การประกอบสร้างความจริง ใน วรรณกรรม (6)


ภาพตัวแทน ผู้หญิง ในวรรณกรรม

เมื่อทำความเข้าใจกับวีรบุรุษ และวีรสตรี ผู้สูงส่งในสังคมว่า ถูกประกอบสร้างเป็นอย่างไร ก็มาทำความเข้าใจในเรื่องเล่าเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของสตรี ในฐานะบุคคลชายขอบของสังคมอีกประเภทหนึ่งว่า ถูกประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรมเป็นอย่างไร แม้ในสังคมที่ถือว่าพัฒนาแล้ว สิทธิเลือกตั้งของผู้หญิงยังมาทีหลังกว่าสิทธิชนผิวดำ ในประเทศอินเดีย ที่ว่าจัณฑาลเป็นชนที่ต่ำที่สุดแล้ว ผู้หญิงในสังคมอินเดียยังต่ำกว่าจัณฑาลชาย ดังนั้นเรื่องเล่าต่าง ๆ นั้นถูกสร้างมาด้วยกระบวนการอย่างไร 

ปิยะธิดา เกตุชาติ (2560) ได้กล่าวถึง การประกอบสร้างภาพตัวแทนของคนในสังคมที่สัมพันธ์กับ เพศ เชื้อชาติ ชนชั้น ผ่านวรรณกรรม การนำเสนอภาพแบบฉบับตายตัว (stereotype) ซึ่งมีความหมายถึง การดึงเอาคุณสมบัติบางอย่าง ที่เด่นชัด มีชีวิตชีวา เข้าใจง่าย เป็นที่เข้าใจร่วมกัน และลดทอนอัตลักษณ์ของบุคคลลงไปให้เหลือไม่กี่อย่าง

ในงานของปิยะธิดา เกตุชาติ นั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนของผู้หญิงในวรรณกรรม รักโรแมนติกสหรับผู้ใหญ่ ที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ นวน 10 เรื่อง โดยใช้ แนวคิดเรื่องภาพแทน ศาสตร์แห่งเรื่องเล่า และสตรีนิยม ผลการศึกษาพบว่า ตัวละคร เอกฝ่ายหญิงเป็นภาพแทนของผู้หญิงที่มีสถานะเป็นวัตถุทางเพศ ผู้ให้กำเนิดทายาท และภรรยาของตัวละครเอกฝ่ายชาย บทบาทดังกล่าวนำเสนอผ่านการผสมผสาน โครงเรื่องแบบรักพาฝันเข้ากับฉากเชิงสังวาส การนำเสนอลักษณะตัวละครแบบอุดมคติ ด้านรูปลักษณ์ สถานภาพทางสังคม และค่านิยม การตั้งชื่อเรื่องและชื่อตัวละครฝ่ายชาย ที่กำหนดบทบาทตัวละครฝ่ายหญิง การตั้งชื่อตัวละครฝ่ายหญิงในเชิงสัญลักษณ์ที่สะท้อน ค่านิยมแบบจารีต และการเร้าจินตนาการผู้อ่านด้วยองค์ประกอบของเรื่องที่ขัดแย้งกัน ได้แก่ ความแตกต่างด้านเชื้อชาติ อุปนิสัย และสถานภาพทางสังคม ตลอดจนการนำเสนอ รูปแบบความรักแบบสุขนาฏกรรมผสมผสานกับพฤติกรรมการล่วงละเมิดทางเพศของ ตัวละคร การนำเสนอภาพแทนดังกล่าว สะท้อนวิธีคิดแบบปิตาธิปไตย ที่ส่งผลต่อการ สร้างสรรค์วรรณกรรมของนักประพันธ์หญิงของไทย (ปิยะธิดา เกษชาติ,2560:บทคัดย่อ)

เรื่องเล่า หรือ วรรณกรรม เป็นปฏิบัติการทางสังคม เช่นเดียวกับ ระเบียบสังคม และ ระบบการศึกษา ที่แสดงออกมาทางด้านความคิดที่สอดคล้องกับสิ่งที่เป็นความคิดหลักของสังคม งานของปิยะธิดา  เกษชาติ ได้วิเคราะห์ระบบความสัมพันธ์ชายหญิงผ่านวรรณกรรมที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อบันเทิงเริงรมณ์ ซึ่งได้แสดงถึงอัตลักษณ์ผู้หญิงภายใต้ ระบบปิตุลาธิปไตย หรือระบบที่ชายเป็นใหญ่ ซึ่งก็เป็นความคิดและวิถีการปฏิบัติของสังคมไทยที่มีอยู่จริง ในลักษณะภาพเหมารวมที่เป็นตัวแทนภาพหญิงไทย

เมื่อมาดูสื่อวรรณกรรรมประเภทอื่น เช่นในหนังสือเรียน Annie Fatsireni Chiponda (2014) ได้ศึกษาการนำเสนอภาพสตรีในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของมาลาวีระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ว่าผู้หญิงถูกนำเสนออย่างไร และมีเหตุผลที่นำเสนออย่างไร สองคือ วิเคราะห์ภาพที่มองเห็นได้ด้วยตา และ กระบวนการทางภาษา ในหนังสือสามเล่มดังกล่าว ผลของการศึกษา พบว่าสตรีถูกกดขี่ในการนำเสนอในบทเรียนประวัติสาสตร์ ผ่าน กระบวนการการกีดกันผู้หญิงไปสู่ชายขอบ การสร้างภาพตายตัว ตลอดจนทำให้ไม่มีเสียงของผู้หญิง ในหนังสือเรียน และนำเสนออย่างมีข้อจำกัดสำหรับแบบฉบับของสตรีในประวัติศาสตร์ ต่อม ได้พบภาพของสตรีมาลาวี ไม่ได้ถูกนำเสนอข้อเท็จจริงในตำราเลย เพราะว่าหนังสือถูกผลิตโดยกลุ่มคนในพื้นถิ่น  สตรีถูกกล่าวเพียงเล็กน้อยในหนังสือเรียน โดยไม่มีตัวตนทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสร้างข้อถกเถียงในการเพิ่มมิติใหม่ให้กับหนังสือเรียนว่าควรจะมีผู้หญิงอยู่ในประวัติศาสตร์ ระหว่างสามปัจจัย ได้แก่ เชื้อชาติ ระบบทุนนิยม และ วัฒนธรรมแอฟริกัน สรุปได้ว่าความเชื่อแบบปิตุลาธิปไตย เป็นเหตุผลหลักในการกดขี่สตรีในหนังสือเรียน

จากงานของ Chiponda (2014)  ได้วิเคราะห์ภาพแทนของสตรี ผ่านตำราเรียนประวัติศาสตร์ ซึ่งไม่มีใครทราบว่า วรรณกรรมที่เป็นหนังสือเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่รับรู้กันทั่วไปว่าเป็นกลาง เข้าข้างวิทยาศาสตร์ กลับเอียงกระเท่เร่ ไปทางด้านปิตุลาธิปไตย  หรือชายเป็นใหญ่ นี่เป็นการศึกษาเพียงอัตลักษณ์เดียว คือ อัตลักษณ์ของสตรีมาลาวี ซึ่งในหนังสือเรียนของไทยก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ากันมากนัก เพราะว่าสังคมและวัฒนธรรมนั้นเป็นแบบนี้ จึงสามารถเห็นภาพตัวแทนที่ถูกนำเสนอด้วยภาพตายตัว หรือแทบจะไม่ถูกนำเสนอเลยในหนังสือเรียน  ซึ่งหนังสือเรียน นั่นก็คือ เรื่องเล่าชุดหนึ่งเท่านั้น ที่ไม่พ้นอุดมการณ์ และวาทกรรมแบบชายเป็นใหญ่ มานำเสนอให้เห็นเป็นจะๆ

อ้างอิง

ปิยะธิดา เกตุชาติ. (2560). ภาพแทนผู้หญิงในวรรณกรรมรักโรแมนติกสำหรับผู้ใหญ่ของสำนักพิมพ์ไลต์ ออฟ เลิฟ
https://tci-thaijo.org/index.php/gshskku/article/view/86194

Chiponda, (2014).  An analysis of the visual portrayal of women in junior secondary Malawian school history textbooks, Ph.d. dissertation: University of KwaZulu-Natal, South Africa.

หมายเลขบันทึก: 665028เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2019 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 สิงหาคม 2019 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท