ข้อแตกต่างระหว่างการรวมกิจการกับการควบกิจการ


เรื่องการรวมกิจการกับการควบกิจการแตกต่างกันอย่างไร นำมาฝากเพื่อน ๆ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ค่ะ

การรวมกิจการกับการควบกิจการต่างกันอย่างไร

ตอบ ในกรณีของการควบกิจการอาจเป็นการควบเข้ากันระหว่างห้างหุ้นส่วนหลายห้างควบเข้ากันหรือกรณีของบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปควบเข้ากัน เมื่อมีการควบเข้ากันแล้วจะทำให้ห้างหุ้นส่วนเดิม หรือบริษัทเดิม(กรณีบริษัท2 บริษัทขึ้นไปควบเข้ากัน)สิ้นสภาพไปโดยมิใช่เป็นการเลิกกันตามปกติ และเกิดเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใหม่ขึ้นมาแทน
ห้างหุ้นส่วนใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบห้างจะได้มาซึ่งสิทธิ/หน้าที่/ควาบรับผิดของห้างหุ้นส่วนเดิมที่ควบทั้งหมด การควบห้างหุ้นส่วนจะต้องจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนใหม่ด้วย
บริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจาการควบกันย่อมได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดของบริษัทเดิมเช่นเดียวกัน
 

การรวมกิจการ  เป็นการที่กิจการที่มารวมกันโอนสินทรัพย์และหนี้สินให้กิจการใหม่ โดยกิจการที่มารวมกันเลิกกิจการไป ทำให้กิจการเดิมที่รวมกันทุกกิจการเลิกไป กิจการที่ตั้งขึ้นใหม่จะจ่ายชำระค่าสินทรัพย์สุทธิที่รับโอนมาให้แก่กิจการที่เลิกไป โดยออกหุ้นสามัญของกิจการใหม่ให้ไป ผู้ถือหุ้นของกิจการที่เลิกไปจึงกลายเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการใหม่กิจการเดิมที่เลิกไปอาจดำเนินงานเป็นหน่วยงานย่อยของกิจการใหม่ได้


ส่วนการรวมธุรกิจทำได้หลายรูปแบบ โดยทั่วไปมี 4 รูปแบบ คือ
1. การควบกิจการ
2. การรวมกิจการ
3. การซื้อหุ้น
4. การซื้อสินทรัพย์ 

การควบกับการรวมกิจการแตกต่างกันดังนี้

1. การควบมักจะใช้กับนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนควบเข้ากันกับอีกห้างหุ้นส่วนหนึ่ง หรือหลาย ๆ ห้างหุ้นส่วนควบเข้ากัน ในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ก็มีทำนองเดียวกัน ข้อสำคัญการควบนิติบุคคลไม่สามารถควบนิติบุคคลต่างประเภทกันได้ และเมื่อควบกันแล้วนิติบุคคลเดิมที่ควบจะเลิกกัน และเกิดเป็นนิติบุคคลขึ้นมาใหม่ที่จะได้รับทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของนิติบุคคลเดิมที่ควบไป
 

2. การรวมกิจการ ในปัจจุบันมักจะเป็นที่นิยมทำกันมาก โดยนิติบุคคล 2 นิติบุคคล หรือมากกว่า ประสงค์จะรวมกิจการเข้าด้วยกัน แต่ถ้าทำโดยวิธีควบบริษัทนิติบุคคลเดิมทั้งหมดก็จะต้องเลิกและเกิดเป็นนิติบุคคลใหม่ ซึ่งเป็นปัญหายุ่งยากทั้งในด้านของบัญชี ภาษี ระบบจัดการ ชื่อเสียง และความเชื่อถือ ปัจจุบันจะนิยมทำการรวมกิจการ
ซึ่งการรวมกิจการก็มีหลายวิธี เช่น

1. นิติบุคคลหนึ่งออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อแลกหุ้นของอีกบริษัทหนึ่งที่ผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้นถืออยู่ นิติบุคคลแรกก็จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นในอีกนิติบุคคลหนึ่งทั้งหมด
2. นิติบุคคลหนึ่งเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของอีกนิติบุคคลหนึ่ง และนิติบุคคลที่ขายกิจการไปแล้วก็จะเลิกไป
3. นิติบุคคลหนึ่งออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับอีกนิติบุคคลหนึ่งถือ โดยนิติบุคคลหลังนั้นโอนกิจการให้ทั้งหมดแทน ซึ่งนิติบุคคลหลังจะกลายเป็นผู้ถือหุ้นนิติบุคคลแรก

ตัวอย่าง ชื่อบริษัทที่ตั้งขึ้นจาการควบ กิจการ คือ บริษัท สุราทิพย์อโยธยา จำกัด (มหาชน) ทะเบียนเลขที่ : 0107545000284 บริษัทนี้ตั้งขึ้นจากการควบบริษัท ระหว่าง บริษัท สุราทิพย์อโยธยา จำกัด
(มหาชน) ทะเบียนเบียนเลขที่ บมจ.4 บริษัท สุราทิพย์เวียงละโว้ จำกัด (มหาชน)
ทะเบียนเลขที่ บมจ.5 และ บริษัท สุราทิพย์ศรีบุรี จำกัด (มหาชน)
ทะเบียนเลขที่ บมจ.3 ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535
 

แหล่งที่มา:   www.dbd.go.th/thai/webboard/message.phtml?message_id=22479 - 65k -

หมายเลขบันทึก: 66410เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท