KM สัญจรภาคธุรกิจเอกชน


KM  ถึงแม้ว่าจะเกิดมาจากภาคธุรกิจเอกชน   แต่การเรียนรู้ข้ามองค์กรในภาคธุรกิจเอกชนของบ้านเรา (หรือบ้านเขา) นั้น  นับว่ายังหามุม   หาเหลี่ยมเข้าได้ยาก   เนื่องจากว่ามีเงื่อนไขของการแข่งขันของภาคธุรกิจกำกับอยู่      ซึ่งเป็น character เฉพาะของธุรกิจ  ทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรนั้น  ทำได้ยาก  โดยเฉพาะบริษัทที่มีสภาพเป็นคู่แข่งขันกัน    

แต่ด้วยความเชื่อลึกๆ   บวกกับปรากฎการณ์ทางธุรกิจที่เคยพบเห็นในโลกใบนี้  เชื่อว่า ความรู้ไม่เคยหยุดนิ่ง   ดังนั้น  การกอดความรู้ที่หยุดนิ่งเอาไว้เสียแน่น  คงจะมีประโยชน์เฉพาะช่วงสั้นๆเท่านั้น    แต่สิ่งที่ท้าทายมากกว่า คือ  การแลกเปลี่ยนวิธีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของบุคลากรในบริษัทนั้น  เขาทำกันอย่างไร  รูปแบบไหน เป็นอย่างไร  เหมาะกับสภาพเงื่อนไขแบบใด   ส่วนความรู้ที่เกิดขึ้นมาแล้ว  ถือว่าเป็น product ที่เป็นผลพลอยได้ในการแลกเปลี่ยนเท่านั้นเอง

ไม่ว่าจะเป็น Model Cluster ในภาคธุรกิจ   หรือความเป็นสถาบันทางการค้า  เช่น ยกตัวอย่างcluster ภาคอุตสาหกรรม  หรือหอการค้าในประเทศเยอรมันนี  กลุ่มเหล่านี้จะมีจุดแข็งของการรวมตัวอย่างชัดเจน  แลกเปลี่ยนผลประโยชน์รวมกัน   กำหนดนโยบายทางการค้าร่วมกัน   ครอบคลุมไปถึงการเชื่อมโยงเข้ากับระบบการพัฒนาคนในสถาบันการศึกษา (การฝึกงาน, การฝึกทักษะเฉพาะทางฯลฯ) กลไกสำคัญที่แสนจะธรรมดาอย่างหนึ่ง  คือ การมีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  แต่มีรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่างกันไปบ้างตามรายละเอียด

บางท่านอาจจะบอกว่า หอการค้าบ้านเราก็มีและมีมานานแล้วด้วย   ตรงนี้ยืนยันว่าต่างแน่นอน  หอการค้าในเยอรมันแข็งมาก  เช่น  หอการค้าอุตสาหกรรม  หอการค้างานฝีมือ หอการค้าพาณิชย์ ฯลฯ  หอการค้าเหล่านี้จะมีบทบาทต่อการกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตนเอง   มีบทบาทต่อระบบการศึกษา   การออกใบอนุญาตการค้า  การพัฒนาฝีมือแรงงาน  การฝึกงานของนักศึกษา  เยอะแยะมากมาย     

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 6638เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2005 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท