุมชนโดยใช้เครื่องมือต่างๆที่ส่งผล เชื่อมโยงถึงกันและกัน ทั้งเป้าหมายสูงสุดคือประชาชนมีสุขภาพดี(สุขภาวะแบบองค์รวม) เจ้าหน้าที่มีความสุข  โรงพยาบาลอยู่รอดโดยการใช้TQA.HA(TQM),HPH(THM),KM  โดยมีการกำหนดบทบาทของโรงพยาบาลไว้ 3 ด้านคือเป็นศูนย์บริการสุขภาพ เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพ เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ  โดยมีการขับเคลื่อนไปตามระบบราชการโดยอาศัยโรงพยาบาลและคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลและขับเคลื่อนนอกระบบราชการโดยอาศัยมูลนิธิโรงพยาบาลบ้านตาก คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลและคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาล

ข้อคิดคำคมประจำการประชุมครั้งนี้จากพระบรมราโชวาทของในหลวง ทุกคนต่างมีหน้าที่ แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัวโดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้ เพราะงานทุกงานจะต้องพาดพิงกัน จะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ

หมายเลขบันทึก: 66608เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2006 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท